หลังจากที่ประสบความสำเร็จมากมายในการตั้งกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook มาแล้ว เพื่อนๆ จำนวนหนึ่งจึงเรียกร้องให้เปิดหน้า page ใน facebook ด้วย เพื่อให้คนที่อยู่นอกสาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์เข้ามาเห็นว่ากลุ่มเราก็เข้มแข็งนะ ผมเลยจัดให้ตามคำขอ เอาเป็นว่าขอแจ้งให้ทราบว่าตอนนี้กลุ่มเครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทยเรามี Facebook page แล้ว เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.facebook.com/THLibrary จุดมุ่งหมายและจุดประสงค์ของการเปิด Facebook page : เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย จริงๆ ก็คล้ายๆ กับกลุ่มเครือข่ายบรรณารักษ์ไทยใน facebook นั่นแหละครับ คือ – เป็นพื้นที่ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการทำงานหรือการศึกษาในสาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์ – เป็นพื้นที่ในการพบปะพูดคุยกับเพื่อนใหม่ในสาขาวชาชีพเดียวกัน (ห้องสมุดและบรรณารักษ์) – ประชาสัมพันธ์ข่าวสารในวงการห้องสมุดและบรรณารักษื เช่น งานบรรณารักษ์ งานอบรมสัมมนา …. – เป็นเวทีในการรวบรวมข้อเสนอแนะในการพัฒนาวิชาชีพ… นั่นก็เป็นเพียงวัตถุประสงค์หลักๆ ที่ตั้งขึ้นในช่วงที่มีการตั้งกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน facebook นะครับ แต่ในเมื่อเปิด group ไปแล้ว ทำไมต้องเปิด page ด้วย หลายๆ คนก็คงสงสัยเรื่องนี้ใช่มั้ยครับ เอางี้ดีกว่าผมขออธิบายหลักการคร่าวๆ ของ Page กับ Group ดีกว่าว่าต่างกันยังไง (เพื่อว่าเพื่อนๆ เมื่อเห็นขอดีของการมี page แล้ว เพื่อนๆ จะเข้ามากด Like เป็นแฟนเพจกับเรามากๆ) เอาเป็นว่าผมขออธิบายแบบคร่าวๆ อีกสักนิดดีกว่า จุดเด่นของหน้าเพจ (เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย) อยู่ที่ชื่อของ URL ซึ่งเพื่อนๆ จำได้ง่ายกว่าของ Group ซึ่งเพื่อนๆ สามารถเข้าหน้าเพจโดยพิมพ์ว่า “www.facebook.com/thlibrary” นอกจากนี้สมาชิกที่เพจสามารถรับได้คือไม่จำกัดจำนวน (แต่จริงๆ ผมก็ไม่ได้กังวลเรื่องนี้หรอกนะครับ) แถมด้วยคนที่ไม่ได้เล่น facebook (ไม่มี account ของ facebook) ก็สามารถเปิดหน้าเพจของเราได้…
Tag: librarian in thailand
สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 4/2554
กลับมาแล้วครับสรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคมแล้ว วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มีความเคลื่อนไหวเยอะมากๆ เลย (กลุ่มบรรณารักษ์เริ่มคึกคัก) หน้าที่ของผมก็คงหนีไม่พ้นการนำประเด็นต่างๆ มาสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันเช่นเคย สัปดาห์ที่ 4 (วันที่ 22 -28 มกราคม 