รีวิวหนังสือ “แนวโน้มในการจัดหมวดหมู่สำหรับห้องสมุดในศตวรรษที่ 21”

หากคิดว่าหนังสือเล่มนี้น่าเบื่อกรุณาออกจากหน้านี้ไปได้เลยครับ เพราะสิ่งที่ผมกำลังจะเล่าต่อจากนี้ มันคือความตื่นเต้นที่ผมได้อ่านหนังสือเล่มนี้ตลอดสองวันที่ผ่านมา….

โลกของการจัดหมวดหมู่หนังสือในวงการบรรณารักษ์ไม่ว่าจะเป็น “การจัดหมวดหมู่หนังสือระบบดิวอี้” “การจัดหมู่หนังสือแบบหอสมุดรัฐสภา” “การจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์” ล้วนแล้วแต่มีจุดกำเนิดมาอย่างยาวนาน ซึ่งนั่นอาจเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในยุคนั้น และเราก็ใช้ระบบเหล่านั้นมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนั่นอาจเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในยุคนั้น และเราก็ใช้ระบบเหล่านั้นมาจนถึงปัจจุบัน

การจัดหมวดหมู่หนังสือที่กล่าวมาเริ่มถูกผู้ใช้บริการถามถึงบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ว่า “มันยังเป็นการจัดหนังสือที่ยังเหมาะสมกับบริบทในปัจจุบันหรือไม่” และ “บางห้องสมุดใช้ดิวอี้ แบบห้องสมุดใช้แอลซี จริงๆ แล้วมีเงื่อนไขใดในการนำระบบดังกล่าวมาใช้”

หนังสือที่ผมจะรีวิววันนี้ “Library Classification Trends in the 21st Century” จึงเป็นหนังสือที่ผมคาดหวังว่าจะได้คำตอบอะไรบางอย่างจากคำถามด้านบนที่ผมกล่าวถึง

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : Library Classification Trends in the 21st Century
ผู้แต่ง : Rajendra Kumbhar
ISBN : 9781843346609
ปีพิมพ์ : 2011
จำนวนหน้า : 186 หน้า

สรุปหนังสือแบบย่อๆ โดย Amazon
Library Classification Trends in the 21st Century traces development in and around library classification as reported in literature published in the first decade of the 21st century. It reviews literature published on various aspects of library classification, including modern applications of classification such as internet resource discovery, automatic book classification, text categorization, modern manifestations of classification such as taxonomies, folksonomies and ontologies and interoperable systems enabling crosswalk.

ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้ คือ การทำ Review Literature ที่เกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่หนังสือที่ครอบคลุมไปจนถึงการจัดหมวดหมู่ทรัพยากรออนไลน์ หรือ การสร้างระบบจัดหมวดหมู่แบบอัตโนมัติ และโครงสร้างการจัดหมวดหมู่ที่น่าสนใจ (อ่านสรุปของ Amazon แล้วแบบยิ่งคาดหวังมากขึ้น)

ภายในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 10 บทดังนี้
บทที่ 1 Knowledge organisation and knowledge organisation systems
บทที่ 2 Classification and its uses
บทที่ 3 Construction of classification schemes
บทที่ 4 General classification schemes
บทที่ 5 Special classification schemes and classification of non-bibliographic entities
บทที่ 6 Automatic book classification, reclassification and non-classificatory approaches to knowledge organisation
บทที่ 7 Classification education
บทที่ 8 Modern knowledge organisation systems and interoperability
บทที่ 9 Text categorisation
บทที่ 10 Classification: theories, research trends and personalities

เนื้อหาสรุปของแต่ละบท

บทที่ 1 Knowledge organisation and knowledge organisation systems

ก่อนจะกล่าวถึงเรื่อง Classification เราจะต้องทำความรู้จักกับเรื่อง Knowledge organisation เสียก่อน ซึ่งประกอบไปด้วย

  • Document Description
  • Indexing
  • Classification

และ Knowledge organisation มักใช้ในงานห้องสมุด, ฐานข้อมูล, หอจดหมายเหตุ ฯลฯ ซึ่งหากกล่าวถึงการจัดกลุ่มเอกสารมันก็มีแนวทางมากมายที่สามารถนำมาใช้ได้ เช่น แบ่งตามกลุ่มภาษา, แบ่งตามจุดประสงค์ของเอกสาร, แบ่งตามปีของเอกสาร, แบ่งตามเนื้อหาของเอกสาร ฯลฯ

