การสร้างห้องสมุดเพื่อเก็บสื่อ

คำถามนี้เป็นคำถามที่เพื่อนๆ ส่งมาให้ผมช่วยตอบเมื่อหลายเดือนก่อน
จริงๆ แล้วผมก็ตอบคำถามนี้ไปแล้วนะครับ
แต่วันนี้ผมขอนำเหตุการณ์นี้มาแชร์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันหน่อยดีกว่า

medialibrary

กรณีศึกษา : ขอคำแนะนำในการสร้างและจัดการห้องสมุดเพื่อเก็บสื่อมัลติมีเดีย
เกริ่นนำ : บริษัทผลิตสื่อโทรทัศน์มีความประสงค์ที่จะสร้างห้องสมุดเพื่อเก็บเทปถ่ายทำรายการ (footage)
คำถาม 1 : ควรจัดการกับระบบเทปอย่างไร
คำถาม 2 : มีระบบงานห้องสมุดหรือโปรแกรมใดที่มารองรับมั้ย หรือ มีตัวอย่างการวางระบบมั้ย

จากโจทย์ที่ได้รับมาจะสังเกตได้ชัดว่า ห้องสมุดที่ต้องการสร้างเป็นห้องสมุดที่มีลักษณะเฉพาะ
นั่นคือ ห้องสมุดต้องเป็นสถานที่ที่ใช้จัดเก็บสื่อมีเดียต่างๆ
หากดูเรื่องสื่อที่มีการจัดเก็บ นั่นคือ เทปบันทึกภาพ วีดีดี ดีวีดี ฯลฯ

แนวทางในการตอบโจทย์เรื่องนี้
คำถาม 1 : ควรจัดการกับระบบเทปอย่างไร
คำตอบ 1 : การจัดเก็บสื่อตามที่โจทย์ให้มาอาจจะแยกได้ 2 กรณี นั่นคือ

1.1 หากสื่อมีเดีย (เทปที่ถ่ายทำรายการ) มีความหลากหลายทางด้านเนื้อหา

ผมก็ขอเสนอแนวทางในการจัดเก็บสื่อมีเดียแบบตามหลักสากล เช่น
จัดตามหมวดหมู่ดิวอี้, จัดตามหมวดหมู่รัฐสภาอเมริกัน(LC)
เพราะจะช่วยให้เนื้อหาและหมวดหมู่ของสื่อมีเดียกระจายเป็นส่วนๆ ง่ายต่อการค้นหา

1.2 หากสื่อมีเดีย (เทปที่ถ่ายทำรายการ) มีเนื้อหาในแนวเดียวกัน

เช่น เทปถ่ายทำรายการอาหาร, เทปถ่ายทำรายการบันเทิง ฯลฯ
บรรณารักษ์อาจจะต้องมีการสร้างระบบการจัดการขึ้นมาเอง เช่น เรียงตามอักษร, เรียงตามวันถ่ายทำ
แล้วนำรายการเหล่านี้มาเขียนข้อมูลลงสมุดทะเบียนเพื่อให้สะดวกต่อการค้นหา

แต่ทั้งนี้การจัดหมวดหมู่ไม่ว่าจะจัดแบบไหนก็ตาม
เราจะต้องคำนึงถึงความสะดวกในการสืบค้นของผู้ใช้ด้วย
การจัดเก็บในช่วงเริ่มต้น บรรณารักษ์ควรทำคู่มือการจัดเก็บควบคู่ไปด้วย
เพื่อใช้ในการจัดการข้อมูลสำหรับอนาคตต่อไป

คำถาม 2 : มีระบบงานห้องสมุดหรือโปรแกรมใดที่มารองรับมั้ย หรือ มีตัวอย่างการวางระบบมั้ย

คำตอบ 2 : โปรแกรมห้องสมุดทุกโปรแกรมสามารถรองรับกับการจัดการข้อมูลเหล่านี้ได้อยู่แล้ว
การเลือกโปรแกรมห้องสมุดขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัยครับ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ งบประมาณ ฐานข้อมูลที่ใช้ ฯลฯ

ถ้าต้องการระบบจัดเก็บสื่อมีเดียที่ไม่ใหญ่มาก หรือ ไม่ซับซ้อนมาก
ก็เลือกโปรแกรมห้องสมุดแบบเล็กๆ ก็ได้ครับ หรือไม่ก็เขียนเองเลยใช้ Access ก็ได้

