10 แนวโน้มด้าน Social Media สำหรับวงการห้องสมุด ในปี 2012

วันนี้เข้าไปอ่านบล็อก  socialnetworkinglibrarian แล้วเจอบล็อกเรื่องนึงที่น่าสนใจมาก เป็นเรื่องคำทำนายเกี่ยวกับ Social Media ที่จะเกิดในวงการห้องสมุดปี 2012 เรื่องของ Social Media ไม่ใช่เรื่องแฟชั่นอีกต่อไปแล้วนะครับ เพราะตอนนี้ไม่ว่าจะวงการไหนๆ ก็ให้ความสำคัญกับมัน และใช้กันอย่างแพร่หลาย ไม่พ้นวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์เช่นกัน เราจะต้องทำความรู้จักกับมันและใช้มันให้เป็น ต้นฉบับเรื่องนี้ คือ Top 10 Social Media and Libraries Predictions for 2012 ผมขอแปลแบบสรุปๆ ให้เพื่อนๆ ได้อ่านแล้วกันนะครับ 10 แนวโน้มด้าน Social Media สำหรับวงการห้องสมุด ในปี 2012 1. จำนวนของเว็บไซต์ห้องสมุดที่ออกแบบมาเพื่ออุปกรณ์สื่อสารไร้สาย เช่น โทรศัพท์มือถือ tablet ฯลฯ 2. ห้องสมุดจำนวนมากจะใช้ Youtube เพื่อใช้วีดีโอทำการตลาดให้ห้องสมุดและเพื่อการศึกษา 3. ห้องสมุดจะสื่อ Social media มากกว่าการเป็นแค่สื่อประชาสัมพันธ์ 4. Google+ จะได้รับความนิยมมากขึ้นและห้องสมุดหลายๆ แห่งจะเข้าไปสร้าง page บน Google+ ด้วย นอกเหนือจากการสร้าง page บน facebook 5. ห้องสมุดจำนวนมากจะค้นหาวิธีเพื่อสร้าง app บนอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ (Mobile app) 6. ผู้ให้บริการด้านฐานข้อมูลจะสร้าง app บนอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ (Mobile app) และห้องสมุดก็นำ app เหล่านี้ไปให้ผู้ใช้บริการใช้ต่อไป 7. เว็บไซต์วิจารณ์หนังสือ (Review book) เช่น Goodreads และ librarything จะถูกใช้จากวงการห้องสมุดมากขึ้น 8.…

แนวโน้มของ Social Media กับงานห้องสมุดในปี 2011

วันนี้เข้าไปอ่านบล็อกของกลุ่ม Social Network Librarian มาพบบทความที่น่าสนใจ โดยบทความเรื่องนี้จะชี้ว่า Social Media กับงานห้องสมุดในปีหน้าจะมีแนวโน้มเป็นอย่างไร ต้นฉบับเรื่องนี้ชื่อเรื่องว่า “Social Media and Library Trends for 2011” จากบล็อก socialnetworkinglibrarian เมื่อปีก่อนผมได้เขียนเกี่ยวกับเรื่อง Trend ด้านเทคโนโลยีของห้องสมุดในปี 2010 มาแล้ว ลองอ่านดูที่ “ห้องสมุดกับทิศทางในการใช้ Social Networking ปีหน้า” ซึ่งประกอบด้วย 1. Mobile applications. 2. E-book readers. 3. Niche social networking. 4. Google Applications. 5. Google Books. 6. Library socialized. 7. Open source software. 8. Podcasting and ItunesU. 9. Social networking classes for patrons. 10. Library Marketing. ในปี 2011 บล็อก socialnetworkinglibrarian ก็ได้บอกว่า Trend ในปี 2011 มีดังนี้ 1. Mobile applications 2. QR Codes 3. Google Applications 4. Twitter 5. Virtual reference 6.…

