ตัวอักษร A-Z กับวงการห้องสมุด

A B C D E F G ….. X Y Z ท่องกันไว้เลยนะครับ
เพราะวันนี้ผมจะนำตัวอักษรเหล่านี้มาเชื่อมกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ให้เพื่อนๆ อ่าน

atoz-in-the-library

ตัวอักษรตั้งแต่ A-Z เพื่อนๆ คิดว่า
แต่ละตัวสามารถใช้แทนคำศัพท์อะไรที่เกี่ยวกับห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ได้บ้าง

สำหรับผม ผมนึกถึงคำศัพท์ ดังต่อไปนี้

A ? AACR2 (มาตรฐานการลงรายการในบัตรรายการ)

B ? BOOK(หนังสือ แน่นอนถ้าในห้องสมุดไม่มีหนังสือก็คงไม่ใช่ห้องสมุด)

C ? Circulation (บริการยืมคืน)

D ? DDC (Dewey Decimal Classification) (การจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้)

E ? Encyclopedia (สารานุกรม ในห้องสมุดก็มีรวบรวมไว้เช่นกัน)

F ? Free everything (ฟรีทุกอย่าง (ยกเว้นบางห้องสมุด))

G ? Green Library (ห้องสมุดสีเขียว หรือห้องสมุดเพื่อสิ่งแวดล้อม แนวโน้มที่กำลังมาแรง)

H ? Help desk (มุมให้ความช่วยเหลือด้านสารสนเทศ)

I ? IFLA (International Federation of Library Associations) (สหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมและสถาบันห้องสมุด)

J ? Journal (วารสารวิชาการ)

K ? Knowledge Center (ศูนย์รวมความรู้)

L ? LC (ชื่อหอสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นชื่อเรียกการจัดหมวดหมู่แบบรัฐสภาอเมริกัน)

M ? MARC Format (มาตรฐานการลงรายการแบบ MARC21)

N ? NLM (National Library of Medicine) (การจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์)

O ? OPAC (Online Public Access Catalog) (ระบบสืบค้นสารสนเทศออนไลน์)

P ? Projectlib (บล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ออนไลน์)

Q ? Question and Answer Service (บริการตอบคำถาม)

R ? Reference Service (บริการรวบรวมรายการบรรณานุกรม และบริการอ้างอิง)

S ? Service mind (การบริการด้วยใจเป็นหัวใจของคนทำงานห้องสมุด)

T ? Thesaurus (ธีซอรัส หรือ คำศัพท์สัมพันธ์)

U ? Union Catalog (ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม)

V ? VTLS (ชื่อระบบห้องสมุดอัตโนมัติอย่างหนึ่ง ถือว่าเป็นระบบที่ใหญ่อันดับต้นๆ)

W ? World Cat (หน่วยงานที่อยู่ภายใต้ OCLC และมีข้อมูลรายการหนังสือเยอะที่สุดในโลก)

X ? XXX (ตัวอักษรของสื่อที่ไม่มีในห้องสมุด)

Y ? Y (วาย ชื่อผมเอง อิอิ บรรณารักษ์ในโลกออนไลน์)

Z ? Z39.50 (Protocol ที่ใช้ในการสืบค้นรายการฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม หรือ Union catalog)

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างคำศัพท์ห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่ผมนึกถึงนะครับ
เพื่อนๆ ว่า ตัวอักษร A-Z ตัวไหนที่เพื่อนๆ ยังอยากเปลี่ยน ก็บอกผมมาได้เลยนะครับ อิอิ

สถิติ ความคืบหน้าของ Libraryhub

Libraryhub เปิดให้บริการมาเกือยสองเดือนแล้วนะครับ
วันนี้ผมจะมารายงานความคืบหน้าและสถิติของบล็อกให้เพื่อนๆ ได้ดูกัน

libraryhubstat

สถิติที่น่าสนใจของบล็อก Libraryhub
– Visitors
May 2009 = 1430
June 2009 = 5425

– Pageviews
May 2009 = 26783
June 2009 = 68813


– Spiders

May 2009 = 3133
June 2009 = 9675


– Feeds

May 2009 = 249
June 2009 = 488

จะสังเกตุเห็นว่าสถิติของเดือนที่แล้ว และเดือนนี้ต่างกันมากเลยนะครับ
เดือนนี้มีสถิติที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 100-200% เลย
นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีมากๆ เลย กำลังใจของผมก็ยิ่งมีมากขึ้นเรื่อยๆ นะครับ