ถ้าต้องการระบบจัดเก็บสื่อมีเดียที่ใหญ่ขึ้นมาหน่อย
ก็อาจจะเลือกระบบห้องสมุดแบบกลางๆ ก็ได้

ในกรณีที่จำนวนสื่อมีไม่มาก และรองรับการทำงานในระดับปกติ
ผมขอแนะนำ โปรแกรม Library2000 น่าะเหมาะสมที่สุดครับ
เพราะราคาไม่แพง แถมเป็นโปรแกรมคนไทยด้วย

library2000

หากสนใจลองเข้าไปดูที่ http://www.library2000.net/ ครับ
ราคาแบบ lite verson เพียงแค่ 500 บาทเอง

สำหรับคำถามทั้งสองข้อ ผมก็ตอบได้ประมาณนี้นะครับ

ผมขอเสริมอีกสักเรื่องนะครับ เกี่ยวกับเรื่องสถานที่ที่ใช้ในการจัดเก็บสื่อมีเดีย
เรื่องนี้ผมว่าก็สำคัญไม่แพ้กับการจัดระบบหรือโปรแกรมในการจัดเก็บเลย
เพราะหากระบบจัดเก็บดี และโปรแกรมดี แต่สถานที่ใช้ไม่ได้ สื่อมีเดียก็อาจจะเสื่อมมูลค่าได้ครับ

สถานที่ที่เหมาะสมต่อการจัดเก็บสื่อควรจะ
– มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อับชื้น
– อุณหภูมิต้องไม่ร้อนจนเกินไป เพราะสื่ออาจจะเสียหายได้

และอื่นๆ อีกมากมาย

เอาเป็นว่ากรณีศึกษาวันนี้ก็จบแต่เพียงเท่านี้ครับ
หวังว่าเพื่อนๆ คงจะได้ไอเดียเล็กๆ น้อยๆ ไปประยุกต์ใช้กันนะครับ

ปล. คำตอบและความคิดเห็นของผม อาจจะไม่ตรงใจกับอีกหลายๆ คนก็ได้นะครับ
ดังนั้นเพื่อให้คำตอบสมบูรณ์ ผมจึงอยากเชิญชวนให้เพื่อนๆ ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ด้วยครับ

ผู้ใช้บริการห้องสมุดที่ดีควรจะ…

วันนี้ผมขอออกมาพูดให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดฟังบ้างนะครับ
คิดซะว่าผมพูดในฐานะบรรณารักษ์คนนึงก็แล้วกัน

librarybookmark

หลายครั้งบรรยากาศในห้องสมุดที่ผมพบ มันดูเหมือนจะไม่ใช่ห้องสมุด
สาเหตุก็เกิดจากการใช้บริการของผู้ใช้ส่วนหนึ่งที่ทำให้บรรยากาศของห้องสมุดถูกทำลาย เช่น
– การพูดคุยส่งเสียงดังในห้องสมุด
– การนำขนมมากินในห้องสมุด
– การนอนหลับในห้องสมุด (แล้วส่งเสียงกรนดังมาก)

ฯลฯ อีกมากมาย

ปกติห้องสมุดเกือบทุกที่จะติดประกาศเรื่องกฎระเบียบในการใช้ห้องสมุด
ซึ่งเนื้อหาภายในกฎระเบียบเหล่านั้นก็น่าจะเขียนไว้ชัดเจนอยู่แล้ว

เอาเถอะครับ งั้นผมขอทบทวนเรื่องนี้ให้ผู้ใช้บริการเข้าใจอีกสักทีก็ได้
พอดีผมเจอที่คั่นหนังสือที่ให้ข้อมูลเรื่องการใช้บริการของห้องสมุดที่สิงคโปร์
จึงอยากเอามาให้ผู้ใช้บริการหลายๆ คนได้อ่านกัน
รวมถึงเพื่อนๆ บรรณารักษ์สามารถนำข้อความเหล่านี้ไปติดประกาศไว้ในห้องสมุดของท่านก็ได้