ใครอยากมีอีเมล์ที่ยาวที่สุดในโลกบ้างครับ มาสมัครกันเลย

วันนี้ขอแนะนำบริการฟรีอีเมล์นึงที่แปลกมากๆ นั่นคือ ชื่ออีเมล์ยาวมากๆ เลย ใครอยากมีอีเมล์ที่ยาวทีสุดในโลกก็ลองไปสมัครกันดูนะครับ อีเมล์นี้ต้องสมัครที่เว็บไซต์นี้ครับ http://www.abcdefghijklmnopqrstuvwxyzabcdefghijklmnopqrstuvwxyzabcdefghijk.com/ เป็นไงบ้างครับนี่แค่ชื่อเว็บไซต์นี้เองนะครับ สโลแกนของเว็บนี้มีว่า The World?s Longest Alphabetical Email Address ในเว็บนี้มีคำเตือนของการใช้อีเมล์นี้ว่า – เว็บไซต์บางแห่งไม่สามารถอ่านอีเมล์นี้ได้ – โปรแกรมอ่านเมล์บางตัวก็ไม่สามารถใช้กับอีเมล์นี้ได้ – คนอื่นๆ พิมพ์อีเมล์ได้ยากเพราะชื่อยาวมาก – บริษัทบางแห่งอาจคิดว่าเป็นเมล์ปลอม – อีเมล์นี้ชื่อยาวที่สุดในโลกจริงๆ สุดท้ายสำคัญมากที่สุด คือ เมล์นี้ฟรี เอาเป็นว่าอีเมล์นี้ขายควาแปลกและความพิเศษในแง่ขงอีเมล์ยาวเพียงอย่างเดียว ไปลองสมัครเล่นๆ ขำๆ ผมว่าก็โอนะ เอาเป็นว่าลองไปสมัครดูแล้วกันครับ

Flickr Fight ยกที่หนึ่ง : เมื่อห้องสมุดเจอกับ search engine

เว็บไซต์ Flickr Fight คือ เว็บไซต์ที่ใช้ Flickr Api ร่วมกับการค้นหาของ Google ซึ่งในเว็บไซต์นี้จะใช้ในการเปรียบเทียบจำนวนของรูปภาพ ของคำที่เราต้องการสืบค้นจำนวน 2 คำ หลักการง่ายๆ ครับ นำคำที่เราต้องการเปรียบเทียบทั้งสองคำใส่ลงไปในช่องช่าง ซึ่งในยกแรกวันนี้ผมขอใช้ 2 คำ คือ Library กับ Search engine ดูซิว่าใครจะชนะ เอาเป็นว่าไปดูผลกันเลยดีกว่า วันนี้ก็เป็นวันของชาวห้องสมุดครับ เมื่อ Library ชนะ Search Engine ผลออกมาน่าพอใจมากครับเมื่อ Library มี result = 2388533 images! ส่วนผลของ Search engine มี result = 35036 images! เห็นหรือยังครับ ว่าห้องสมุดต้องยิ่งใหญ่กว่า Search Engine แน่นอนครับ 5555 เพื่อนๆ ลองเอาไปเล่นดูกันนะครับ ที่ http://flickrfight.net ปล. อย่าสนใจโฆษณาด้านบนของเว็บไซต์นะ มันไม่เหมาะสม อิอิ

เมื่อโลโก้เว็บไซต์ชื่อดังมาอยู่บนชื่อของเรา (Iconscrabble)

วันนี้เจอของเล่นแปลกๆ แต่น่าสนใจก็เลยขอนำมาแนะนำสักนิดนึง เว็บไซต์นี้จะช่วยสร้างไอคอนโดยนำโลโก้จากเว็บต่างๆ มาเรียงเป็นชื่อคุณ เว็บไซต์นี้ ชื่อว่า “Iconscrabble” – http://iconscrabble.com แนวคิดของเว็บไซต์นี้คือ พิมพ์ ค้นหา แชร์ (Type. Discover. Share) ง่ายๆ ครับ แค่กรอกชื่อที่ต้องการลงในช่อง (ไม่เกิน 18 ตัวอักษร) แล้วกด scrabble คุณก็จะได้โลโก้เว็บไซต์ชื่อดังมาอยู่บนชื่อของเรา ตัวอย่างเช่น – Maykin – Projectlib – Libraryhub และตัวสุดท้ายนี้แด่ Social Media

