เมื่อนายห้องสมุดกลายเป็นอาจารย์พิเศษให้เด็กเอกบรรณฯ จุฬา

เมื่อวันพฤหัสที่แล้ว (วันที่ 2 ธันวาคม 2553) ผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายพิเศษให้เด็ก ปริญญาตรีปี 3 เอกบรรณารักษ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งบรรยายเรื่องประสบการณ์การทำงานด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่เคยผ่านมา รวมถึงให้แง่คิดเรื่องการทำงานในสาขาบรรณารักษ์แบบใหม่ๆ วันนี้เลยขอเล่าเรื่องนี้คร่าวๆ

รายละเอียดในการบรรยายทั่วไป
ชื่อการบรรยาย : ประสบการณ์การทำงานด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์
วันและเวลาที่บรรยาย : วันที่ 2 ธันวาคม 2553 เวลา 9.00-12.00 น.
สถานที่บรรยาย : ห้อง 508 อยู่ชั้น 5 อาคารบรมราชกุมารี

เรื่องที่ผมเตรียมไปบรรยาย (อันนี้เอามาจากบันทึกที่อยู่ในมือผมตอนบรรยาย ตอนบรรยายจริงๆ หัวข้อบางอันข้ามไปข้ามมานะและบางหัวข้ออาจจะไม่มีในบันทึกนี้ แต่เป็นการเพิ่มเติมในเรื่องของประสบการณ์)

งานโครงการศูนย์ความรู้กินได้
– ก่อนมาทำงานที่นี่ (เล่าคร่าวๆ ประสบการณ์ทำงาน) = บทบาทใหม่ในการพัฒนาวงการห้องสมุด
– ภาพรวมของการจัดตั้งศูนย์ความรู้กินได้ (ห้องสมุดประชาชนที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกของเมืองไทย)
– นักพัฒนาระบบห้องสมุดไม่ใช่คนทำงานไอทีอย่างเดียว = การดูแลภาพรวมของห้องสมุด
– แผนผัง Flow งานงานทั้งหมดในห้องสมุด (งานจัดหา งานประเมิน งาน catalog งานเทคนิค งานบริการ งานสมาชิก)
– การกำหนดและจัดทำนโยบายงานต่างๆ ในห้องสมุด
– มุมมองใหม่ๆ สำหรับอาชีพสารสนเทศ เช่น รับทำวิจัย ที่ปรึกษาห้องสมุด outsource งานห้องสมุด ฯลฯ
– แนวโน้มด้านเทคโนโลยีห้องสมุด (แนวคิดเรื่องห้องสมุด 2.0) ไม่ใช่เทคโนโลยีแต่เป็นทฤษฎี
– แนวทางในการเลือกใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
– กิจกรรมของโครงการ การอบรม (ยิ่งมีกิจกรรมเยอะยิ่งดึงดูดคน)

งานส่วนตัว Projectlib & Libraryhub
– จากบล็อกส่วนตัวเล็กๆ มาจนถึงชุมชนบรรณารักษ์แห่งใหม่
– ความก้าวหน้าของอาชีพบรรณารักษ์ที่หลายคนคิดไม่ถึง
– ความภูมิใจต่อวงการบรรณารักษ์ (อดีตที่ไม่มีใครสนใจ)
– กิจกรรมการสร้างเครือข่ายบรรณารักษ์รุ่นใหม่ Libcamp ไม่ต้องใช้เงินเยอะ
– แง่คิดที่ได้จากการทำบล็อก Projectlib และ Libraryhub
– กรณีศึกษา : ถามตอบบรรณารักษ์ (ปรึกษาการทำโครงงานห้องสมุด)

การบรรยายในครั้งนี้ผมใช้วิธีการเล่าเรื่อง สลับกับการเปิดวีดีโอที่เกี่ยวข้องเพื่อไม่ให้เด็กเบื่อกับเรื่องที่เป็นวิชาการมากนัก ซึ่งวีดีโอที่ผมนำมาเปิดวันนี้ประกอบด้วย วีดีโอแนะนำโครงการศูนย์ความรู้กินได้ วีดีโอแนะนำหนังสือของห้องสมุด วีดีโอเพลงเอ็มวีของ มข เอาเป็นว่าเด็กๆ คงชอบนะครับ

จริงๆ หัวข้ออย่างที่บอกตอนต้นว่าเป็นการเล่าประสบการณ์เป็นหลักดังนั้น ในด้านของความรู้ตามตำราผมไม่ได้ลงรายละเอียดมากนักแต่เน้นการใช้งานจริงมากกว่า เช่น ก่อนจบการบรรยายได้แนะนำ การให้หัวเรื่องของ BISAC ที่เป็นการกำหนดหัวเรื่องตามร้านหนังสือ เพื่อนำมาปรับใช้กับงานด้านห้องสมุดเฉพาะทาง

ก่อนอื่นต้องขอบอกความรู้สึกในการบรรยายตามตรงนะครับ ว่าเป็นครั้งแรกที่ตื่นเต้นมากๆ เนื่องจากปกติ บรรยายให้แต่ผู้ใหญ่ฟัง ไม่เคยบรรยายให้น้องๆ หรือเด็กเอกบรรณฯ ฟังเลย แถมต้องมาบรรยายที่จุฬาด้วยยิ่งตื่นเต้นไปกันใหญ่เพราะเด็กๆ ที่นี่น่าจะมีความรู้ด้านวิชาการเต็มเพียบ แต่สุดท้ายพอบรรยายจบก็โล่งขึ้นเยอะเลย เพราะเด็กๆ ที่นี่น่ารักมาก ตั้งใจฟังเป็นอย่างดี

ในระหว่างการบรรยายของผม อาจารย์เสาวภาก็ได้ถ่ายรูปให้ผมเก็บไว้ด้วย ก็ขอขอบคุณมากๆ เลย

การบรรยายที่นี่ทำให้ผมรู้สึกว่าอย่างน้อยการถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ให้คนรุ่นหลังๆ เป็นสิ่งที่ดีและน่าสนใจมากๆ (ตอนนี้เริ่มมีความรู้สึกอยากเป็นอาจารย์บ้างแล้ว อิอิ)

เอาเป็นว่าก็ขอขอบคุณน้องๆ เอกบรรณ คณะอักษรศาสตร์ทุกคน รวมถึงอาจารย์ภาคบรรณารักษศาสตร์ทุกคนด้วยครับ ที่ร่วมกันสร้างคนรุ่นใหม่ให้เข้าสู่วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ด้วย

ก่อนจบขอนำภาพที่อาจารย์เสาวภาถ่ายมาลงไว้นะครับ (ที่มาจาก http://www.facebook.com/#!/album.php?aid=268255&id=534934030)

ชมภาพการบรรยายได้เลยครับ

[nggallery id=33]

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*