ในที่คั่นหนังสือ มีข้อความดังนี้

1. Handle all library materials and facilities with care and respect
ผู้ใช้บริการควรจะดูแลรักษาทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุด จงใช้อย่างระมัดระวัง เพราะว่าคุณไม่ได้ใช้หนังสือแค่คนเดียว

2. Maintain a quiet environment at all times
ผู้ใช้บริการควรจะดูแลความเงียบสงบภายในห้องสมุดทุกครั้งที่เข้าห้องสมุด เพราะถ้าคุณกำลังอ่านหนังสืออยู่แล้วมีเสียงดังรบกวนคุณคงไม่ชอบแน่

3. Show consideration to those who are waiting

เวลาอ่านหนังสือสักเล่ม หรือยืมหนังสือสักเล่มให้นึกถึงผู้ใช้บริการคนอื่นบ้าง เพราะหนังสือเล่มนึงอาจเป็นที่ต้องการของผู้ใช้หลายๆ คน

4. Return browsed library materials to the book bins
กรุณาวางหนังสือที่ใช้แล้วในจุดที่กำหนด เพราะบรรณารักษ์จะได้นำออกมาให้ผู้อื่นบริการได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

5. Sleep at home, not at the library
ถ้าง่วงนอนมากๆ ขอแนะนำให้กลับไปหลับที่บ้านนะครับ ไม่ใช่หลับในห้องสมุด

6. Supervise your children at all times
ดูแล และแนะนำการใช้ห้องสมุดให้เด็กๆ ที่คุณพามาด้วยนะคร้าบ

7. Eat and drink at the cafe only
ถ้าหิว จะกินจะดื่มอะไรก็สามารถไปกินที่ร้านนะครับ ไม่ใช่กินในห้องสมุด

8. Settle outstanding payments promptly
ถ้ายืมหนังสือเกินกำหนด หรือทำผิดกฎของห้องสมุด คุณก็ต้องเสียค่าปรับด้วย กรุณาอย่างเบี้ยวนะครับ

9. Give priority for seats to those using library materials
ที่นั่งในห้องสมุดกรุณาแบ่งๆ กันใช้นะครับ ไม่ใช่เล่นจองคนเดียวเต็มโต๊ะ

10. Treat everyone with courtesy and respect
ปฏิบัติต่อผู้ใช้ห้องสมุดด้วยกัน ด้วยความเคารพและมีมารยาท

เป็นไงบ้างครับ อ่านแล้วเข้าใจมากขึ้นหรือปล่าว
ถ้ายังไม่เข้าใจอีก ผมจะได้ให้บรรณารักษ์พิมพ์ออกมาเป็นโปสเตอร์แจกเลยดีมั้ยครับ
เอาเป็นว่าไม่ว่าคุณจะใช้ห้องสมุดแบบไหน ขอให้ใส่ใจต่อคนรอบๆ ข้างที่ใช้บริการเหมือนกับคุณบ้างก็พอครับ

ห้องสมุดทำอะไรได้บ้างบน Facebook

หลังจากที่ผมลองเล่น Facebook มาได้ระยะหนึ่ง
ผมก็ได้พบกับห้องสมุดต่างๆ มากมายที่สมัครใช้งาน Facebook เช่นกัน

libraryinfacebook

วันนี้ผมเลยขออนุญาตพาเพื่อนๆ เข้าไปดูห้องสมุดต่างๆ เหล่านี้หน่อย
ว่าเขาใช้ Facebook ทำอะไรบ้าง

แต่ก่อนอื่นผมขอแอดห้องสมุดเหล่านี้ไว้เป็นเพื่อนผมก่อนนะครับ
เมื่อแอดห้องสมุดเหล่านี้เสร็จ ผมก็เริ่มเข้าไปดูทีละส่วนของห้องสมุดเลยครับ

ส่วนแรกที่ผมได้พบ คือ ข้อมูลทั่วไปของห้องสมุด ซึ่งประกอบด้วย
– ชื่อห้องสมุด
– ที่อยู่
– แฟนคลับของห้องสมุด
– ข้อความทักทายผู้ใช้งาน
– รูปภาพของห้องสมุด
– วีดีโอแนะนำห้องสมุด

facebook

เดิมทีผมคิดว่าห้องสมุดใน Facebook จะสามารถทำได้เพียงเท่านี้
แต่ความเป็นจริงแล้วห้องสมุดยังสามารถใช้ Facebook ทำอย่างอื่นได้อีก

