หลังจากที่อ่านบทความ “บรรณารักษ์แนวใหม่ กว่าจะได้ต้องใช้เวลาอีกกี่ชาติ” แล้ว
ผมรู้สึกว่า ผมมีความเห็นที่แย้งกับบทความนี้ และยังมองต่างมุมกับบทความนี้อยู่
เลยจำเป็นต้องเขียนถึงเรื่องนี้หน่อยนึง
เกณฑ์การเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
มีคนขอคำปรึกษาเรื่องเกณฑ์ในการเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติมากมาย
วันนี้ผมเลยขอนำเรื่องนี้มาเล่าให้เพื่อนๆ หลายๆ คนฟัง
จากประสบการณ์ที่เคยทำงานด้านนี้มา ผมจึงขอเล่าเรื่องนี้ให้ฟังแบบคร่าวๆ นะครับ
การตั้งเกณฑ์ของการเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ต้องดูองค์ประกอบหลายๆ เรื่องนะครับ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ฟังค์ชั่นการใช้งาน และส่วนเสริมต่างๆ
ด้านฟังค์ชั่นการใช้งาน ผมเคยเขียนเกณฑ์แบบคร่าวๆ ดังนี้
(เวอร์ชั่นนี้อาจจะต้องปรับปรุบเยอะหน่อยนะครับ เพราะว่าเป็นสเปคที่เขียนไว้เมื่อสามปีที่แล้ว)
1. ระบบงานจัดหา (Acquisition)
1.1 สามารถจัดการด้านงบประมาณและการจัดซื้อ ทวงถามศูนย์หนังสือได้
1.2 จัดการ ควบคุมรายการและติดต่อสื่อสารผู้จำหน่ายร้านค้า
1.3 สามารถตรวจสอบรายการสั่งซื้อโดยการแก้ไขได้ก่อนการสั่งซื้อ
1.4 จัดการเกี่ยวกับอัตราการแลกเปลี่ยนเงิน
1.5 สามารถสร้างระบบความปลอดภัยในโมดูลได้
1.6 กำหนดสิทธิ์และอนุญาตให้เฉพาะบุคคลได้
2. ระบบงานวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการ (Cataloging)
2.1 บันทึกรายการบรรณานุกรมได้ในรูป MARC และ Non- MARC
2.2 สามารถเพิ่ม ลด แก้ไข Tag, Subfield ใน MARC ได้
2.3 เชื่อมต่อกับระบบ Thesauri ได้จากหน้าจอ Catalog
2.4 สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบ MARC มาตรฐานได้
2.5 จัดเก็บรายละเอียดสารสนเทศฉบับสมบูรณ์ให้อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์ฯ
2.6 สามารถป้อนข้อมูลจากสื่อต่าง/สื่ออิเล็คทรอนิกส์มาอยู่ในรูปแบบ MARC
2.7 มีระบบ Authority Control ตรวจสอบรายการผู้แต่ง หัวเรื่องให้เป็นมาตรฐาน
3. ระบบงานบริการยืม-คืน (Circulation)
3.1 สามารถกำหนดระเบียบการยืม-คืนวัสดุห้องสมุดได้ตามประเภทสมาชิก
3.2 สามารถกำหนดเวลาการยืมวัสดุแต่ละประเภทได้
3.3 สามารถเก็บประวัติรายละเอียดการยืมของสมาชิกแต่ละคนได้
3.4 สามารถดูรายการยืมและรายการจองของตนเองผ่านอินเทอร์เน็ต
3.5 สามารถกำหนดปฎิทิน เพื่อจัดการเรื่องกำหนดวันส่งได้
3.6 สามารถจัดการเกี่ยวกับค่าปรับ
3.7 สามารถจัดการเกี่ยวกับการยืมวัสดุห้องสมุดในช่วงเวลาสั้นได้
3.8 สามารถจัดการเกี่ยวกับการยืม-คืนวารสารในลักษณะ In-House-Use
