วันนี้ผมขอนำเสนอบทความที่ผมเคยเขียนไปแล้ว ใน projectlib แต่พอย้อนกลับไปอ่านผมก็รู้สึกว่า คำคมต่างๆ เหล่านี้ยังคงอญุ่ในใจของใครหลายๆ คนอยู่ เลยเอามาให้อ่านอีกรอบครับ ที่มาของคำคมนี้ผมอ่านเจอจาก “Great quotes from Bill Gates, Steve Jobs and Linus Torvalds” หากคุณไม่รู้จักชื่อของบุคคลทั้งสามนี้ ผมว่าคุณคงจะตกยุคจากคอมพิวเตอร์ไปซะแล้ว เพราะว่าบุคคลทั้งสามเป็นบุคคลตัวแทนแห่งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Operating System ? OS) Bill Gates ? Microsoft Steve Jobs ? Apple Linus Torvalds ? Linux เรื่องที่ผมนำมาเสนอ ก็คือการนำตัวอย่างประโยคสุดเด็ดของทั้งสามคนมาลงให้อ่านครับ เริ่มจาก ??????????????????????- ประโยคสุดเด็ด จาก? Bill Gates ? Microsoft – 1993 : The Internet? We are not interested in it. (ตอนนั้นคงไม่มีคนพูดเรื่องอินเทอร์เน็ตอย่างจริงจัง) – 2001 : Microsoft has had clear competitors in the past. It?s a good thing we have museums to document that. (ทำห้องสมุดให้ด้วยนะ) – 2004 : Spam will be a thing…
Month: October 2010
นำเสนอประวัติโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha แบบ Visualization
วันนี้ผมขอนำตัวอย่าง “การใช้ Visualization เพื่อนำเสนองานด้านห้องสมุด” มาให้เพื่อนๆ ดูกันนะครับ การนำเสนอแบบ Visualization กำลังเป็นที่นิยมในวงการไอที ดังนั้นห้องสมุดเราก็ไม่ยอมน้อยหน้าเช่นกัน คำอธิบายเรื่อง Visualization แบบสั้นๆ ง่ายๆ คือ การแปลงข้อมูลจำนวนตัวอักษรให้กลายเป็นรูปภาพเพื่อให้การนำเสนอดูง่ายและน่าสนใจยื่งขึ้น (เอาไว้ผมจะเขียนบล็อกเรื่องนี้วันหลังครับ) ตัวอย่างที่ผมจะนำมาให้ดูนี้เป็น Visualization แสดงความเป็นมาของการพัฒนาโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติแบบรหัสเปิด หรือเรียกง่ายๆ ว่า Opensource หากให้เพื่อนๆ ไปนั่งอ่านประวัติของ Koha เพื่อนๆ ก็คงอ่านได้ไม่จบหรอกครับ เพราะว่าโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha เริ่มโครงการในปี 1999 (ปีนี้เป็นปีที่ 11 แล้ว) โดยเพื่อนๆ สามารถอ่านได้จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Koha_%28software%29 หรือ http://koha-community.org/ ในงาน kohacon (KOHA Conference) ที่ผ่านมา http://www.kohacon10.org.nz/ ได้มีการฉายคลิปวีดีโอ “Koha Library Software History Visualization” ทำเอาเป็นที่ฮือฮามาก เพราะเป็นการใช้ Visualization ในการนำเสนอประวัติการพัฒนาของโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองไปดูกันเลยดีกว่าครับ [youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Tl1a2VN_pec[/youtube] ในคลิปวีดีโอนี้เริ่มจากข้อมูลในการพัฒนาโปรแกรม KOHA ในเดือนธันวาคม 2000 – ตุลาคม 2010 ดูภาพแล้วก็อ่านคำอธิบายที่โผล่มาเป็นระยะๆ ดูแล้วก็เพลินดีครับ เพลงก็ไปเรื่อยๆ ถามว่าถ้าให้อ่าน paper ประวัติที่มีแต่ตัวอักษร กับ Visualization นี้ ผมคงเลือกดู Visualization เพราะผมแค่อยากรู้ว่าช่วงไหนทำอะไร ไม่ได้อยากทำรายงานนะครับ เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ก็ค่อยๆ ดูไปนะครับ ผมว่าเพลินดี วันนี้ก็ขอแนะนำเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ สุขสันต์วันหยุดครับ เว็บไซต์ชุมชนผู้พัฒนา KOHA…
