วันนี้บทความที่ผมนำมาให้อ่านแค่ชื่อเรื่องอาจจะทำให้เพื่อนๆ หลายคนตกใจ และหลายๆ คนก็คงช็อค แต่ต้องขอบอกไว้ก่อนนะครับว่า ชื่อเรื่องนี้ผมไม่ได้มีเจตนาจะลบหลู่วงการบรรณารักษ์ของพวกเราเลย บทความเรื่อง “ว่าไงนะ บรรณรักษ์ตายแล้วหรือ” ได้ลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจฉบับวันนี้ (วันที่ 9 ธันวาคม 2553) ซึ่งนักข่าวจากกรุงเทพธุรกิจมาขอสัมภาษณ์ผมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และพูดคุยกันในเรื่องต่างๆ ของห้องสมุด และจากการคุยในวันนั้นก็ได้บทความชิ้นนี้ออกมา (นักข่าวถอดคำพูดจากการสัมภาษณ์ผมนะ) ใครที่ยังไม่ได้อ่านผมขอนำบทความนี้มาลงในบล็อกนี้ด้วยนะครับ ว่าไงนะ บรรณรักษ์ตายแล้ว ? โดย : จุฑารัตน์ ทิพย์นำภา เคยมีรายงานสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อปี 2546 พบว่า คนไทยอ่านหนังสือโดยเฉลี่ยปีละ 7 บรรทัด กลายเป็นข้อมูลอ้างอิงที่ถูกหยิบมากพูดกันน้ำหูน้ำตาเล็ด อีก 5 ปีต่อมา 2551 ผลสำรวจสำนักเดิมอีกพบว่า แนวโน้มคนไทยอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นเป็น 39 นาทีต่อวัน จนล่าสุด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสำรวจพบว่าคนไทยอ่านหนังสือนานถึง 94 นาทีต่อวัน เท่ากับว่าเวลาผ่านไปไม่ถึง 10 ปี คนไทยมีนิสัยรักการอ่านมากขึ้น หรือไม่ช่องทางการเข้าถึงหนังสือของคนไทยเพิ่มมากขึ้น แน่นอนว่า อินเทอร์เน็ตเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นพฤติกรรมการอ่านของคนทั่วโลก การอ่านหนังสือ และการค้นคว้าเอกสารของนักเรียนนักศึกษาไม่ได้จำกัดตัวอยู่ในห้องสมุดอย่าง เดียวแล้ว ภาพของนักศึกษายืนอยู่หน้าตู้ดัชนี ดึงลิ้นชักออกมาค้นหารายชื่อหนังสือ แทบจะไม่ปรากฏให้เห็นอีกแล้ว พวกเขาไม่ต้องการความรู้เกี่ยวกับการจัดระบบห้องสมุดแบบดิวอี้ และรัฐสภาอเมริกัน อีกต่อไป เมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ นักพัฒนาระบบห้องสมุด จากโครงการศูนย์ความรู้กินได้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) ยอมรับว่า ทิศทางการสืบค้นแบบใหม่ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตทำให้การค้นหาแบบเดิมถูกตัดทิ้ง ห้องสมุดจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทันสมัย บรรณารักษ์ต้องเป็นได้มากกว่าคนเฝ้าห้องสมุด ที่ผ่านมาแม้ห้องสมุด จะเปลี่ยนผ่านสู่ยุคของเทคโนโลยีโดยแปลงหนังสือทั้งเล่มให้อยู่ในรูปของอี บุ๊ค จัดเก็บในฐานข้อมูลดิจิทัลเพื่อความสะดวกในการค้นหา แต่เขากลับมองว่า นั่นไม่ใช่แนวทางที่จะสนับสนุนให้คนอ่านหนังสือมากขึ้น ขณะเดียวกันสิ่งที่เขามองคือการสร้างเนื้อหาที่น่าสนใจในรูปของบทความ นอกเหนือจากข่าวสาร บันเทิง ที่ปรากฏอยู่บนโลกอินเตอร์เน็ตในทุกวันนี้ เหตุผล ดังกล่าวผลักดันให้บรรณารักษ์ วัย 28 ปี ริเริ่มแนวคิดการสร้างชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์ขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา…
Month: December 2010
กลุ่มบรรณารักษ์ไทย (Librarian in Thailand) ใน Facebook