3.9 สามารถพิมพ์รายงานและสถิติได้ตามความต้องการ
คุณลักษณะของระบบงานบริการยืม-คืน (Circulation)
1) กลุ่มผู้ใช้เป็นทั้งแบบ National และ Local
2) สามารถทำการยืม-คืน โดยใช้ระบบบาร์โค้ดหรือเลข ID ของสมาชิกห้องสมุด
3) สามารถแสดงข้อมูลรายละเอียดของผู้ใช้บริการได้
4) สามารถทำการคำนวณเงินค่าปรับได้โดยอัตโนมัติ
4. ระบบงานวารสารและเอกสาร (Serial Control)
4.1 สามารถใช้ข้อมูล Vendor ร่วมกัน
4.2 สามารถสร้างรายการ Holding วารสารและให้แสดงผลที่ OPAC
4.3 สามารถตรวจสอบสถานะของวารสารแต่ละรายชื่ออยู่ในสถานะใด
4.4 สามารถจัดระบบควบคุมและคำนวณค่าใช้จ่าย ค่าบอกรับวารสาร ทำบัญชีวารสาร
4.5 สามารถออกจดหมายทวงวารสาร ไปยังผู้จัดจำหน่ายหรือตัวแทนได้
5. ระบบงานสืบค้นรายการทรัพยากร (Online Public Access Catalog)
5.1 สนับสนุนการทำงานแบบ Internet Web Clients
5.2 สามารถสืบค้นข้อมูลได้หลายรูปแบบ โดยค้นจากชื่อผู้แต่ง นิติบุคคล ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง เลขเรียกหนังสือและคำสำคัญ
5.3 สามารถสืบค้นแบบเทคนิคตรรกบูลีน
5.4 สามารถสืบค้นภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเรียง ลำดับอักษรตามพจนานุกรม
5.5 สนับสนุนการสืบค้นผ่านมาตรฐานโปรโตคอล Z39.50
ที่กล่าวมานี่ก็เป็นเพียงการทำงานเบื้องต้นของระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ควรจะเป็นเท่านั้นนะครับ
ส่วนที่เป็นองค์ประกอบเสริมก็มีอีก เช่น การรองรับข้อมูลในอนาคต ฐานข้อมูลที่ใช้ ระบบเครือข่าย ฯลฯ
นอกจากนี้ผมได้ลองมานั่งคิดๆ ดู และลองจัดกลุ่มดู
ระบบห้องสมุดอัตโนมัติควรจะต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรอีกบ้าง
– มาตรฐาน ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ดีควรจะรองรับเรื่องมาตรฐานอีกมากมาย
เช่น MARC21, ISO2709, Z39.50 ฯลฯ
– ออนไลน์ ระบบห้องสมุดอัตโนมัตที่ดีควรทำงานได้ในระบบออนไลน์ ทั้งในแง่ผู้ใช้บริการและบรรณารักษ์
เช่น สืบค้นออนไลน์ จองหนังสือผ่านระบบออนไลน์ ต่ออายุการยืมออนไลน์
– บริหารจัดการระบบที่ดี ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ดีควรมีระบบที่สามารถบริหารจัดการข้อมูลภายในได้ที
ทั้งในเง่ของการนำข้อมูลต่างๆ มาใช้ได้ เช่น สถิติการใช้งาน รายงานการใช้งาน และเก็บข้อมูลการเข้าใช้งาน
– การแลกเปลี่ยนข้อมูล ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ดีควรมีฟังค์ชั่นที่รองรับในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับห้องสมุดอื่นๆ
– อนาคต ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ดีควรคำนึงถึงการเติบโตทางด้านเทคโนโลยีในอนาคตด้วย