เมื่อกี้เป็นสถิติที่เกี่ยวกับผู้อ่าน และผู้ที่เข้ามาในบล็อก Libraryhub นะครับ
ในส่วนต่อไปผมจะขอนำสถิติที่เกิดจากการเขียนบล็อกของผมมากให้เพื่อนๆ ได้ดูบ้าง

จำนวนเรื่องที่ผมเขียน

May 2009 = 50 เรื่อง
June 2009 = 41 เรื่อง


เรื่องที่มีคนเข้ามาอ่านเยอะที่สุด 5 อันดับ

1. Commart X?Gen 2009 ใกล้มาถึงแล้ว
2. รับสมัครบรรณารักษ์ หอสมุด มธ.
3. ลองใช้สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่
4. รับสมัครบรรณารักษ์ มศว องครักษ์
5. บทบาทและหน้าที่ของบรรณารักษ์

สถิติอีกอย่างที่ผมอยากให้เพื่อนๆ ได้เห็นคือ
ค่า PageRank ของ Google ซึ่งตอนนี้ Libraryhub ได้ 4/10 แล้ว
ส่วนอันดับของ Libraryhub ใน Alexa คือ 2,159,199 ครับ

การเติบโตของ Libraryhub ในช่วงสองเดือนแรกนับว่าโตขึ้นแบบเกินความคาดหมายของผมเลยนะครับ
ก็ต้องขอขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่คอยเป็นกำลังใจให้ผม และติดตามบล็อกของผมมาโดยตลอดนะครับ

LibrarianMagazine ปีที่ 2 เล่ม 3

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่มที่ 3
ออกในเดือนเมษายน 2552

libmag23

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้เปลี่ยนลุ๊คไปมากเลยนะครับ
ในรูปแบบของการนำเสนอออกมาคล้ายนิตยสารมากขึ้น
มีการใช้คำว่า สารบัญ และจัดหน้าสารบัญคล้ายๆ นิตยสาร
ทำเอาผมตกใจอยู่เหมือนกันนะครับ

แต่เอาเหอะครับ เนื้อหาสาระก็ยังคงมีประโยชน์ต่อวงการเหมือนเดิม

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้

เรื่องจากปก – IFLA ASIA & Oceania Mid-Conference Meeting

พาเที่ยว – Victoria University of Wellington Central library

เรื่องแปล – วิธีนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ

เรื่องแปล – ห้องสมุดมาร์กาเร็ด เฮอร์ริค (Margaret Herrick Library)

เรื่องแปล – หากนักศึกษาออกแบบห้องสมุดได้ เขาก็อยากจะมาใช้เองนั่นแหละ

บทความ – ท่องเว็บเก็บเกี่ยว KM ในห้องสมุด

บทความ – ประชาคมอาเซียนมีอะไรบ้างที่น่าสนใจสำหรับบรรณารักษ์และนักสารสนเทศต้องเตรียมรับมือ

Reflection Report – English for Information Professionals Training

เก็บมาฝาก – งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 37

เป็นยังไงกันบ้างครับ เนื้อหาที่ยังคงน่าสนใจ และมีประโยชน์แบบนี้
ไม่บอกต่อคงไม่ได้แล้วนะ เพื่อนๆ ว่ามั้ย

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่ม 3 :
http://www.librarianmagazine.com/VOL2/NO3/index.html

อัพเดทข่าวสารห้องสมุดจากเว็บหนังสือพิมพ์

ข่าวสารของห้องสมุดจริงๆ แล้วก็มีให้อ่านมากมายเลยนะครับ
วันนี้ผมจึงขอนำเสนอและสรุปข่าววงการห้องสมุดที่อยู่ในหนังสือพิมพ์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านบ้างนะครับ

newspaper-library

วันนี้มีโอกาสได้เปิดดูเว็บไซต์ข่าวหนังสือพิมพ์มากมาย
เลยขอถือโอกาสค้นข่าวและบทความที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดขึ้นมาอ่านดูบ้าง
บางข่าวและบทความเพื่อนๆ คงอ่านแล้ว แต่บางข่าวและบทความก็อาจจะเป็นเรื่องที่ใหม่ก็ได้
ยังไงก็ลองอ่านๆ ดูกันนะครับ เก็บเป็นไอเดียรวมๆ กัน คงจะมีอะไรให้คิดเล่นๆ ดู

