ห้องสมุดประชาชนยุคใหม่ในอเมริกา

บทความนี้เขียนไว้ตั้งแต่บล็อกเก่าของผม (http://projectlib.wordpress.com) แต่ขอเรียบเรียงใหม่
เป็นบทความที่เขียนลงในเว็บไซต์ Voice of America ภาคภาษาไทย

publiclibrary

บทความนี้ได้เขียนถึงเรื่องห้องสมุดสาธารณะ (ผมว่าน่าจะใช้คำว่าห้องสมุดประชาชนมากกว่านะ) ยุคใหม่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
เนื้อหาในบทความนี้เป็นการกลายถึงการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในห้องสมุด

ไม่ว่าจะเป็นการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้จัดเก็บข้อมูลบรรณานุกรม (โปรแกรมห้องสมุด) แทนบัตรรายการ
หรือจะเป็นเรื่องการเข้าถึงสารสนเทศได้จากที่ต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต

บทความนี้อ่านแล้วเข้าใจง่าย และเป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อน ผมเลยขอคัดลอกมาให้เพื่อนๆ อ่านนะครับ
หากต้องการอ่านจากต้นฉบับให้เข้าไปดูที่ ห้องสมุดสาธารณะยุคใหม่ (เนื้อหาข่าว)

———————————————————————————————————————–

เนื้อหาของบทความ (ฉบับคัดลอก) – ห้องสมุดสาธารณะยุคใหม่

เมื่อก่อนนั้นห้องสมุดชุมชนในอเมริกาคือสถาน ที่ที่สมาชิกในชุมชนพากันมาพบปะ พูดคุย และแลกเปลี่ยนหนังสือกัน แต่ปัจจุบันภาพเหล่านั้นเปลี่ยนไปแล้ว ห้องสมุดทุกวันนี้กลายเป็นศูนย์ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ มีการนำบันทึกรายชื่อหนังสือทางอินเตอร์เนตเข้ามาแทนที่บัตรรายการแบบเก่า หนังสือและข้อมูลจำนวนมากถูกนำไปเก็บเป็นแผ่นซีดีและดีวีดี และผู้ใช้ห้องสมุดสามารถค้นหาข้อมูลที่ตนต้องการเหล่านั้นได้ทางอินเตอร์เนต

ปัจจุบันหน้าที่หลักของบรรณารักษ์คือการแนะนำวิธีให้ผู้ใช้บริการสามารถ ค้นหาข่าวสารที่ต้องการจากแหล่งข้อมูลมหาศาลนั้นได้ บรรณารักษ์ต้องมีความรู้เกี่ยวกับข้อมูลที่มีอยู่ และตัดสินใจว่า ฐานข้อมูลชนิดไหนที่ผู้มาใช้บริการต้องการ เมื่อผู้ใช้บริการพบข้อมูลดังกล่าวแล้วก็เพียงแค่ส่งอีเมลข้อมูลนั้นไปยัง คอมพิวเตอร์ที่บ้านโดยไม่ต้องหอบหนังสือกลับไปเหมือนสมัยก่อน

นอกจากนี้ผู้มาใช้บริการยังสามารถใช้บริการห้องสมุดจากคอมพิวเตอร์ที่บ้านที่ไหนๆ ก็ได้ในโลกผ่านทางอินเตอร์เนต

เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ ช่วยให้ห้องสมุดสามารถเสนอบริการใหม่ให้แก่ผู้มาใช้บริการได้คือการถามคำถาม หรือขอความช่วยเหลือจากบรรณารักษ์ผ่านหน้าเวบไซต์ได้ ด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายเชื่อมต่ออินเตอร์เนตไร้สายที่กำลังขยายตัวอย่างรวด เร็วในสหรัฐทำให้ห้องสมุดสาธารณะส่วนใหญ่ในปัจจุบันสามารถให้บริการผ่านทาง คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคเพื่อช่วยหาข้อมูลในการทำการบ้าน ทำรายงาน ตลอดจนการค้นคว้าวิจัยส่วนตัว

สำหรับผู้ที่มีปัญหาทางสายตาจอคอมพิวเตอร์สามารถปรับขนาดตัวหนังสือให้ ใหญ่ขึ้นได้ตามที่ต้องการ และสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนห้องสมุดยังมีบริการหนังสือเสียงไว้ให้เด็กๆ ฟังเป็นการเตรียมตัวสู่โลกแห่งการเรียนรู้ตั้งแต่เนิ่นๆ นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ห้องสมุดชุมชนสามารถให้บริการทั้งด้าน ความรู้และความบันเทิงแก่ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น

ทุกวันนี้ห้องสมุดในอเมริกานั้น ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการอินเตอร์เนตที่รวดเร็วได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้ จ่ายใดๆ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ มากมาย คุณตา คุณยายที่มาใช้บริการห้องสมุดหลายคนก็ยังยินดีที่จะมานั่งเปิดหนังสือเล่ม เก่าๆ ทีละหน้าเหมือนที่เคยทำมาจนชิน

———————————————————————————————————————–

เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับบทความที่ผมนำมาให้อ่าน
อ๋อ ลืมบอกไปถ้าเพื่อนๆ ขี้เกียจอ่าน ผมขอแนะนำให้ฟังเป็นเสียงครับ ลองเข้าไปดูที่ ห้องสมุดสาธารณะยุคใหม่ (ไฟล์เสียง)

สำหรับวันนี้ก็ขอฝากไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*