เทศบาลเมืองลำพูนรับสมัครผู้ช่วยบรรณารักษ์
วันนี้มีงานบรรณารักษ์มาแนะนำอีกแล้วครับ งานนี้สำหรับคนที่อยากทำงานต่างจังหวัดนะครับ ซึ่งงานในวันนี้เป็นงาน “ผู้ช่วยบรรณารักษ์” ที่ห้องสมุดเทศบาลเมืองลำพูน รายละเอียดงานเบื้องต้น ชื่อตำแหน่ง : ผู้ช่วยบรรณารักษ์ ลักษณะงาน : สัญญาจ้าง 1 ปี จำนวน : 1 อัตรา เงินเดือน : 7940 บาท สถานที่ : ห้องสมุดเทศบาลเมืองลำพูน อย่างที่บอกอ่ะครับว่าสำหรับคนที่อยากทำงานที่จังหวัดลำพูนนะครับ และที่สำคัญคือไม่ใช่งานประจำนะครับ เป็นแค่สัญญาจ้าง 1 ปี ดังนั้นคิดให้ดีๆ ก้อนการสมัครนะครับ เอาเป็นว่าใครสนใจก็อ่านต่อได้เลยครับ หน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งนี้ ปฏิบัติงานในหน้าที่บรรณารักษ์ ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดหา และคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด วิเคราะห์และจัดหมวดหมู่หนังสือ ทำบัตรรายการ ทำบรรณานุกรม ทำดรรชนี ทำสารสังเขป จัดทำคู่มือการศึกษาค้นคว้าหนังสือในห้องสมุด ให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ศึกษา ค้นคว้าการจัดระบบงานที่เหมาะสมของห้องสมุด และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่ต้องการสมัคร – ขอแค่จบปริญญาตรีเอกบรรณารักษ์หรือสาขาที่เกี่ยวข้องก็พอ อายุไม่เกิน 60 ก็พอแล้วครับ เกณฑ์ในการรับ – ไม่มีการสอบข้อเขียน แต่กรรมการจะพิจารณาจากประวัติของผู้สมัครและการสัมภาษณ์เป็นหลักครับ ตำแหน่งงานนี้รับสมัครถึงวันที่ 3 – 19 พฤศจิกายน 2553 และสมัครได้ที่ งานการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัด เทศบาลเมืองลำพูน เบอร์โทรติดต่อ 0-5356-1524 เอาเป็นว่าใครสนใจก็เข้ามาดูรายละเอียดได้ที่ http://www.nmt.or.th/lamphun/mueanglamphun/Lists/List2/Attachments/348/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A.pdf ขอให้เพื่อนๆ โชคดีนะครับ อ่านรายละเอียดของงานได้ที่ http://www.nmt.or.th/lamphun/mueanglamphun/Lists/List2/DispForm.aspx?ID=348&Source=http%3A%2F%2Fwww.nmt.or.th%2Flamphun%2Fmueanglamphun%2FLists%2FList2%2Fview1.aspx%3FSortField%3DModified%26SortDir%3DDesc%26View%3D%257b621EDFA8%252d7D84%252d4295%252d87BF%252d8FA28C14D278%257d
กระทรวงการต่างประเทศรับบรรณารักษ์จ้างเหมาบริการ 6 อัตรา