ฟีเจอร์เสริมที่ห้องสมุดนำมาใช้
– แหล่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ มากมายที่ห้องสมุดแนะนำ โดยใช้ RSS Feed
– จุดเชื่อมโยงไปสู่เว็บไซต์ห้องสมุดอื่นๆ หรือบล็อกห้องสมุด (Link)
– ระบบสืบค้นฐานข้อมูลต่างๆ
– บริการพจนานุกรมออนไลน์

newlibraryfacebook

ภาพแสดงตัวอย่างระบบสืบค้นฐานข้อมูลที่อยู่ใน Facebook

– SUNCAT Search

suncat

– WorldCat

worldcat

– Warwick Library E-Journal Search

warwick-library

– Oxford English Dictionary Search

oxford

เป็นยังไงกันบ้างครับ ห้องสมุดบน Facebook ทำอะไรได้มากกว่าที่คุณคิดหรือปล่าว
อ๋อเกือบลืมบอกไป ว่าที่สำคัญอีกอย่าง คือ การสมัคร facebook ไม่ต้องเสียเงินสักบาทเลยนะครับ

รู้แบบนี้แล้ว เพื่อนๆ พร้อมที่จะนำห้องสมุดของท่านขึ้นมาไว้บน facebook บ้างหรือปล่าว

มาหาคำศัพท์ด้านห้องสมุดกันเถอะ

วันนี้ผมขอแนะนำเรื่องแบบสบายๆ ที่เกี่ยวกับห้องสมุดแล้วกัน
เรื่องสบายๆ ที่ว่า ผมขอแนะนำเกมส์ puzzle ดีกว่า

library-puzzle

เกมส์ puzzle คือ เกมส์หาคำศัพท์จากตารางตัวอักษร
ซึ่งในตารางตัวอักษรนี้จะมีคำศัพท์ซ่อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นทั้งแนวตั้ง แนวนอน แนวทะแยง

แต่ถ้าจะให้เพื่อนๆ เล่นเกมส์ puzzle แบบปกติคงจะไม่สนุกเท่าไหร่
ผมเลยขอแนะนำ Library puzzle หรือ เกมส์หาคำศัพท์บรรณารักษ์

ต้นฉบับไฟล์ภาพตารางเกมส์ Library puzzle
จากเว็บไซต์ http://farm4.static.flickr.com/3536/3217077856_5f8c5008f0.jpg
โดย Library Word Find Puzzle, originally uploaded by herzogbr.

แต่เพื่อความสะดวกกับเพื่อนๆ ผมจึงแปลงข้อมูลต่างๆ ให้อยู่ในรูปไฟล์ Excel เรีบร้อยแล้ว
เพื่อนๆ สามารถโหลดได้ที่นี่ —ไฟล์ตาราง Librarypuzzle

ในไฟล์ Librarypuzzle จะมีทั้งแบบตารางและเฉลยให้เพื่อนๆ เรียบร้อยแล้ว
แต่ขอแนะนำว่าเพื่อความสนุกเพื่อนๆ ควรเล่นด้วยตัวเองนะครับ

เมื่อได้ไฟล์ตารางแล้ว ผมขอตั้งกติกาสักนิดนะครับ
เอาเป็นว่าขอให้เพื่อนๆ หาคำศัพท์ที่อยู่ด้านล่างนี้ในตาราง ภายในเวลา 5 นาที

คำศัพท์ที่เพื่อนๆ ต้องหามีดังนี้

– ALA
– ARCHIVE
– BOOKGROUP
– BOOKS
– BUDGET
– CATALOG
– CIRCULATION
– COMMUNITY
– COOKERY
– DATABASES
– DEWEY
– DVD
– FICTION
– FLICKR
– GENEALOGY
– ILL
– INFORMATION
– LIBRARY
– LIBRARYCARD
– LOC
– LOCALAUTHOR
– NETWORK
– PATRONS
– PROGRAMS
– READING
– REFERENCE
– REQUEST
– SELFCHECK
– SERVICE
– STORYTIME
– UNSHELVED
– WEBSITE
– WEEDING
– WORDPRESS