หนังสือที่ใช้ตัวอักษร A-Z เป็นชื่อเรื่อง (ชื่อสั้นจริงๆ)

ปัจจุบันเว็บไซต์แนะนำหนังสือมีเยอะมากๆ ดังนั้นเว็บไซต์เหล่านี้จะต้องหาสิ่งแปลกมาลงบ้าง ตัวอย่างเช่นเว็บที่ผมจะแนะนำวันนี้ เขาจะแนะนำเฉพาะหนังสือที่มีชื่อเรื่องสั้นที่สุด แล้วหนังสือแบบไหนที่เรียกว่า “ชื่อเรื่องสั้นที่สุด” นั่นก็หมายถึงหนังสือที่มีแค่ตัวอักษรเดียวไงครับ A B C D ….. Z เอาเป็นว่าลองดูตัวอย่างกันดีกว่าครับ เป็นยังไงกันบ้าง สั้นได้ใจมั้ยครับ จริงๆ แล้วนอกจากหนังสือที่มีตัวอักษรเดียวแล้ว ยังมีหนังสืออื่นๆ ที่มีพยางค์เดียวด้วย เป็นเว็บแนะนำหนังสือที่ค่อนข้างมีเอกลักษณ์ดีจริงๆ ห้องสมุดอย่างเราก็น่าจะเอาไอเดียแปลกๆ แบบนี้ไปเล่นบ้างนะ ตัวอย่าง : แนะนำหนังสือที่มีชื่อเรื่องสั้นที่สุด (เวอร์ชั่นภาษาไทย) วันนี้ขอเสนอแค่นี้แล้วกัน ยังไงใครนึกอะไรดีๆ ก็แบ่งปันความคิดกันได้ที่นี่เลยนะครับ สำหรับคนที่อยากเข้าไปดูเว็บไซต์นี้ ลองเข้าไปที่ http://www.abebooks.com/books/single-letter-title-shortest-mccarthy/warhol-updike.shtml

ห้องสมุดยุคใหม่ควรใช้ twitter อย่างไร

เมื่อวานผมได้เขียนเรื่องที่ไม่ควรปฏิบัติสำหรับห้องสมุดที่ใช้ Twitter แล้ว วันนี้ผมก็ขอนำเสนอภาคต่อด้วยการแนะนำสิ่งที่ควรปฏิบัติบ้างน่าจะดีกว่า เริ่มจากคำแนะนำแบบเบื้องต้นเรื่องของการจัดการ profile ตัวเอง – ชื่อ account สื่อถึงห้องสมุดตัวเองหรือไม่ – รูปภาพแสดงตัว ถ้าเป็นรูปห้องสมุดก็คงดีสินะ – website ให้ใส่เว็บไซต์ของห้องสมุดตัวเอง – Bio เขียนแนะนำห้องสมุดแบบสั้นๆ เช่น “การติดต่อสื่อสารออนไลน์กับห้องสมุด….ทำได้ไม่ยาก” สำหรับข้อความที่ควร tweet (จากบทความ Six Things Libraries Should Tweet) 1. Library events – งานกิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุด เป็นการบอกให้ผู้ที่ติดตามเราได้รู้ว่ากำลังจะมีงานอะไรในห้องสมุด เช่น “วันเสาร์นี้ 10 โมงเช้า จะมีการจัดฉายภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่พอตเตอร์ในห้องสมุด” 2. Links to articles, videos, etc. – Feed ข้อมูลจากเว็บไซต์หรือบล็อกของห้องสมุด เป็นการเชื่อมการทำงานระหว่างเว็บไซต์และการกระจายข่าวสารสู่โลกออนไลน์ หากต้องการ tweet ข้อความมากๆ เราควรใช้บริการย่อ link จาก bit.ly หรือ tinyurl ก็ได้ เช่น “The Library of Congress Revives Public Domain Works via CreateSpace Print on-Demand and Amazon Europe Print on-Demand – http://bit.ly/9nE8H1” 3. Solicit feedback – การแสดงความคิดเห็น หรือ การสำรวจข้อมูลต่างๆ เป็นช่องทางในการสอบถามเรื่องความคิดเห็นหรือแสดงไอเดียใหม่ๆ…

สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติสำหรับห้องสมุดที่ใช้ Twitter

จริงๆ แล้วอยากเขียนเรื่องเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติ และข้อไม่ควรปฏิบัติในบล็อกเดียวกัน แต่กลัวว่ามันจะยาวเกินไปเดี๋ยวเพื่อนๆ จะเบื่อเอาง่ายๆ วันนี้ผมจึงขอเลือกข้อไม่ควรปฏิบัติสำหรับห้องสมุดที่ใช้ Twitter ก่อนน่าจะดีกว่า เรื่องที่จะนำเสนอนี้สำหรับห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ที่เปิด Account เพื่อใช้ในองค์กรเท่านั้น ไม่รวมถึง Account Twitter ส่วนตัวของเพื่อนๆ นะครับ (ง่ายๆ twitter องค์กร only) ผมก็ใช้เวลาในการเล่น Twitter มาสามปีกว่าๆ สังเกตมาสักระยะแล้วว่า ห้องสมุดหลายๆ แห่งเริ่มมีการนำ twitter มาใช้ในองค์กรมากขึ้น เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรม แนะนำหนังสือ ฯลฯ ในห้องสมุด ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ห้องสมุดบางแห่งเมื่อผมได้เข้าไปใน twitter ผมก็รู้สึกแปลกๆ และสงสัยเล็กน้อย ถึงความผิดปกติในแง่ต่างๆ เช่น lock ไม่ให้คนอื่นดู, ปล่อยให้ twitter ร้าง ฯลฯ ผมจึงอยากนำเรื่องต่างๆ เหล่านี้มาแนะนำให้เพื่อนๆ ห้องสมุดและบรรณารักษ์อ่าน สิ่งที่ Twitter ห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ไม่ควรทำในโลกออนไลน์ ได้แก่ – การ lock หรือ การ protected Account ของห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ เพราะห้องสมุดของเราควรเปิดกว้างให้ผู้ใช้บริการบนโลกออนไลน์ทุกคน ดังนั้นเราไม่ควรจำกัดการเข้าถึงห้องสมุดด้วยวิธียุ่งยาก – ทำตัวเสมือนเป็นหุ่นยนต์ (ดึง feed ข่าวของห้องสมุดมาลงเพียงอย่างเดียว) ในโลกของ twitter ห้องสมุดก็สามารถมีชีวิตได้ หากมีคนถามห้องสมุดก็ควรตอบ นอกจากนี้ห้องสมุดยังสามารถทักทายผู้ใช้บริการออนไลน์อยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อความเป็นกันเอง – อย่าปล่อยให้การอัพเดทข้อความใน twitter ทิ้งช่วงเกิน 2-3 วัน เพราะนั้นหมายถึงความไม่ใส่ใจของห้องสมุด (ห้องสมุดร้าง) เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงคำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ ก็แล้วกันนะครับ เพื่อเป็นคำเตือนให้เพื่อนๆ บรรณารักษ์และห้องสมุดมือใหม่ระวังในการใช้เครื่องมือออนไลน์

ภาพช็อตเด็ด ?คนดังแห่งวงการไอทีและเว็บไซต์?

