สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook#1

วันนี้ผมขอมาสรุปความคืบหน้าและประเด็นต่างๆ ที่มีการพูดคุยกันในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook นะครับ
เรื่องราวในสัปดาห์แรก (2 – 10 ธันวาคม 2553) เปิดตัวด้วยความงดงามซึ่งผมประทับใจมากครับ

ในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ใน 1 สัปดาห์มีอะไรบ้างไปอ่านเลยครับ

ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงการบรรณารักษ์ไทยที่ผมตั้งกระทู้รายวัน (Daily Topic) มีดังนี้

– 2/12/53 = เปิดตัวกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebookสรุปผล มีคนตอบรับเข้าร่วมนับร้อยคน
วันแรกก็สร้างความชื่นใจและเป็นแรงใจที่ดีในการพัฒนาวงการบรรณารักษ์ให้ผมแล้ว นอกจากนี้ผมได้กำหนดผู้ดูแลระบบให้หลายๆ คนเพื่อช่วยๆ กันดูแล เพราะกลุ่มนี้ไม่ใช่ของผมเพียงคนเดียว แต่เป็นกลุ่มของเพื่อนๆ ที่จะร่วมกันสร้างและพัฒนาวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดไทย

– 3/12/53 = “คุณเห็นด้วยกับการดูงานห้องสมุดในประเทศและต่างประเทศหรือไม่ หากไม่มีงบประมาณในการดูงานมีแนวทางแก้ไขอย่างไร” มีผลสรุปดังนี้
— เราสามารถศึกษาข้อมูลห้องสมุดผ่านทางเว็บไซต์ก็ได้หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมอาจจะโทรไปคุยหรือส่งเมล์คุยกัน
— หาพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนมุมมองบนโลกออนไลน์ เช่น Facebook
— ดูงานในเมืองไทยก็ได้ เพราะห้องสมุดหลายแห่งก็เป็นตัวอย่างที่ดีเหมือนกัน
— การไปดูงานห้องสมุดในต่างประเทศเราต้องเตรียมประเด็นในการดูงานให้ดี ไม่ควรไปดูแบบ Library tour
— เอางบการดูงานในต่างประเทศไปเชิญอาจารย์จากต่างประเทศมาทำ workshop น่าจะได้ประโยชน์มากกว่า แถมห้องสมุดอื่นๆ ก็สามารถเข้าร่วมฟังได้ด้วย

– 4/12/53 = “เวลาดูงานห้องสมุดนอกสถานที่เพื่อนๆ มีประเด็นอะไรบ้างที่อยากดู”? มีผลสรุปดังนี้
— การไปดูงานของห้องสมุดแต่คนคนที่ไปควรไปดูงานที่สอดคล้องกับการทำงานของตนเอง แล้วกลับมาแชร์ไอเดียร่วมกัน
— เตรียมประเด็นไปดูงานให้ดีว่าอยากดูอะไร หรือทำแบบฟอร์มไว้เป็นแม่แบบในการดูงาน เพื่อใช้ในโอกาสต่อๆ ไป
— ถามสิ่งที่ไม่มีใน web ของห้องสมุด (บรรณารักษืต้องเตรียมตัวก่อนไปดูงานก่อน ทำการบ้านดีๆ นะ)

– 5/12/53 = งดกระทู้หนึ่งวัน เพราะอยากให้อยู่กับครอบครัว

– 6/12/53 = “เพื่อนๆ เคยไปดูงานที่ไหนแล้วประทับใจบ้าง และที่ไหนที่เพื่อนๆ อยากไปดูเพิ่มเติมอีก (แนะนำได้แต่ขอเน้นในเมืองไทยก่อนนะครับ)” มีผลสรุปดังนี้
— ห้องสมุดที่น่าไปดู เช่น TKpark, SCG XP library, TCDC, ASA Library, ห้องสมุดที่ มศว,ห้องสมุดที่ มจธ, ห้องสมุดมารวย และห้องสมุดที่หลายๆ คนแนะนำมากที่สุด คือ ห้องสมุดที่ ABAC

– 7/12/53 = “ในปี 2554 เพื่อนๆ จะพัฒนางานบริการของห้องสมุดเพื่อนๆ ไปในทิศทางไหน อย่างไร” มีผลสรุปดังนี้
— เพิ่มช่องทางบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าแบบ IM
— เน้นการให้ข้อมูลเชิงรุก หรือการให้บริการเชิงรุก
— ให้บริการด้วยเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือเฉพาะสาขาวิชา
— project guide บรรณารักษ์ทำงานควบคู่กับนักศึกษา
— มีการกำหนด KPI ในการทำงาน เช่น ถ้าซื้อหนังสือใหม่มา 100 เล่ม ต้องมีคนยืมอ่านอย่างน้อย 95 เล่ม
— ทำ FAQ หรือ subject guide คำถามไหนที่ผู้ใช้เข้ามาบ่อยๆ หรือมีแนวโน้มว่าจะถามก็ทำเป็นคู่มือ