เอาเป็นว่าวันนี้ผมก็ขอเกริ่นเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ
แล้ววันหลังผมจะลองนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่มีอยู่ในท้องตลาดมาวิจารณ์ให้อ่านแล้วกัน
ปล. หากเพื่อนๆ มีข้อเสนอแนะเรื่องระบบห้องสมุดอัตโนมัติมากกว่านี้
สามารถเสนอความคิดเห็นได้ด้านล่างนี้เลยนะครับ
พฤติกรรมของคนบางประเภทบนรถเมล์
ทุกๆ วันไม่ว่าผมจะเดินทางไปไหน ผมมักจะเลือกใช้บริการของรถเมล์เป็นหลัก
และทุกๆ ครั้งที่ผมใช้บริการบนรถเมล์ ผมก็มักจะเจอพฤติกรรมแปลกๆ มากมาย

เรื่องที่จะเล่าให้ฟังต่อไปนี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงกับผม
ไม่น่าเชื่อว่าจะมีคนพันธุ์นี้อยู่บนโลก
เรื่องมีอยู่ว่า ระหว่างทางที่ผมเดินทางกลับบ้านวันนี้
บนรถเมล์ที่มีคนจำนวนพอสมควรยืนกันบ้างนิดหน่อย
รถเมล์ขับไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมีชายแก่คนนึงและชายตาบอดเดินขึ้นมา
ชายทั้งคู่เดินขึ้นมาบนรถเมล์โดยที่ไม่มีใครสนใจและไม่มีใครมีน้ำใจลุกให้นั่งเลย
ผมสงสัยมากกว่าสังคมนี้เป็นไรไปแล้วเนี้ย
ทั้งๆ ที่คนที่นั่งแถวนั้นก็วัยรุ่นชายทั้งนั้น
แต่ไม่มีใครแสดงความเสียสละในการลุกเลย
ผมเองวันนี้ก็ไม่ค่อยสบาย รู้สึกปวดหัวอยู่นิดหน่อย
จึงต้องลุกเพื่อแสดงความเสียสละแทน
แต่สิ่งเหล่านี้ยังไม่ทำให้ผมสะเทือนใจเท่ากับเหตุการณ์ต่อจากนี้
นั่นคือ ผมต้องยืนจนเกือบถึงบ้านผม ซึ่งอีกไม่กี่ป้ายก็ถึงบ้าน
ทันใดนั้น ผมก็ได้ยินคำพูดของชายสองคนสนทนากันว่า
?ดูสิคนที่ลุกให้คนตาบอดนั่น มันยืนตลอดทางเลย?
?เออ สมน้ำหน้ามัน ดันอยากลุกให้เขานั่งเองนี่ ช่วยไม่ได้?
ผมซึ้งและประทับใจกับคำพูดของคนที่ไร้น้ำใจคนนั้นมาก
น้ำใจคุณไม่มีแล้วจิตใจยังสกปรกอีก
แต่ก็อย่างว่าแหละครับ ผมว่าไอ้คนพันธุ์นี้มันคงพิการทางใจ หรือสมองแน่ๆ
แต่ช่างเหอะครับ สักวันถ้าเขาแก่ลง หรือวันใดที่เขาพิการ
ผมก็หวังว่ากรรมคงตามสนองเขาบ้างนะ
ปล. วันนี้ขอคิดในด้านมืดสักวันนะครับ ทนไม่ได้จิงๆ
คู่มือเพื่อเตรียมสอบบรรณารักษ์อาชีพ
วันนี้ผมขอแนะนำหนังสือคู่มือเตรียมสอบบรรณารักษ์แล้วกันนะครับ
ผมเชื่อว่ามีหลายคนกำลังตามหาหนังสือเล่มนี้อยู่เหมือนกัน
ทักษะทันสมัยสำหรับนักวิชาชีพสารสนเทศ
วันนี้มีงานฝึกอบรมงานนึงที่น่าสนใจมาเล่าให้ฟัง
งานจัดโดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
ข้อมูลทั่วไปของงานฝึกอบรม
ชื่องานภาษาไทย : ทักษะทันสมัยสำหรับนักวิชาชีพสารสนเทศ
ชื่องานภาษาอังกฤษ : New Age Skills for Information Professionals
วันที่จัดงาน : วันที่ 30 มิถุนายน 2552
เวลาการจัดงาน : 8.30-16.00 น.
