ทักษะที่จำเป็นสำหรับบรรณารักษ์ทุกคน

October 22, 2019 libraryhub 0

วันนี้เปิดอ่านข่าวในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 ตุลาคม 2562 แล้วเจอคอลัมน์หนึ่ง “ก้าวไกลวิสัยทัศน์” ซึ่งเขียนโดย ดร.บวร ปภัสราทร (อาจารย์ที่เคยสอนปริญญาโทผมตอนที่อยู่ KMUTT) วันนี้ท่านเขียนเรื่อง “ทักษะที่จำเป็นสำหรับคนทุกยุค” ผมจึงขอนำมาต่อยอดและอธิบายให้บรรณารักษ์ได้อ่านกันต่อด้านล่างนี้นะครับ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่หลายท่านได้ยินคำว่า AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์กันบ้างแล้ว และนอกจากการที่ได้ยินคำๆ นี้บ่อยขึ้น ความฉลาดและความสามารถของ AI ก็ถูกพัฒนามากขึ้นเช่นกัน จนบ่อยครั้งที่ผมไปบรรยายให้พี่น้องชาวบรรณารักษ์ฟังจะต้องมีคำถามว่า […]

Food for Thought : บรรณารักษ์ขี้สงสัยถึงอยู่รอด

October 10, 2019 libraryhub 0

อาหารสมองยามเย็นวันนี้มาจากการอ่านนิตยสาร Business+ ฉบับเดือนกันยายน 2562 ซึ่งมีคอลัมน์หนึ่งที่ทำให้ผมต้องหยุดอ่าน คอลัมน์นี้ คือ Management Strategies ซึ่งเขียนเรื่อง “ยุคนี้ (อยู่ให้) รอด ด้วยความขี้สงสัย” และเขียนโดยคุณอริญญา เถลิงศรี (MD ของ SEAC) “ความขี้สงสัย” คือบ่อเกิดแห่งปัญญา อุปนิสัยพื้นฐานของมนุษย์ตั้งแต่เด็กจนโตเรามักจะชอบตั้งคำถามว่า “ทำไม” อยู่เสมอ

รีวิวหนังสือ “แนวโน้มในการจัดหมวดหมู่สำหรับห้องสมุดในศตวรรษที่ 21”

October 6, 2019 libraryhub 0

หากคิดว่าหนังสือเล่มนี้น่าเบื่อกรุณาออกจากหน้านี้ไปได้เลยครับ เพราะสิ่งที่ผมกำลังจะเล่าต่อจากนี้ มันคือความตื่นเต้นที่ผมได้อ่านหนังสือเล่มนี้ตลอดสองวันที่ผ่านมา…. โลกของการจัดหมวดหมู่หนังสือในวงการบรรณารักษ์ไม่ว่าจะเป็น “การจัดหมวดหมู่หนังสือระบบดิวอี้” “การจัดหมู่หนังสือแบบหอสมุดรัฐสภา” “การจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์” ล้วนแล้วแต่มีจุดกำเนิดมาอย่างยาวนาน ซึ่งนั่นอาจเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในยุคนั้น และเราก็ใช้ระบบเหล่านั้นมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนั่นอาจเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในยุคนั้น และเราก็ใช้ระบบเหล่านั้นมาจนถึงปัจจุบัน การจัดหมวดหมู่หนังสือที่กล่าวมาเริ่มถูกผู้ใช้บริการถามถึงบ่อยขึ้นเรื่อยๆ ว่า “มันยังเป็นการจัดหนังสือที่ยังเหมาะสมกับบริบทในปัจจุบันหรือไม่” และ “บางห้องสมุดใช้ดิวอี้ แบบห้องสมุดใช้แอลซี จริงๆ แล้วมีเงื่อนไขใดในการนำระบบดังกล่าวมาใช้”

บรรณารักษ์กับ 10 ทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต

September 25, 2019 libraryhub 0

วันก่อนได้ไปบรรยายเรื่อง “ความท้าทายของห้องสมุดและวิชาชีพสารสนเทศ” ให้เด็ก ป. โทฟัง หนึ่งในหัวข้อที่ผมต้องพูดถึงก็คือทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต “วันนี้ผมไม่ได้บอกว่าพวกเราไม่มีทักษะหรือความรู้ แต่ทักษะหรือความรู้บางอย่างมันหมดอายุไปแล้ว ตอนนี้ไม่สามารถใช้ได้ 100% เราจำเป็นต้อง Unlearn Relearn และ Learn อะไรใหม่ๆ ตลอดเวลา“ อยากให้อ่านบทความของ ดร.สันติธาร เสถียรไทย “ความรู้ของเรามี “ชีวิต” เหลืออีกกี่ปี“ https://www.the101.world/how-long-does-skills-last/ กลับมาเข้าเรื่องของเรากันนิดนึง […]