ผมขอนำเสนอข่าวและบทความห้องสมุดสัก 5 ข่าวนะครับ

1. “ทน.ขอนแก่น”สร้างสังคมแห่งการอ่าน ส่งความรู้เดลิเวอรี่กับโครงการบุ๊กไบค์
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– เทศบาลนครขอนแก่น จัดทำโครงการนำหนังสือสู่มือน้อง (Book Bike) โดยให้สมาคมไทสร้างสรรค์เป็นผู้ดำเนินการ
– เป็นโครงการที่ต่อยอดมาจากการโครงการ “รถนิทาน” ที่จัดทำในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน
– วิธีการ คือ เตรียมรถจักรยานยนต์บุ๊กไบค์ มาให้ 2 คันเพื่อให้เจ้าหน้าที่นำหนังสือไปแจกในชุมชน
– เป็นโครงการที่ส่งเสริมการรักการอ่านให้กับเยาวชน

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

2. ศธ.ปั้นห้องสมุด3ดีชูหนังสือ-บรรยากาศ-บรรณารักษ์เจ๋ง
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– โครงการห้องสมุด 3ดี ได้แก่ ห้องสมุดที่มีหนังสือดี บรรยากาศดีส่งเสริมการอ่าน และต้องมีบรรณารักษ์ดี
– ให้ความสำคัญกับห้องสมุดในสถานศึกษา
– หนังสือดี = เน้นในการจัดหาหนังสือที่ดีให้กับเยาวชนมากๆ
– บรรยากาศดี = ปรับปรุงให้มีบรรยากาศเหมาะกับการอ่านหนังสือ
– บรรณารักษ์ดี = บรรณารักษ์ที่ให้คำแนะนำดีๆ กับผู้ใช้บริการ

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

3. “อยากเห็นห้องสมุดมีชีวิต”ความห่วงใยในสมเด็จพระเทพฯ
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– การมีนิตยสารสารคดีต่างๆ จะทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความรู้มากมาย
– การมีห้องสมุด บรรณารักษ์จะต้องพยายามผลักดันให้ผู้ใช้มาใช้บริการมากๆ
– อย่าทำให้ห้องสมุดเป็นเพียงแค่ที่เก็บหนังสือเพียงอย่างเดียว

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

4. ห้องสมุดคือปัญญาดั่งยาแสนวิเศษ
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– นอกจากห้องสมุดประชาชนจะต้องมีหนังสือบริการแล้ว ข้อมูลท้องถิ่นก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่ใช่น้อยเลยนะครับ
– ห้องสมุดประชาชน เปรียบเสมือนเป็นศูนย์การเรียนรู้นอกห้องเรียนอีกทางเลือกหนึ่ง
– ความรู้ท้องถิ่นจะต้องถูกสั่งสม และเรียนรู้โดยคนในท้องถิ่นเป็นพื้นฐาน
– ห้องสมุดควรสนับสนุนกิจกรรม และสร้างนิสัยการรักการอ่านให้กับประชาชน

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

5. “อุทยานการเรียนรู้” เมืองอ่างทอง แหล่งศึกษาเรียนรู้ชุมชนตลอดชีพ
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– เทศบาลเมืองอ่างทอง จัดสร้าง “อุทยานการเรียนรู้” เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นภายในชุมชน
– “ความรู้” ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในสังคมยุคปัจจุบัน
– มนุษย์ยิ่งอ่านมากยิ่งรู้มาก ยิ่งทำมากก็ยิ่งมีประสบการณ์มาก เมื่ออ่านและทำตลอดเวลาก็จะมีความรู้และประสบการณ์ตลอดชีวิต
– อุทยานเรียนรู้ = ตลาดวิชา + ตลาดอาชีพ + ตลาดปัญญา

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างข่าวและบทความห้องสมุดที่ผมได้ยกมาให้อ่านนะครับ
หากเพื่อนๆ มีเวลาเปิดอ่านเรื่องแบบต้นฉบับ
ผมว่ามันก็จะยิ่งเพิ่มความเข้าใจในเรื่องการจัดทำ และการให้บริการในห้องสมุดมากขึ้นด้วย

เอาเป็นว่าผมขอตัวไปอ่านข่าวและบทความเหล่านี้ก่อนนะครับ
แล้วว่างๆ ผมจะกลับมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังอีกที

ปล. ข่าวต่างๆ ที่ผมค้นมา มีที่มาจากเว็บไซต์ของ หนังสือพิมพ์ คอม ชัด ลึก นะครับ
เพื่อนๆ สามารถอ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวกับห้องสมุด ในหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก ต่อได้ที่
http://www.komchadluek.net/search.php?search=%CB%E9%CD%A7%CA%C1%D8%B4