สถานที่จัดงาน : ณ ห้องประชุม 4 อาคาร 1 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
จัดโดย ศูนย์ความรู้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
งานนี้เป็นงานที่น่าสนใจมากสำหรับผู้ที่อยากเป็นนักสารสนเทศยุคใหม่
เนื่องจากในการฝึกอบรมครั้งนี้มีหัวข้อที่เน้นทางด้าน web 2.0 ด้วย
ลองดูหัวข้อที่น่าสนใจกันก่อนดีกว่า
– การบริหารความเปลี่ยนแปลงกับทักษะทันสมัยสำหรับนักสารสนเทศ
– Social web… การเข้าถึงและการใช้ประโยชน์
ทักาะเหล่านี้ผมคิดว่าเป็นต่อวงการวิชาชีพเราอย่างยิ่ง
การบริหารความเสี่ยงเป็นเรื่องที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในต่อนี้
เพราะการทำอะไรก็ตามถ้าเราไม่มีแผนการบริหารความเสี่ยง
พอเกิดวิกฤตกับเรา เราก็อาจจะคิดหรือแก้ปัญหาไม่ได้
ส่วนทักษะทางด้าน Social web ยิ่งน่าสนใจใหญ่เลยครับ
เพราะว่าเป็นการใช้เครื่องมือทางอินเทอร์เน็ตในการสร้างชุมชนออนไลน์ต่างๆ ด้วย
การอบรมในครั้งนี้วิทยากรของงานนี้คือ
– รศ.ดร. น้ำทิพย์ วิภาวิน
– น.ส. ประดิษฐา ศิริพันธ์
ค่าอบรมในครั้งนี้ก็ 1400 บาทเท่านั้นเองครับ
ถ้าเทียบกับความรู้ที่ได้ก็คุ้มค่าเหมือนกันนะครับ
เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองเข้าไปดูได้ที่
http://klc.tistr.or.th/include/download/IPskill-training_20090630.pdf
Commart X’Gen 2009 ใกล้มาถึงแล้ว
งานไอทีสุดยิ่งใหญ่ช่วงกลางปี ใกล้จะมาถึงแล้วนะครับ
นั่นคือ งาน Commart X’Gen 2009
ข้อมูลทั่วไป
ชื่องานภาษาไทย : คอมมาร์ท เอ็กซ์เจน 2009
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Commart X’Gen 2009
วันที่จัดงาน : วันที่ 2-5 กรกฎาคม 2552
สถานที่ : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
มหกรรมสินค้าไอทีระดับประเทศอีกงานที่ผมไม่อยากให้หลายๆ คนพลาด
งานนี้เป็นงานที่รวบรวมสินค้าไอทีราคาถูก และโปรโมชั่นมากมาย
แถมยังมีร้านค้ามากมายมาให้เราได้เทียบราคา เพื่อตัดสินใจในการเลือกซื้อได้อีกด้วย
ไปดูสปอตโฆษณาของงาน Commart X’Gen 2009 กัน
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=J9swvBwosxE[/youtube]
นอกจากการจำหน่ายสินค้าไอทีแล้ว ในงานนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย เช่น
– การประมูลสินค้าไอที
– การเปิดตัวสินค้ารุ่นใหม่
– กิจกรรมการอบรมสัมมนาในหัวข้อต่างๆ
– การให้คำปรึกษาการซื้อสินค้าไอที
ฯลฯ
งานนี้มี Free Work shop ที่น่าสนใจมากมายเลยนะครับ
– Hack iPhone ใช้ได้ ซ่อมเป็น
– Hack Google ปฎิบัติการตามล่าหาของฟรี
– Advanced Wireless Network เปิดโลกไร้สายง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวคุณเอง
– Blog Marketing สร้างรายได้ผ่านบล็อก รวยได้แค่ปลายนิ้วคลิก
เอาเป็นว่างานดีๆ แบบนี้ผมก็ไม่อยากให้เพื่อนๆ พลาดหรอกนะครับ
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานนี้ อ่านได้ที่ http://www.commartthailand.com/
LibrarianMagazine Special edition#1
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ฉบับพิเศษ 1
ออกในเดือนธันวาคม 2551
ซึ่งในเล่มได้มีการกล่าวถึงหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ
ซึ่งปัจจุบันยังไม่เปิดให้เข้าชม เนื่องจากอยู่ในระหว่างการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ และการส่งมอบงาน
ชื่อเต็มๆ ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ คือ
“หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช”
ทางทีมงานของนิตยสารบรรณารักษ์ได้มีโอกาสเล่าเรื่องราวความเป็นมา
และนำภาพถ่ายจากสถานที่จริงมาให้เราได้ชมกัน นับว่าเป็นโอกาสที่ดีอีกครั้งหนึ่ง
เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ได้กล่าวถึง
– ประวัติความเป็นมาของหอจดหมายเหตุฯ
– วัตถุประสงค์ของการจัดสร้าง
– ภารกิจของหอจดหมายเหตุ
– ทรัพยากรสารสนเทศที่จัดเก็บ
– อาคารต่างๆ ในบริเวณหอจดหมายเหตุฯ
เอาเป็นว่าเป็นฉบับพิเศษ ที่ช่างพิเศษอะไรเช่นนี้
เพื่อนๆ สามารถดูรายละเอียดทั้งหมดที่
http://www.librarianmagazine.com/VOL1_SPECIAL/index.html
LibrarianMagazine ปีที่ 1 เล่ม 8
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 1 เล่มที่ 8 ออกในเดือนตุลาคม 2551
ฉบับนี้เป็นฉบับส่งท้ายปีที่ 1 ของนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์
ก่อนเข้าเนื้อหาของเล่มนี้ ผมเลยขอถือโอกาสอวยพรล่วงหน้าเลยดีกว่า
ขอให้ Librarian Magazine อยู่คู่วงการบรรณารักษ์นานๆ
ขอให้ Librarian Magazine เป็นศูนย์กลางข้อมูลของเหล่าบรรณารักษ์
ขอให้คนทำ Librarian Magazine จงมีแรงใจในการนำเสนอผลงาน
ขอให้ Librarian Magazine ประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจไว้
เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้
เรื่องจากปก – ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม
เรื่องพิเศษ – “งานแสดงมุทิตาจิต จากศิษย์ถึงครู”
เรื่องพิเศษ – ครูในดวงใจของพวกเรา
พาเที่ยวห้องสมุด – ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย
พาเที่ยวห้องสมุด – ห้องสมุดวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
พาเที่ยวห้องสมุด – ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย
พัฒนาห้องสมุด – วีดิโอสตรีมมิ่ง
บทสัมภาษณ์ – คุณนันทนา กรดเต็ม
บทสัมภาษณ์ – อาจารย์ภณิดา แก้วกูร
บทสัมภาษณ์ -? คุณปิยะพร ดาวกระจ่าง (ใหม่)
ท่องเที่ยว ดูงาน? – ประเทศฮ่องกง 7X24 Learning Center บทบาทห้องสมุดยุคใหม่ ที่ต้องไปให้ถึง
บทความภาษาอังกฤษ? – The Plague of Plagiarism in an Online World
บทความและเรื่องแปล – สิบอย่างที่เราเรียนรู้ขณะที่กำลังสร้างเว็บไซต์ใหม่
บทความและเรื่องแปล – Dissertation & Research Clinics
บทความและเรื่องแปล – สภาผู้แทนราษฎร
เรื่องสั้นบรรณารักษ์ – บรรณารักษ์ป้ายแดง? (ตอน ๒)
เรื่องเล่าบรรณารักษ์ – เรื่องเล่าจากอินเดีย (ตอน ๒)
เรื่องเล่าบรรณารักษ์ – เลโอนาร์โด ดาวินชี : อัจฉริยะผู้เกิดก่อนยุคสมัย
เรื่องเล่าจากผู้อ่าน – หิ้วกล้องท่องพิพิธภัณฑ์สิงค์โปร์
หลังจากเล่มนี้ (ฉบับที่ 8) ทางทีมงานแอบกระซิบว่าจะมีเล่มฉบับพิเศษด้วย
ยังไงเดี๋ยวผมจะนำมาลงให้เพื่อนๆ บรรณารักษ์ได้อ่านนะครับ
เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 1 เล่ม 8 : http://www.librarianmagazine.com/VOL1No8/index.html
LibrarianMagazine ปีที่ 1 เล่ม 7
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 1 เล่มที่ 7
ออกในเดือนกันยายน 2551
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ฉบับนี้ มีเรื่องเยอะกว่าเล่มอื่นๆ มากเลย
กว่าจะอ่านครบผมต้องใช้เวลาหลายวันเลยนะครับ
ยังไงเพื่อนๆ ก็ลองแบ่งเรื่องที่อยากอ่านก่อนนะครับ จะได้ไม่เสียเวลา
เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้