และเมื่อกล่าวถึง Knowledge organisation system ในอดีตเราจะพบว่าการจัดการกับเอกสารยังไม่มีความซับซ้อน เอกสารในอดีตก็มีจำนวนไม่มากเท่าปัจจุบัน และกระบวนการหลักยังใช้คนเป็นคนจัดกลุ่ม จากที่กล่าวมาเราจะเริ่มเห็นรูปแบบใหม่ๆ ของ Knowledge organisation system ในปัจจุบันที่เริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้น รูปแบบสื่อก็มากขึ้น ที่สำคัญยังมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยให้การค้นคืนสามารถทำได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งแนวโน้มในเรื่อง Knowledge organisation system มีประเด็นที่น่าสนใจ เช่น Controlling Synonyms, Explicit Semantic Relationship ฯลฯ

บทที่ 2 Classification and its uses

ประเด็นที่สำคัญในบทนี้คือ “ต้องการกล่าวถึงความสำคัญของ Classification ในยุคดิจิทัล” ซึ่งแบ่งออกเป็น

  • Classification กับ การสืบค้นผ่าน OPAC ของห้องสมุด
  • การพัฒนาคำสืบค้น ผ่าน Vocabulary, Thesaurus และ Taxonomy
  • การจัดการกับสารสนเทศบนเว็บไซต์ (Web-based Information)
  • การจัดหมวดหมู่เว็บไซต์
  • การจัดหมวดหมู่ผ่านคำสืบค้น (Search Queries)
  • การจัดหมวดหมูในเรื่องบทเรียนออนไลน์ (e-Learning)

บทที่ 3 Construction of classification schemes

กล่าวถึงรูปแบบของโครงสร้างการจัดหมวดหมู่ และแนวทางในการออกแบบการจัดหมวดหมู่ที่เป็นสากล (Universal Classification) ซึ่งประกอบด้วย 10 เรื่อง ซึ่งได้แก่ ความง่าย, กะทัดรัด, ปราศจากความอคติ, ง่ายต่อการปรับปรุง, ความยืดหยุ่น, สามารถสร้างกลุ่มใหม่, สามารถศึกษาได้, การแสดงผล, นำไปใช้ได้, กลายเป็นปรัชญา

นอกจากนี้ยังกล่าวถึงองค์ประกอบบางอย่างที่ใช้เพื่อการจัดหมวดหมู่ เช่น Notation, Mnemonics, Book numbering system (เพื่อให้ง่ายต่อการจัดเรียงหนังสือบนชั้น)

บทที่ 4 General classification schemes

บทนี้ตอนแรกอ่านแบบเร็วๆ นึกว่าเป็นเรื่องการจัดหมวดหมู่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น DDC (Dewey Decimal Classification), CC (Colon Classification), UDC (Universal Decimal Classification), LC (Library of Congress Classification) และ BC (Bliss Bibliographic Classification) แต่กลายเป็นว่าเป็นบทความที่เล่าตั้งแต่เรื่องการกำเนิดมาจนถึงปัจจุบันว่าใครเป็นคนดูแลและมีแนวทางการพัฒนาต่ออย่างไร เช่น DDC ตอนนี้อยู่ในมือของ OCLC ที่คอยอัพเดทและพัฒนาเรื่องใหม่ๆ ลงไปในระบบและจัดทำคู่มือพร้อมโปรแกรมเพื่อให้ห้องสมุดที่เป็นสมาชิกนำไปใช้ได้ทั่วโลกผ่าน WebDewey หมายเหตุ ระบบการจัดหมวดหมู่แบบอื่นๆ ก็ลงเนื้อหาค่อนข้างลึกเช่นเดียวกันครับ

นอกจากการจัดหมวดหมู่ที่เป็นสากลด้านบนแล้ว ยังมีการแนะนำการจัดหมวดหมู่ที่น่าสนใจอื่นๆ เช่น ในประเทศรัสเซียก็มีการสร้างการจัดหมวดหมู่ของตัวเอง นั่นคือ BBK ซึ่งนั่นคือ the Russian national classification system หรือประเทศจีน ญี่ปุ่นก็นำ DDC มาพัฒนาต่อจนกลายเป็นระบบการจัดหมวดหมู่ของตนเอง