ช่วงนี้มีหลายคนกำลังหางานบรรณารักษ์อยู่ ผมก็เลยขอเน้นเรื่องหางานสักสองสามวันนะครับ วันนี้เป็นงานบรรณารักษ์แบบจ้างเหมาบริการ (ไม่ใช่งานประจำหรือได้บรรจุนะครับ) รายละเอียดของงานเบื้องต้น ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์ ลักษณะงาน : จ้างเหมาบริการ จำนวน : 6 อัตรา เงินเดือน : 10,600 บาท สถานที่ : กระทรวงการต่างประเทศ ข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ : จ้างเหมากระทรวงต่างประเทศ นอกจากไม่มีโอกาสบรรจุแล้ว ยังไม่มีสวัสดิการใดๆ ด้วยนะครับ คุณสมบัติของผู้ที่จะสมัคร – จบปริญญาตรีด้านบรรณารักษ์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง – ผ่านรายวิชาการวิเคราะห์หมวดหมู่ (Catalog) – สามารถใช้งาน microsoft office ได้ดี – ใช้ภาษาอังกฤษได้ดี – อายุไม่เกิน 35 ปี ลักษณะงานโดยทั่วไป (แก้ไข ได้ข้อมูลมาเพิ่ม) – งานห้องสมุดทั่วไป – งานจัดเก็บเอกสารกลาง – งาน e-library (ใช้ภาษาอังกฤษในการทำงาน) ตำแหน่งงานนี้รับสมัครถึงวันที่ 10 พฤศจิกายนนะครับ ซึ่งจะตัดสินกันด้วยการทดสอบ 3 หัวข้อหลัก คือ – ระบบการจัดเก็บเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศ – ความรู้ทั่วไปด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ – แปลข่าวภาษาอังกฤษ เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองติดต่อไปที่ กองบรรณสารและห้องสมุด ชั้น 3 กระทรวงการต่างประเทศ อาคารศรีอยุธยา หรือ ฝ่ายบรรณสาร กระทรวงการต่างประเทศ อาคารกรมการกงศุล ถนนแจ้งวัฒนะ หรือโทรศัพท์ 02-643-5000 ต่อ 23902-23905 ในวันและเวลาราชการนะครับ ใครที่อยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมก็เข้ามาโหลดเอกสารรายละเอียดงานได้ที่ http://www.mfa.go.th/internet/news/37339.pdf
ห้องสมุดโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยรับบรรณารักษ์ (รับไปแล้วนะ)
บรรณารักษ์ช่วยหางานมาพบกับเพื่อนๆ อีกครั้งแล้วนะครับ ในวันนี้ผมมีงานบรรณารักษ์มานำเสนอ งานบรรณารักษ์ในวันนี้มาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย แนวนอนครับ “บรรณารักษ์โรงเรียน” รายละเอียดทั่วไปของตำแหน่งงาน ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์ ห้องสมุด : โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย หน้าที่โดยทั่วไปของตำแหน่งนี้ คือ การปฏิบัติงานในห้องสมุด ให้บริการยืมคืน catalog และช่วยสอนนักเรียนในเรื่องของการสืบค้นและการเข้าใช้ห้องสมุด เอาเป็นว่างานผมว่าก็ไม่ได้ยากเกินไปหรอกนะครับ บรรณารักษ์ทุกคนต้องทำได้อยู่แล้ว คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการสมัคร 1.? ชาย / หญิง? อายุไม่เกิน 40 ปี 2. วุฒิ ป.ตรี / โท? สาขาบรรณารักษ์ศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง 3. มีใจรักการบริการ ซื่อสัตย์ ขยัน 4. มีประสบการณ์และใบประกอบวิชาชีพครูจะพิจารณาเป็นพิเศษ ปล. รับไปแล้วนะครับ
วารสารห้องสมุด IFLA Journal ฉบับเดือนตุลาคม 2010
