บรรณารักษ์การแพทย์กับการสนับสนุนงานวิจัย

หัวข้อที่สี่ที่ผมจะสรุปจากงานอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเพิ่มมูลค่าบรรณารักษ์การแพทย์”
คือ บรรณารักษ์การแพทย์กับการสนับสนุนงานวิจัย
วิทยากรโดย นายแพทย์วุฒิชัย จตุทอง หัวหน้ากลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ โรงพยาบาลเลิศสิน กรมการแพทย์

หัวข้อนี้ผมได้อยู่ฟังนิดเดียวเอง เนื่องจากถูกเรียกไปคุยเรื่องการจัดตั้งชมรมบรรณารักษ์การแพทย์
ผมจึงขออนุญาติสรุปจากสไลด์ของท่านวิทยากรแล้วกันนะครับ ซึ่งก็อ่านแล้วพอได้สาระอยู่บ้าง

บรรณารักษ์เกี่ยวข้องอย่างไรกับการสนับสนุนการวิจัย เกี่ยวเพราะว่าเป็นตัวการในการค้นหาข้อมูลให้กับผู้ใช้บริการ (คล้ายที่อาจารย์ทวีทองบอกครับ) เมื่อนายแพทย์จะทำงานวิจัยสักชิ้นก็จะมาหาข้อมูลที่ห้องสมุด บรรณารักษ์ก็จะช่วยค้นหาข้อมูลต่างๆ ให้ ถือว่าเป็นการสนับสนุนงานวิจัยได้แล้ว

ในโลกปัจจุบันที่มีสภาวะการแข่งขันสูง ท่านวิทยากรจึงนำรูปภาพมาเปรียบเทียบว่าถ้าเราอยากอยู่รอดในทะเล เราต้องเป็นฉลาม หรือไม่ก็เหาฉลาม ถึงจะอยู่รอดได้ เพราะถ้าเป็นปลาชนิดอื่นก็คงเป็นเหยื่อของปลาฉลามอยู่ดี

นักวิจัยต้องการอะไรจากห้องสมุด (บรรณารักษ์)
– หัวข้องานวิจัย / โจทย์งานวิจัย
– Review Literature
– การอภิปรายย่อยเป็นกลุ่มๆ
– ฐานข้อมูลสืบค้นออนไลน์
– ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานวิจัย (สำหรับผู้เริ่มต้นทำงานวิจัย)

นักวิจัยคิดอย่างไรกับห้องสมุด
– ห้องสมุดมีความสำคัญ และจะให้ประโยชน์กับนักวิจัยอย่างไร
– ห้องสมุดของหน่วยงานตัวเองดีกว่าห้องสมุดของหน่วยงานอื่นหรือไม่ อย่างไร
– ห้องสมุดมีเครือข่ายหรือไม่
– ห้องสมุดมีฐานข้อมูลอะไรบ้าง

แหล่งข้อมูลสำหรับงานวิจัยในห้องสมุด แบ่งออกเป็น

1. ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต : แหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตที่น่าสนใจ เช่น

http://www.google.com
http://www.webmedlit.com
http://www.medmatrix.org
http://www.tripdatabase.com

2. เอกสารที่ไม่ได้มีการตีพิมพ์โดยทั่วไป

– Grey Literature Report
– Netprints
– SIGLE
– CPG

3. ฐานข้อมูลการแพทย์ออนไลน์ ที่ควรรู้จัก เช่น

– Medline
– EMBASE
– CINAHL
– PsychInfo
– ERIC

การศึกษารูปแบบการวิจัยแบบ Systematic Review สามารถดูข้อมูลได้จาก
http://www.cochrane.org
http://www.york.ac.uk/inst/crd/welcome.htm
http://hstat.nlm.nih.gov
http://www.acpjc.org
http://www.clinicalevidence.com
http://www.uptodate.com

รูปแบบของการสืบค้นในฐานข้อมูลก็มีอยู่หลายแบบ เช่น การสืบค้นด้วยคำสำคัญ, การสืบค้นตามเงื่อนไข, การสืบค้นแบบไล่เรียง ฯลฯ
สิ่งที่ต้องคำนึงถึในการค้นหา คือ เรื่องการตัดคำ หรือการใช้ธีซอรัส (ความสัมพันธ์ของคำสืบค้น)…..

การวิจัยกับบทบาทที่เปลี่ยนไปของบรรณารักษ์ยุคดิจิทัล
ในอดีตเราอาจจะถูกมองว่าเป็นผู้อนุรักษ์หรือผู้เก็บหนังสือ แต่ด้วยบทบาทในสังคมสมัยใหม่ทำให้เราได้เปลี่ยนบทบาทตัวเองมาเป็นผู้จัดการสารสนเทศ และทิศทางในอนาคตเราจะกลายเป็นผู้เอื้ออำนวยความรู้ (ผู้ชี้นำความรู้)

บรรณารักษ์จะสนับสนุนการทำวิจัยได้อย่างไร
– จัดหางานวิจัย และให้คำปรึกษาในการใช้งานวิจัย
– วิเคราะห์และจัดหมวดหมู่งานวิจัย
– พัฒนาฐานข้อมูลงานวิจัย
– พัฒนาเครื่องมือเพื่อเข้าถึงงานวิจัย
– เผยแพร่งานวิจัย

ตัวอย่างกรณีศึกษาบรรณารักษ์กับการสนับสนุนงานวิจัย : บรรณารักษ์พบนักวิจัย สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
– ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการหาแหล่งข้อมูลเพื่อการวิจัย
– ให้คำแนะนำบริการ และการเข้าถึงฐานข้อมูลออนไลน์
– แนะนำฐานข้อมูลที่ใช้เป็นแหล่งตรวจสอบการอ้างอิงผลงานทางวิชาการ (Citation analysis)
– จัดโปรแกรมฝึกอบรมเรียนรู้การใช้สารนิเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการค้นคว้าข้อมูล
– ประสานความต้องการระหว่างนักวิจัยกับสำนักหอสมุด

เป็นยังไงกันบ้างครับบทบาทของบรรณารักษ์การแพทย์กับการสนับสนุนการวิจัย
บทบาทนี้ผมว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเหล่าบรรณารักษ์ในสถาบันอุดมศึกษาได้อย่างดีที่เดียว
ยังไงก็ลองทำความเข้าใจและเอาไปประยุกต์ใช้กันดูนะครับ

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*