บทที่ 5 Special classification schemes and classification of non-bibliographic entities

ในบทนี้ขอฉีกแนวเรื่องห้องสมุดในรูปแบบเดิมออก เพราะการกล่าวถึงการจัดหมวดหมู่เดิมจะอยู่ในห้องสมุดแบบทั่วไป หรือจะเน้นประเภทหนังสือเพียงอย่างเดียว แต่บทนี้เน้นห้องสมุดที่มีเนื้อหาเฉพาะทาง เช่น ห้องสมุดกฎหมาย หรือ ห้องสมุดดนตรี ซึ่งในบทนี้กล่าวถึงระบบการจัดหมวดหมู่ที่น่าสนใจ เช่น

  • CAC (Chinese Archive Classification) การจัดหมวดหมู่ของหอจดหมายเหตุภาษาจีน
  • COD หรือ CDA การจัดหมวดหมู่วรรณกรรมประเภท Comic ประเทศบราซิล
  • IPC (The International Patent Classification) การจัดหมวดหมู่สิทธิบัตรนานาชาติ

นอกจากการจัดหมวดหมู่ในห้องสมุดแล้ว ยังมีการจัดหมวดหมู่ข้อมูลอื่นๆ ที่ไม่น่าจะอยู่ในห้องสมุด (อยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์หรือฐานข้อมูล) เช่น

  • Classification of business stakeholders : การจัดหมวดหมู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา
  • Classification scheme for evaluation purpose : การจัดหมวดหมู่การวัดผลในวัตถุประสงค์ต่างๆ
  • Classification of figures of speech : การจัดหมวดหมู่ข้อมูลคำกล่าวต่างๆ
  • Classification of ethnic data : การจัดหมวดหมู่ข้อมูลจริยธรรม
  • Classification of icons : การจัดหมวดมหู่ตามไอคอน
  • Classification of industries : การจัดหมวดหมู่ตามกลุ่มอุตสาหกรรม

บทที่ 6 Automatic book classification, reclassification and non-classificatory approaches to knowledge organisation

บทนี้คือโลกอนาคต (ความฝันของคนทำงานห้องสมุด) งานศึกษาชิ้นนี้ชี้ว่าเดิมการจัดหมวดหมู่ใช้ Human Intelligence (บรรณารักษ์,ผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศ) อนาคตการจัดหมวดหมู่สามารถใช้ Artificial Intelligence ได้หรือไม่ ซึ่งจะต้องศึกษาในเรื่องดังต่อไปนี้ 1) AI (Artificial Intelligence) 2) NLP (Natural Language Processing) ซึ่งจะทำให้เราก้าวไปสู่ ระบบการจัดหมวดหมู่ที่เรียกว่า “Automatic Classification System”

ส่วนอีกหนึ่งคำที่กล่าวถึงในบทนี้ คือ Reclassification (การเปลี่ยนระบบการจัดหมวดหมู่แบบหนึ่งไปสู่การจัดหมวดหมู่อีกแบบหนึ่ง) ซึ่งในโลกก็มีแนวโน้มให้เห็นเรื่องนี้ เช่น ห้องสมุดบางแห่งเปลี่ยนจาก LC มาเป็น DDC ซึ่งหากเราต้องการให้เกิดระบบอัตโนมัติเราสามารถทำได้หลายรูปแบบเช่น Rule Based ซึ่งต้องใส่กฎมากมายจึงจะเปลี่ยนได้สมบูรณ์ ในอนาคตเราสามารถใช้หัวเรื่องสอน AI ให้คิดและเปลี่ยนได้แบบอัตโนมัติ

บทที่ 7 Classification education

บทนี้น่าจะเหมาะกับอาจารย์ที่สอนนักศึกษามากๆ เพราะเน้นเรื่องการสอนเรื่องการจัดหมวดหมู่ ซึ่งจะเน้นเรื่องการอธิบายถึงความสำคัญของเรื่องนี้ การวางโครงสร้างหลักสูตร และเทคนิคในการสอน ซึ่งแน่นอนครับว่าคงสอนแต่ทฤษฎีอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีการฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความชำนาญและฝึกการต่อยอดในเรื่องการจัดหมวดหมู่ด้วย