วารสาร IFLA Journal ประจำเดือนตุลาคม 2010 ออกแล้วครับ เลยต้องนำมาลงให้เพื่อนๆ เข้าไปอ่านกัน (ดาวน์โหลดได้ฟรีๆ เลยครับ) โดยปกติ วารสาร IFLA Journal จะออกทุกๆ 3 เดือนนะครับ ซึ่งจะออกมาในรูปแบบ pdf ซึ่งเราสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีและสั่งพิมพ์ออกมาอ่านได้ครับ วารสาร IFLA Journal ฉบับนี้มีเรื่องน่าสนใจอะไรบ้างไปดูกันก่อนเลยครับ – Bringing the benefits of information technology to underserved populations: An introduction to ICTD for the library community – Symbiotic partnerships: The global library community and the ICTD stakeholders – Main factors affecting the preservation of Chinese paper documents: A review and recommendations – Arab online book clubs: A survey – System migration from Horizon to Symphony at King Fahd University of Petroleum and Minerals เป็นไงกันบ้างครับน่าสนใจมากๆ…
งานประชุมวิชาการ “ห้องสมุดดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต” (แก้ไข)
ช่วงนี้กระแสของห้องสมุดดิจิตอลกำลังมาแรง และถูกไถ่ถามหนาหูขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วการเข้าถึงข้อมูลดิจิตอลทำได้สะดวกขึ้น วันนี้ผมจึงขอแนะนำงานประชุมวิชาการงานหนึ่งที่น่าสนใจ และพูดถึงทิศทางของห้องสมุดดิจิตอล รายละเอียดงานประชุมวิชาการเบื้องต้น ชื่อการประชุมวิชาการ : ห้องสมุดระบบดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต จัดวันที่ : 5 พฤศจิกายน 2553 สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดย : ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ชื่องานนี้ก็นับว่าน่าสนใจอยู่เหมือนกันนะครับ ประมาณว่าให้ข้อมูลปัจจุบันและทิศทางในอนาคต แต่ประเด็นที่ผมจับตาดูอยู่คือ เป็นงานของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งแน่นอนครับว่ามีศักยภาพในการจัดทำและพัฒนาระบบห้องสมุดดิจิตอล เอาเป็นว่าไปดูหัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้ก่อนดีกว่าครับ – ห้องสมุดระบบดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต – IT สำหรับห้องสมุดระบบดิจิตอล – มาตรฐานการแปลงภาพเป็นดิจิตอล – ห้องสมุดระบบดิจิตอล : แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ เอาเป็นว่าหัวข้อก็น่าสนใจดีครับ แต่การเข้าฟังต้องมีค่าใช้จ่ายสักหน่อยนะครับ คือถ้าเป็นสมาชิกของสมาคมห้องสมุดก็ 300 บาท แต่ถ้าไม่ได้เป็นก็ 350 บาท ซึ่งผมว่าก็คุ้มค่าในการเข้าฟังนะครับ ยังไงก็สมัครเข้าไปฟังกันดู หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมก็เข้าไปดูที่เอกสารที่นี่เลยครับ “เอกสารประชาสัมพันธ์งานนี้“
ประชาสัมพันธ์โครงการเปลี่ยนหนังสือสื่อรักประสานความรู้