คำแนะนำในการเล่นให้สนุกยิ่งขึ้น
– ควรเล่นกันหลายๆ คน หรือ หาเพื่อนในที่ทำงานมาเล่นแข่งกัน (เพื่อหาผู้ชนะ)
– ควรจับเวลาในการเล่น (เพื่อความตื่นเต้นในการค้นหา)
– นอกจากหาคำแล้วยังต้องแปลให้อีกฝ่ายรู้ถึงความหมายด้วย (จะได้ฝึกภาษา)

เอาเป็นว่านอกจากเล่นแก้เซ็งได้แล้ว ยังถือว่าได้ฝึกภาษาไปด้วยนะครับ
ยังไงก็ลองเล่นกันดูนะครับ

เปิดเว็บห้องสมุดสำหรับคนขี้เกียจ

วันนี้ขอแนะนำคำว่า LazyLibrary ให้เพื่อนๆ รู้จักกันหน่อยนะครับ
หากเพื่อนๆ แปลกันแบบตรงๆ คำว่า LazyLibrary คงจะหมายความว่า ห้องสมุดขี้เกียจ
แต่จริงๆ แล้วคำว่า LazyLibrary เป็นเพียงชื่อเว็บไซต์ต่างหาก

lazylibrary

ไปดูกันว่าตกลงมันเป็นเว็บเกี่ยวกับอะไร

LazyLibraryเป็นเว็บไซต์สำหรับการค้นหาหนังสือ เพื่อสั่งซื้อหนังสือมาอ่านครับ
ดูผิวเผินเพื่อนๆ ก็จะนึกถึง Amazon นั่นเอง

โดยหลักการสืบค้นหนังสือ ก็เหมือนๆ กับ Amazon นั่นแหละครับ
แต่แตกต่างกันที่แนวความคิด และไอเดียของการทำเว็บไซต์

ซึ่งในเว็บไซต์ LazyLibrary ได้พูดถึงแนวความคิดว่า

“where you can find books on any topic without having to worry about high page counts. If it’s over 200 pages, you won’t even see it. Read all about anything, in less time, for (usually) less money.”

ปกติ เวลาค้นหาหนังสือเพื่อทำรายงานสักเรื่อง คุณอาจจะต้องกังวลเกี่ยวกับจำนวนหน้าของหนังสือที่เยอะเหลือเกิน และถ้าหนังสือเล่มนั้นเกิน 200 หน้า คุณก็คงไม่อยากเห็นมันเช่นกัน ดังนั้นเว็บนี้จะช่วยคุณหาหนังสือที่ไม่เกิน 200 หน้า เพื่อให้คุณใช้เวลาที่น้อยกับเรื่องนั้นๆ และมีราคาที่ถูก

เจ๋งดีมั้ยครับ หาหนังสือที่มีจำนวนไม่เกิน 200 หน้า

lazylibrary-search

หลักการค้นก็ง่ายๆ ครับ เพียงแค่ใส่หัวข้อที่เราต้องการหาลงไปในช่องค้นหา
ซึ่งหน้าตาก็ใช้งานง่ายเหลือกเกิน จากนั้นก็ค้นหาตามปกติ

เพียงเท่านี้เราก็จะเจอหนังสือที่ในหัวข้อที่เราต้องการ และที่สำคัญไม่เกิน 200 หน้าด้วย

ไอเดียปิดท้ายที่ได้จากการรีวิวครั้งนี้
บางทีถ้าห้องสมุดเอาฟีเจอร์แบบนี้มาใส่ในฐานข้อมูลหนังสือก็คงจะดีสินะครับ
เพราะบางทีผู้ใช้ก็ไม่ค่อยชอบหนังสือเล่มใหญ่ๆ สักเท่าไหร่
ผู้ใช้อาจจะอยากได้หนังสือเล่มเล็กๆ จำนวนไม่เกิน 200 หน้าก็ได้นะ

ในแง่ของการนำไปใช้ผมว่าไม่ยากหรอกนะครับ
เพราะในทางบรรณารักษ์จะมี tag ที่สำหรับใส่จำนวนหน้าอยู่แล้ว
ถ้าสมมุติเรานำ filter มาให้ผู้ใช้เลือกก็คงจะดี