ทักษะและสมรรถนะสำหรับบรรณารักษ์ยุคใหม่ (สไลด์บรรยาย)

September 3, 2019 libraryhub 0

วันนี้ขอมารีวิวสไลด์บรรยาย “ทักษะและสมรรถนะสำหรับบรรณารักษ์ยุคใหม่” ซึ่งใช้บรรยายเมื่อปี 2560 ให้กับหน่วยงานแห่งหนึ่งของภาครัฐ (หน่วยงานนี้มีคนทำงานห้องสมุดแต่ไม่มีใครจบบรรณารักษ์สักคนเดียว)

ช้อปปิ้งไอเดียการพัฒนาห้องสมุดจากบรรณารักษ์ทั่วทุกมุมโลก

August 29, 2019 libraryhub 0

เมื่อ 2 วันที่แล้ว (27 สิงหาคม 2562) ในงาน World Library and Information Congress (WLIC) หรืองานประชุมสภาวิชาชีพห้องสมุดและสารสนเทศโลก ที่จัดโดย IFLA ได้มี session ที่ทำให้ผมตื่นเต้นมากๆ คือ การเปิดตัว “The Global Vision Ideas […]

ความท้าทายในอาชีพบรรณารักษ์ในเอเชียแปซิฟิก (ข้อมูล Survey)

August 27, 2019 libraryhub 0

วันนี้ขอโพสอะไรสั้นๆ เกี่ยวกับเรื่องความท้าทายในอาชีพบรรณารักษ์ในเอเชียแปซิฟิกมาให้อ่าน ทั้งนี้ข้อมูลมาจากการสอบถามบรรณารักษ์ในเอเชียแปซิฟิก จำนวน 336 คน Wiley ได้นำมาจัดทำเป็น Infographic

รีวิวหนังสือ “แนวทางสำหรับบรรณารักษ์หนึ่งเดียวในห้องสมุด”

August 17, 2019 libraryhub 0

เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ผมโพสรูปหนังสือเล่มหนึ่งที่ผมอยากอ่าน ชื่อเรื่องว่า “Managing the One-Person Library” ซึ่งมีเพื่อนๆ สอบถามและอยากให้ผมช่วย Review หนังสือเล่มนี้ วันนี้สะดวกแล้วครับ มาอ่านรีวิวจากผมกันได้เลย ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้ ชื่อเรื่อง : Managing the One-Person Library ผู้แต่ง : Larry Cooperman ISBN […]

บรรณารักษ์ยังคงสำคัญเสมอในวันที่อะไรๆ มันเปลี่ยนไป

April 5, 2019 libraryhub 0

เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ครับว่า วันที่ 4 เมษายน ของทุกปี คือวันอะไร ถ้าไม่ทราบลองเปิดดู https://nationaldaycalendar.com/april/ เราจะพบว่า “มีวันสำคัญวันหนึ่งของชาวบรรณารักษ์” นั่นคือ “National School Librarian Day“

credit : Twitter @LibraryLantern

10 ทักษะของบรรณารักษ์ที่จำเป็นต่ออนาคต

October 29, 2018 libraryhub 0

มีหลายคนเริ่มถามผมว่า “หุ่นยนต์จะเข้ามาทำงานแทนบรรณารักษ์ได้หรือไม่” คำตอบที่ผมจะตอบ คงตอบได้ทั้งสองแบบ คือ 1. ทำงานแทนได้ ถ้าลักษณะงานนั้นเป็นงานที่ทำได้แบบซ้ำๆ งานประจำที่ไม่ต้องคิดอะไรเยอะ เช่น การยืมคืน, การ catalog, การเตรียมตัวเล่ม (ประทับตรา) ฯลฯ 2. ทำงานแทนไม่ได้ ถ้าลักษณะงานที่ต้องใช้ความคิด หรือ งานที่ต้องใช้จิตใจในการให้บริการ เช่น การถามตอบคำถามเชิงลึก, การแนะนำหนังสือที่ควรอ่าน, การช่วยเหลือด้วยความเห็นอกเห็นใจ