ตามติดไอเดียและความรู้จากงาน TKFORUM2020 (ฉบับคนที่ไม่ได้ไปร่วมงาน)

ในความเสียดายที่ไม่ได้ไปร่วมงาน TK Forum 2020 เพราะติดภารกิจ แต่เชื่อมั้ยครับ วันนี้คนที่ไปพยายามแชร์ไอเดียสิ่งที่ได้จากการไปงานนี้ใน Facebook และ Twitter ซึ่งผมขอรวบรวมข้อความ และเครดิตให้เพื่อนๆ ที่โพสให้อ่าน


เริ่มจากการติดตาม @TKpark_TH ใน Twitter กันก่อนครับ
(https://twitter.com/TKpark_TH/)

*** ห้องสมุดในฟินแลนด์ไม่คิดค่าบริการ ซึ่งมาจากแนวคิดว่าประชาชนควรสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ขั้นพื้นฐานได้อย่างเท่าเทียม ซึ่งงบประมาณสนับสนุนโดยรัฐและหน่วยงานท้องถิ่น

*** ในประเทศฟินแลนด์มีห้องสมุดประชาชน 720 แห่ง ห้องสมุดเคลื่อนที่ 135 แห่งในเมืองที่มีประชากรหนาแน่นในเขตการปกครอง 295 เมือง

*** ห้องสมุดโรงเรียนและห้องสมุดประชาชนจะทำงานร่วมกันในการให้บริการหนังสือสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กๆ และนักเรียน

*** ในยุคนี้ห้องสมุดต้องปรับตัว นอกจากจะให้บริการยืมคืนหนังสือแล้วยังเป็นสถานที่ให้บริการต่างๆ เช้นจัดกิจกรรม คอนเสิร์ต เป็น workplace เป็น maker space

*** ห้องสมุดทำหน้าที่กระตุ้น จุดประกาย ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมการอ่าน การพัฒนาทักษะซึ่งเป็นที่ต้องการในตลาดปัจจุบัน

*** ในยุคของข่าวลวง ข่าวปลอม ห้องสมุดเป็นแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เชื่อถือได้ และทำให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันสื่อ

*** ยุคดิจิทัลช่วยให้ห้องสมุดสามารถให้บริการ ส่งต่อคอนเทนต์ต่างๆ ไปยังสมาชิกได้มากขึ้น

*** ห้องสมุดโอดิ (Oodi) เป็นของขวัญสำหรับชาวฟินแลนด์ในโอกาสฉลองเอกราชครบ 101 ปี เป็นเสมือนอนุเสาวรีย์ที่สง่างามและเป็นสัญลักษณ์สำคัญของการศึกษาการเรียนรู้ทีทำให้การพัฒนาฟินแลนด์ประสบความสำเร็จ

*** การพัฒนาการศึกษาการเรียนรู้ไม่ได้เป็นหน้าที่ของกระทรวงศึกษาแต่เพียงหน่วยงานเดียว แต่เป็นความร่วมมือกันของทุกคน ทุกหน่วยงานในการผลักดันและพัฒนาการศึกษา

*** ยาน่า เตือร์นิ (Jaana Tyrni) ผู้อำนวยการห้องสมุดเมืองเอสโป พูดถึงคอนเซ็ปต์ของคำว่า Sivistys ที่มีต่อการเรียนรู้และการพัฒนาห้องสมุด

*** การพัฒนาห้องสมุดสาธารณะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาในประเทศฟินแลนด์ในฐานะกลุ่มประเทศนอร์ดิก

*** ในปี 2016 มีการออกพรบ. ห้องสมุดสาธารณะ เพือส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงการเรียนรู้อย่างเท่าเทียม ส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่าน การเรียนรู้ตลอดชีวิต

*** ประชาชนสามารถใช้บริการห้องสมุดในฟินแลนด์ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย การทำบัตรห้องสมุดใช้เพียงบัตรประชาชนและที่อยู่ โดยสามารถยืมหนังสือ สื่อการเรียนรู้ต่างๆ ได้ฟรี รวมถึงรับคำแนะนำจากบรรณารักษ์

*** พรบ. ห้องสมุดสาธารณะ เปิดกว้างให้ห้องสมุดสาธารณะในฟินแลนด์ได้พัฒนา ปรับปรุง ห้องสมุด ให้เข้ากับยุคสมัยโดยไม่ได้จำกัดอยู่แค่เรื่องหนังสือที่เป็นรูปเล่ม ซึ่งทำให้ห้องสมุดสามารถออกนอกกรอบเดิมได้