เช่น ผู้ใช้สามารถค้นหาหนังสือที่มีจำนวนหน้าไม่เกิน 100 หน้า / 200 หน้า / 300 หน้า …

ก่อนจากกันวันนี้ อยากให้เพื่อนๆ เข้าไปลองเล่นเว็บไซต์นี้ดูนะครับ
แล้วเพื่อนๆ จะรู้ว่า บางสิ่งที่บังตาเราอาจจะนำมาซึ่งการพัฒนาห้องสมุดก็ได้

เว็บไซต์ Lazylibraryhttp://lazylibrary.com/

บทบาทและหน้าที่ของบรรณารักษ์

วันนี้ผมได้เข้าไปค้นข้อมูลเรื่องบรรณารักษ์จากเว็บไซต์ wikipedia
ซึ่งด้านในมีเนื้อหาที่พูดถึงบรรณารักษ์มากมาย แต่ที่ดูน่าสนใจเห็นจะเป็นเรื่อง
Librarian roles and duties – บทบาทและหน้าที่ของบรรณารักษ์

librarianrole

Read more

บรรณารักษ์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก

เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่าบุคคลสำคัญระดับโลกหลายๆ คนเคยเป็นบรรณารักษ์มาก่อน
บุคคลสำคัญระดับโลกที่เคยเป็นบรรณารักษ์มาก่อน เช่น Benjamin Franklin, Mao Zedong(เหมา เจ๋อตุง)

librariantop

Read more

เตรียมตัวเป็นบรรณารักษ์ยุค 2.0 กัน

เพื่อให้เพื่อนๆ ทุกคนกลายเป็นบรรณารักษ์ยุคใหม่
ผมจึงเริ่มวางหลักสูตรบรรณารักษ์ยุคใหม่เพื่อพัฒนาเพื่อนๆ

libraryhub-talk

Read more

เที่ยวท่องห้องสมุดไทย

หลายๆ คนชอบตั้งคำถามว่า “ห้องสมุดในเมืองไทยที่ไหนน่าไป”
เพื่อให้ทุกคนหายข้องใจในเรื่องนี้ ผมจึงขอแนะนำห้องสมุดที่น่าสนใจให้ฟังกัน

cover1

แต่ถ้าจะให้ผมบอกว่าที่ไหนบ้าง
ผมก็คงจะต้องใช้เวลาในการศึกษาสักนิดนะครับ
แต่ถ้าอยากได้แบบรวดเร็ว ผมก็ขอรวบรัดตัดความเลย ว่า ลองอ่านหนังสือเล่มนี้สิครับ

ชื่อหนังสือ : เที่ยวท่องห้องสมุด
ชื่อผู้แต่ง : เจริญขวัญ แพรกทอง
สำนักพิมพ์ : เวลาดี
ISBN : 9789749659014
จำนวนหน้า : 268 หน้า
ราคา : 295 บาท

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่แนะนำห้องสมุดที่น่าสนใจมากกว่า 40 แห่งให้เพื่อนๆ ได้อ่าน
รายละเอียดที่ผู้เขียนแนะนำก็คือ ความแตกต่าง ความโดดเด่น และความสวยงามของห้องสมุดทั้งหลายเหล่านั้น
ซึ่งมีทั้งภาพประกอบ สถานที่ตั้ง และเนื้อหาที่น่าติดตามมากๆ

ห้องสมุดที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้จะมีการแบ่งกลุ่มตามประเภทและลักษณะของห้องสมุดนั้นๆ ด้วย เช่น
– ห้องสมุดในหอสมุดแห่งชาติ
– ห้องสมุดในพิพิธภัณฑ์
– ห้องสมุดด้านสังคม ศิลปะ และวัฒนธรรม
– ห้องสมุดเอกชนและมูลนิธิ
– ห้องสมุดภายในหน่วยงานรัฐบาล
– ห้องสมุดในพระราชวังเดิม
– ห้องสมุดสถาบันการศึกษาและศาสนา
ฯลฯ

ตัวอย่างห้องสมุดที่ในหนังสือแนะนำ เช่น

หอ สมุดแห่งชาติ, หอวชิราวุธานุสรณ์ , ห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร, ห้องสมุดกล้วยไม้ระพี สาคริก, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทย, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์แมลง, ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ห้องสมุดศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, หอสมุดดำรงราชานุภาพ, ห้องสมุดดนตรีเรวัต พุทธินันท์? ฯลฯ

