รีวิวหนังสือ “ไอเดียนวัตกรรมในห้องสมุดประชาชนสุดเจ๋ง”

นานๆ ทีจะมีเวลามานั่งอ่านและรีวิวหนังสือ วันนี้ขอเลือกหนังสือเรื่อง “Innovation in Public Libraries” หรือ “นวัตกรรมในห้องสมุดประชาชน” (คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องเบาๆ นะครับ) และบรรณารักษ์น่าจะหยิบแนวคิดไปใช้ได้บ้าง

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : Innovation in Public Libraries: Learning from International Library Practice
ผู้แต่ง : Kirstie Nicholson
ISBN : 9780081012765
ปีพิมพ์ : 2017
จำนวนหน้า : 158 หน้า

หนังสือเล่มนี้เขียนถึงเรื่องนวัตกรรมของห้องสมุดประชาชนที่ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องการจัดการทรัพยากร การออกแบบบริการ การเลือกเทคโนโลยี รวมไปจนถึงการออกแบบอาคาร … นี่แหละผมถึงหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่านทันที

ภายในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 4 บท ดังนี้
บทที่ 1 Overview of recent innovation
บทที่ 2 Innovative libraries
บทที่ 3 Trends in international innovation
บทที่ 4 Objectives and actions

เนื้อหาสรุปของแต่ละบท

บทที่ 1 Overview of recent innovation

ในบทนี้กล่าวถึงภาพรวมของการบริหารจัดการโครงการด้านนวัตกรรมต่างๆ ที่ทำในห้องสมุดประชาชน โดยแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ดังนี้

1) Collections —> เปลี่ยนจาก Collection-orientated service ให้กลายเป็น People-orientated service (โดยสรุปจากการตั้งรับเป็นเชิงรุก และรุกไปหาลูกค้ามากขึ้น) ตัวอย่างได้แก่ Book vending machine (ตู้บริการหนังสืออัตโนมัติ), Book Bikes (จักรยานห้องสมุดแบบเคลื่อนที่), Pop up Library (ห้องสมุดชั่วคราวตามพื้นที่ที่สำคัญต่างๆ) …
2) Customer services —> สร้างประสบการณ์ในการใช้บริการห้องสมุดแบบใหม่ๆ เน้นการทำ customer experience ตัวอย่างได้แก่ การสร้างความมีส่วนร่วมให้กับผู้ใช้บริการ, การพัฒนาช่องทางการเข้าถึงและแคมเปญสร้างความผูกพัน, การขยายวันและเวลาเปิดปิดการให้บริการ …
3) Technology —> เทคโนโลยีเพิ่มโอกาสในการเข้าถึง แต่อย่าลืมว่าเทคโนโลยีก็ยิ่งทำให้เกิดความเลื่อมล้ำทางการศึกษามากขึ้น มิติที่ต้องดู เช่น Social Media, Applications, Internet, เทคโนโลยีใหม่ๆ, เทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการใช้บริการด้วยตนเอง
4) Programmes —> การจัดโปรแกรมการเรียนรู้แบบใหม่ๆ ในห้องสมุด (เข้าใจชุมชนและตรงความสนใจของผู้ใช้บริการ) เช่น งานอดิเรก, สุขภาพ, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
5) Library buildings —> ถ้าไม่สามารถปรับที่โครงสร้างของอาคารได้ เบื้องต้นการสร้างบรรยากาศด้วยการตกแต่งตามธีมในการเรียนรู้ก็ได้

บทที่ 2 Innovative libraries

ในบทนี้เน้นเป็นกรณีศึกษาของห้องสมุดประชาชนจากทั่วโลก เช่น

1) Edmonton Public Library, Canada
2) National Library Board, Singapore
3) Stuttgart City Library, Germany
4) Aarhus Public Library, Denmark
5) Chicago Public Library, United States

บทที่ 3 Trends in international innovation

บทนี้กล่าวถึงแนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับการสร้างนวัตกรรมในห้องสมุด ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 เรื่องที่สำคัญ ได้แก่

1) Making and creating —> คำสำคัญที่หลายท่านคงเคยได้ยิน คือ Makerspace อันนี้น่าจะเป็นแนวโน้มที่ห้องสมุดควรไป เพราะการเรียนรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติเป็นสิ่งที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ผู้ใช้บริการ
2) Participation —> การสร้างความมีส่วนร่วมให้กับผู้ใช้บริการ เช่น การสมัครเป็นสมาชิก, การเข้ามาทำงานร่วมกัน, การยืมคืนทรัพยากร คำสำคัญที่น่าสนใจคือ Third Place
3) Partnerships —> โดยเฉพาะการจับมือกับหน่วยงานอื่นๆ ในท้องถิ่น คำสำคัญที่น่าสนใจ คือ community agency นอกจากหน่วยงานอื่นๆ แล้ว การทำเครือข่ายห้องสมุดกับห้องสมุดด้วยกันเองก็เป็นสิ่งที่ต้องทำด้วยเช่นกัน
4) Learning —> บริการศูนย์เรียนรู้ออนไลน์ก็อีกเป็นเรื่องที่ห้องสมุดสามารถนำมาให้บริการได้ คำสำคัญหนึ่งที่ห้องสมุดต้องทำความรู้จัก คือ MOOC, OER
5) New outreach —> Library service beyond Library building บริการสำคัญกว่าสถานที่ ตัวอย่างเช่น การจัดส่งหนังสือ (Book delivery) หรือ การทำห้องสมุดชั่วคราวในสถานที่ต่างๆ (pop up Library)

บทที่ 4 Objectives and actions

บทนี้พูดเรื่องแนวทางในการบริหารห้องสมุดในยุคใหม่ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับเรื่องนวัตกรรม — ธีมห้องสมุดที่น่านำเสนอ เช่น

– Digital Literacy
– Digital Library ห้องสมุดดิจิทัล
– การสนับสนุนให้คนเรียนรู้ตลอดชีวิตและมีความคิดสร้างสรรค์
– การส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
– การทำห้องสมุดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน

เอาเป็นว่าหนังสือเล่มนี้ผมใช้เวลาแค่สามชั่วโมงกว่าๆ ก็อ่านจบ เป็นหนังสือที่อ่านง่ายไม่ยากมาก เพราะสำหรับคนที่กำลังต้องการหาไอเดียเพื่อนำมาปรับใช้กับห้องสมุดประชาชนของเรา

ซื้อหนังสือและดูรีวิวอื่นๆ ที่
https://www.amazon.com/Innovation-Public-Libraries-Learning-International-dp-0081012764/dp/0081012764/

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*