2554) เรื่องราวเด่นๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มีอะไรบ้าง ติดตามชมได้เลย – Link : เส้นทางสายขนานระหว่างหลักสูตร “บรรณารักษศาสตร์”กับอาชีพ “ครูบรรณารักษ์” = http://atomdekzaa.exteen.com/20110122/entry – Link : แนวการแก้ปัญหาการขาดแคลน”ครูบรรณารักษ์” เบื้องต้น = http://atomdekzaa.exteen.com/20110123/entry – Link : โครงการ World Book Night = http://www.worldbooknight.org/ – Link : เว็บไซต์ห้องสมุด Edinburgh = http://www.edinburghlibrariesagency.info/ – Link : กิจกรรมส่งเสริมการอ่านแบบใหม่กับแนวคิด Let?s Get Lyrical = http://www.cityofliterature.com/ecol.aspx?sec=6&pid=769 – “ขอคำแนะนำเรื่องหัวข้อในการจัดโครงการยอดนักอ่านในเดือนกุมภาพันธ์” มีผลสรุปดังนี้ – เรื่องอาชีพหรือเส้นทางความใฝ่ฝันในอนาคต – หนังสือกับแรงบันดาลใจในความสำเร็จ – Link : (ร่าง)หลักสูตรครูบรรณารักษ์ (กศ.บ) = http://atomdekzaa.exteen.com/20110123/entry-1 – ประชาสัมพันธ์ : ขอเชิญบรรณารักษ์ นักรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ร่วมงานสมัชชาการอ่าน Bangkok Read for Life ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554…
สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 3/2554
เข้าสู่กลางเดือนมกราคมแล้วนะครับ กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ยังคงสดใสเช่นเดิม เรื่องราววงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มีประเด็นที่น่าสนใจเยอะขึ้น วันนี้เลยต้องสรุปให้อ่าน สมาชิกของกลุ่มเราก็เกิน 400 คนแล้วนะครับ แบบว่าประทับใจในความร่วมมือของเพื่อนๆมาก กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน facebook มีเรื่องเด็ดๆ ทุกวันเลย แม้แต่เสาร์อาทิตย์ก็ยังมีเรื่องให้อ่าน เอาเป็นว่าสัปดาห์ที่ 3 (วันที่ 15 ? 21 มกราคม 2554) เรื่องราวมากมายมีอะไรบ้างไปติดตามกันเลยดีกว่า – “สายงานบรรณารักษ์สมัยนี้เปิดสอบบรรจุน้อยจัง” ผลสรุปมีดังนี้ – ถ้าเป็นในระบบราชการ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการชลอการเพิ่มกรอบอัตราข้าราชการ หากมีความจำเป็นหน่วยงานต้องบรรจุอัตราจ้างเอง – การสอบบรรจุตามระบบมักเป็นอัตราข้าราชการ ซึ่งมีน้อย แต่ถ้าเป็นอัตราจ้างจะมีมากและมักไม่ประกาศสอบบรรจุเป็นทางการ – “อยากรู้จังว่ามีสภาวิชาชีพบรรณารักษ์ หรือเปล่าอ่ะครับ”? ผลสรุปมีดังนี้ – คงต้องกำหนดขอบเขตและคำจำกัดความอีกเยอะแยะเลยล่ะ – “อยากทราบว่าบรรณารักษ์เงินเดือนประมาณเท่าไหร่ครับ”? ผลสรุปมีดังนี้ – ราชการก็น้อยหน่อยสำหรับเริ่มต้น เอกชนก็น่าจะเก้าพันถึงหมื่นนิดๆ – สำหรับบ.