ตอนนี้ผมได้สร้างเครือข่ายกลุ่มบรรณารักษ์ไทยออนไลน์ใน facebook แล้วนะครับ วันนี้ผมจึงขอแนะนำเครือข่ายกลุ่มบรรณารักษ์ไทย หรือ กลุ่ม Librarian in Thailand ใน Facebook นะครับ หากเพื่อนๆ จำได้หรือสังเกตด้านบนของบล็อกผม (Banner ด้านบน) นั่นก็คือเครือข่ายบรรณารักษ์ไทยออนไลน์ใน hi5 นั่นเอง แต่กลุ่มนั่นผมเปิดมาเกือบๆ จะสามปีแล้ว ซึ่งเมื่อสามปีที่แล้ว Hi5 กำลังเป็นที่นิยมของคนไทย แต่ปัจจุบันเพื่อนๆ หลายคนหันมาเล่น Facebook กันแทน ผมจึงเกิดไอเดียในการเปิดกลุ่มเพิ่มเติม แรงบันดาลใจแรกเกิดจากการหาพื้นที่เพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์บนโลกออนไลน์ การที่ผมใช้พื้นที่ส่วนตัวของผมใน facebook มาตอบคำถามห้องสมุด มันก็จะไม่ค่อยเหมาะสมสักเท่าไหร่ เนื่องจากผมมีเพื่อนอยู่หลายกลุ่มไม่ใช่เพียงกลุ่มบรรณารักษ์อย่างเดียว หากในหน้าส่วนตัวผมมีแต่เรื่องห้องสมุด เพื่อนๆ คนอื่นก็จะไม่ค่อยชอบ และการเอาเรื่องอื่นๆ มาเขียนก็จะทำให้มันไม่ใช่พื้นที่ของบรรณารักษ์และห้องสมุด ดังนั้นจากการสังเกตเพื่อนๆ หลายคนพบว่า มีช่องทางบน facebook ที่สามารถทำได้ ดังนี้ 1. เปิด account ใหม่ แล้วใช้ตอบคำถามและลงเรื่องเกี่ยวกับห้องสมุดอย่างเดียว 2. ตั้งหน้า fanpage ของ libraryhub ใน facebook เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยน 3. ตั้งกลุ่ม Librarian in Thailand แล้วดึงเพื่อนๆ ที่เป็นบรรณารักษ์เข้ากลุ่ม ซึ่งผลสรุปแล้วผมเลือกที่จะตั้งกลุ่ม Librarian in Thailand แทน เนื่องจาก – การตั้ง account เพื่อให้คนเข้ามาแอดเป็นเพื่อนเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากและต้องใช้เวลาในการตกแต่งนาน – การเปิด fanpage ก็ดี แต่ไม่เหมาะสมเท่าไหร่เพราะเห็นหลายคนตั้งไว้แล้ว แต่ไม่มีกิจกรรมเท่าที่ควร และไม่เป็นกลุ่มใหญ่ – การตั้งกลุ่มเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุด และเพื่อนๆ สามารถดึงคนอื่นเข้ามาร่วมได้มาก จากเหตุผลต่างๆ นานา ผมจึงใช้…
ประกาศผลประกวดสุดยอดห้องสมุดโรงเรียนดีเด่น 2553
ข่าวประกาศในวันนี้ผมนำมาจากเว็บไซต์ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยนะครับ รายละเอียดเกี่ยวกับการประกวดห้องสมุด ผมไม่สามารถบอกได้เนื่องจากไม่มีข้อมูลให้ผมอ่านนะครับ การประกวดห้องสมุดโรงเรียน ทางสมาคมก็มีการแบ่งกลุ่มห้องสมุดโรงเรียน ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก 2. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง 3. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ หากเพื่อนๆ อยากรู้ว่าห้องสมุดแบบไหนที่เรียกว่า เล็ก กลาง หรือ ใหญ่ ลองอ่านบทความนี้ดูครับ http://school.obec.go.th/e-lb/pic/Library2.htm (จะได้เข้าใจเพิ่มเติม) การประกวดห้องสมุดโรงเรียนดีเด่นทางสมาคมห้องสมุดฯ แบ่งรางวัลออกเป็น 2 ระดับ คือ 1. รางวัลระดับประเทศ 2. รางวัลระดับภาค ซึ่งแบ่งย่อยลงไปอีก คือ 2.1 ภาคเหนือ 2.