เรื่องเก่าเล่าใหม่ เอามาให้ดูแบบขำขำ นะครับ วันนี้ผมของเอาภาพผู้นำแห่งวงการไอทีและเว็บไซต์มาฝากเพื่อนๆ นะครับ เป็นภาพปัจจุบัน และ ภาพช็อตเด็ด ที่เพื่อนๆ อาจจะไม่เคยเห็นมาก่อน แต่จะเด็ดสักแค่ไหนไปดูกันเลย ดีกว่า หมายเหตุ รูปด้านซ้าย คือ รูปในปัจจุบัน ส่วนรูปทางขวาดูเอาเอง ???????????????????????? 1. Linus Torvalds, Linux ขอแซว Linus Torvalds, Linux ? เวลาท่านใส่เสื้อเชิ้ตนี่ไม่เหมาะเลย ใส่เสื้อโปโลแหละครับดีแล้ว ???????????????????????? 2. Bill Gates, Microsoft ขอแซว Bill Gates, Microsoft ? แหมรูปตอนสมัยวัยรุ่นนี้จ๊าบไปเลยท่าน ???????????????????????? 3. Steve Jobs, Apple ขอแซว Steve Jobs, Apple ? ท่านเป็นสุดยอดแห่งความฮิปปี้มากๆ หน้าของท่านเปลี่ยนตลอดเลยนะครับ แต่ผมว่าทรงผมปัจจุบันเท่ห์สุดๆ ???????????????????????? 4. Jeff Bezos, Amazon ขอแซว Jeff Bezos ? ผมว่าเวลาท่านขรึมนี่ดูดีนะครับ แต่เวลาท่านอยู่ข้างผู้หญิงท่านน่าจะเก็บอารมณ์หน่อยนะครับ อิอิ ???????????????????????? 5. Sergey Brin, Google ขอแซว Sergey Brin ? ใครบังอาจตัดต่อ หน้าของท่านนี่ รับไม่ได้ ว๊ากกกกกก ???????????????????????? 6. Jakob Nielsen, Useit.com ขอแซว Jakob Nielsen ? โหท่านสมัยหนุ่มๆ แว่นหนาขนาดนั้นเลยหรือ สุดยอดมาเป็นบรรณารักษ์ดีกว่ามา?.…

รวมลิงค์ที่ผมชอบเข้าไปอ่านข่าวบรรณารักษ์

มีหลายคนส่งเมล์มาถามเกี่ยวกับเรื่องข่าวบรรณารักษ์และวงการห้องสมุดจากทั่วโลก ว่า ผมเข้าไปอ่านจากที่ไหนบ้างเพราะเห็นว่าผมอัพเรื่องราวได้เยอะแยะเลย จึงอยากตามอ่านบ้าง ตัวอย่างเมล์นึงที่ส่งมาให้ผม ดังนี้ “มีเรื่องจะรบกวนนะคะ ทราบมาว่าคุณวายจะอ่านเรื่องของห้องสมุดจากต่างประเทศ อยากจะขอ link ด้วยคนได้ไหมคะ เผื่อว่าจะอ่านบ้างค่ะ” เอาเป็นว่าเพื่อไม่ให้ขัดศรัทธา… ผมจึงขอแนะนำเว็บไซต์ที่ผมเข้าไปอ่านประจำและรู้สึกว่าอัพเดทได้เรื่อยๆ นะครับ เว็บไซต์ที่ผมเข้าไปอ่านประจำ 5 เว็บไซต์ มีดังนี้ 1. Librarian 1.5 http://lib1point5.wordpress.com/ 2. ALA TechSource (American Library Association) http://www.techsource.ala.org/blog/ 3. Tame the web http://tametheweb.com/ 4. Librarian in black http://librarianinblack.net/librarianinblack/ 5. Librarian by day http://librarianbyday.net/ เอาเป็นว่าผมเลือกมาให้แล้ว 5 เว็บไซต์แต่หากเพื่อนๆ ยังอยากอ่านเพิ่มอีก ก็ลองดูทางด้านขวามือกรอบล่างๆ นะครับ เพื่อนๆ จะเห็น “Library Blog” นั่นแหละครับ เข้าไปเลือกดูได้เลย ทุกเว็บมีประโยชน์ทั้งนั้นครับ ทำให้อัพเดทข่าวสารวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดจากทั่วโลกทันกระแสแน่นอน สำหรับวันนี้ผมไปก่อนนะครับ ใครมีเว็บไซต์ดีๆ ก็เอามาแบ่งปันกันได้นะครับ