ม.อ. ตรัง รับบรรณารักษ์อยู่นะ

งานบรรณารักษ์มาแล้วจ้าาาาาาาา วันนี้ขอเอาใจคงต่างจังหวัดบ้างนะครับ
มีเพื่อนๆ บรรณารักษ์คนไหนอยากทำงานที่จังหวัดตรังบ้าง ลองอ่านเรื่องนี้ดูนะ

psujob

มีหลายคนเรียกร้องให้ผมเอางานบรรณารักษ์ในต่างจังหวัดมาลงให้บ้าง
วันนี้ผมก็เลยตามใจเพื่อนๆ สักหน่อยนะครับ คือเอาตำแหน่งบรรณารักษ์ว่าง ในต่างจังหวัดมาลง

ตำแหน่งบรรณารักษ์ที่ว่างนี้เป็นของ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
รับบรรณารักษ์จำนวน 1 ตำแหน่ง โดยเงินเดือนขึ้นอยู่กับวุฒิที่จบมานะครับ
ถ้าจบ ป.ตรี = 10,320 บาท หรือถ้าจบ ป.โท = 12,610 บาท ครับ

หน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งนี้
คือ
– ให้บริการในศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง
– จัดหาและพัฒนาทรัพยากรการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง
– จัดหมวดหมู่ และจัดทำระบบสืบค้น
– พัฒนาเว็บไซต์ของศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง
– ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

เงินเดือนและภาระหน้าที่ช่างสอดคล้องดีจริงๆ เลยนะครับ
เงินเดือนระดับแบบนี้ แล้วต้องทำงานด้านไอทีของห้องสมุดควบไปด้วย
ดังนั้นขอเตือนสำหรับผู้ที่จะสมัครนะครับว่า ควรรู้ด้านไอทีบ้าง
เพราะหน้าที่ที่ต้องจัดทำเว็บไซต์นี้คงต้องใช้ความสามารถหน่อยแหล่ะ

หากเพื่อนๆ สนใจตำแหน่งนี้ ลองอ่านคุณสมบัติของผู้สมัครต่อเลยดีกว่า

คุณสมบัติของผู้สมัคร
– จบ ป.ตรี หรือ ป.โท ด้านห้องสมุด บรรณารักษศาสตร์ การจัดการสารสนเทศ หรือวิชาที่เกี่ยวข้อง
– สามารถใช้งานโปรแกรมพัฒนาเว็บไซต์ และตกแต่งภาพได้
– มีความรู้เรื่องการจัดหมวดหมู่และทำรายการสืบค้น
– พูด อ่าน เขียนภาาาอังกฤษได้
– มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
– สามารถปฏิบัติงานนอกเวลาราชการได้
– มีทักษะในการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์

กำหนดการในการรับสมัครนะครับ เริ่มตั้งแต่วันที่? 19 มิถุนายน – 16 กรกฎาคม 2552

วิธีการในการคัดเลือก ที่นี่จะใช้การพิจารณา 3 ขั้น
คือ
1. พิจารณาจากใบสมัคร
2. พิจารณาจากการสอบข้อเขียน – บรรณารักษ์, ภาษาอังกฤษ, คอมพิวเตอร์
3. พิจารณาจากการสอบสัมภาษณ์

เอาเป็นว่าหากอ่านมาจนถึงตอนนี้แล้ว ยังสนใจที่จะสมัครอีกก็ขอให้ติดต่อที่
งานบริหารงานบุคคล สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ได้เลยนะครับ

เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอแนะนำเท่านี้ก่อนแล้วกัน
ก็ขออวยพรให้เพื่อนๆ ที่อ่านบล็อกของผมจงสอบผ่านและได้ทำงานที่นี่นะครับ

ข้อมูลเพิ่มเติมของการรับสมัครงานในตำแหน่งนี้เพื่อนๆ สามารถดูได้จาก
http://eds.trang.psu.ac.th/ptw/news/uploaded_files/news_id_1884.pdf
หรือ http://www.trang.psu.ac.th

ดูงานที่หอจดหมายเหตุ ม.พายัพ

วันนี้ผมพาเพื่อนๆ กลับมาเที่ยวที่เชียงใหม่กันอีกรอบนะครับ
แต่ก่อนที่ผมจะพาไปเที่ยวห้องสมุด ผมขอแนะนำหอจดหมายเหตุก่อนนะครับ
หอจดหมายเหตุที่ผมจะพาไปเที่ยว คือ หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ นะครับ

archives-payap

ข้อมูลทั่วไปของหอจดหมายเหตุแห่งนี้
สถานที่ : หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยพายัพ
ที่อยู่ : มหาวิทยาลัยพายัพเขตแก้วนวรัฐ
ถนนแก้วนวรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์ : 053-242484, 053-243969 และ 053-306512-3
เว็บไซต์ : http://archives.payap.ac.th

