10 ทักษะของบรรณารักษ์ที่จำเป็นต่ออนาคต

credit : Twitter @LibraryLantern

มีหลายคนเริ่มถามผมว่า “หุ่นยนต์จะเข้ามาทำงานแทนบรรณารักษ์ได้หรือไม่” คำตอบที่ผมจะตอบ คงตอบได้ทั้งสองแบบ คือ 1. ทำงานแทนได้ ถ้าลักษณะงานนั้นเป็นงานที่ทำได้แบบซ้ำๆ งานประจำที่ไม่ต้องคิดอะไรเยอะ เช่น การยืมคืน, การ catalog, การเตรียมตัวเล่ม (ประทับตรา) ฯลฯ 2. ทำงานแทนไม่ได้ ถ้าลักษณะงานที่ต้องใช้ความคิด หรือ งานที่ต้องใช้จิตใจในการให้บริการ เช่น การถามตอบคำถามเชิงลึก, การแนะนำหนังสือที่ควรอ่าน, การช่วยเหลือด้วยความเห็นอกเห็นใจ

ข้อคิดเสริมสร้างการเป็น “บรรณารักษ์ที่สร้างสรรค์” (Creative Librarian)

ไม่ได้เขียนอะไรแนวสร้างสรรค์มานานแล้ว วันนี้ขอสักบทความหนึ่งแล้วกัน หัวข้อก็ไม่มีอะไรมากแค่ “บรรณารักษ์ที่สร้างสรรค์” ใครๆ ก็อยากเป็น ผมก็เลยไปค้นข้อมูล และก็เจอเส้นทางสู่การเป็น “นักสร้างสรรค์” ปล. เป็นคำแนะนำเล็กๆ แต่ขอนำมาใช้ในวงการบ้าง เพื่อจะมีคนนำไปต่อยอดได้

สำรวจตัวเองก่อนมาทำอาชีพ “บรรณารักษ์”

มีคำถามมากมายจากเพื่อนๆ ถึงผมว่า “ไม่จบปริญญาสาขาบรรณารักษ์แล้วทำงานห้องสมุดได้หรือไม่” “ต้องทำยังไงถึงจะได้ทำงานบรรณารักษ์” ฯลฯ วันนี้ผมขอรวบรวมข้อมูลมาตอบเพื่อนๆ ว่า “ก่อนจะมาเป็น บรรณารักษ์ เพื่อนๆ ต้องสำรวจตัวเองก่อน” ดังนี้

ข้อคิด “LIBRARY” จากนายห้องสมุด

วันเสาร์สบายๆ แบบนี้ มีเวลานั่งคิดอะไรเพลินๆ เลยใช้ Powerpoint สร้างภาพนี้ขึ้นมา LIBRARY ของผมที่อยากบอกเพื่อนๆ บรรณารักษ์ เริ่มจาก …

ไม่จบบรรณารักษ์มา แล้วอยากทำงานในห้องสมุด ไม่ยาก!!!

เป็นบรรณารักษ์ที่ดี เป็นง่าย ผมมีวิธี ลองอ่านเรื่องนี้ และนำไปทำตาม วันนี้จั่วหัวแปลกๆ หน่อยนะครับ แต่อ่านแล้วรู้สึกถูกใจอย่างบอกไม่ถูก เรื่องที่ผมนำมาเขียนวันนี้มาจาก http://www.wikihow.com/ ในหัวข้อ How to Be a Good Librarian

