สรุปเรื่องการเผาห้องสมุดโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ในขณะที่ผมกำลังกินข้าวและอ่านข่าวในตอนเช้าวันนี้
ผมก็พบกับข่าวที่น่าเศร้าใจอย่างยิ่งต่อวงการห้องสมุดอีกครั้ง
นั่นคือ “ไฟไหม้ห้องสมุดวอด ร.ร.มหิดลฯ อาคาร 3 ชั้นพังยับ

ภาพประกอบจากหนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์
ภาพประกอบจากหนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์

เพื่อนๆ ที่ยังไม่รู้ข่าวสามารถอ่านได้ที่
ไฟไหม้ห้องสมุดวอด ร.ร.มหิดลฯ อาคาร3ชั้นพังยับ จาก ไทยรัฐ
ไฟไหม้หอสมุดรร.มหิดล วิทยานุสรณ์เผาวอด 2 ชั้น จาก เนชั่น

ในช่วงบ่ายวันนี้ความจริงและสาเหตุต่างๆ ก็ถูกไขออกมา
เมื่อมีนักเรียน ชั้น ม.5 ออกมายอมรับว่าเป็นคนเผาอาคารดังกล่าว
โดยให้เหตุผลว่า เครียด และ อยากกลับบ้าน จึงเผาอาคารเพื่อให้โรงเรียนสั่งหยุดการเรียนการสอน

เพื่อนๆ สามารถอ่านข่าวได้จาก
ม.5 รร.ดังศาลายามอบตัวรับเผาอาคารห้องสมุด จาก โพสต์ทูเดย์
จับเด็ก ม.5 วางเพลิงโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จาก เดลินิวส์
ม.5วางเพลิงห้องสมุด”มหิดลวิทยานุสรณ์”เครียด เรียนไม่ทันเพื่อน รับเลียนแบบ”พฤติกรรมเผา”ร.ร.จะได้ปิด จาก มติชน
ม.5มหิดลฯเผารร.อ้างไม่อยากเรียน จาก คมชัดลึก

ความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ผมว่านอกจากทรัพย์สินต่างๆ หนังสือ อุปกรณ์ต่างๆ แล้ว
ผมว่าความรู้สึกก็เสียหายไม่แพ้กันเลย คุณค่าของความรู้ต่างๆ เสียหายไปมากมาย

สุดท้ายนี้ก็ขอเป็นกำลังใจให้เหล่าบรรณารักษ์ คุณครูในโรงเรียน น้องๆ นักเรียนทุกคน
ขอให้ห้องสมุดปรับปรุงเสร็จเร็วๆ นะครับ และหากต้องการความช่วยเหลือบอกมาได้
พวกเราวงการบรรณารักษ์ไม่ทิ้งกันอยู่แล้วครับ

ผู้บริหารห้องสมุดยุคใหม่ต้องทำอะไรบ้าง

เรื่องที่ผมจะนำมาลงให้อ่านในวันนี้ จริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่ผมจด Lecture มาตั้งแต่สมัยผมเรียน ป.ตรี
แต่พอเอามาอ่านย้อนหลังแล้วรู้สึกว่ามีประโยชน์ต่อหลายๆ คน เลยเอามาให้อ่านกันดู
(จริงๆ แล้ว ใน lecture ผมไม่ได้เขียนละเอียดหรอกนะครับ แต่ที่เอามาลงนี่คือการ rewrite ใหม่เท่านั้น)

ceolibrary

?บทบาทและสมรรถภาพของผู้บริหารห้องสมุด? มีดังนี้

– Direction Setter
ผู้บริหารห้องสมุด คือ ผู้กำหนดทิศทางในการบริหารงานห้องสมุด พร้อมใช้เทคนิค และเครื่องมือทางการบริหารนำมาปรับให้เข้ากับห้องสมุด เช่น TQM, BSC, KPI?