วันนี้มีข่าวสารมาประชาสัมพันธ์ครับ ข่าวนี้ผมนำมาจาก facebook ประมาณว่ามีคนมาช่วยให้ผมเข้าร่วม พอเข้าไปอ่านแล้วผมว่ามันน่าสนใจดี โครงการนี้ชื่อว่า “โครงการเปลี่ยนหนังสือสื่อรักประสานความรู้” ชื่อกิจกรรมนี้ คือ โครงการเปลี่ยนหนังสือสื่อรักประสานความรู้ จัดโดย ห้องสมุดประชาชน ?เฉลิมราชกุมารี? จังหวัดลำพูน แนวคิดและหลักการของกิจกรรมนี้ คือ ให้ทุกคนนำหนังสือที่ตนเองชอบอ่าน หรือหนังสือโปรดเข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดได้อ่านหนังสือดีๆ และถือว่าเป็นการแบ่งปันความรู้สู่ชุมชนด้วย โดยบรรณารักษ์จะนำหนังสือที่ได้รับมาจัดเข้าสู่ระบบยืม-คืนหนังสือให้เอง เพื่อนๆ ลองคิดกันดูนะครับว่า 1 คน 1 เล่ม ถ้ามีคนเข้าร่วม 100 คน ก็จะมี 100 เล่ม ถ้ามีคนเข้าร่วม 1000 คน ก็จะมี 1000 เล่ม หนังสือ 1 เล่มของเราอาจจะเป็นที่ต้องการของคนอื่น และเช่นกันเราเองก็อยากอ่านหนังสือของคนอื่นๆ เช่นกัน โครงการนี้จะช่วยให้เพื่อนๆ แลกเปลี่ยนหนังสือกันได้ ทำให้ไม่ต้องไปเสียเงินซื้อหนังสือเพิ่มด้วย เอาเป็นว่าโครงการนี้ก็มีประโยชน์มากมายนะ และเป็นไอเดียของห้องสมุดประชาชนที่ดีเลย ห้องสมุดประชาชนอื่นๆ สามารถนำไปประยุกต์และจัดกิจกรรมคล้ายๆ กันได้นะครับ เพื่อนๆ สามารถสมัครและส่งหนังสือเข้าร่วมโครงการได้ที่ ห้องสมุดประชาชน ?เฉลิมราชกุมารี? จังหวัดลำพูน ถนนสันป่ายาง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน 51000 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 053-562608 หรือเว็บไซต์ห้องสมุด http://lpn.nfe.go.th/lib_muang/ หรือทาง Facebook ห้องสมุด http://www.facebook.com/lib.lamphun วันนี้ก็ขอฝากไว้เพียงเท่านี้นะครับ ผมเองก็จะส่งหนังสือที่ผมชอบไปให้ที่นี่เช่นกัน แต่เดี๋ยวต้องกลับไปเลือกก่อนนะ แล้วจะมาอัพเดทว่าผมส่งเรื่องอะไรไปให้นะ
นายห้องสมุดกับการแนะนำหนังสือน่าอ่านแบบง่ายๆ (How to…)
วันนี้ใครที่เขามาที่ Libraryhub แล้วเห็นกรอบด้านล่างขวาเพิ่มก็ขอว่าอย่าตกใจนะครับ เพราะนั้นคือกล่องสำหรับแนะนำหนังสือที่น่าสนใจ หรือ กล่อง Bookrc ของผมนั้นเอง แล้ว Bookrc มาจากไหน –> คำตอบคือมันมาจาก Book Recommend นั่นเอง ผมตั้งใจว่าเวลาไปร้านหนังสือแล้วเจอหนังสือดีๆ ผมก็อยากจะนำเสนอให้เพื่อนๆ รู้จักเช่นกัน แล้วข้อมูลในกล่อง Bookrc มาจากไหน??? คำตอบ คือ ผมคิด Tag #bookrc เวลาที่ผมอยากจะแนะนำหนังสือสักเล่มให้เพื่อนๆ เช่น “รวม 7 สุดยอดวิชาหาเงินผ่านเน็ตพร้อมเคล็ดลับทำเงินที่ได้ผลจริง “ผม รวยออนไลน์ได้ยังไง” 195 บาท #bookrc http://twitpic.com/30g1rj” หลักการง่ายๆ ครับ 1. พิมพ์ข้อความแนะนำแบบสั้นๆ 2. พิมพ์ชื่อหนังสือ 3. พิมพ์ราคา (แล้วแต่นะครับ) 4. ถ่ายรูปหนังสือ (อันนี้ก็แล้วแต่นะครับ) 5. อันนี้ห้ามลืมครับ #bookrc หนังสือที่ผมแนะนำจริงๆ แล้วมันคละกันไปใน Timeline ของผมแหละ แต่ผมเน้นแนะนำหนังสือบางกลุ่มเท่านั้นนะครับ ได้แก่ กลุ่มท่องเที่ยว กลุ่มธุรกิจ กลุ่มคอมพิวเตอร์ กลุ่ม textbook ทำไมต้องแนะนำหนังสือเฉพาะกลุ่ม – กลุ่มท่องเที่ยว เป็นหนังสือที่หลายๆ คนให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องแนะนำการท่องเที่ยว ที่กิน ที่พัก และกิจกรรมในการท่องเที่ยว ซึ่งในกลุ่มนี้ผมยังแถมเรื่องของวัฒนธรรมพื้นเมืองด้วย เช่น วัฒนธรรมของสิงคโปร์ วัฒนธรรมท้องถิ่นสุโขทัย ฯลฯ – กลุ่มธุรกิจ เป็นหนังสือที่น่าสนใจอีกกลุ่มหนึ่งเช่นกัน