ทำไมห้องสมุดและบรรณารักษ์ต้องพัฒนา Mobile Technology

หลังจากวันก่อนที่ผมประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานประชุมวิชาการ เรื่อง Library and Mobile Technology ก็มีเพื่อนหลายคนสงสัยและถามผมว่า Mobile Technology มันมีประโยชน์ยังไง และห้องสมุดสามารถนำ Mobile device มาให้บริการกับผู้ใช้บริการได้อย่างไร วันนี้ผมจะมาตอบข้อสงสัยดังกล่าว พร้อมอธิบายเรื่องราวเกี่ยวกับ Mobile Technology เพิ่มเติม ก่อนอื่นผมต้องขอยกข้อมูลเรื่องแนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาเขียนก่อน คือ ข้อมูลการใช้ Mobile Device ในประเทศไทย เห็นมั้ยครับว่ามีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นมาก อีกไม่นานที่เขาว่ากันว่าจำนวน Mobile Device จะมีจำนวนมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมกับ notebook ซะอีก ก็คงต้องรอดูไปอ่ะครับ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ Mobile Technology ในห้องสมุด ปี 2011-2012 – มีเว็บไซต์ห้องสมุดที่พัฒนาให้รองรับการอ่านบน mobile device 14% – ห้องสมุดนำ QR code มาใช้ในห้องสมุด 12% – ห้องสมุดมีการพัฒนา application ในการให้บริการ 7% นอกจากการให้บริการดังกล่าวแล้วจริงๆ มีการสำรวจถึงข้อมูลการใช้ Mobile Technology สำหรับห้องสมุดในรูปแบบของ Application อีกว่า มีบริการต่างๆ มากมาย อาทิ – ค้นหาข้อมูลหนังสือในห้องสมุด (Search Catalog) – ต่ออายุการยืมหนังสือผ่าน Application – จองหนังสือผ่านระบบออนไลน์ – ค้นหาหนังสือใหม่ หรือ ชมการแนะนำหนังสือจากเหล่าบรรณารักษ์ – ค้นหาข้อมูลห้องสมุด เช่น ที่ตั้ง แผนที่ เวลาเปิดปิด – อ่าน review หนังสือต่างๆ ในห้องสมุด…

สรุปทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ฉบับคุณครูบรรณารักษ์

เมื่อวานนี้ (13 ก.ค. 56) ผมได้รับเกียรติจากสำนักพิมพ์สกายบุ๊คส์ให้มาบรรยายในหัวข้อบรรณารักษ์ยุคใหม่ หัวใจนักพัฒนา เรื่อง “ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” ที่จังหวัดอุบลราชธานี ผมเขียนเรื่องนี้ระหว่างที่รอขึ้นเครื่องกลับ กทม มีเวลาว่างพอสมควร จึงขอสรุปข้อมูลจากการบรรยายมาให้อ่านครับ ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดย นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ นักจัดการความรู้อาวุโส สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK park) สไลด์ที่ใช้บรรยาย “Future skill for 21st century skill librarian version” [slideshare id=24173944&doc=futureskillfor21stcenturyskilllibrarianversion-130712072653-phpapp02] หัวข้อที่ผมบรรยายในวันนี้ครอบคลุมในเรื่องดังต่อไปนี้ –  แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 –  หลัก 3Rs 4Cs ที่ควรรู้ –  รู้จักโลก – กระแสสังคม – ไอซีทีเพื่อการศึกษา – ความคิดสร้างสรรค์ – สื่อสังคมออนไลน์ – เครือข่ายสังคมออนไลน์ เนื้อหาโดยสรุป “สรุปทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” 1. แนวคิดและทฤษฎีการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่มาของทักษะแห่งอนาคต มาจากภาคีความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 (เครือข่าย P21) (Partnership for 21st Century Skills) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นภาคีที่รวมกันระหว่าง บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ โดยกำหนดกรอบแนวความคิดออกมาดังนี้ – แกนวิชาหลัก และธีมหลักของศตวรรษที่ 21 ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ต้องมีการบูรณาการวิชาให้ครอบคลุม…

มุมมองของนักศึกษาชาวอเมริกันต่อเว็บไซต์ห้องสมุด 2005 – 2010

สวัสดีครับเพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ วันนี้ผมขอนำเสนอข้อมูลทัศนคติและมุมมองของกลุ่มผู้ใช้ห้องสมุดที่เป็นนักศึกษา (ช่วงอายุ 18-24 ปี) ที่มีต่อเว็บไซต์ห้องสมุดและสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ ข้อมูลที่ผมนำมาทำสไลด์และนำเสนอนี้มาจาก “Perception of Libraries, 2010 by OCLC” เอกสารสไลด์ชุดนี้ [slideshare id=16951436&doc=perceptionoflibrariesbyoclc-130305103911-phpapp02] สรุปข้อมูลจากเอกสาร 1. บรรณารักษ์มีคุณค่าต่อผู้ใช้บริการมากขึ้น 2. อัตราการใช้สื่อหรือข้อมูลของห้องสมุด 2.1 เว็บไซต์ห้องสมุด ในปี 2005 จำนวน 53% ในปี 2010 จำนวน 58% — เพิ่มขึ้น 2.2 ฐานข้อมูลออนไลน์ ในปี 2005 และ 2010 มีจำนวนเท่ากัน 30% — เท่าเดิม 2.3 วารสารออนไลน์ ในปี 2005 จำนวน 41% — ลดลง 3. การค้นหาข้อมูลออนไลน์ ส่วนใหญ่ผู้ใช้บริการจะเลือกใช้เครื่องมืออย่าง Search Engine, Wikipedia, Online bookstores มีส่วนน้อยที่ใช้เว็บไซต์ห้องสมุด นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ และฐานข้อมูลออนไลน์ 4. สิ่งแรกที่ผู้ใช้จะไปเวลาต้องการค้นหาข้อมูล คือ Search Engine, Wikipedia, เครือข่ายสังคมออนไลน์ และอีเมล์….. อะไรที่เกี่ยวกับห้องสมุดผู้ใช้บริการไม่นึกถึง 5. ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ยังคงยอมรับว่าข้อมูลจากห้องสมุดยังคงมีความน่าเชื่อถือ 6. ความพึงพอใจใน Search Engine ลดลงมาก ในขณะที่ความพึงพอใจในบรรณารักษ์เริ่มมีการเพิ่มขึ้น 7. ถ้าเว็บไซต์ห้องสมุดมีการปรับปรุงหรือพัฒนา…โดยการเติมเนื้อหา ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ลงในเว็บไซต์ โอกาสที่ผู้ใช้บริการจะกลับมานิยมและใช้เว็บไซต์ห้องสมุด 8. บริการในห้องสมุดที่มีอัตราการใช้ลดลง ได้แก่…

ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูบรรณารักษ์

เมื่อปลายเดือนที่แล้ว (31 มกราคม) ได้มีโอกาสไปบรรยายให้ชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ในงานประชุมวิชาการ “บรรณารักษ์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”  วันนี้จึงขอนำสื่อ เอกสารประกอบการบรรยาย และสรุปการบรรยาย “ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูบรรณารักษ์” ให้เพื่อนๆ ได้ติดตามกัน เอกสารประกอบการบรรยายสามารถชมได้ที่นี่เลย [slideshare id=16363371&doc=21stcenturyskillforlibrarianok-130205100722-phpapp02] http://www.slideshare.net/projectlib/21st-century-skill-for-librarian วีดีโอที่ใช้ประกอบการบรรยาย [youtube]http://www.youtube.com/watch?v=O35n_tvOK74[/youtube] เนื้อหาการบรรยาย “ทักษะแห่งอนาคต การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูบรรณารักษ์” โดยสรุป เทคโนโลยีทำให้โลกของเราเล็กลงเรื่อยๆ การติดต่อสื่อสารกันทำได้สะดวก การค้นหาความรู้ทำได้ง่าย ก่อให้เกิดโลกที่เต็มไปด้วยความรู้ ซึ่งเมื่อโลกเต็มไปด้วยความรู้ การเข้าถึงความรู้ทำได้ง่าย ข้อดีมีมากมายแต่ก็มีข้อเสียมากมายด้วยเช่นกัน มีสิ่งที่เราไม่รู้เยอะมาก แถมต้องมานั่งคิดวิเคราะห์ว่าข้อมูลหรือความรู้ไหนที่เป็นความจริง หรือข้อมูลไหนที่สามารถทำมาใช้ประโยชน์ได้ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เกิดจากแนวคิดของกลุ่มนักวิชาการในประเทศสหรัฐอเมริกา (ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าการศึกษาดีเยี่ยม) เห็นว่าการศึกษาในโลกศตวรรษที่ 20 ซึ่งเน้นแต่เรื่องเทคโนโลยี มันไม่เหมาะกับการเรียนการสอนในยุคใหม่แล้ว และการเรียนในแบบเก่าไม่เหมาะกับสังคมปัจจุบันแล้ว จึงได้สร้างกรอบแนวคิดและหาแนวทางในการเรียนรู้แบบใหม่ๆ ซึ่งได้นำเสนอกรอบแนวคิดออกมาดังรูป วิชาแกนที่ต้องเรียนรู้ (Core Subject) – ภาษาอังกฤษ การอ่าน หรือศิลปะการใช้ภาษา – ภาษาที่สำคัญของโลก – ศิลปะ – คณิตศาสตร์ – เศรษฐศาสตร์ – วิทยาศาสตร์ – ภูมิศาสตร์ – ประวัติศาสตร์ – การปกครองและหน้าที่พลเมือง แนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ 21 (21st CENTURY THEMES) – จิตสำนึกต่อโลก – ความรู้พื้นฐานด้านการเงิน และการเป็นผู้ประกอบการ – ความรู้พื้นฐานด้านพลเมือง – ความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพ – ความรู้พื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม ทักษะและความสามารถที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมในศตวรรษที่…