เรื่องจากปก – ห้องสมุดธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่
พาเที่ยวห้องสมุด – พิพิธภัณฑ์-ห้องสมุด พุทธทาส ๑๐๐ ปี
พัฒนาห้องสมุด – ฝึกทำเว็บไซต์ด้วย?? PHP-Fusion Core 7
บทสัมภาษณ์ – รศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน
บทสัมภาษณ์ – คุณเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ เจ้าของบล๊อก Projectlib (ผมเอง)
ท่องเที่ยว ดูงาน? – การบริการทางวิชาการในรัฐสภาอินเดีย
บทความภาษาอังกฤษ? – Christine Borgman and Scholarly Communication
บทความและเรื่องแปล – การวัดผลความก้าวหน้า
บทความและเรื่องแปล – ห้องสมุดดิจิตัลแห่งยุโรป Launch of European digital library “on track”
บทความและเรื่องแปล – ระบบเกียรติศักดิ์
บรรณารักษ์นักเขียน – ดาริกามณี
เรื่องสั้นบรรณารักษ์ – ศูนย์สี่หนึ่งหก
เรื่องสั้นบรรณารักษ์ – บรรณารักษ์ป้ายแดง? (ตอน ๑)
เรื่องเที่ยวบรรณารักษ์ – เรื่องเล่าจากอินเดีย (ตอน ๑)
กิจกรรม และ สาระน่ารู้อื่นๆ – กิจกรรมวันแม่ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเลย
เป็นยังไงกันบ้างครับ เรื่องเยอะมากเลยใช่มั้ยครับ
เอาเป็นว่าค่อยๆ อ่านกันดูนะครับ
เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 1 เล่ม 7 : http://www.librarianmagazine.com/VOL1No7/index.html
LibrarianMagazine ปีที่ 1 เล่ม 6
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 1 เล่มที่ 6
ออกในเดือนกรกฎาคม 2551
เรื่องจากปกของนิตยสารออนไลน์ฉบับนี้ ได้พูดถึงเรื่อง การนำโมเดลธุรกิจมาใช้ในห้องสมุด
ซึ่งกรณีตัวอย่างที่นำมาศึกษานี้ คือ กรณีการเปิด BookShop ของห้องสมุดสตางค์
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเลยนะครับ เพื่อนๆ ลองเอาไปประยุกต์ใช้ดูนะ
เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้
เรื่องจากปก – Library Bookshop ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข
พัฒนาห้องสมุด – เมื่อไปจัดห้องสมุดที่ลับแล
พัฒนาห้องสมุด – ห้องสมุดเพื่อน้อง
พาเที่ยวห้องสมุด – เคยไปศูนย์การเรียนรู้ วังจันทรเกษม ในกระทรวงศึกษาธิการไหม
พาเที่ยวห้องสมุด – ห้องสมุด Book Garden
บรรณารักษ์ท่องเที่ยว ดูงาน? – The 34th Binirayan Festival 2008 ประเทศฟิลิปปินส์
บรรณารักษ์ท่องเที่ยว ดูงาน? – เตรียมตัวขอทุน IFLA ตอนสอง การประเมินผลการเข้ารับการอบรม
เรื่องแปล – ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้
เรื่องแปล – หากว่าโลกของห้องสมุดจะไม่มีบรรณารักษ์
เรื่องแปล – หนูทำได้: เมื่อเด็กอายุ 12ขวบอยากเป็นเจ้าของห้องสมุด
ประสบการณ์การฝึกงานห้องสมุด – ประสบการณ์การฝึกงานห้องสมุดของนักศึกษาวิชาเอกบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ประสบการณ์การฝึกงานห้องสมุด – จากประสบการณ์การฝึกงานนักศึกษา
กิจกรรม และ สาระน่ารู้อื่นๆ – กิจกรรมห้องสมุดประชาชนจังหวัดเลย ตอนสอง
กิจกรรม และ สาระน่ารู้อื่นๆ – ไล-บรา-รี่ ห้องสมุดนี้ขายกาแฟ
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ก็ได้ดำเนินการออกมาครบหกฉบับแล้ว
กำหนดเวลาก็ออกตรงเวลาทุกครั้ง แถมยังมีสาระความรู้ที่น่าสนใจมากมาย
ยังไงผมก็ขออวยพร และเป็นกำลังใจให้ผู้จัดทำทุกคนนะครับ
เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 1 เล่ม 6 : http://www.librarianmagazine.com/VOL1No6/index.html