โลกเสมือนจริงและหุ่นยนต์ : ห้องสมุดสิงคโปร์ในบทถัดไป (Next Chapter)

วันนี้ได้มีโอกาสอ่านบทความห้องสมุดในยุคถัดไปของประเทศสิงคโปร์แล้วทำให้รู้สึกตื่นเต้นอย่างบอกไม่ถูก บทความนี้เป็นการสัมภาษณ์ Ramachandran Narayanan ผู้บริหารของ NLB โดยชื่อบทความ คือ Immersion and robots: The next chapter for Singapore’s libraries

ภาพถ่ายจากการไปเยี่ยมชมห้องสมุดที่สิงคโปร์เมื่อปี 2018

ก่อนจะไปอ่านบทสรุป ผมขอกล่าวถึงคำ Keyword ทั้งสองคำก่อน นั่นคือ “Robot” และ “Immersion” ซึ่งคำแรกเป็นคำที่หลายคนคงคุ้นเคย นั่นคือการนำหุ่นยนต์มาใช้ในวงการห้องสมุด มาช่วยทั้งบรรณารักษ์ และผู้ใช้บริการ ส่วนอีกคำ “Immersion” หรือแปลเป็นไทยว่า “การดื่มด่ำในโลกเสมือนจริง” หรือจะเรียกว่า “Immersive” ก็ได้ มักใช้ควบคู่กับคำว่า Virtual Reality

โดยคุณ Ramachandran Narayanan ได้กล่าวถึง highlights ของเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่สำคัญมากๆ ของห้องสมุดสิงคโปร์ นั่นก็คือ การนำเอาเรื่อง data analytics และ AI มาปรับใช้ในวงการห้องสมุด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีในห้องสมุดว่าสามารถนำมาใช้ทำอะไรได้บ้าง

ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาใช้ในห้องสมุดสิงคโปร์

1) Immersive storytelling (การเล่าเรื่องด้วยเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง)

กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในเด็ก / เล่านิทานที่ใช้เทคโนโลยีการฉายวีดีโอและระบบตัวจับ Sensor ของผู้เล่า และผู้ใช้บริการ ทำให้ได้ภาพวีดีโอเสมือนจริง และสามารถสร้าง Interactive กับสื่อต่างๆ ได้

2) Personalising experiences with AI (สร้างประสบการณ์เฉพาะตัวบุคคลด้วย AI)

ให้บริการแนะนำเนื้อหา (Contents) ที่ตรงใจผู้ใช้บริการแบบเฉพาะเจาะจงตัวบุคคลมากขึ้น ด้วยการนำ data analytics ของผู้ใช้มาวิเคราะห์และให้บริการที่ตรงใจ

3) Robots as library assistants (หุ่นยนต์ผู้ช่วยเหลืองานห้องสมุด)

ใช้หุ่นยนต์ในการปฏิบัติหน้าที่ในห้องสมุดเพื่อช่วยเหลือบรรณารักษ์ในงานต่างๆ รวมถึงหุ่นยนต์ที่คอยแนะนำบริการ และให้ความช่วยเหลือผู้ใช้บริการ

4) Automating the library workflow (ระบบการทำงานที่เป็นระบบอัตโนมัติ)

การนำระบบการทำงานที่เป็นระบบอัตโนมัติมาใช้ในงานต่างๆ อาทิ การรับคืนหนนังสือผ่านตู้คืนหนังสืออัตโนมัติ (Book Drop) ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถมองเห็นกลไกการทำงานของสายพานลำเลียงหนังสือ และระบบที่คัดแยกหนังสือไปยังห้องสมุดต่างๆ ได้ ซึ่งทำให้การให้บริการสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

Mobile Bookdrop ที่ Tampines Regional Library

จากตัวอย่างการนำเทคโนโลยีมาใช้ในห้องสมุดสิงคโปร์ข้างต้น จะเห็นว่ามีการนำเทคโนโลยีหลายอย่างมาปรับใช้กับการให้บริการและการปฏิบัติงาน ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาสามารถทำงานได้จริง และเริ่มมีการนำมาให้บริการเรียบร้อยแล้ว ซึ่งต้องชื่นชมว่านอกจากสร้างไอเดียแล้ว ยังมีการลงมือปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมด้วย

หากเพื่อนๆ สนใจรายละเอียดอื่นๆ หรือต้องการอ่านเนื้อหาฉบับเต็มก็สามารถเข้าไปอ่านต่อได้ที่ Link ด้านล่างนะครับ

ที่มาของบทความ : https://govinsider.asia/smart-gov/immersion-and-robots-the-next-chapter-for-singapores-libraries/

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*