ฝึกงาน 4 : ฝึกงานเพื่อเรียนรู้ชีวิต

วันนี้ผมขอแนะนำการฝึกงานในอีกรูปแบบหนึ่ง
นั่นคือ การฝึกงานเพื่อเรียนรู้การทำงานองค์กร

training-library4

จริงๆ แล้วการฝึกงานชนิดนี้ ผมคิดว่าก็สำคัญไม่แพ้การฝึกงานแบบอื่นๆ เลยนะครับ
เนื่องจากเป็นการฝึกงานเพื่อเรียนรู้การทำงานในองค์กร การสร้างมนุษยสัมพันธ์ การแสดงความคิดเห็น ฯลฯ
การฝึกงานในลักษณะนี้ไม่ต้องอาศัยเนื้อหาที่เรียนมากนัก หรือพูดง่ายๆ ว่าไม่ได้ใช้ความรู้ในตำรา

สรุปใจความสำคัญของการฝึกงานในลักษณะนี้คือ “ฝึกการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นในองค์กร”

พอกล่าวแบบนี้ เพื่อนๆ หลายคนอาจจะเกิดคำถามว่า แล้วฝึกแบบนี้เราจะได้อะไร

งั้นผมขอยกตัวอย่างสักกรณีให้เพื่อนๆ คิดแล้วกัน (บางคนอาจจะเจอกับตัวก็ได้)

“มีนักศึกษาจบใหม่มา เรียนเก่งมาก ฝึกงานในห้องสมุดก็ทำงานได้ดีมาก
แต่วันที่เขาจบออกมาแล้ว มีบริษัทแห่งหนึ่งรับเด็กคนนี้ไปทำงาน
ปรากฎว่า เด็กคนนี้ทำงานร่วมกับคนอื่นไม่ได้
เช่น ชอบทำงานคนเดียว ตัดสินใจคนเดียว ไม่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น ฯลฯ
ทำให้เพื่อนร่วมงานเกิดความอึดอัด และงานที่ได้รับมอบหมายก็ทำได้ไม่เต็มที่”

เป็นไงบ้างหล่ะครับ พอเห็นภาพ หรือ เคยเจอบ้างมั้ย

ตอนนี้เท่าที่รู้มา หลายมหาวิทยาลัย ก็มีนโยบายให้เด็กไปฝึกงานเพื่อเรียนรู้งานเหมือนกัน
เป็นการฝึกงานตามความต้องการของนักศึกษา ไม่จำเป็นต้องฝึกในสายที่เรียน
แบบนี้แหละครับที่ผมจะขอแนะนำว่า “ฝึกงานเพื่อเรียนรู้ชีวิตการทำงาน”

การฝึกงานในลักษณะนี้ ปกติเขาฝึกเพื่ออะไร
– กระบวนการในการติดต่อสื่อสาร
– การทำงานร่วมกันเป็นทีม
– การเสนอความคิดเห็น
– การแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า
– รู้จักการทำงานในองค์กรทั่วไป
– ฝึกระเบียบวินัยในการทำงาน
– การจัดการตารางเวลาของตนเอง

และอื่นๆ แล้วแต่เพื่อนๆ จะคิดได้อีก

โดยสรุปแล้ว การฝึกงานแบบนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องฝึกงานในองค์กรที่เกี่ยวกับวิชาเรียน
เช่น เด็กเอกบรรณารักษ์ไปฝึกงานการโรงแรมก็ได้ หรือ เด็กวิศวะแต่ไปฝึกบริษัทที่เกี่ยวกับสถาปัตย์ ก็ได้
เพราะว่าเราไม่ได้เอาวิชาที่เรียนไปใช้ในการฝึก แต่เราเอาชีวิตไปฝึกเพื่อสร้างประสบการณ์มากกว่า

สถานที่ที่ผมแนะนำ คือ :-
1. บริษัทเอกชนใหญ่ๆ เช่น เครือซีพี, ปูนซีเมนต์ไทย,?
2. บริษัทที่มีผู้บริหารเป็นคนต่างชาติ
3. สำนักงานใหญ่ขององค์กร เช่น ธนาคารกสิกรสาขาใหญ่,?

การฝึกงานในสถานที่ต่างๆ เหล่านี้ อาจจะไม่ใช่สายงานของเรา
แต่เราก็สามารถเรียนรู้หลักการ และนำสิ่งที่ได้จากการฝึกงานไปประยุกต์ใช้
มีคำกล่าวว่า ?ถ้าเราทำตัวเป็นน้ำ เราก็จะเข้ากับภาชนะได้ทุกรูปแบบ?
หรือ ?จงทำตัวเป็นแก้วน้ำ คอยรองรับน้ำ และอย่าทำให้แก้วของเราเต็ม?
ผมเชื่อว่านอกจากความรู้ในวิชาชีพแล้ว ประสบการณ์ในการใช้ชีวิตก็เป็นอีกตัวแปรของความสำเร็จ เช่นกัน

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*