เอกชนข้ามชาติ หรือโรงเรียนนานาชาติ น่าจะเริ่มต้นหมื่นกลางๆ – ถ้าเงินเดือนสำหรับหน่วยงานราชการบางที่ให้ 7940 บาทครับ แต่ในหลายที่ ถ้าเป็นลักษณะของพนักงานจ้างเหมา(สัญญาปีต่อปี) ก็แล้วแต่หน่วยงานจะประเมินหน้าที่และภาระงานที่มีตั้งมาให้ มีตั้งแต่ 7940 8500 9000 9500 11000 12000 และที่เคยเห็นองค์กรหนึ่งจ้างให้ 15000 ทั้งหมดที่ว่ามาคือ ป.ตรี – Link : ความเป็นไปได้ของ “บรรณารักษ์สภา” = http://atomdekzaa.exteen.com/20110116/entry – “ทำไมคนไทยถึงไม่ให้ความสำคัญกับอาชีพบรรณารักษ์”? ผลสรุปมีดังนี้ – ในต่างจังหวัดหรือบางพื้นที่ยังไม่รู้จักอาชีพบรรณารักษ์เลย – ผู้บริหารสถาบันการศึกษาหลายแห่งก้อไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไหร่ แต่จะมานึกถึงอีกทีตอนที่ประกันคุณภาพเข้ามาตรวจ – Link : Conference Participation Grants…
สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 2/2554
ผ่านปีใหม่มาหนึ่งสัปดาห์ก็เข้าสู่งานวันเด็ก ห้องสมุดของเพื่อนๆ มีกิจกรรมอะไรกันหรือปล่าวครับ ง่ะ ลืมไปวันนี้เป็นวันที่ต้องสรุปเรื่องราวในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook นี่หว่า งั้นกลับเข้าเรื่องเลย เอาเป็นว่าสัปดาห์ที่ 2 (วันที่ 8 – 14 มกราคม 2554) เรื่องราวมากมายมีอะไรบ้างไปติดตามกันเลย – “ทำไมบรรณารักษ์รุ่นเก่าแยกไม่ออกระหว่าง location Collection กับคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง???” ผลสรุปมีดังนี้ – เรื่องของชื่อคอลเล็คชั่น อาจขึ้นอยู่กับขนาดและปริมาณของคอลเล็คชั่นที่มีก็ได้ครับ ยิ่งลงรายละเอียดให้เจาะจงเท่าไหร่ ก็ยิ่งง่ายต่อการจัดการทั้งในปัจจุบันและอนาคตมากเท่านั้น – รู้สึกว่าจะเป็นปัญหาความไม่เข้าใจกันมากกว่า เนื่องจากในการแยก collection ระบบจะแยกให้ไม่จำเป็นต้องใช้คำเดียวกันกับหัวเรื่อง – ผู้ใช้สมัยนี้ส่วนมากไม่เข้าใจคำว่าหัวเรื่องหรอกค่ะ ขอแค่ให้ค้นหนังสือหรือทรัพยากรเจอก็ OK แล้ว – “ปัญหาเรื่องพื้นที่จับเก็บหนังสือ วารสาร ฉบับย้อนหลัง (เนื่องจากห้องสมุดเล็ก)” ผลสรุปมีดังนี้ – จำหน่ายวารสารย้อนหลังออก แล้วหันมาใช้ e-journal แทน – กระจายตู้หนังสือออกไปบริเวณอื่นๆ ในหน่วยงานก็ได้ เช่น มุมตามทางเดินโรงพยาบาล หรือ มหาวิทยาลัย – Link : MV เพลงนี้ถ่ายในห้องสมุดทั้งหมด = http://www.youtube.com/watch?v=MIVu-egUMM0 – Link : มะกันผุดแผนบัตรประชาชนชาวเน็ต ยกระดับความ@ปลอดภัยโลกไซเบอร์ = http://is.gd/kwDFo – “คุณอยากให้ ในห้องสมุด มีอะไรพิเศษ?” ผลสรุปมีดังนี้ – มีบริการสำหรับคนพิเศษ (ผู้พิการรูปแบบต่างๆ) – ให้อารมณ์แบบ “บ้าน” – บรรณารักษ์สวยๆ – บรรยากาศแบบห้องนั่งเล่น สบายๆ อยากทำอะไรพร้อมๆ กับอ่านหนังสือก็ทำได้ – สถานที่กว้างๆ…
สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 1/2554
