ขอเล่าต่อจากงานสัมมนาเมื่อกี้นะครับ “การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom)” ชื่อของการจัดสัมมนา – การสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่น (19/2/52) สถานที่ในการจัดงาน – อาคารสัมมนา 2 ห้อง 233 (19/2/52) งานสัมมนาครั้งนี้ จัดโดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และ IFLA RSCAO หัวข้องานสัมมนาในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2552 ที่น่าสนใจ ????????????????????????? การบรรยาย เรื่อง การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น โดย ศ.ดร.ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน ขอบเขตของสารสนเทศท้องถิ่น – สารสนเทศท้องถิ่นชุมชน ?> สารสนเทศตามเขตภูมิศาสตร์ ?> สารสนเทศตามอาณาเขตวัฒนธรรม ภูมิปัญญา คือ ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ความสามารถ ความชัดเจน ที่เป็นผลจากการใช้สติปัญญา ภูมิปัญญาชาวบ้าน? -> ภูมิปัญญาไทย -> ภูมิปัญญาสากล สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา แบ่งภูมิปัญญา เป็น 9 ด้าน ดังนี้ – เกษตรกรรม – อุตสาหกรรม – การแพทย์แผนไทย – การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ – กองทุนและธุรกิจชุมชน – ศิลปวัฒนธรรม – ภาษาและวรรณกรรม – ปรัชญา ศาสนา และประเพณี – โภชนาการ ข้อมูลท้องถิ่นที่จะสามารถนำมาแปลงเป็นสารสนเทศท้องถิ่นได้ เช่น – การบันทึกข้อมูลของท้องถิ่น –…
Month: November 2009
การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom)
วันนี้ผมมานั่งฟังบรรยาย เรื่อง การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom) ซึ่งจัดโดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และ IFLA RSCAO ดังนั้นผมคงไม่พลาดที่จะสรุปเนื้อหาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน แต่ก่อนจะอ่านเรื่องที่ผมสรุปนั้น ผมขอพูดถึงงานสัมมนาครั้งนี้ให้เพื่อนๆ ฟังก่อน งานสัมมนาครั้งนี้ จัด 2 วัน คือ วันที่ 18 – 19 กุมภาพันธ์ 2552 ชื่อของการจัดสัมมนา – การสัมมนานานาชาติ เรื่อง การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom) (18/2/52) – การสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่น (19/2/52) สถานที่ในการจัดงาน – อาคารสัมมนา 1 ห้อง 5209 (18/2/52) – อาคารสัมมนา 2 ห้อง 233 (19/2/52) งานสัมมนาครั้งนี้ จัดโดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และ IFLA RSCAO หัวข้องานสัมมนาในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552 ที่น่าสนใจ ??????????????????- Preservation of Local Wisdom : Best Practices โดย Prof. Gary Gorman และ Dr. Dan Dorner สถานการณ์ปัจจุบัน – การเพิ่มจำนวนของการเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีมากขึ้น…
สุขสันต์วันลอยกระทง
วันนี้วันอะไรรู้มั้ยครับ ใช่แล้วครับวันจันทร์ เอ้ยไม่ใช่ นี่มันวันลอยกระทงต่างหาก ว่าแต่ว่าเพื่อนๆ ไปลอยกระทงกันที่ไหนบ้างครับ แล้วที่สำคัญไปลอยกับใคร แต่ถ้าเพื่อนๆ ย้อนถามผม ผมคงตอบแบบเซ็งๆ ว่า “ไม่ได้ไปไหนหรอกครับ งานเยอะมากที่ยังรอผมอยู่” วันที่หลายๆ คนมีความสุข แต่ผมกลับต้องมานั่งทำงานแบบเคร่งเครียด เร่งปั่นงานให้เสร็จเร็วเท่าที่สุดก็หวังว่าจะรีบออกไปลอยกระทงกับใครบางคน แต่ผมก็พบว่าคงหมดหวังแหละ งานเยอะขนาดนี้ผมคงผิดนัดกับคนๆ นั้นแน่นอน เอาเหอะครับ เพื่อนๆ ไม่ต้องเศร้าแทนผมไปหรอกครับ วันลอยกระทงก็คือวันที่ธรรมดาวันนึงของผมนั่นแหละ วันไหนอยากพิเศษต่อให้ไม่มีโอกาสพิเศษผมก็สามารถบันดาลได้แหละครับ เอางี้เลิกเศร้าดีกว่า งั้นผมขอชวนเพื่อนๆ มาลอยกระทงออนไลน์เลยดีกว่า ใครที่ไม่มีเวลาออกไปลอยกระทงเหมือนผมก็ลองใช้บริการดูได้นะครับที่ http://loykratong.kapook.com/ ส่วนเพื่อนๆ ที่อยากรู้เรื่องเกี่ยวกับเทศกาลลอยกระทง ผมก็ขอแนะนำเว็บไซต์นี้ครับ http://www.loikrathong.net/ จะมีเรื่องราวทุกเรื่องราวของเทศกาลลอยกระทงให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน มาหัดร้องเพลงลอยกระทงกันเร็วจะได้ไม่เชย [youtube]http://www.youtube.com/watch?v=1RFq5yvDYe0[/youtube] ฟังเพลงลอยกระทง เนื้อเพลงลอยกระทง วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง เราทั้งหลายชายหญิง สนุกกันจริง วันลอยกระทง ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง ลอยกระทงกันแล้ว ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ ไปแล้วดีกว่าครับ วันนี้ผมก็ขอให้เพื่อนๆ มีความสุขกันนะครับทุกคน ปล. วันนี้ขอบ่นแค่นี้แหละครับ เหนื่อยจัง
LibCamp#3 : นายกสมาคมห้องสมุดฯ กล่าวต้อนรับ
กล่าวต้อนรับและเปิดงานโดย นายกสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ : ศาสตราจารย์ คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ซึ่งได้รับความรู้และตอบคำถามต่างๆ เกี่ยวกับสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย บทสรุปที่คุณหญิงฯ ได้กล่าวให้พวกเราฟังมีสาระมากมายซึ่งผมได้สรุปประเด็นดังนี้ แนะนำที่มาของการก่อตั้งสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย (อันนี้ผมขอเล่าไม่มากนะครับเพราะว่าเพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่ http://www.tla.or.th/history.htm) แต่หลักๆ ตอนก่อตั้งครั้งแรกคุณหญิงฯ ก็เป็นผู้บุกเบิกในการก่อตั้งสมาคมห้องสมุดในช่วงนั้นเช่นกัน ซึ่งปีนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีอีกครั้งที่คุณหญิงฯ ได้กลับมาเป็นประธานสมาคมฯ อีกครั้ง ความสามัคคีในวิชาชีพ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน คุณหญิงเน้นย้ำให้วงการวิชาชีพเราให้มีความสามัคคีกัน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกันมากๆ เพื่อการพัฒนาวิชาชีพของเราต่อไป การบริการของห้องสมุดในปัจจุบันบางครั้งผู้ใช้อาจจะไม่จำเป็นต้องมาที่ห้องสมุดแล้วก็ได้ และบรรณารักษ์อย่างเราก็ต้องคอยบริการผู้ใช้ต่างๆ ด้วย การบริการเชิงรุกในลักษณะนี้ คุณหญิงฯ ได้เคยกล่าวไว้นานแล้ว ซึ่งเรียกว่า “โครงการห้องสมุดสุดขอบฟ้า” ซึ่งมีนิยามว่า “ไม่ว่าห้องสมุดจะอยู่ที่ไหนก็ตาม แต่บริการห้องสมุดและบริการความรู้จะต้องไปถึงในทุกๆ ที่” หลายคนบอกว่าอาชีพบรรณารักษ์เป็นงานที่สบาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว “งานบรรณารักษ์เป็นอาชีพที่ทำงานหนักกว่าอาชีพอื่นๆ“ เพราะต้องคอยรวบรวมความรู้ของทุกสาขาอาชีพมาเก็บไว้ที่เดียวกัน การทำงานบรรณารักษ์จำเป็นต้องใช้ความรู้และทักษะของวิชาชีอยู่ตลอด แต่เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องบริการด้วยความเครียดนะครับ คุณหญิงได้กล่าวให้เราเข้าใจเรื่อง “ความรู้คู่บันเทิง” หลังจากที่ได้รับความรู้ต่างๆ มากมายแล้ว คุณหญิงฯ ก็เปิดโอกาสให้คณะกรรมการของสมาคมห้องสมุดแนะนำตัวเอง และเชิญผู้เข้าร่วมงานสัมมนาแนะนำตัวเอง ซึ่งเพื่อทำความรู้จักกันก่อนการสัมมนา อ๋อ เกือบลืมไปอย่างนึง วันนี้ผมได้รับคำตอบเกี่ยวกับเรื่อง “บุคคลดีเด่นของวงการบรรณารักษ์มาด้วย” เพื่อนๆ ยังจำคำถามของผมเกี่ยวกับประเด็นเรื่องนี้หรือปล่าวครับ ว่า “ทำไมบุคคลดีเด่นในวงการห้องสมุด จะต้องเป็นสมาชิกแบบตลอดชีพของสมาคมฯ ด้วย” เหตุผลนั่นก็คือ เพื่อการอุปถัมภ์วงการห้องสมุด หากเรารักในวงการห้องสมุดเราก็ควรที่จะเข้าร่วมกับสมาคมห้องสมุดฯ เพื่อร่วมกันพัฒนาวงการวิชาชีพนั่นแหละครับ คือคำตอบของคำถามข้อนี้ เป็นครั้งแรกที่ผมยอมเปิดใจให้สมาคมมากขึ้นเลยนะครับเนี้ย ขอบคุณครับคุณหญิงฯ ที่ให้เกียรติมาเปิดงานสัมมนาครั้งนี้ด้วยนะครับ และหวังว่าเราจะร่วมกันสร้างเครือข่ายระหว่างสมาคมห้องสมุดและเครือข่าย Libraryhub ได้นะครับ