โดยเฉพาะอาชีพแนวใหม่ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ หรือธุรกิจออนไลน์ที่กำลังเป็นกระแสในสังคม ซึ่งผมแนะนำหนังสือในกลุ่มเหล่านี้เพื่อให้ผู้ที่อยากทำธุรกิจใช้เป็นแนวทางในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม – กลุ่มคอมพิวเตอร์ อันนี้เป็นความสนใจส่วนตัวจึงต้องแนะนำว่าผมชอบอ่านแนวไหน คอมพิวเตอร์ระดับไหนที่ผมต้องการอ่าน ซึ่งโดยรวมแล้วผมไม่อ่านคอมพิวเตอร์ขั้นสูงมาก เช่น การเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์…
นายห้องสมุดพาเดินงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ 2553 (งานสัปดาห์หนังสือ)
วันนี้ผมแวะไปงานมหกรรมหนังสือระดับชาติมา เลยไม่ลืมแวะมาเล่าเรื่องราวให้เพื่อนๆ อ่าน นอกจากนี้ผมยังถ่ายรูปบรรยากาศในงานมาพอสมควรเลยเอามาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ดูเช่นกันครับ งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ หรือ ที่หลายๆ คนก็ยังเรียติดปากว่า “งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ” (จริงๆ แล้วงานที่จัดตอนต้นปีต่างหากครับที่เรียกว่างาน “สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ”) แต่เอาเหอะครับยังไงก็ คือ “งานหนังสือ” เหมือนๆ กันนั่นแหละครับ ปีนี้จัดดีเหมือนกับทุกๆ ปีแหละครับ บรรยากาศโดยรวมเกือบทุกบูทเต็มไปด้วยผู้คนมากมาย เดินไปทางไหนก็มีแต่ฝูงชนที่สนใจในเรื่องของการอ่าน (หนอนหนังสือ) เต็มไปหมด กิจกรรมในงานโดยภาพรวมนอกจากการจำหน่ายหนังสือแล้ว ยังมีส่วนที่แสดงนิทรรศการหนังสือน่าอ่าน และกิจกรรมสัมมนาต่างๆ มากมาย สิ่งที่วันนี้ผมประทับใจในงานสัปดาห์หนังสือ – ตุ๊กตามาสค็อตในงานนี้มีมากมายเลย ดึงดูดให้เด็กๆ อยากอ่านหนังสือ – ยังคงมีบริการส่งหนังสือถึงบ้านโดยไปรษณีย์ไทย – ป้ายเตือนเรื่อง ระวังกระเป๋า หรือ ระวังทรัพย์สิน มีจำนวนมากขึ้น เพื่อเตือนผู้เข้าร่วมงาน – ร้านหนังสือกระหน่ำลดราคากันเพียบเลย – กิจกรรมแนะนำหนังสือขายดี 10 อันดับของแต่ละร้าน – ผู้ปกครองพาบุตรหลานมางานหนังสือเพียบเลย ดีจังเด็กๆ จะได้ฝึกการอ่านตั้งแต่เด็ก – ผู้เข้าร่วมงานมหกรรมหนังสือมีจำนวนมากเหมือนทุกๆ ปี – กิจกรรมในห้องสัมมนาต่างๆ ได้รับความนิยมและมีผู้เข้าร่วมเหมือนเยอะขึ้น – หนังสือออกใหม่มีจำนวนมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นนวนิยายเสียมาก แต่หนังสือแปลก็ได้รับความนิยมเช่นกัน – พื้นที่แสดงหนังสือที่น่าสนใจของส่วนกลางเป็นระเบียบเรียบร้อย – ให้พิมพ์หนังสือส่วนตัวฟรีไม่เกิน 200 หน้า – รับบริจาคหนังสือเพื่อห้องสมุดที่ขาดแคลนหนังสือ รวมถึงห้องสมุดที่โดนน้ำท่วม – ระบบการสืบค้นหนังสือดีขึ้นเยอะเลย ค้นแล้วเจอบอกว่าอยู่บูทไหนด้วย เอาเป็นว่าวันนี้ขอสรุปแค่นี้ก่อนแล้วกันนะครับ แล้วเดี๋ยวภายในอาทิตย์นี้ผมคงได้ไปอีกรอบ แล้วจะเอามาเล่าเพิ่มเติมนะครับ ยังไงก็อย่าลืมติดตามดูกันได้ที่นี่นะครับ วันนี้นายห้องสมุดต้องขอตัวก่อน ชมภาพบรรยากาศในงานได้เลยครับ [nggallery id=29]