มุมมองของนักศึกษาชาวอเมริกันต่อเว็บไซต์ห้องสมุด 2005 – 2010

สวัสดีครับเพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ วันนี้ผมขอนำเสนอข้อมูลทัศนคติและมุมมองของกลุ่มผู้ใช้ห้องสมุดที่เป็นนักศึกษา (ช่วงอายุ 18-24 ปี) ที่มีต่อเว็บไซต์ห้องสมุดและสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ ข้อมูลที่ผมนำมาทำสไลด์และนำเสนอนี้มาจาก “Perception of Libraries, 2010 by OCLC” เอกสารสไลด์ชุดนี้ [slideshare id=16951436&doc=perceptionoflibrariesbyoclc-130305103911-phpapp02] สรุปข้อมูลจากเอกสาร 1. บรรณารักษ์มีคุณค่าต่อผู้ใช้บริการมากขึ้น 2. อัตราการใช้สื่อหรือข้อมูลของห้องสมุด 2.1 เว็บไซต์ห้องสมุด ในปี 2005 จำนวน 53% ในปี 2010 จำนวน 58% — เพิ่มขึ้น 2.2 ฐานข้อมูลออนไลน์ ในปี 2005 และ 2010 มีจำนวนเท่ากัน 30% — เท่าเดิม 2.3 วารสารออนไลน์ ในปี 2005 จำนวน 41% — ลดลง 3. การค้นหาข้อมูลออนไลน์ ส่วนใหญ่ผู้ใช้บริการจะเลือกใช้เครื่องมืออย่าง Search Engine, Wikipedia, Online bookstores มีส่วนน้อยที่ใช้เว็บไซต์ห้องสมุด นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ และฐานข้อมูลออนไลน์ 4. สิ่งแรกที่ผู้ใช้จะไปเวลาต้องการค้นหาข้อมูล คือ Search Engine, Wikipedia, เครือข่ายสังคมออนไลน์ และอีเมล์….. อะไรที่เกี่ยวกับห้องสมุดผู้ใช้บริการไม่นึกถึง 5. ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ยังคงยอมรับว่าข้อมูลจากห้องสมุดยังคงมีความน่าเชื่อถือ 6. ความพึงพอใจใน Search Engine ลดลงมาก ในขณะที่ความพึงพอใจในบรรณารักษ์เริ่มมีการเพิ่มขึ้น 7. ถ้าเว็บไซต์ห้องสมุดมีการปรับปรุงหรือพัฒนา…โดยการเติมเนื้อหา ข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ ลงในเว็บไซต์ โอกาสที่ผู้ใช้บริการจะกลับมานิยมและใช้เว็บไซต์ห้องสมุด 8. บริการในห้องสมุดที่มีอัตราการใช้ลดลง ได้แก่…

Flickr Fight ยกที่หนึ่ง : เมื่อห้องสมุดเจอกับ search engine

เว็บไซต์ Flickr Fight คือ เว็บไซต์ที่ใช้ Flickr Api ร่วมกับการค้นหาของ Google ซึ่งในเว็บไซต์นี้จะใช้ในการเปรียบเทียบจำนวนของรูปภาพ ของคำที่เราต้องการสืบค้นจำนวน 2 คำ หลักการง่ายๆ ครับ นำคำที่เราต้องการเปรียบเทียบทั้งสองคำใส่ลงไปในช่องช่าง ซึ่งในยกแรกวันนี้ผมขอใช้ 2 คำ คือ Library กับ Search engine ดูซิว่าใครจะชนะ เอาเป็นว่าไปดูผลกันเลยดีกว่า วันนี้ก็เป็นวันของชาวห้องสมุดครับ เมื่อ Library ชนะ Search Engine ผลออกมาน่าพอใจมากครับเมื่อ Library มี result = 2388533 images! ส่วนผลของ Search engine มี result = 35036 images! เห็นหรือยังครับ ว่าห้องสมุดต้องยิ่งใหญ่กว่า Search Engine แน่นอนครับ 5555 เพื่อนๆ ลองเอาไปเล่นดูกันนะครับ ที่ http://flickrfight.net ปล. อย่าสนใจโฆษณาด้านบนของเว็บไซต์นะ มันไม่เหมาะสม อิอิ