สวัสดีปีใหม่กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook กลับมาพบกันในสัปดาห์แรกของปี 2554 ในสัปดาห์ที่ผ่านมากลุ่มบรรณารักษ์และห้องสมุดของเรามีการโพสน้อยกว่าปกติ เพราะวันหยุดเยอะ เอาเป็นว่าวันที่ 1 – 7 มกราคม 2554 กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook มีประเด็นที่น่าสนใจอะไรบ้าง ไปชมเลย – Link : เก็บเล็กผสมน้อยกับการดูงานห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเว้ แห่งประเทศเวียดนาม = http://clm.wu.ac.th/wordpress/?p=513 – “ขอคำแนะนำในการเรียนต่อปริญญาโท สาขาบรรณารักษศาสตร์ ว่ายากมั้ย เรียนที่ไหนดี” ผลสรุปมีดังนี้ – เพื่อนๆ แนะนำให้เรียนที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มศว (หลักสูตรใหม่ดี) – “ขอแนวคิดในรูปแบบการพัฒนางานบริการแบบใหม่ เอาใจวัยทีนยุคใหม่”? ผลสรุปมีดังนี้ – ใช้สื่อออนไลน์สมัยใหม่เข้ามาบริการแจ้งข่าวสารให้ผู้ใช้ได้รู้ เช่น twitter, facebook – บริการด้วยความรวดเร็ว เพราะวัยรุ่นไม่ชอบรออะไรนานๆ (ตอบคำถามเร็ว) เช่น ผู้ใช้ถามมาทางเมล์เราก็ต้องรีบตอบ – จัดหลักสูตรอบรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการพนักงาน GEN Y ให้กับผู้บริหาร (แบงค์ชาติเสนอแนวนี้มา) – Link : คุณลักษณ์ของผู้เรียนสำหรับโลกอนาคต? = http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=660&contentID=111923 – Link : 6 ขั้นตอนในการจัดทำ Social Media Marketing = http://www.doctorpisek.com/pisek/?p=446 – Link ที่เกี่ยวกับบทความเรื่อง Library2.0 ซึ่งมีดังนี้ – http://www.stks.or.th/blog/?p=816 – http://www.stks.or.th/web/index.php?option=com_content&task=view&id=1751&Itemid=132 – http://iteau.wordpress.com/2007/06/15/library2_0attcdc/ – http://www.slideshare.net/boonlert/web-20-1806213 – http://media.sut.ac.th/media/VDO/116/1689-%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%94+2.0+%28Library+2.0%29.embed – http://www.positioningmag.com/Magazine/Details.aspx?id=61961 –…
สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#3
สรุปประเด็นและความคืบหน้าของกลุ่มบรรณารักษ์ไทยในช่วงวันที่ 22-27 ธันวาคม 2553 มาแล้วครับ ประเด็นที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์มีเพียบเหมือนเคย เราไปดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง – 22/12/53 = “ช่วยแนะนำที่ฝึกงานห้องสมุดแบบเจ๋งๆ ให้หน่อย” มีผลสรุปดังนี้ – เพื่อนๆ ช่วยกันแนะนำที่ฝึกงานห้องสมุด ดังนี้ TCDC, Tkpark, หอสมุดแห่งชาติ, ม.