สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 2/2554

ผ่านปีใหม่มาหนึ่งสัปดาห์ก็เข้าสู่งานวันเด็ก ห้องสมุดของเพื่อนๆ มีกิจกรรมอะไรกันหรือปล่าวครับ
ง่ะ ลืมไปวันนี้เป็นวันที่ต้องสรุปเรื่องราวในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook นี่หว่า งั้นกลับเข้าเรื่องเลย

เอาเป็นว่าสัปดาห์ที่ 2 (วันที่ 8 – 14 มกราคม 2554) เรื่องราวมากมายมีอะไรบ้างไปติดตามกันเลย

– “ทำไมบรรณารักษ์รุ่นเก่าแยกไม่ออกระหว่าง location Collection กับคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง???” ผลสรุปมีดังนี้
– เรื่องของชื่อคอลเล็คชั่น อาจขึ้นอยู่กับขนาดและปริมาณของคอลเล็คชั่นที่มีก็ได้ครับ ยิ่งลงรายละเอียดให้เจาะจงเท่าไหร่ ก็ยิ่งง่ายต่อการจัดการทั้งในปัจจุบันและอนาคตมากเท่านั้น
– รู้สึกว่าจะเป็นปัญหาความไม่เข้าใจกันมากกว่า เนื่องจากในการแยก collection ระบบจะแยกให้ไม่จำเป็นต้องใช้คำเดียวกันกับหัวเรื่อง
– ผู้ใช้สมัยนี้ส่วนมากไม่เข้าใจคำว่าหัวเรื่องหรอกค่ะ ขอแค่ให้ค้นหนังสือหรือทรัพยากรเจอก็ OK แล้ว


– “ปัญหาเรื่องพื้นที่จับเก็บหนังสือ วารสาร ฉบับย้อนหลัง (เนื่องจากห้องสมุดเล็ก)” ผลสรุปมีดังนี้

– จำหน่ายวารสารย้อนหลังออก แล้วหันมาใช้ e-journal แทน
– กระจายตู้หนังสือออกไปบริเวณอื่นๆ ในหน่วยงานก็ได้ เช่น มุมตามทางเดินโรงพยาบาล หรือ มหาวิทยาลัย

– Link : MV เพลงนี้ถ่ายในห้องสมุดทั้งหมด = http://www.youtube.com/watch?v=MIVu-egUMM0

– Link : มะกันผุดแผนบัตรประชาชนชาวเน็ต ยกระดับความ@ปลอดภัยโลกไซเบอร์ = http://is.gd/kwDFo

– “คุณอยากให้ ในห้องสมุด มีอะไรพิเศษ?” ผลสรุปมีดังนี้
– มีบริการสำหรับคนพิเศษ (ผู้พิการรูปแบบต่างๆ)
– ให้อารมณ์แบบ “บ้าน”
– บรรณารักษ์สวยๆ
– บรรยากาศแบบห้องนั่งเล่น สบายๆ อยากทำอะไรพร้อมๆ กับอ่านหนังสือก็ทำได้
– สถานที่กว้างๆ มุมสงบ ๆ เงียบ ๆ ที่ไม่แคบๆ เหมือนมุมอ่านหนังสือ ที่มองไปทางไหนก็มีแต่หนังสือ
– โปรโมชั่นพิเศษ เช่น Loan 5 Get 1 Free! ช่วงคริสมาสต์ หรือวันฮาโลวีนปล่อยผี discountค่าปรับ10-20%ถ้าจับสลากพิเศษได้

– Link : all Magazine แจกฟรี ! แก่ห้องสมุดทุกสถาบันการศึกษา = http://www.facebook.com/note.php?note_id=179905882043428&id=141179349231903

– Link : ข่าว….โครงการรักการอ่าน จาก บมจ.ซีพี ออลล์ = http://www.facebook.com/note.php?note_id=179960038704679&id=141179349231903

– “จะทำอย่างไรให้คนหันมาเข้าห้องสมุดกันเยอะๆ”? ผลสรุปมีดังนี้
– ต้องจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้น่าสนใจและต่อเนื่องด้วย และมีของรางวัลให้ด้วย
– ห้องสมุดออนไลน์ อีบุ๊ค e-Book เทคโนโลยีมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น
– กิจกรรมbook forward : หนังสือดีต้องบอกต่อ
– บริการ Document Delivery Service ซึ่งไม่ต้องเดินมาห้องสมุด
– เพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์ ที่จะรองรับนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น ebook
– รักษาฐานเดิมของผู้ใช้ที่มั่นคงกับห้องสมุดไว้ให้ได้ พร้อมๆ กับหาวิธีขยายไปยังกลุ่มที่ไม่ใช้ให้เข้ามา ชอบวิธีการทำกิจกรรมที่ผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วมค่ะ และต้องทำอย่างต่อเนื่อง
– ห้องสมุดจะเปิดเพลงเบาๆไปด้วยครับ สร้างบรรยากาศ