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2.3 ภาคกลาง 2.4 ภาคใต้ 2.5 กรุงเทพมหานคร ซึ่งผมขอนำมาลงทีละส่วนนะครับ 1. รางวัลระดับประเทศ มีห้องสมุดที่ได้รับรางวัล ดังนี้ – ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก = ห้องสมุดโรงเรียนม่วงสามปี จังหวัดลำพูน – ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง = ห้องสมุดพระครูภาวนารังสี โรงเรียนวัดใหญ่ไชยมงคล (ภาวนารังสี) จังหวัดอยุธยา – ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ = ห้องสมุดโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) จังหวัดกรุงเทพฯ 2. รางวัลระดับภาค มีห้องสมุดที่ได้รับรางวัล ดังนี้ 2.1 ภาคเหนือ – ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็ก = ห้องสมุดโรงเรียนบ้านแพะ จังหวัดอุตรดิตถ์ – ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลาง = ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติกาญจนภิเษก โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก – ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ = ห้องสมุดคอวนิช…
การแบ่งปันความรู้คือพลังอันยิ่งใหญ่ (Sharing Knowledge is Power)
วันนี้บังเอิญเจอเรื่องที่ตัวเองเขียนไว้เมื่อสองปีที่แล้ว ซึ่งช่วงนั้นยังไม่ค่อยมีใครรู้จักผมมากมายเหมือนตอนนี้ บทความนี้พออ่านแล้วผมว่าก็ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของบล็อกผม (Projectlib & Libraryhub) อยู่นั่นแหละ นั่นคือ เรื่อง การแบ่งปันความรู้คือพลังอันยิ่งใหญ่ (Sharing Knowledge is Power) นั่นเอง อยากให้ชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์อ่านกันมากๆ (อ่านแล้วนำไปปฏิบัติด้วยนะ) ไปอ่านกันเลยครับ ในอดีตมีคนกล่าวไว้เกี่ยวกับความยิ่งใหญ่ของสิ่งต่างๆ เช่น – man is power – money is power – technology is power – data is power – information is power – knowledge is power และ ยังมีอีกมากมายที่ยังไม่ได้กล่าวถึง สิ่งต่างๆ ที่ผมได้กล่าวมานี้ ผมยอมรับในความยิ่งใหญ่ของมันเช่นกัน แต่ละยุค แต่ละสมัย สิ่งต่างๆ เหล่านี้เข้ามามีอิทธิพล รวมถึงบทบาทในการกำหนดความเป็นไปของมนุษย์ แต่เหนือสิ่งอื่นใด ผมเชื่อในความมีอำนาจ และความยิ่งใหญ่ของการ แบ่งปัน (Sharing) การแบ่งปันที่ผมจะกล่าวนี้ ผมจะเน้นการแบ่งปันข้อมูล ความรู้ต่างๆ เช่น – การแบ่งปันข้อมูล (Share data) – การแบ่งปันข่าวสาร (Share news) – การแบ่งปันสารสนเทศ (Share information) – การแบ่งปันความรู้ (Share knowledge) – การแบ่งปันความคิด (Share idea) เพราะว่าในสมัยก่อนข้อมูล ความรู้ต่างๆ ถูกเก็บไว้ที่ตัวบุคคลมากเกินไป จนเมื่อบุคคลๆ นั้นตายไปข้อมูลและความรู้ที่เก็บอยู่ก็สูญหายไปด้วย ยกตัวอย่างอีกกรณีหนึ่งคือ การทำงานในสำนักงาน…
เมื่อนายห้องสมุดกลายเป็นอาจารย์พิเศษให้เด็กเอกบรรณฯ จุฬา
เมื่อวันพฤหัสที่แล้ว (วันที่ 2 ธันวาคม 2553) ผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายพิเศษให้เด็ก ปริญญาตรีปี 3 เอกบรรณารักษ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งบรรยายเรื่องประสบการณ์การทำงานด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่เคยผ่านมา รวมถึงให้แง่คิดเรื่องการทำงานในสาขาบรรณารักษ์แบบใหม่ๆ วันนี้เลยขอเล่าเรื่องนี้คร่าวๆ รายละเอียดในการบรรยายทั่วไป ชื่อการบรรยาย : ประสบการณ์การทำงานด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์ วันและเวลาที่บรรยาย : วันที่ 2 ธันวาคม 2553 เวลา 9.00-12.00 น. สถานที่บรรยาย : ห้อง 508 อยู่ชั้น 5 อาคารบรมราชกุมารี เรื่องที่ผมเตรียมไปบรรยาย (อันนี้เอามาจากบันทึกที่อยู่ในมือผมตอนบรรยาย ตอนบรรยายจริงๆ หัวข้อบางอันข้ามไปข้ามมานะและบางหัวข้ออาจจะไม่มีในบันทึกนี้ แต่เป็นการเพิ่มเติมในเรื่องของประสบการณ์) งานโครงการศูนย์ความรู้กินได้ – ก่อนมาทำงานที่นี่ (เล่าคร่าวๆ ประสบการณ์ทำงาน) = บทบาทใหม่ในการพัฒนาวงการห้องสมุด – ภาพรวมของการจัดตั้งศูนย์ความรู้กินได้ (ห้องสมุดประชาชนที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกของเมืองไทย) – นักพัฒนาระบบห้องสมุดไม่ใช่คนทำงานไอทีอย่างเดียว = การดูแลภาพรวมของห้องสมุด – แผนผัง Flow งานงานทั้งหมดในห้องสมุด (งานจัดหา งานประเมิน งาน catalog งานเทคนิค งานบริการ งานสมาชิก) – การกำหนดและจัดทำนโยบายงานต่างๆ ในห้องสมุด – มุมมองใหม่ๆ สำหรับอาชีพสารสนเทศ เช่น รับทำวิจัย ที่ปรึกษาห้องสมุด outsource งานห้องสมุด ฯลฯ – แนวโน้มด้านเทคโนโลยีห้องสมุด (แนวคิดเรื่องห้องสมุด 2.0) ไม่ใช่เทคโนโลยีแต่เป็นทฤษฎี – แนวทางในการเลือกใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ – กิจกรรมของโครงการ การอบรม (ยิ่งมีกิจกรรมเยอะยิ่งดึงดูดคน) งานส่วนตัว Projectlib &…
เทศกาลให้หนังสือเป็นของขวัญ ครั้งที่ 1 (Book For Gift 2010)
วันนี้มีอีเว้นท์ที่น่าสนใจมาประกาศให้รับทราบกันอีกแล้วครับ เป็นงานอีเว้นท์ที่เกี่ยวกับหนังสือ อย่างที่รู้กันว่าเดือนนี้เป็นเดือนสุดท้ายของปี กิจกรรมที่พบบ่อยที่สุด คือ การให้ของขวัญส่งท้ายปี ซึ่งอีเว้นท์นี้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการมอบความรู้ให้เป็นของขวัญ “เทศกาลให้หนังสือเป็นของขวัญ“ รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้ ชื่องานภาษาไทย : เทศกาลให้หนังสือเป็นของขวัญ ชื่องานภาษาอังกฤษ : Book For Gift 2010 วันและเวลาที่จัดงาน : 3 – 12 ธันวาคม 2553 เวลา 10.00-20.00 น. สถานที่จัดงาน : ฮอลล์ 6 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ผู้จัดงาน : สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย เอาเป็นว่าแค่ชื่องานเราทุกคนคงเดาออกว่าเป็นงานแนวไหน หลักๆ คือการจำหน่ายหนังสือนั่นแหละครับ แต่ที่พิเศษคือการเลือกหนังสือเพื่อให้เป็นของขวัญนี่สิ หนังสือที่เกี่ยวกับความสุข หนังสือชุดที่น่าสนใจ หนังสือที่เหมาะสำหรับคนในแต่ละกลุ่มเป็นแบบไหน ในงานนี้มีแยกรายละเอียดให้หมด การออกร้านของสำนักพิมพ์หลายๆ แห่งมีสิ่งที่โดเด่นกว่างานหนังสือปกติ คือ มีการห่อของขวัญให้ด้วย พิเศษจริงๆ เลยใช่มั้ยครับ กิจกรรมในงานที่น่าสนใจมีหลายอย่าง เช่น – นิทรรศการ ?คิดถึงของขวัญ คิดถึงหนังสือ? (Book for Gift) – กิจกรรมสอยดาว ?ต้นไม้แห่งความสุข? (Book Christmas) – กิจกรรม ?DIY Book for Gift? – กิจกรรม ?Book for Gift Charity Day: ร้อยรัก ผูกใจ ให้หนังสือเป็น ของขวัญ? เอาเป็นว่างานนี้ไม่ได้เหมาะแค่บรรณารักษ์อย่างเดียวนะครับ เพื่อนๆ นอกวงการห้องสมุด คนทั่วไป เด็ก ผู้ใหญ่ ชาย หญิง…
SE-ED รับสมัครบรรณารักษ์ ด่วน!!!