ศิลปากร, แบงค์ชาติ, ห้องสมุดมารวย, ห้องสมุดกรมวิทย์, STKS เอาเป็นว่าก็เป็นแนวทางที่ดีนะครับ – “ความขัดแย้งระหว่างบรรณารักษ์ยุคเก่าที่ไม่ยอมรับไอทีกับบรรณารักษ์ยุคใหม่ที่อะไรๆ ก็ไอที เราจะประณีประนอมยังไง” มีผลสรุปผลดังนี้ – พยายามพูดคุยกันให้มากๆ และคำนึงถึงผู้ใช้บริการ เพราะไม่ว่าจะเป็นวิธีการแบบเก่าหรือใหม่ที่สุดแล้วเราก็ต้องทำให้ผู้ใช้บริการของเราพอใจที่สุด – ยึดตามแผนและ นโยบายของห้องสมุด ทำงานตามหน้าที่ให้ดีที่สุด – หาคนกลางที่ช่วยคอยประสานระหว่างคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ – เด็กรุ่นใหม่ก็ควรให้ความเคารพผู้ใหญ่หน่อยเพราะว่าเราอยู่ในสังคมไทยก็ทำตามผู้ใหญ่แล้วกัน – เอาข้อดีข้อเสียของการทำงานมาเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนและเลือกใช้มันให้ถูก – ร่วมกันแสดงความยินดี สำนักหอสมุด ม.นเรศวร ที่ได้รับรางวัลชมเชย : สถาบันอุดมศึกษา ประเภทรางวัลนวัตกรรมการให้บริการ “การให้บริการห้องสมุดด้วยรูปแบบสมัยใหม่” รางวัลคุณภาพการให้บริการประชาชน และรางวัลมาตรฐานศูนย์บริการ/เคาน์เตอร์บริการประชาชน ประจำปี 2553 จากสำนักงาน ก.พ.ร. – “ความเหมือนและความต่างระหว่าง Wikileaks และ Facebook” มีดังนี้ – สิ่งที่เหมือนกัน : Wikileaks และ Facebook มีจุดมุ่งหมายเพื่อแบ่งปันเรื่องราวที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงานหรือเรื่องส่วนตัว – สิ่งที่แตกต่างกัน : Wikileaks เน้นไปที่การเผยแพร่ความลับทางการฑูตและความลับของรัฐบาลทั่วโลก ส่วน Facebook เน้นการแบ่งปันเรื่องราวส่วนตัว ความรู้ ความบันเทิงระหว่างกลุ่มสมาชิก – “หนังสือหมวดใดในห้องสมุดของพวกคุณมีผู้ใช้บริการอ่านมากที่สุด…” มีผลสรุปดังนี้ – เพื่อนๆ ช่วยกันสรุปซึ่งประกอบด้วยหมวดนวนิยาย…
สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#2
วันนี้ผมกลับมาแล้วครับ กับการสรุปความคืบหน้าและประเด็นต่างๆ ที่อยู่ในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook นะครับ เรื่องราวในช่วงวันที่ 11 ? 21 ธันวาคม 2553 มีเรื่องที่น่าสนใจในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มากมาย ไปดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงการบรรณารักษ์ไทยที่น่าสนใจ มีดังนี้ – 11/12/53 = “เพื่อนๆ คิดยังไงถ้าหอสมุดแห่งชาติควรจะต้องทำการตรวจสอบสถานภาพหนังสือทุกเล่มใหม่ (Inventory)” มีผลสรุปดังนี้ – ควรทำการตรวจสอบข้อมูลแบบนี้ทุกปี เพื่ออัพเดทข้อมูลให้ตรงกับความเป็นจริง – การที่ไม่ได้ทำนานจะทำให้ต้องใช้เวลามากในการปฏิบัติ แต่หากเราทำอย่างสม่ำเสมออยู่แล้วจะทำให้ใช้เวลาน้อยลง – ถ้าหนังสือมันเยอะมากจริงๆ ก็สามารถทำโดยการแบ่ง collection แล้วค่อยๆ ไล่ทำก็ได้ – 13/12/53 = “ห้องสมุดประชาชนกับการเก็บค่าใช้บริการประชาชนเหมาะสมเพียงใด” มีผลสรุปดังนี้ – เก็บได้แต่ต้องไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน เงินที่เก็บเอาไปพัฒนาและซ่อมแซมห้องสมุด – ทำเครือข่ายให้ห้องสมุด สนับสนุนการสร้าง friend of Library – จากบทความ “ว่าไงนะ บรรณารักษ์ตายแล้ว?” ที่ผมเขียนลงในกรุงเทพธุรกิจ บรรณารักษ์ได้ให้ความเห็นดังนี้ – บรรณารักษ์เปลี่ยนบทบาทและให้ความสำคัญกับการเป็นตัวกลางในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้บริการ – ปรับตัวและปรับใจยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยอาจจะเรียนรู้จากผู้ใช้บริการก็ทำได้ – โดนใจ “บรรณารักษ์บางทีควรที่จะมีประตูหลายๆ บาน เพื่อมีช่องทางการเปิดรับที่หลากหลายและที่สำคัญต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลง” – เห็นด้วย “เราคงต้องเป็นบรรณารักษ์ฟิวชั่น หรือบรรณารักษ์มิกซ์แอนแมช ระหว่างความเก่า ภาวะปัจจุบันและอนาคต” – “ภาพยนตร์ หรือวรรณกรรมเรื่องใดบ้างครับที่กล่าวถึงห้องสมุดบ้าง” – เพื่อนช่วยกันแนะนำซึ่งได้แก่ Harry Potter, librarian, My Husband 2, กฏหมายรักฉบับฮาร์วาร์ด, นิยายเรื่องรักร้อยพันใจ, การ์ตูน R.O.D. (Read or Die), ห้องสมุดสุดหรรษา, The…
สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#1
วันนี้ผมขอมาสรุปความคืบหน้าและประเด็นต่างๆ ที่มีการพูดคุยกันในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook นะครับ เรื่องราวในสัปดาห์แรก (2 – 10 ธันวาคม 2553) เปิดตัวด้วยความงดงามซึ่งผมประทับใจมากครับ ในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ใน 1 สัปดาห์มีอะไรบ้างไปอ่านเลยครับ ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงการบรรณารักษ์ไทยที่ผมตั้งกระทู้รายวัน (Daily Topic) มีดังนี้ – 2/12/53 = เปิดตัวกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebookสรุปผล มีคนตอบรับเข้าร่วมนับร้อยคน วันแรกก็สร้างความชื่นใจและเป็นแรงใจที่ดีในการพัฒนาวงการบรรณารักษ์ให้ผมแล้ว นอกจากนี้ผมได้กำหนดผู้ดูแลระบบให้หลายๆ คนเพื่อช่วยๆ กันดูแล เพราะกลุ่มนี้ไม่ใช่ของผมเพียงคนเดียว แต่เป็นกลุ่มของเพื่อนๆ ที่จะร่วมกันสร้างและพัฒนาวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดไทย – 3/12/53 = “คุณเห็นด้วยกับการดูงานห้องสมุดในประเทศและต่างประเทศหรือไม่ หากไม่มีงบประมาณในการดูงานมีแนวทางแก้ไขอย่างไร” มีผลสรุปดังนี้ — เราสามารถศึกษาข้อมูลห้องสมุดผ่านทางเว็บไซต์ก็ได้หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมอาจจะโทรไปคุยหรือส่งเมล์คุยกัน — หาพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนมุมมองบนโลกออนไลน์ เช่น Facebook — ดูงานในเมืองไทยก็ได้ เพราะห้องสมุดหลายแห่งก็เป็นตัวอย่างที่ดีเหมือนกัน — การไปดูงานห้องสมุดในต่างประเทศเราต้องเตรียมประเด็นในการดูงานให้ดี ไม่ควรไปดูแบบ Library tour — เอางบการดูงานในต่างประเทศไปเชิญอาจารย์จากต่างประเทศมาทำ workshop น่าจะได้ประโยชน์มากกว่า แถมห้องสมุดอื่นๆ ก็สามารถเข้าร่วมฟังได้ด้วย – 4/12/53 = “เวลาดูงานห้องสมุดนอกสถานที่เพื่อนๆ มีประเด็นอะไรบ้างที่อยากดู”? มีผลสรุปดังนี้ — การไปดูงานของห้องสมุดแต่คนคนที่ไปควรไปดูงานที่สอดคล้องกับการทำงานของตนเอง แล้วกลับมาแชร์ไอเดียร่วมกัน — เตรียมประเด็นไปดูงานให้ดีว่าอยากดูอะไร หรือทำแบบฟอร์มไว้เป็นแม่แบบในการดูงาน เพื่อใช้ในโอกาสต่อๆ ไป — ถามสิ่งที่ไม่มีใน web ของห้องสมุด (บรรณารักษืต้องเตรียมตัวก่อนไปดูงานก่อน ทำการบ้านดีๆ นะ) – 5/12/53 = งดกระทู้หนึ่งวัน เพราะอยากให้อยู่กับครอบครัว – 6/12/53 = “เพื่อนๆ เคยไปดูงานที่ไหนแล้วประทับใจบ้าง…
กลุ่มบรรณารักษ์ไทย (Librarian in Thailand) ใน Facebook
ตอนนี้ผมได้สร้างเครือข่ายกลุ่มบรรณารักษ์ไทยออนไลน์ใน facebook แล้วนะครับ วันนี้ผมจึงขอแนะนำเครือข่ายกลุ่มบรรณารักษ์ไทย หรือ กลุ่ม Librarian in Thailand ใน Facebook นะครับ หากเพื่อนๆ จำได้หรือสังเกตด้านบนของบล็อกผม (Banner ด้านบน) นั่นก็คือเครือข่ายบรรณารักษ์ไทยออนไลน์ใน hi5 นั่นเอง แต่กลุ่มนั่นผมเปิดมาเกือบๆ จะสามปีแล้ว ซึ่งเมื่อสามปีที่แล้ว Hi5 กำลังเป็นที่นิยมของคนไทย แต่ปัจจุบันเพื่อนๆ หลายคนหันมาเล่น Facebook กันแทน ผมจึงเกิดไอเดียในการเปิดกลุ่มเพิ่มเติม แรงบันดาลใจแรกเกิดจากการหาพื้นที่เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์บนโลกออนไลน์ การที่ผมใช้พื้นที่ส่วนตัวของผมใน facebook มาตอบคำถามห้องสมุด มันก็จะไม่ค่อยเหมาะสมสักเท่าไหร่ เนื่องจากผมมีเพื่อนอยู่หลายกลุ่มไม่ใช่เพียงกลุ่มบรรณารักษ์อย่างเดียว หากในหน้าส่วนตัวผมมีแต่เรื่องห้องสมุด เพื่อนๆ คนอื่นก็จะไม่ค่อยชอบ และการเอาเรื่องอื่นๆ มาเขียนก็จะทำให้มันไม่ใช่พื้นที่ของบรรณารักษ์และห้องสมุด ดังนั้นจากการสังเกตเพื่อนๆ หลายคนพบว่า มีช่องทางบน facebook ที่สามารถทำได้ ดังนี้ 1. เปิด account ใหม่ แล้วใช้ตอบคำถามและลงเรื่องเกี่ยวกับห้องสมุดอย่างเดียว 2. ตั้งหน้า fanpage ของ libraryhub ใน facebook เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยน 3. ตั้งกลุ่ม Librarian in Thailand แล้วดึงเพื่อนๆ ที่เป็นบรรณารักษ์เข้ากลุ่ม ซึ่งผลสรุปแล้วผมเลือกที่จะตั้งกลุ่ม Librarian in Thailand แทน เนื่องจาก – การตั้ง account เพื่อให้คนเข้ามาแอดเป็นเพื่อนเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากและต้องใช้เวลาในการตกแต่งนาน – การเปิด fanpage ก็ดี แต่ไม่เหมาะสมเท่าไหร่เพราะเห็นหลายคนตั้งไว้แล้ว แต่ไม่มีกิจกรรมเท่าที่ควร และไม่เป็นกลุ่มใหญ่ – การตั้งกลุ่มเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุด และเพื่อนๆ สามารถดึงคนอื่นเข้ามาร่วมได้มาก จากเหตุผลต่างๆ นานา ผมจึงใช้…