การดูงานของผมเริ่มจากการฟังคำอธิบายประวัติความเป็นมาของหอจดหมายเหตุ
ซึ่งทำให้รู้ว่าเดิมทีแล้ว หอจดหมายเหตุแห่งนี้เน้นการจัดเก็บเอกสารของสภาคริสตจักรนิกายโปรเตสแตนท์
รวมถึงมีการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยด้วย

เพื่อนๆ หลายๆ คนอาจจะยังไม่เข้าใจว่า จดหมายเหตุคืออะไร
ผมจึงขอนำความหมายและคำอธิบายของ จดหมายเหตุ มาลงให้เพื่อนๆ อ่านนะครับ

?เอกสารจดหมายเหตุ? หมายถึง เอกสารสำนักงานของหน่วยงานราชการ หรือเอกชนใด ๆ ซึ่งถูกประเมินแล้วว่ามีคุณค่าที่จะเก็บรักษาไว้อย่างถาวร เพื่อการอ้างอิงและวิจัย และถูกเก็บรักษาไว้ที่หน่วยงานจดหมายเหตุ

หลังจากที่เพื่อนๆ ได้ทำความรู้จักกับคำว่า ?เอกสารจดหมายเหตุ? แล้ว
ผมก้อยากให้เพื่อนๆ ลองอ่านปณิธานของหอจดหมายเหตุแห่งนี้ดูนะครับ

“มุ่งสู่ความเป็นแหล่งข้อมูลเรื่องการศึกษาระดับอุดมศึกษาเอกชนโดยเน้น ข้อมูลในส่วนของมหาวิทยาลัยพายัพ และคริสตศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของสภาคริสตจักรในประเทศไทยที่สมบูรณ์ที่สุดรวมทั้ง ความเป็นผู้นำในงานจดหมายเหตุเอกชนของประเทศ”

เห็นหรือยังครับว่า เขาเป็นที่หนึ่งในเรื่องของเอกสารจดหมายเหตุด้านศาสนาคริสต์ที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุด

ารจัดการส่วนงานต่างๆ ในหอจดหมายเหตุ แบ่งการดูแลเป็น 5 ส่วนงาน คือ
– งานบริหารสำนักงาน
– งานจัดเก็บเอกสาร
– งานให้บริการ
– งานอนุรักษ์ และบำรุงรักษา
– งานพิพิธภัณฑ์

archives01 archives11 archives12

นอกจากนี้ผมยังได้ถามขึ้นขั้นตอนในการให้บริการกับผู้ใช้บริการอีกด้วย โดยขั้นตอนมีดังนี้
1. ผู้ใช้มาขอใช้บริการ
2. เจ้าหน้าที่จะมาให้คำแนะนำในการใช้ศูนย์
3. เลือกหัวข้อได้จากเครื่องมือช่วยค้นต่างๆ เช่น บัตรรายการ, แฟ้มหัวเรื่อง
4. กรอกแบบฟอร์มขอใช้บริการในหัวเรื่องที่สนใจ
5. บรรณารักษ์ขึ้นไปหยิบแฟ้มเอกสารจดหมายเหตุ
6. ก่อนจะหยิบลงมาให้ผู้ใช้บรรณารักษ์ต้องตรวจสอบจำนวนหน้า และความสมบูรณ์ของเอกสาร
7. นำลงมาให้ผู้ใช้บริการ
8. ผู้ใช้บริการใช้เสร็จก็แจ้งเจ้าหน้าที่
9. บรรณารักษืตรวจสอบจำนวนหน้า และตรวจสอบสภาพ
10. นำขึ้นไปเก็บเข้าที่เดิม

นี่ก็เป็นขั้นตอนแบบคร่าวๆ เท่านั้นนะครับ

ส่วนต่อมาคือการนำชมห้องที่เก็บเอกสารจดหมายเหตุ โดยภายในแบ่งออกเป็น 3 ห้องใหญ่ๆ คือ
– ห้องจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของสภาคริสตจักร
– ห้องจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุของสภามหาวิทยาลัยพายัพ
– ห้องจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุทั่วไป

archives05 archives04 archives06

หลังจากนั้นก็ได้ไปชมวิธีการอนุรักษ์และการบำรุงรักษาเอกสารจดหมายเหตุ

archives14 archives15 archives16

เสียดายที่เวลาเรามีจำกัดเลยได้ดูเพียงเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น

