เมื่อผู้ใช้บริการต้องการทั้งความเงียบและความไม่เงียบในห้องสมุด

October 29, 2019 libraryhub 0

“จุ๊ จุ๊ จุ๊ … ที่นี่ห้องสมุดนะ อย่าทำเสียงดังรบกวนคนอื่นสิครับ” “ชู่ส์… เงียบๆ กันหน่อย ที่นี่ห้องสมุดนะ” ประโยคยอดฮิตของเหล่าบรรณารักษ์ที่คอยพิทักษ์ความเงียบกริบในห้องสมุด จากประโยคข้างต้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้ภาพลักษณ์ของห้องสมุดต้องเป็นสถานที่ที่เงียบกริบเท่านั้น ซึ่งหากเราทำความเข้าใจถึงอดีต เราจะทราบว่า ภายในห้องสมุดจะแต่งไปด้วยหนังสือวิชาการ และผู้คนที่เข้าไปใช้ก็ล้วนแล้วแต่จะต้องอ่านหนังสือในสถานที่แห่งนี้ และต้องการสมาธิสูงมากๆ เพื่อจะเรียนรู้ให้แตกฉาน และห้องสมุดก็เป็นสถานที่แบบนี้มาจนถึงปัจจุบัน

10 เรื่องที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะความสามารถ

October 29, 2019 libraryhub 0

เรื่องที่เขียนวันนี้มาจากการอ่านหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 ตุลาคม 2562 ในคอลัมน์ Leading for the future ซึ่งเขียนเรื่อง “งานเข้า” แต่ซึ่งที่ผมสนใจมากกว่าเรื่องนี้ คือ ผู้เขียนได้กล่าวถึง “The 10 Things that Require Zero Talent” หรือ “10 เรื่องที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะความสามารถ” […]

ห้องสมุดก็ช่วยให้คุณดูดีก่อนไปสัมภาษณ์งานได้

October 24, 2019 libraryhub 0

เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ผมได้เขียนบล็อกเรื่อง “LIBRARY OF THINGS : ห้องสมุดที่ให้ยืมทุกสรรพสิ่ง” จำได้ว่าผมเขียนถึงรูปแบบการให้บริการยืมคืนสิ่งของที่คุณสามารถนำสิ่งต่างๆ ที่ยืมไปใช้เพื่อการเรียนรู้ได้ (การเรียนรู้จากการปฏิบัติก็สำคัญ) วันนี้ผมมีสิ่งของอีกกลุ่มหนึ่งที่ห้องสมุดเริ่มนำมาให้บริการ นั่นก็คือ สิ่งที่ของที่จะทำให้คุณดูดีก่อนคุณจะไปสัมภาษณ์งาน เช่น “เนคไท กระเป๋าเอกสาร กระเป๋าใส่โน้ตบุ๊ค”

ทักษะที่จำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ทุกคน

October 22, 2019 libraryhub 0

วันนี้เปิดอ่านข่าวในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 ตุลาคม 2562 แล้วเจอคอลัมน์หนึ่ง “ก้าวไกลวิสัยทัศน์” ซึ่งเขียนโดย ดร.บวร ปภัสราทร (อาจารย์ที่เคยสอนปริญญาโทผมตอนที่อยู่ KMUTT) วันนี้ท่านเขียนเรื่อง “ทักษะที่จำเป็นสำหรับคนทุกยุค” ผมจึงขอนำมาต่อยอดและอธิบายให้บรรณารักษ์ได้อ่านกันต่อด้านล่างนี้นะครับ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่หลายท่านได้ยินคำว่า AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์กันบ้างแล้ว และนอกจากการที่ได้ยินคำๆ นี้บ่อยขึ้น ความฉลาดและความสามารถของ AI ก็ถูกพัฒนามากขึ้นเช่นกัน จนบ่อยครั้งที่ผมไปบรรยายให้พี่น้องชาวบรรณารักษ์ฟังจะต้องมีคำถามว่า […]

Food for Thought : บรรณารักษ์ขี้สงสัยถึงอยู่รอด

October 10, 2019 libraryhub 0

อาหารสมองยามเย็นวันนี้มาจากการอ่านนิตยสาร Business+ ฉบับเดือนกันยายน 2562 ซึ่งมีคอลัมน์หนึ่งที่ทำให้ผมต้องหยุดอ่าน คอลัมน์นี้ คือ Management Strategies ซึ่งเขียนเรื่อง “ยุคนี้ (อยู่ให้) รอด ด้วยความขี้สงสัย” และเขียนโดยคุณอริญญา เถลิงศรี (MD ของ SEAC) “ความขี้สงสัย” คือบ่อเกิดแห่งปัญญา อุปนิสัยพื้นฐานของมนุษย์ตั้งแต่เด็กจนโตเรามักจะชอบตั้งคำถามว่า “ทำไม” อยู่เสมอ