ผมชอบที่เขาเขียนแนะนำหนังสือเล่มนี้อ่ะครับ

?คู่มือท่องเที่ยวฉบับ ห้องสมุด ที่หนอนหนังสือต้องไม่พลาด ! ท่านเชื่อหรือไม่ว่าในโลกนี้ยังมีดินแดนมหัศจรรย์อีกมากมายให้สำรวจและค้นหา ห้องสมุดคือหนึ่งในจำนวนนั้น มีความมหัศจรรย์ซ่อนอยู่ทุกหนทุกแห่ง รอคอยให้ขุดค้นขุมทรัพย์ล้ำค่าห้องสมุดทำให้บางคนบรรลุฝันอันงดงามประสบความ สำเร็จในชีวิต โรงเรียนแห่งจิตวิญญาณ สร้างหลักสูตรเฉพาะตนอย่างไม่รู้จบ ประตูแห่งดินแดนมหัศจรรย์เปิดขึ้นแล้วคุณพร้อมหรือยังสำหรับการผจญภัยครั้ง นี้?

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นการตอบโจทย์เรื่องห้องสมุดที่น่าสนใจในกรุงเทพฯ แบบคร่าวๆ แล้วนะครับ
ยังไงก็ลองไปหาซื้อได้ที่ร้านซีเอ็ด บีทูเอส นายอินทร์ หรือไม่ก็ร้านดอกหญ้าก็ได้ครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมของหนังสือ สามารถดูได้ที่
http://thaispecial.com/bookshop/newbookpreview.asp?booklist=9749659015

สรุปงานสัมมนาความร่วมมือกลุ่มผู้ใช้ Walai AutoLIB

วันนี้ผมจะมาสรุปประเด็นที่น่าสนใจในงานสัมมนาที่ผมเข้าร่วมวันนี้ นั่นคือ
“งานสัมมนาความร่วมมือกลุ่มผู้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLIB”
ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 18-19 พฤษภาคม 2552 ณ โรงแรมเอเซีย

walaiautolib

โดยงานสัมมนาเรื่องนี้ผมคงเข้าร่วมได้แค่วันเดียวนะครับ
แถมยังเข้าร่วมได้ไม่เต็มวันอีก แต่เอาเถอะครับ ผมจะสรุปประเด็นเท่าที่ผมได้ฟังก็แล้วกัน

ประเด็นที่ผมได้ฟัง
– ความเป็นมาของโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย
– แนวคิดในการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib
– สาธิตระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib

แค่สามประเด็นนี้ผมก็รู้สึกว่าได้รู้อะไรมากมายแล้วครับ
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองอ่านเป็นหัวๆ แล้วกัน

—————————————————

ความเป็นมาของโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ สำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย
Introduction to Library automation in academic library
บรรยายโดย ผศ.วิชาญ เลิศวิภาตระกูล ซึ่งเป็น ผอ.สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา

– บทบาทของ UNINET ที่มีต่อวงการห้องสมุด คือ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่มาใช้ในงานห้องสมุด

– ห้องสมุดอัตโนมัติ เริ่มมีบทบาทมากในปี 2530-2531

– สกอ. เกิดความคิดที่จะพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติของไทย
เนื่องจากการจัดหาระบบห้องสมุดอัตโนมัติมีค่าใช้จ่ายที่สูง นอกจากนี้ค่าดูแลรักษาก็แพงเช่นกัน

– สกอ. จึงสนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบห้องสมุดสำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย
โดยสกอ. ให้ 3 มหาวิทยาลัยดำเนินการในการพัฒนา และออกทุนสนับสนุนการพัฒนา มหาวิทยาลัยทั้ง 3 ได้แก่
(1) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยใช้ต้นแบบจาก VTLS
(2) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยใช้ต้นแบบจาก Dynix และ Innopac
(3) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยใช้ต้นแบบจาก Innopac

Walai AutoLIB พัฒนามาแล้ว 2-3 ปี ปัจจุบันมีคนใช้ไปแล้ว 43 แห่ง
นับว่าเป็นระบบที่ใช้เวลาไม่นาน แต่คุณภาพไม่แพ้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของคนอื่น