นอกจากนี้ขอทิ้งท้ายด้วยว่า “การจัดหมวดหมู่ที่สอนเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งที่เคยใช้ได้ผลในอดีต ในปัจจุบันและอนาคตจะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับบริบทในสังคมยุคดิจิทัลไว้ด้วย” ซึ่งสามารถย้อนไปอ่านบทความก่อนจะถึงบทที่ 7 ได้

บทที่ 8 Modern knowledge organisation systems and interoperability

บทนี้กล่าวถึงโลกในปัจจุบันของเรื่อง Knowledge Organisation ได้ค่อนข้างดี และอธิบายถึง Terminology ของคำดังต่อไปนี้

  • Thesurus
  • Taxonomies —> Subject Specialists’ terminology
  • Domain-based taxonomies
  • Ontology
  • Folksonomies —> Non-subject expert individuals

เทคโนโลยีของ Web ตอนนี้จาก web 1.0 ไป 2.0 ไป 3.0 เราจะพบกับรูปแบบของการนำเสนอข้อมูลในเว็บไซต์ที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เช่น การนำเสนอข้อมูลในรูปของ word cloud หรือ การให้บริการ Social Bookmarking เป็นต้น

บทที่ 9 Text categorisation

บทนี้กล่าวถึงการจัดหมวดหมู่หรือการจัดกลุ่มของเนื้อหาโดยเน้นไปที่เว็บไซต์และข้อมูลดิจิทัล ซึ่งปัจจุบันข้อมูลที่ผมพบในโลกออนไลน์ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบ Unstructured (ไม่มีโครงสร้างที่ชัดเจน) ทำให้เราต้องใช้ความสามารถของวิทยาการข้อมูล (Data Science) มาช่วยในการจัดกลุ่ม ซึ่งก็มีเทคนิคมากมาย เช่น KNN, Naive Bayes, SVM, Machine Learning…

จริงๆ บทนี้ถ้าผมไม่เคยเรียนเรื่อง Big Data Engineer มาก่อนผมคงงงเป็นไก่ตาแตกแน่ๆ ดังนั้นไม่ขอเล่าเยอะ

บทที่ 10 Classification: theories, research trends and personalities

บทสรุปส่งท้ายกล่าวถึงเรื่องการศึกษาที่เกี่ยวกับ Classification รวมถึงแนวโน้มที่น่าสนใจ ซึ่งแน่นอนครับอย่างที่ได้อ่านจากบทบนๆ การจัดหมวดหมู่โดยใช้ AI ก็เป็นเรื่องที่ยังถูกกล่าวได้อีก และความซับซ้อนของข้อมูลและสารสนเทศซึ่งต้องใช้บทที่ 9 มาช่วย นั่นเอง

กว่าผมจะอ่านหนังสือเล่มนี้จบต้องใช้เวลาเกือบสองวันเลยนะครับ เพราะเนื้อหาค่อนข้างเยอะมากๆ แต่อย่างที่บอกหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่รวมบทความที่น่าสนใจในวงการ Classification จริงๆ เหมาะสำหรับอาจารย์บรรณารักษ์ แต่สำหรับผมอ่านแล้วสามารถหยิบมาเล่าและน่าจะนำไปใช้ทำอะไรบางอย่างกับการทำงานในห้องสมุดได้

ตอนแรกนึกว่าถ้ากล่าวถึง Classification จะนึกถึงดิวอี้กับแอลซีอย่างเดียว ปรากฎว่าเปิดโลกและกระบวนการคิดให้กับตัวเองได้เลย โดยเฉพาะบทที่ 5 ยิ่งอ่านยิ่งสนุก

เอาเป็นว่าก็ขอแนะนำว่าเป็นหนังสือที่น่าอ่านอีกเล่มครับ

ปล. หากอ่านจบแล้ว จะมีคำถามว่า “ปลายทางของงาน catalog จะหายไปจากโลกหรือไม่” อันนี้คงต้องถามตัวเองดูอีกทีว่าเราจะปรับเปลี่ยนกระบวนการของเราได้ทันโลกหรือไม่

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*