ผลสำรวจจำนวนคำที่ใช้ในการสืบค้นบน search engine

เวลาที่เพื่อนๆ ต้องการสืบค้นข้อมูลหรือเว็บไซต์ใน google เพื่อนๆ มักจะสืบค้นด้วยคำ keyword ใช่มั้ยครับ แล้วคำ keyword เหล่านั้น เพื่อนๆ ใช้กี่คำในแต่ละการสืบค้น 1 ครั้งละครับ คำเดียว สองคำ สามคำ หรือ… วันนี้ผมเอาผลสำรวจเกี่ยวกับเรื่องการใช้คำ keyword เพื่อการสืบค้นข้อมูลมาให้เพื่อนๆ ดูครับ ข้อมูลดังกล่าวสำรวจโดย OneStat และถูกนำเสนอในเรื่อง Most Searchers Have Two Words for Google ซึ่งผมได้สรุปประเด็นสำคัญออกมาได้ดังนี้ – คนส่วนใหญ่ที่ใช้ google ในการสืบค้นข้อมูล พวกเขามักจะพิมพ์คำ Keyword จำนวน 2 คำในช่องสืบค้น ซึ่งผลที่ออกมาคือ พวกเขาจะได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน ถูกต้อง และละเอียดขึ้น – นอกจาก google ที่มีสถิติการใช้คำKeyword จำนวน 2 คำแล้ว search engine รายอื่นๆ ก็พบประเด็นในทำนองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น MSN, Yahoo ผู้ใช้ก็จะมีพฤติกรรมทำนองเดียวกัน คือ ใช้ Keyword จำนวน 2 คำ – ผลสำรวจนี้อ้างอิงจากผู้ใช้จำนวน 2 ล้านคนใน 100 ประเทศ ข้อมูลจากการสำรวจ : จำนวนคำสืบค้นที่ใส่ในช่องค้นหา / จำนวนเปอร์เซ็นต์ของคนในกลุ่มต่างๆ ใช้ Keyword จำนวน 1 คำค้นในช่อง มีจำนวน 15.2 เปอร์เซ็นต์ ใช้ Keyword จำนวน 2…

33 เหตุผลที่บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญ

บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญต่อคนในสังคมอยู่หรือปล่าว บทความนี้จะเป็นคนบอกคุณเอง โดยบทความนี้ผมแปลมาจากเรื่อง “33 Reasons Why Libraries and Librarians are Still Extremely Important” บทความนี้นับว่าเป็นบทความที่น่าสนใจมากๆ เลยครับ ผมเลยอยากเอามาเล่าสู่กันฟังบ้าง เนื้อหาหลักในบทความนี้สะท้อนถึงสาเหตุที่อินเทอร์เน็ต ไม่สามารถเข้ามาแทนที่ห้องสมุดได้ รวมถึงเครื่องมือสืบค้นอย่าง search engine ก็ไม่สามารถแทนที่บรรณารักษ์ได้เช่นกัน แม้ว่าแนวโน้มในอนาคต คือ สื่อดิจิทัลจะมาแทนสื่อสิ่งพิมพ์ก็จริง แล้วทำไมบทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ยังคงอยู่จะเป็นอย่างไร ไปติดตามได้เลยครับ 33 เหตุผลที่บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญ 1. Not everything is available on the internet อินเทอร์เน็ตไม่ได้มีทุกอย่าง ? แม้ว่าข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะมีมหาศาลเพียงใด แต่ในบางเรื่องเราก็ไม่สามารถค้นบนอินเทอร์เน็ตได้ เช่น เอกสารทางด้านปะวัติศาสตร์ หรือหนังสือเก่าๆ บางเล่มที่เราอยากอ่าน แต่ก็ไม่สามารถค้นได้ในอินเทอร์เน็ต 2. Digital libraries are not the internet ห้องสมุดดิจิทัลไม่ใช่อินเทอร์เน็ต ? อันนี้เกิดจากความเข้าใจผิดของคนบางกลุ่มที่บอกว่า อินเทอร์เน็ตคือห้องสมุดดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประเด็นนี้เค้าเปรียบเทียบว่าบนอินเทอร์เน็ตมีการจัดเก็บ Web Sources แต่ห้องสมุดดิจิทัลมีการจัดเก็บแบบ Online Collections 3. The internet isn?t free หนังสือบนอินเทอร์เน็ตไม่ได้ฟรีอย่างที่คิด ? ในบางครั้งที่เราเข้าไปดูคลังหนังสือออนไลน์ที่บอกว่าฟรี ไม่เสียค่าบริการ ความเป็นจริงแล้วเว็บเหล่านี้ฟรีเฉพาะเอาหนังสือมาฝากไว้บนเว็บให้คนอื่น โหลด แต่คนที่โหลดหนังสือเหล่านี้นั่นแหละที่ต้องรับผิดชอบกับเรื่องความใช้จ่าย ในการดาวน์โหลด ยกตัวอย่างเช่น Project Gutenberg ที่รวบรวมหนังสือมากมายไว้ แต่พอจะดาวน์โหลดก็ต้องเสียเงินอยู่ดี 4. The internet complements libraries, but it doesn?t replace…