– ประโยคที่ได้ใจวันนี้ “งานห้องสมุดเป็นงานที่ไม่ได้หยุดนิ่ง ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

—————————————————

แนวคิดในการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib
Walai Autolib development concept
บรรยายโดย รศ.ดร.พูลพงษ์ บุญพราหมณ์

– เดิมห้องสมุดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ VTLS
แต่ระบบดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษาแพง
รวมถึงยังตอบสนองความต้องการด้านการใช้งานไม่ครบถ้วน

– เริ่มการพัฒนา Walai autolib ในปี 2548

– ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai autolib ระยะเริ่มต้น
(1) ความซับซ้อนของระบบงานห้องสมุด
(2) ปัญหาด้านผู้ใช้ และการจัดการความเปลี่ยนแปลง
(3) ความน่าเชื่อถือของระบบที่พัฒนาโดยคนไทย
(4) Site reference

– มีคนกล่าวว่า “ถ้าใครพัฒนาระบบห้องสมุดได้ ก็จะสามารถพัฒนาระบบอื่นๆ ได้ง่าย”
ข้อความนี้แสดงให้เห็นว่าระบบห้องสมุดเป็นระบบที่มีความซับซ้อนและยุ่งยากมากๆ

– เรื่องของการจัดการความเปลี่ยนแปลง เมื่อคนเราใช้อะไรจนชินแล้วจะให้เปลี่ยนคงต้องใช้เวลา

– คนไทยมีความสามารถในการพัฒนาระบบต่างๆ นะ น่าเชื่อถือด้วย แต่ขาดโอกาสในการพัฒนามากกว่า

-ผู้ให้การสนับสนุนในการพัฒนาระบบห้องสมุด ได้แก่
(1) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
(2) UNINET
(3) ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(4) คณะทำงานโครงการ Walai Autolib

– เป้าหมายของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai autolib ยึดหลักดังนี้
(1) สร้างระบบบริหารจัดการห้องสมุดที่มีประสิทธิภาพ
(2) สร้างมาตรฐานของงานห้องสมุด Marc21, Z39.5, ISO2709
(3) ประหยัดงบประมาณในด้านต่างๆ

– ระยะของการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai autolib แบ่งออกเป็น 6 ระยะ
(ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เข้ากับแนวคิดห้องสมุด 2.0)

Library2.0 คือ แนวความคิดในการจัดการห้องสมุดยุคใหม่
เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการได้สร้างกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน

– แผนงานในอนาคตของ Walai autolib เพื่อให้เป็น Library2.0
(1) Content Management System
(2) Dynamic Search System
(3) User Space
(4) Library Web Portal
(5) Helpdesk Online

– ก่อนจบ session นี้ ผมชอบประโยคนึงของการบรรยายครั้งนี้ นั่นคือ
“Libraries Changing the world” ห้องสมุดสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้

—————————————————

สาธิตระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib
Demo Walai Autolib
บรรยายโดย อาจารย์ยุทธนา เจริญรื่น

เริ่มจากการสาธิตการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib เบื้องต้น ทั้ง 6 โมดูล ดังนี้
1) ระบบบริหารจัดการ (Policy management module)
2) ระบบการทำรายการ (Cataloging module)
3) ระบบการบริการยืม-คืน (Circulation module)
4) ระบบการสืบค้นและบริการสมาชิก (OPAC and utility module)
5) ระบบควบคุมสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง (Serials control module)
6) ระบบการจัดซื้อจัดหา (Acquisition module)

—————————————————

ประเด็นที่ผมสรุปมาอาจจะขาดไปในบางช่วงบางตอน
แต่เอาเป็นว่าถ้ามีรายละเอียดอะไรเพิ่มเติมมากกว่านี้
ผมจะนำมาเล่าให้ฟังในบล็อกนี้อีกก็แล้วกัน

สำหรับคนที่พลาดงานนี้
ผมเชื่อว่าการแนะนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai Autolib อาจจะมีจัดอีก
ยังไงถ้ามีความคืบหน้าเรื่องการจัดงานแบบนี้อีก ผมจะนำมารายงานให้เพื่อนๆ รู้ทันที