การเดินทางมาดูงานในครั้งนี้ นับเป็นประโยชน์แก่ผมอย่างมาก
เนื่องจากตอนเรียนเรื่องจดหมายเหตุผมก็รู้ในเรื่องที่เป็นทฤษฎีเท่านั้น
แต่พอมาดูที่นี่มันต่างจากที่เรียนไปบ้าง เพราะทฤษฎีเป็นข้อมูลที่ใช้เพียงแค่การทำงานเบื้องต้น
แต่เวลาทำงานจริงๆ มันมีองค์ประกอบอีกหลายๆ อย่างที่ไม่อยู่ในทฤษฎีนั่นเอง

เอาเป็นว่าหากเพื่อนๆ ว่างหรือต้องการศึกษาข้อมูลด้านจดหมายเหตุ
ผมก็ขอแนะนำที่นี่นะครับ ลองทำเรื่องมาดูงานกัน
แล้วจะรู้ว่าเรื่องของการดูแลรักษาจดหมายเหตุไม่ได้ง่ายเหมือนที่ทุกคนคิด

ภายบรรยากาศโดยทั่วไปของหอจดหมายเหตุ

[nggallery id=8]

LibrarianMagazine ปีที่ 2 เล่ม 2

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่มที่ 2
ออกในเดือนกุมภาพันธ์ 2552

libmag22

แม้ว่าในฉบับนี้จะมีหัวข้อให้อ่านน้อยหน่อย
แต่ทุกเรื่องก็ยังคงมีเนื้อหาที่น่าสนใจเช่นกันนะครับ
ลองดูได้จากสารบัญของนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ด้านล่างนี้นะครับ

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้

เรื่องจากปก – หนังสือสวย ห้องสมุดประชาชนเทศบาลนครระยอง

เรื่องพิเศษ – ?ชมรมบรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศนานาชาติ?

พาเที่ยวห้องสมุด – ห้องสมุดประชาชนเทศบาลนครระยอง

พาเที่ยวห้องสมุด – “รางวัลแด่คนช่างฝัน: ล้านของเล่นของอาจารย์เกริก”

บทสัมภาษณ์ – คุณสารภี สีสุข บรรณารักษ์ ฝ่ายบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บทความและเรื่องแปล – ห้องสมุดแบบโปร่งใส: เครื่องมือวัดความเงียบ

บทความและเรื่องแปล – Google และ Amazon ทำหนังสือผ่านบนโทรศัพท์เคลื่อนที่

บทความและเรื่องแปล – การค้นข้อมูลจากห้องสมุดแห่งยุโรป (Europeanlibrary)

หนังสือใหม่เดือนนี้ – แนะนำหนังสือใหม่ปี 2552 สำหรับห้องสมุดโรงเรียน

บรรณารักษ์เล่าเรื่อง – พระราชอารมณ์ขันของในหลวง

เรื่องเล่าจากผู้อ่าน – มิวเซียมสยาม

สุดยอดเลยใช่มั้ยครับฉบับนี้ ใครจะรู้บ้างว่าห้องสมุดเทศบาลสามารถทำอะไรได้มากขนาดนี้
ส่วนอีกเรื่องที่ทำให้ผมต้องรีบอ่านคือ ?ชมรมบรรณารักษ์และนักเอกสารสนเทศนานาชาติ?
ใครยังอ่านก็ลองอ่านดูนะครับ รับรองว่ามีประโยชน์จิงๆ นะครับ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่ม 2 :
http://www.librarianmagazine.com/VOL2/NO2/index.html

LibrarianMagazine ปีที่ 2 เล่ม 1

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่มที่ 1 ออกในเดือนมกราคม 2552
ฉบับนี้เป็นฉบับเริ่มต้นปีที่ 2 ของนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์นะครับ

libmag21

เริ่มต้นปีที่ 2 ของนิตยสารบรรณารักษ์ก็เต็มไปด้วยเรื่องราวมากมาย
ทั้งในวงการห้องสมุดและวงการบรรณารักษ์อีกแล้วนะครับ

เปิดต้นฉบับด้วยศูนย์ข้อมูลของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3
แม้ว่าจะไม่ได้เรียกว่าห้องสมุดแบบตรงๆ
แต่อย่างน้อยศูนย์ข้อมูล ก็ถือว่าเป็นพี่น้องในวงการห้องสมุดอยู่ดีนะครับ

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้

เรื่องจากปก – ศูนย์ข้อมูลเทป สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3

เรื่องพิเศษ – รวมภาพงานประชุมวิชาการ เรื่อง? “เสริมสร้างสังคมการเรียนรู้ : การเข้าถึงสภาพที่แตกต่างของสังคม”

เรื่องพิเศษ – เยี่ยมบ้าน รศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน

พาเที่ยวห้องสมุด – สถาบันไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ

พาเที่ยวห้องสมุด – เส้นทางพาชมพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน

บทความและเรื่องแปล – มาทำดีกับลูกน้องกันเถอะ

บทความและเรื่องแปล – STRONG PASSWORD

ท่องเที่ยว ดูงาน? – จากมหาวิทยาลัยทางด้านศาสนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งเกาะฮ่องกง

บรรณารักษ์เล่าเรื่อง – ปราสาทพระวิหาร: เทวสถานแห่งความทรงจำ? มรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ

บรรณารักษ์เล่าเรื่อง – เรื่องเล่าจากอินเดีย (ตอนจบ)

บรรณารักษ์เล่าเรื่อง – ประสบการณ์จากการอบรมหลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับใช้ในการปฏิบัติงาน (ILC)

เรื่องสั้น – บรรณารักษ์ป้ายแดง

เรื่องเล่าจากผู้อ่าน – หิ้วกล้องท่องพิพิธภัณฑ์สิงค์โปร์

เป็นยังไงกันบ้างครับกับฉบับปีที่ 2 ของนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์
นิตยสารออนไลน์ที่ยังคงมีอุดมการณ์ในการนำเสนอข้อมูลด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์ต่อไป
ยังไงซะ ผมก็ยังคงติดตามอ่านอยู่เรื่อยๆ นะครับ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่ม 1 : http://www.librarianmagazine.com/VOL2/NO1/index.html

Koha – Open Source for ILS

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติฉบับ Open Source ตัวนึงที่ผมจะแนะนำก็คือ KOHA
ซึ่งในเมืองไทยเองก็มีหลายๆ ที่เริ่มนำเข้ามาใช้กันมากขึ้นแล้ว
วันนี้ผมจึงขอแนะนำโปรแกรมตัวนี้ให้เพื่อนๆ รู้จักกัน

koha

เริ่มจากความเป็นมาของโปรแกรมตัวนี้

Koha ถูกพัฒนาโดยบริษัท Katipo Communications ในปี 1999
การพัฒนาครั้งนี้ทางบริษัทตั้งใจจะพัฒนาให้ Koha กับ Horowhenua Library ในประเทศนิวซีแลนด์
และทำการติดตั้งโปรแกรมครั้งแรกในปี 2000
ในปี 2001 ระบบ Koha สามารถรองรับการทำงานในหลายภาษา เช่น ฝรั่งเศส จีน อาหรับ ฯลฯ
และในปี 2002 Koha ได้มีการพัฒนาให้เข้าสู่วงการมาตรฐานมากขึ้น
ด้วยการสนับสนุนการทำงานของบรรณารักษ์ในรูปแบบมาตรฐาน เช่น MARC และ Z39.50
จนในปี 2005 บริษัท Liblime ได้เข้ามาสนับสนุนในการพัฒนามากขึ้น
จนสามารถพัฒนาระบบ Koha ให้สามารถเชื่อมโยงการจัดทำดรรชนี และการพัฒนาการสืบค้นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สรุปวิวัฒนาการของโปรแกรม
1999 – ออกแบบและสร้างโปรแกรม Koha
2000 – ติดตั้งครั้งแรกที่ Horowhenua Library ในประเทศนิวซีแลนด์
2001 – พัฒนาให้รองรับหลายภาษา
2002 – พัฒนาให้การทำงานสนับสนุนมาตรฐาน MARC และ Z39.50
2005 – ปรับปรุงระบบให้เข้ากับโปรแกรม Zebra (ระบบการจัดทำ Index)

ความสามารถของ Koha
1. ระบบบริหารจัดการ (Administration)
– ระบบควบคุมโปรแกรม (Global System Preferences)
– ระบบการกำหนดพารามิเตอร์เบื้องต้น (Basic Parameters)
– ระบบการกำหนดนโยบายงานบริการยืมคืนและสมาชิก (Patrons and Circulation)
– ระบบการกำหนดนโยบายงานวิเคราะห์ (Catalog Administration)
– ระบบการกำหนดพารามิเตอร์เพิ่มเติม (Additional Parameters)

2. เครื่องมือใน Koha (Tool)
– การจัดพิมพ์ป้ายติดสันหนังสือ ป้ายลาเบล
– การแสดงความคิดเห็น
– ปฏิทินกิจกรรม
– จัดเก็บ log file

3. ระบบผู้ใช้ (Patrons)
– เพิ่มบัญชีผู้ใช้
– แก้ไขข้อมูลผู้ใช้
– กำหนดระดับผู้ใช้

4. การยืมคืน (Circulation)
– ยืม
– คืน
– จอง
– ต่ออายุ
– ปรับ

5. การทำรายการ / วิเคราะห์รายการ (Cataloging)
– สร้างระเบียน
– แก้ไขระเบียน
– นำเข้าระเบียน

6. ระบบวารสารและสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials)
– บอกรับสมาชิก
– ตรวจสอบการบอกรับ
– ทำดัชนี

7. ระบบงานจัดซื้อ จัดหา (Acquisitions)
– ติดต่อกับเวนเดอร์
– เสนอแนะรายการทรัพยากรสารสนเทศ
– สั่งซื้อทรัพยากรสารสนเทศ
– ควบคุมงบประมาณ

8. รายงาน (Reports)
– ออกแบบรายงานได้
– สถิติข้อมูลต่างๆ ในระบบ

9. ระบบสืบค้นออนไลน์ (OPAC)
– สืบค้นสารสนเทศออนไลน์
– ส่งข้อมูลออกได้หลายรูปแบบ เช่น RSS
– ใส่ข้อมูล TAG

10. ระบบสืบค้น (Searching)
– ค้นแบบง่าย (basic search)
– ค้นแบบขั้นสูง (advance search)
– ค้นแบบเงื่อนไข (Boolean Search)

นี่เป็นเพียงตัวอย่างความสามารถแบบเล็กๆ น้อยๆ นะครับ
จริงๆ แล้ว KOHA ทำอะไรได้มากกว่านี้อีก
เพื่อนๆ อาจจะอ่านได้จาก http://koha.org/documentation/manual/3.0

เอาเป็นว่าลองเข้าไปทดลองเล่นระบบนี้ดูนะครับที่ http://koha.org/showcase/

สำหรับเมืองไทยเพื่อนๆ ลองเข้าไปเล่นดูที่
– ห้องสมุดศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
http://158.108.80.10:8000/cgi-bin/koha/opac-main.pl

เป็นไงกันบ้างครับกับโปรแกรมดีๆ ที่ผมแนะนำ
วันหลังผมจะเขามาแนะนำวิธีการติดตั้งแบบ step by step เลยนะครับ

เว็บไซต์ทางการของ Kohahttp://koha.org

http://koha.org/download

คุณอยากให้ห้องสมุดเงียบหรือปล่าว

ต่างคน ต่างความคิด เกี่ยวกับเรื่องความเงียบสงบในห้องสมุด
บางคนอยากให้ห้องสมุดเงียบ บางคนอยากให้ห้องสมุดมีเสียงเพลงเบาๆ

quiet

เอาเป็นว่าวันนี้ผมเลยตั้ง poll เรื่องนี้มาถามเพื่อนๆ ดูแล้วกัน

กรุณาตอบแบบสอบถามก่อนอ่านเรื่องด้านล่างนะครับ อิอิ

[poll id=”7″]

เจตนารมณ์ของห้องสมุดแน่นอนครับว่าเป็นที่อ่านหนังสือ
แต่กฎของห้องสมุดเรื่องที่ว่าห้องสมุดต้องเงียบอันนี้ผมไม่แน่ใจว่ามันเป็นกฎข้อบังคับเลยหรือเปล่า

แต่ที่รู้ๆ คือห้องสมุดควรสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ สร้างบรรยากาศในการอ่าน
แต่ความเงียบนี่เป็นคำตอบของการสร้างบรรยากาศหรือปล่าว อันนี้คงต้องถามเพื่อนๆ ดูนะ

ห้องสมุดบางที่บอกว่าการสร้างบรรยากาศในการอ่านหนังสือ คือ
– การทำให้สถานที่นั้นๆ เงียบ จะได้อ่านอย่างมีสมาธิ
– การมีเพลง หรือดนตรีคลอเบาๆ จะช่วยให้การอ่านหนังสือดีขึ้น
– การเปิดโอกาสให้คนคุยกันในห้องสมุด ปรึกษากันในห้องสมุด จะทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้

แล้วตกลงห้องสมุดควรจะเงียบ หรือ มีเสียงเพลง หรือ เปิดโอกาสให้คุยกันดีหล่ะครับ

สำหรับผมขอแนะนำว่าห้องสมุดควรจัดพื้นที่ให้รองรับบรรยากาศการอ่านหลายๆ รูปแบบนะครับ
เช่น พื้นที่ด้านล่างเปิดเพลงคลอเบาๆ พื้นช่วยในการอ่าน พื้นที่ด้านบนเป็นพื้นที่อ่านแบบเงียบๆ
นอกจากนี้ยังต้องจัดห้องสำหรับอ่านเป็นกลุ่ม และเปิดโอกาสให้พูดคุยกันได้

แค่นี้ห้องสมุดก็มีบรรยากาสสำหรับการอ่านครบทุกรูปแบบแล้วครับ