– 8/12/53 = “บริการไหนในห้องสมุดที่เพื่อนๆ คิดว่าแปลกกว่าที่อื่นๆ” มีผลสรุปดังนี้
— ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี มี Ipod touch ให้ยืมใช้ภายในห้องสมุด
— Project Facilitator Librarian คือ ให้บริการเป็นที่ปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์

– 9/12/53 = ไม่ได้ตั้ง Topic ไว้อ่ะครับ ขออภัย

– 10/12/53 = “ห้องสมุดกับเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ มีอะไรที่เสี่ยงบ้าง”
— อ่านเรื่องนี้ได้ประโยชน์ http://www.slideshare.net/firstpimm/2537

ประเด็นเพิ่มเติมที่น่าสนใจอื่นๆ มีดังนี้
– น้องอะตอมได้แนะนคลิปวีดีโอ What is the future of the library? (http://www.youtube.com/watch?v=asYUI0l6EtE) ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ที่ได้รับรางวัล โดยน้องอะตอมอธิบายเกี่ยวกับคลิปนี้ได้ดีมากๆ โดยน้องอะตอมกล่าวว่า “หลักๆคือ คลิปนี้ต้องการจะสื่อว่าความรู้และสารนิเทศได้เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมความรู้เข้าถึงได้จากห้องสมุดและหนังสือเท่านั้น แต่ปัจจุบันความรู้และสารนิเทศได้ขยายเพิ่มมากขึ้น กระจายไปทั่วโลก คนหลายๆคนสามารถเข้าถึงได้ เนื่องจากยุคและกาลเวลาได้เปลี่ยนแปลงจาก Information Age เข้าสู่ยุค Digital Networked age”

– น้องอะตอมสอบถามเกี่ยวกับ “ความรู้เกี่ยวกับห้องสมุดเรือนจำหรือห้องสมุดทหาร” ผลสรุปมีดังนี้
— อาจารย์น้ำทิพย์ยกตัวอย่างกิจกรรมที่ มสธ ทำร่วมกับห้องสมุดเรือนจำ ชมได้ที่ http://picasaweb.google.com/library.stou.ac.th/315#
— สำนักหอสมุด ม.บูรพา ก็ไปจัดกิจกรรมที่ทัณฑสถานหญิง ชลบุรีทุกปี
— ห้องสมุดเรือนจำบางขวาง ที่นั่นจะจัด นช. ชั้นดี มาเป็นผู้ดูแลและให้บริการเพื่อนๆ โดยมี จนท. เรือนจำ ดูแลอีกที
— กรมราชทัณฑ์ก็พัฒนาห้องสมุดเรือนจำไปเรื่อยๆ เปิดให้ทุกฝ่ายเข้าร่วมด้วยเป็นการกุศล เทอดพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ ที่ไหนเสร็จแล้วเรียกว่า “ห้องสมุดพร้อมปัญญา”

– ทำไมห้องสมุดถึงเรียกห้องสมุดทั้งๆที่มันมีหนังสือ? ผลสรุปมีดังนี้
— “ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี = แต่โบราณนานมา คนไทยบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพงศาวดาร ตำรายา กาพย์กลอน ฯลฯ ลงสมุดทั้งสิ้นสมุดที่ว่านี้เรียกว่าสมุดไทย ทำด้วยกระดาษข่อยแผ่นยาว ๆ หน้าแคบ พับทางขวางทบกลับไปกลับมา…คล้ายผ้าจีบ เป็นสมุดเล่มสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทั้งชนิดกระดาษขาวและกระดาษดำ ดังนั้นจึงเรียกห้องที่ใช้เก็บสมุดว่า ห้องสมุด”

– 10 ธันวาคม เป็นวันครบรอบวันเกิดของ ดิวอี้ เจ้าพ่อระบบDDC บุคคลสำคัญแห่งวงการบรรณารักษ์ของโลก

– ตัวอย่างการทำวีดีโอแนะนำหนังสือ ลองดูนะครับ น่าสนใจดี http://www.youtube.com/watch?v=Z3NXUdWnxtg

รูปภาพจำนวน 8 รูปภาพ

สมาชิกในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebookจำนวน 225 คน

เอาเป็นว่านี่คือความคืบหน้าโดยภาพรวมของกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์แรก
หวังว่าหลังจากนี้จะมีความคึกคักเพิ่มขึ้น และมีบรรณารักษ์เข้าร่วมกันเรามาขึ้นนะครับ
ในฐานะตัวแทนกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ยินดีต้อนรับทุกคนครับ

เข้าร่วมกลุ่มกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ได้ที่ http://www.facebook.com/home.php?sk=group_133106983412927&ap=1

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*