การประชุมวิชาการ บรรณารักษ์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

มีงานประชุมวิชาการดีๆ มาแนะนำเพื่อนๆ ครับ ซึ่งเป็นงานไม่ใกล้ไม่ไกลตัวผมอีกแล้ว เพราะผมต้องบรรยายในงานนี้ด้วยเช่นกัน งานประชุมวิชาการนี้ใช้ชื่อว่า “บรรณารักษ์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” เอาเป็นว่าน่าสนใจมากๆ สำหรับครูบรรณารักษ์ หรือ บรรณารักษ์ในโรงเรียน รายละเอียดงานประชุมวิชาการเบื้องต้น ชื่องาน : บรรณารักษ์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สถานที่จัดงาน : ห้อง Auditorium2 ชั้น 3 บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด วันที่จัด : วันที่ 31 มกราคม 2555 จัดโดย : ชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ช่วงนี้ผมเขียนเรื่องการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ค่อนข้างเยอะพอสมควร แถมด้วยเคยรับปากชมรมบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนมานานแล้วว่าจะไปบรรยายให้ ดังนั้นพอหัวข้อออกมาแบบนี้ เลยค่อนข้างรู้สึกโล่งใจ และอยากถ่ายทอดให้เพื่อนๆ ฟังมาก นอกจากผมจะบรรยายแล้ว วิทยากรอีกคนต้องบอกว่าเป็นสุดยอดอาจารย์อีกคนที่ผมเคารพเลย คือ อาจารย์น้ำทิพย์ วิภาวิน นั่นเอง อาจารย์จะมาพูดในเรื่องบรรณารักษ์ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งถ้ามีโอกาสก็อยากให้เพื่อนๆ มาฟังเช่นเดียวกัน กำหนดการแบบคร่าวๆ ช่วงเช้าจะเป็นหัวข้อ “ทักษะแห่งอนาคต : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” บรรยายโดยผมเอง หลังเที่ยงจะมีหัวข้อ “Best Practice กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน” โดย บริษัทนานมีบุ๊คส์ และต่อจากนั้นจะเป็นหัวข้อ “บรรณารักษ์ในศตวรรษที่ 21” โดย อาจารย์น้ำทิพย์ นั่นเอง การเข้าร่วมงานครั้งนี้มีค่าเข้าร่วมงานแค่ 300 บาทเท่านั้นเองครับ ซึ่งสอบถามรายละเอียดได้ที่ 085 9556789 เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองอ่านรายละเอียดโครงการดูก่อนที่นี่เลยครับ –project proposal– ใครที่มาร่วมงานก็มาทักผมได้ครับ อิอิ จะรอครับ