วันนี้มีข่าวฝากมาประชาสัมพันธ์อีกแล้วครับ เกี่ยวกับการรับสมัครงาน งานนี้เป็นงานที่บรรณารักษ์ก็สามารถทำได้เหมือนกัน เป็นงานดูแลฐานข้อมูลสินค้าของเว็บ Se-ed รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานนี้ ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์ช่วยงาน จำนวน : 1 ตำแหน่ง ผู้รับสมัคร : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด เริ่มงาน : ต้นเดือนมกราคม เอาเป็นว่ารายละเอียดนิดหน่อยครับ แต่ต้องย้ำว่าช่วงนี้ใครสนใจก็ติดต่อไปได้ที่ Piyakorn@se-ed.com ด่่วนเลย เพราะว่ากำลังเรียกคนมาสัมภาษณ์เรื่อยๆ และต้องการคนทำงานด่วนพอสมควร ดังนั้น รีบๆ นะครับ หน้าที่ของงานนี้เท่าที่สอบถามแบบคร่าวๆ คือ การสร้างฐานข้อมูลสินค้าบนเว็บไซต์โดยข้อมูลมีความละเอียดพอสมควร นอกจากนี้ยังรวมถึงงานในส่วนการทำข้อมูลออนเว็บ se-ed.com ด้วย คุณสมบัติคร่าวๆ – จบปริญญาตรีขึ้นไป – มีความรู้ด้านหลักเกณฑ์ของหนังสือ (องค์ประกอบของหนังสือ รายการบรรณานุกรม อื่นๆ) – ภาษาอังกฤษได้นิดหน่อย – มีทักษะในการพิมพ์ที่ดี (พิมพ์คล่อง) – มีความคิดสร้างสรรค์ เอาเป็นว่าใครสนใจก็ติดต่อไปที่เมล์ Piyakorn@se-ed.com ได้นะครับ
เรื่องห้องสมุดและบรรณารักษ์ยอดฮิตประจำเดือนพฤศจิกายน 2553
ฟีเจอร์ใหม่ของ Libraryhub ที่ผมกำลังจะทำหลังจากนี้คือ การสรุปเรื่องยอดฮิตของบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ประจำเดือน ซึ่งเพื่อนๆ สามารถติดตามได้ในวันที่ 1 ของทุกเดือนเลยนะครับ เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม เป็นต้นไป เรื่องยอดฮิตนี้ผมก็นำมาจากสถิติในบล็อก Libraryhub ว่าเรื่องไหนเพื่อนๆ เข้ามาดูเยอะที่สุด ซึ่งเกณฑ์ในการให้คะแนนเรื่องยอดฮิตมาจาก จำนวนคนเข้าดู, จำนวนคนคอมเม้นต์, จำนวนเรื่องที่ถูกอ้างอิง ซึ่งในบล็อกของผมมีระบบประมวลผลคะแนนของบล็อกอยู่แล้ว ผมก็แค่นำมาเสนอให้เพื่อนๆ ดูก็แค่นั้นเอง เอาหล่ะไปดูกันเลยดีกว่าว่า เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา บล็อกเรื่องไหนได้คะแนนนิยมมากที่สุด 10 อันดับ 1. 53% สรุปงาน New technology and Best Practice in Library Services 2. 22% นายบรรณารักษ์พาทัวร์ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ซอยพระนาง 3. 16% ไอเดียมุมแสดงหนังสือที่ไม่เคยมีใครหยิบอ่านในห้องสมุด 4. 15% คลิปวีดีโอสอนการจัดห้องสมุดในบ้านของคุณอย่างง่าย 5. 15% แนะนำงานสัมมนา How to be a Global Library Participant 6. 15% เตรียมสอบข้าราชการบรรณารักษ์ต้องอ่านอะไรบ้าง 7. 12% วีดีโอศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี 8. 10% สุขสันต์วันเกิด LISNews.org ปีที่ 11 9. 9% นายบรรณารักษ์พาเที่ยวห้องสมุดนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ 10. 9% บ้านหนังสือ : ห้องสมุดหลังเล็กสำหรับชุมชน เอาเป็นว่าตรงใจหลายๆ คนหรือปล่าวครับ คะแนนเหล่านี้มันจะถูกเก็บสะสมต่อไปเรื่อยๆ นะครับ ดังนั้นหากเพื่อนๆ ชอบเรื่องไหนเป็นพิเศษก็โหวตกันได้ (ด้านล่างของบทความจะมีรูปดาวให้ใส่คะแนนได้) เดือนหน้าเรื่องไหนจะได้รับความนิยม เรามาลุ้นกันต่อครับ สำหรับเดือนนี้ผมคงรายงานไว้เพียงเท่านี้ก่อน แต่บล็อกก็ยังคงอัพเดททุกวันต่อไปนะครับ เป็นกำลังใจให้กันด้วยหล่ะ…