*** ในยุคนี้ห้องสมุดเป็นมากกว่าแหล่งจัดเก็บข้อมูล มีการเปิดกว้างและสร้างสรรค์นวัตกรรมการบริการที่เข้ากับยุคสมัย

*** Makerspace เป็นอีกหนึ่งบริการที่ห้องสมุดให้บริการเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้ได้ทดลองสิ่งใหม่ๆ

*** แนวทางการเรียนรู้คือไม่มีลำดับชั้น สมาชิกสามารถเรียนรู้จากเรา และเราก็เรียนรู้จากสมาชิกได้เช่นกัน

*** ห้องสมุดพยายามสร้างความตื่นรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมและช่วยให้ทุกคนเข้าใจและตามทันความเปลี่ยนแปลง

*** ห้องสมุดเองต้องปรับตัว การให้บริการฟังเพลงออนไลน์ทำให้ยอดการยืมเพลงในห้องสมุดลดลง แต่ห้องสมุดยังคงงบประมาณไว้และเปลี่ยนไปให้บริการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับดนตรีแทน

*** น่าตื่นเต้นมากนะครับ จำนวนยอดการเข้าห้องสมุดต่อวันที่เมืองเอสโป (Espoo) สูงถึง 12,000 ครั้ง และครึ่งหนึ่งของยอดการยืมเป็นหนังสือและวรรณกรรมสำหรับเยาวชน

*** ปัจจัย 10 ประการของสังคมที่มีการศึกษาคุณภาพสูง (ดูในรูปภาพเลยนะครับ)


— ส่วนอันนี้ของ Don Thak (Facebook) —

*** Public Library คือหัวใจสำคัญของการศึกษาในประเทศฟินแลนด์ คือที่ๆต้อนรับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ ด้วยความอบอุ่น สะดวกสบาย เป็นที่แลกเรียนรู้ ที่สร้างประสบการณ์สร้างสรรค์ ที่อ่านหนังสือ ที่พักผ่อนและที่สร้างการมีส่วนร่วมของทุกคนในชุมชน คุณ Heikki Karhu เลขานุการเอกและรองหัวหน้าคณะทูต สถานทูตฟินแลนด์

*** การศึกษาเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้ประชาชนสามารถรับมือกับโลกในยุคนี้ได้ เรื่องจากเราอยู่ในโลกที่มีการใช้ Fake news และ Disinformation อย่างแพร่หลาย ดังนั้น บุคลากรที่ทำงานใน Public Library จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาสูงและดี มีศีลธรรม สามารถแยกแยะ ขาว-ดำได้ คุณ Anna Korpi ที่ปรึกษาด้านการศึกษาและวิทยาศาสตร์ ประจำสถานทูตฟินแลนด์ในสิงคโปร์

*** กุญแจของ Public Library ประเทศฟินแลนด์ คือคำว่า Sivitys = Something universal and unique at the same time, Respecting, Learning, Thinking, Knowing, Education culture, Compassion and Open minded….Growth and Change” คุณ Jaana Tyrni ผู้อำนวยการห้องสมุดเมือง Espoo ประเทศฟินแลนด์

“คนที่ทำงานในห้องสมุดไม่จำเป็นต้องรักหนังสือ แต่จำเป็นต้องรักประชาชน” — อัพเดทประโยคนี้ ชอบมากกกก


เกร็ดความรู้จากการไปร่วมงาน TK Forum 2020 สรุปโดย ดร.รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล
https://km.li.mahidol.ac.th/tkforum2020/


*** Slide Presentation และ เอกสารประกอบงาน เข้าไปดาวน์โหลดกันได้ที่ http://tkforum.tkpark.or.th/download/


รวมรูปภาพจาก Facebook : Pond Srivichai และ Don Thak

เอาเป็นว่าเท่าที่ทราบ เบื้องต้นมีการอัดวีดีโอเอาไว้ด้วยนะครับ ซึ่งทีมงานจะตัดต่อและใส่ Subtitle ให้เราได้เรียนรู้แบบเต็มๆ อีกที ถ้ามีการอัพเดทเพิ่มเติมผมจะนำมาลงในช่องทางนี้นะครับ

ปล1. ข้อมูลทั้งหมดจากโลก Social นะครับ ทั้งเนื้อหาและรูปภาพจากเพื่อนๆ

ปล2. อย่าให้อุปสรรคขัดขวางการเรียนรู้ของเรา
(นี่คือสิ่งหนึ่งที่ผมเป็นมาตลอด หากเราไม่มีโอกาสเข้าร่วมงานที่เราสนใจก็ให้คิดเสียว่ามีทางอื่นที่ทำให้เราเรียนรู้ได้เช่นกัน)

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*