การนำข้อมูลมาใช้เพื่อขับเคลื่อนห้องสมุด (Data Driven in Library work)

October 9, 2019 libraryhub 0

ช่วงนี้หลายห้องสมุดกำลังอยู่ในสภาวะที่งุนงงกับบรรดา Buzzword มากมาย และหนึ่งใน Buzzword ที่ได้ยินกันมากๆ คือ Big Data หรือ ข้อมูลขนาดใหญ่ ว่าแต่ข้อมูลในห้องสมุดมีอะไรที่เรียกว่า Big Data บ้าง — คำตอบ คือ ไม่มีข้อมูลที่ขนาดใหญ่แบบนั้นอยู่จริงในห้องสมุดเพียงแห่งเดียว (แต่ถ้าบอกว่าข้อมูลของการใช้ห้องสมุดทั้งประเทศ หรือ ถ้าห้องสมุดทุกแห่งในประเทศเชื่อมโยงกันแล้ว อาจจะมี Big Data […]

ห้องสมุดมุมมองใหม่ : เปลี่ยน “ห้องเก็บหนังสือ” เป็น “พื้นที่ในการเรียนรู้นอกระบบ”

October 7, 2019 libraryhub 0

วันนี้ได้อ่านบทความ “What makes a successful informal learning space?” แล้วรู้สึกว่าเป็นบทความที่สั้นแต่ได้ใจความที่ลึกซึ้งพอสมควร แถมชี้คุณลักษณะของการทำ “พื้นที่ในการเรียนรู้นอกระบบ” หรือ “Informal Learning Space” ได้อย่างดี ที่มาของบทความนี้มาจากบทความที่ตีพิมพ์ใน “New Review of Academic Librarianship” ของ Taylor & […]

รีวิวหนังสือ “แนวโน้มในการจัดหมวดหมู่สำหรับห้องสมุดในศตวรรษที่ 21”

October 6, 2019 libraryhub 0

หากคิดว่าหนังสือเล่มนี้น่าเบื่อกรุณาออกจากหน้านี้ไปได้เลยครับ เพราะสิ่งที่ผมกำลังจะเล่าต่อจากนี้ มันคือความตื่นเต้นที่ผมได้อ่านหนังสือเล่มนี้ตลอดสองวันที่ผ่านมา…. โลกของการจัดหมวดหมู่หนังสือในวงการบรรณารักษ์ไม่ว่าจะเป็น “การจัดหมวดหมู่หนังสือระบบดิวอี้” “การจัดหมู่หนังสือแบบหอสมุดรัฐสภา” “การจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์” ล้วนแล้วแต่มีจุดกำเนิดมาอย่างยาวนาน ซึ่งนั่นอาจเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในยุคนั้น และเราก็ใช้ระบบเหล่านั้นมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนั่นอาจเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในยุคนั้น และเราก็ใช้ระบบเหล่านั้นมาจนถึงปัจจุบัน การจัดหมวดหมู่หนังสือที่กล่าวมาเริ่มถูกผู้ใช้บริการถามถึงบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ว่า “มันยังเป็นการจัดหนังสือที่ยังเหมาะสมกับบริบทในปัจจุบันหรือไม่” และ “บางห้องสมุดใช้ดิวอี้ แบบห้องสมุดใช้แอลซี จริงๆ แล้วมีเงื่อนไขใดในการนำระบบดังกล่าวมาใช้”

นายห้องสมุดชวนดูวีดีโอ Austin Central Library (ห้องสมุดระดับโลกอีกแห่ง)

October 5, 2019 libraryhub 0

วันนี้เปิด Youtube เพื่อหาแรงบันดาลใจในการทำห้องสมุด ปรากฎว่าเจอวีดีโอนี้ “A Building Shaped by Light Austin Central Library” ซึ่งความน่าสนใจคือ เป็นภาพยนตร์สารคดีแบบสั้นที่ได้รางวัลที่ 3 ของ AIA Film Challenge 2019 อีกความน่าสนใจ คือ ตัวห้องสมุดแห่งนี้ = 1 […]

ห้องสมุดประชาชน (Public Libraries) ประเทศ/เมืองไหนถูกยืมหนังสือมากที่สุด

October 2, 2019 libraryhub 0

วันนี้ขอนำสถิติที่น่าสนใจของวงการห้องสมุดโลกมาให้เพื่อนๆ อ่าน “ทราบหรือไม่ครับว่า “ห้องสมุดประชาชน หรือ Publib library เมืองไหนที่มีจำนวนการยืมหนังสือสูงที่สุดในโลก ข้อมูลจาก World Economic Forum” วันนี้ผมไปเจอข้อมูลนี้ที่เว็บไซต์ของ World Economic Forum ในเรื่อง “Where do libraries loan out the most books?” […]