– “ขอความเห็นเกี่ยวกับมาตรฐาน ISO กับห้องสมุด”? ผลสรุปมีดังนี้
– ลองปรึกษาที่ห้องสมุดสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม
– หอสมุดวิทยาศาสตร์ดร.ตั้ว ลพานุกรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นอีก 1 แหล่ง ที่ทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ version 1998และปัจจุบัน 2001


– “e-book จะแทนที่หนังสือ ในมุมมองของบรรณารักษ์ท่านคิดอย่างไรบ้างคับ”? ผลสรุปมีดังนี้

– ลดโลกร้อนได้เยอะครับ ทำให้เด็ก ๆ ไม่ต้องหิ้วหนังสือน้ำหนักเยอะ ๆ ครับ มีอีกเยอะครับประโยชน์
– แทนกันไม่ได้หรอก เพราะผู้ใช้หลายคนชอบที่จะสัมผัสตัวเล่มหนังสือ เรื่อง E-book เป็นแค่ตัวเสริมในการบริการ
– ต่างเสริมซึ่งกันและกัน ทั้งรูปแบบ การใช้ การทำงาน และกลุ่มเป้าหมาย ไม่มีอะไรแทนที่อะไรได้ทั้งหมด
– อย่าลืมเรื่องลิขสิทธิ์
– มีได้ ใช้ได้ แต่แทนกันไม่ได้หรอก
– หนังสิออ่านได้ทุกที่ แต่ E-Book ถ้าไม่มีเครื่องมือก็อ่านไม่ได้


– Link – ดัน 10 ล้าน แปลวิกิฯ เป็นภาษาไทย มุ่งเป็นอันดับ 2 ภาษาท้องถิ่นออนไลน์ =
http://www.prachatai3.info/journal/2011/01/32634?utm_source=feedburner&utm_medium=feed&utm_campaign=Feed%3A+prachatai+%28%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97+Prachatai.com%29&utm_content=Twitter

– “การนำ WALAI AutoLib มาใช้ในห้องสมุดมหาลัยเหมาะสมหรือไม่ มีปัญหาอย่างไร” ผลสรุปมีดังนี้
– ห้องสมุดที่ใช้ Walai Autolib เช่น ศูนย์บรรณฯ ของม.วลัยลักษณ์ สำนักหอสมุด ม.อุบลฯ ศูนย์มนุษยวิทยาสิรินธร ฯลฯ

– “ความเสี่ยงของห้องสมุดมีอะไรบ้าง” ผลสรุปมีดังนี้
– ด้านคน (คนไม่พอ,ขาดทักษะการทำงาน) ด้านการทำงาน (อุบัติเหตุในการทำงาน) ด้านงบ (ได้งบประมาณจำกัด,งบไม่พอ,ข้าวของแพงขึ้นทุกปี) ด้านการบริหาร (ไม่ได้รับการสนับสนุน,ผู้บริหารหรือคนนอกไ่ม่เข้าใจงานของเรา)
– ตัวอย่างการแบ่งประเภท เช่น ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์และประกันคุณภาพ, ความเสี่ยงด้านการเรียนการสอน, ความเสี่ยงด้านบริหารจัดการ, ความเสี่ยงด้านสารสนเทศ, ความเสี่ยงทางกายภาพ/อุบัติภัย, ความเสี่ยงด้านจรรยาบรรณ, ความเสี่ยงของการปฏิบัติงาน, ความเสียหายด้านสถานที่/สิ่งแวดล้อม
– ในภาวะโลกวิกฤติแบบนี้ อย่าลืมระบุความเสี่ยงเรื่องน้ำท่วม
– ความเสี่ยงด้านการลงทุน ทุ่มเทกับทรัพยากรไปมากมาย แต่ผู้ใช้ไม่มาใช้

– Link : 2011 Grant Funds to attend IFLA 2011 = http://conference.ifla.org/ifla77/conference-participation-grants

– Link : แนะนำฐานข้อมูล อาหารพื้นบ้านล้านนา จัดทำโดยงานศูนย์สารสนเทศภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ = http://library.cmu.ac.th/ntic/lannafood/

– Link : Dead Poets Society = ครูครับเราจะสู้เพื่อฝัน = http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2008q1/2008march06p2.htm

สัปดาห์นี้เรื่องราวในกลุ่มเริ่มคึกคักกันมากขึ้นนะครับ
ตอนนี้สมาชิกในกลุ่มของเราก็ 383 คน ก็ถือว่าพอรับได้
(เมื่อวันที่ไปบรรยายที่ ม.รังสิต มีคนบอกว่าน่าจะมีสัก 2011 คนตามปีเลย)

เอาเป็นว่าสัปดาห์หน้าจะมีเรื่องอะไรที่น่าสนใจก็สามารถติดตามกันได้นะครับ
ที่กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook = http://www.facebook.com/pinksworda#!/home.php?sk=group_133106983412927&ap=1

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

1 Comment

  1. ขอปรึกษาเกี่ยวกับเรืองการบริหารความเสี่ยงของห้องสมุดอคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*