– Leader catalyst
ผู้บริหารห้องสมุด ต้องมีความสามารถในการกระตุ้นการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา และมีภาวะความเป็นผู้นำที่ดี

– Planner
ผู้บริหารห้องสมุด ต้องรู้จักวางแผนงาน นโยบาย แผนปฏิบัติงาน แผนกลยุทธ์ การจัดลำดับความสำคัญของงาน และการแบ่งงานที่ดี

– Decision Maker
ผู้บริหารห้องสมุดเป็นผู้ที่มีบทบาทในการตัดสินใจ และเลือกวิธีในการปฏิบัติงาน ดังนั้นความเฉียบขาดจึงเป็นสิทธิที่พึงมีในตัวผู้บริหารด้วย

– Organizer
ผู้บริหารห้องสมุดต้องรู้จักองค์กรแบบภาพกว้างๆ และมีความสามารถในการจัดการองค์กร เลือกคนให้เข้ากับงาน (put the right man on the right job)

– Change Management
ผู้บริหารห้องสมุดต้องรู้จักบริหารการเปลี่ยนแปลง? งานบางงานอาจจะผิดแผนไปจากเดิมแต่ผู้บริหารก็ต้องคบคุมให้ได้ด้วย และผู้บริหารห้องสมุดต้องมีการปรับและประยุกต์งานของตนให้เข้ากับสังคม หรือองค์กรอื่นๆ ให้ได้ด้วยเช่นกัน

– Coorinator
ผู้บริหารห้องสมุดนอกจากจะเป็นผู้ที่อยู่ในระดับสูงขององค์กรแล้ว แต่สิ่งที่จะเป็นแรงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ก็คือการที่ผู้บริหารห้องสมุดมีส่วนร่วมในงานที่ผู้ใต้บังคับบัญชาดูแล เช่น การจัดกิจกรรมในห้องสมุดผู้บริหารห้องสมุดก็ควรเข้าร่วม (อาจจะไม่ถึงกับต้องทำกิจกรรม แต่ให้การสนับสนุน ให้คำแนะนำก็ได้เช่นกัน)

– Communicator
ผู้บริหารห้องสมุดต้องมีทักษะในการสื่อสารที่ดี การสื่อสาร หรือการชี้แจงงานให้ชัดเจน ไม่สร้างความคุมเคลือให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสงสัย

– Conflict Manager
ผู้บริหารห้องสมุด ต้องเป็นผู้แก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดในห้องสมุดได้ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่าง คนกับคน หรือ คนกับงาน การที่ผู้บริหารห้องสมุดสามารถไกล่เกลี่ยปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ จะต้องวางใจเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ตัดสินด้วยเหตุผล และยุติธรรม

– Problem Manager
ผู้บริหารห้องสมุดต้องรู้จักการแก้ไขปัญหาล่วงหน้า รู้จัแบ่งความสำคัญของปัญหาว่าสิ่งใดเป็นปัญหาเล็ก สิ่งใดเป็นปัญหาใหญ่ และแก้ไขปัญหาตามลำดับความสำคัญได้อย่างดี

– System Manager
ผู้บริหารห้องสมุดจะต้องรู้จักการวิเคราะห์ระบบ วิเคราะห์ปัญหา และควบคุมระบบงานต่างๆ อย่างมีระเบียบและมีขั้นตอน

– Instructional Manager
ผู้บริหารห้องสมุดต้องมีความสามารถทั้งในงานการปฏิบัติงานห้องสมุด และมีความสามารถทางด้านการเรียนการสอนด้วย การสอนที่ว่านี้ไม่ใช่แต่นักเรียน นักศึกษา อย่างเดียวนะครับ แต่หมายรวมถึงผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย

– Personal & Resource Manager
ผู้บริหารห้องสมุดนอกจากจะต้องควบคุมองค์กรได้แล้ว การควบคุมผูใต้บังคับบัญชา และทรัพยากรต่างๆ ในห้องสมุดก็ถือว่ามีความสำคัญด้วยเช่นกัน และต้องรู้จักการจัดสรรทรัพยากรทั้งคนและสิ่งของให้เข้ากับลักษณะงานด้วย

– Appraiser
ผู้บริหารห้องสมุดต้องรู้จักการประเมินผลงานการดำเนินงาน ต่างๆ ในห้องสมุด โดยอาศัยเทคนิค หรือใช้เครื่องมือต่างๆ ในการประเมินก็ได้

จบแล้วครับ?เป็นไงกันบ้าง
งานในฐานะของผู้บริหารห้องสมุดนี่ก็เยอะเหมือนกันนะครับ
ต้องดูแลงานบริหารด้านต่างๆ จัดการกับปัญหาภายในห้องสมุด
แถมต้องพาห้องสมุดไปยังจุดมุ่งหมายและเป้าหมายของห้องสมุดอีก

เฮ้อ เหนื่อยแทนเลยจริงๆ นะครับ