เรื่องบังเอิญเกิดขึ้นในชีวิตเราหลายๆ ครั้ง ซึ่งหากเป็นเรื่องบังเอิญที่ดีผมว่าก็ควรจะเล่าให้เพื่อนๆ ฟังนะครับ เรื่องมันก็มีอยู่ว่า… ในขณะที่ผมกำลังค้นหาข้อมูลเพื่ออ่านเล่นๆ อยู่ ก็ปรากฎว่าผมไปเจอภาพถ่ายของผมโดยบังเอิญ เท่าที่จำได้ภาพนี้เป็นภาพตอนที่ผมไปบรรยายที่งานสัมมนาครั้งนึง และถ้าระลึกได้ไม่ผิด งานสัมมนานั้น คือ งานสัมมนาวิชาการชมรมห้องสมุดเฉพาะ ประจำปี 2551 นั่นเอง วันนั้นผมร่วมวงเสวนา “การสร้าง การค้น การอ่าน การแลกเปลี่ยน” ในวันที่ 29 สิงหาคม 2551 ร่วมกับ อ.รุจเรขา, รศ.ดร.น้ำทิพย์, อ.ประดิษฐา จริงๆ แล้วผมก็ลืมเรื่องงานเสวนาครั้งนั้นไปแล้วจริงๆ นะครับ พอเห็นภาพก็นึกขึ้นไปว่า งานในวันนั้นผมไม่ได้นำกล้องถ่ายรูปไปด้วย จึงไม่มีภาพถ่ายที่ระลึกของงานเสวนาในครั้งนั้นมาฝากเพื่อนๆ วันนี้ผมก็เลยขอนำเรื่องนี้มาประกาศให้เพื่อนๆ ที่ได้ไปงานวันนั้น ใครได้ถ่ายรูปงานบรรยายในครั้งนั้นบ้าง ผมอยากได้เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึก ใครมี หรือใครเห็นภาพของผม อยากรบกวนให้ส่งไฟล์เข้ามาในอีเมล์ผมหน่อย จะขอบคุณอย่างมากๆๆๆๆๆๆ เลยครับ อีเมล์ผมก็ dcy_4430323@hotmal.com ขอบคุณล่วงหน้าอีกครั้งนะครับ ที่มาของรูปที่ผมไปเจอนี้ คือ http://gotoknow.org/blog/meetingforlibrarian/231849 ขอฝากไว้นิดนึงหากใครรู้จัก หรือเป็นเจ้าของบล็อกนี้ขอความกรุณาติดต่อผมกลับมาด้วยนะครับ ผมอยากได้รูปภาพขนาดเต็มๆ เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึกอ่ะครับ
Month: August 2009
10 อย่างที่ต้องรู้เกี่ยวกับห้องสมุดของคุณ
วันนี้ขอเขียนบทความที่เกี่ยวกับผู้ใช้บริการห้องสมุดบ้าง เรื่องที่จะบอกต่อไปนี้ จะใช้วัดความรู้เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุดของผู้ใช้ทุกๆ คน
บอกเล่าเก้าสิบ “โครงการศูนย์ความรู้กินได้”
วันนี้ผมขอแนะนำข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ “โครงการศูนย์ความรู้กินได้” นะครับ เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการที่ผมทำงานอยู่ด้วยก็เลยอยากให้เพื่อนๆ รู้ และเข้าใจว่าผมกำลังทำอะไร ก่อนที่จะเล่าเรื่องของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ให้ฟัง ผมอาจจะต้องเกริ่นข้อมูลทั่วๆ ไปก่อนนะครับว่า สถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2552 หลายๆ คงได้เรียกสถานการณ์นี้ว่า ?เศรษฐกิจเผาจริง? จำนวนคนตกงานกว่า 2 ล้านคน นักศึกษาจบใหม่ กว่า 7 แสนคนไม่มีงานทำ ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวคนก็จะกลับสู่ต่างจังหวัดบ้านเกิด อ่านมาแล้วเพื่อนๆ คงจะงง ว่า มันเกี่ยวอะไรกับ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ใช่มั้ยครับ ผมก็เลยต้องขอตอบว่า “เกี่ยวสิครับ” เพราะว่าบทบาทของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ คือ กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ โดยการเสนอ และสนับสนุนองค์ความรู้ที่คัดสรรตามความจำเป็น และความต้องการของกิจกรรมเศรษฐกิจในพื้นที่บนแนวความคิด “เศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ (Creative economy)” แล้วเพื่อนๆ ลองคิดต่อนะครับว่า เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีคุณภาพ ก็จะทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ (คนมีงานทำ) พอคนมีงานทำก็จะเกิดการจับจ่ายเพื่อการบริโภค และทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่ไม่หดตัว โดยสโลแกนของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ที่ผมชอบมากๆ ก็คือ ?เพราะความรู้ ใช้ทำมาหากินได้? ต่อมาเรามาดูบทบาท ประโยชน์ และสิ่งใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในห้องสมุดดีกว่าครับ บทบาทหลักของโครงการศูนย์ความรู้กินได้ เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการ และให้บริการองค์ความรู้ตามความต้องการของหน่วยงาน และประชาชนในพื้นที่ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ตามสภาพเศรษฐกิจ สังคม และภาระกิจของหน่วยงานต่างๆ เป็นส่วน ?เติม? มุมมองใหม่ๆ ผ่านทางการจัดนิทรรศการ สัมมนา สร้างต้นแบบเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ความรู้ และปัญญาผลิตวิธีการ และแนวคิดใหม่ๆ เพื่อหลุดพ้นจากบริบท หรือกรอบแนวความคิดแบบเดิมๆ รวบรวมข้อมูล + องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์จากหลายๆ หน่วยงานหลากหลายพื้นที่มาบริหารจัดการให้เกิดการรับรู้ได้อย่างทั่วถึง เพื่อให้ความรู้ได้ถูกนำไปใช้ + ต่อยอดเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ เชื่อมโยงออกไปจากระดับจังหวัดไปสู่ระดับประเทศ ประโยชน์ของโครงการศูนย์ความรู้กินได้ 1. ประชาชนสามารถเข้าถึงความรู้ที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพได้ในต้นทุนที่ต่ำ 2. การบริหารจัดการความรู้อย่างมีประสิทธิภาพของศูนย์ควมรู้กินได้ เป็นการแบ่งเบภาระของผู้ประกอบการในการดูแลบุคลากรท้องถิ่น…
หนังสือทำเนียบนามบรรณารักษ์ โดยสถาบันพระบรมราชชนก
จากการพูดคุยกับสมาชิกในบล็อกคนนึงซึ่งบอกว่า “อยากประชาสัมพันธ์หนังสือรุ่น” ผมก็เลยต้อง “จัดไป อย่าให้เสีย” สักหน่อยดีกว่า ตอนแรกผมก็ประหลาดใจว่าเป็น “หนังสือรุ่นของสถาบันไหน” จึงได้สอบถามจนรู้ว่าเป็น “ทำเนียบนามบรรณารักษ์” ผมจึงให้เขาส่งเรื่องนี้เข้ามาในอีเมล์ของผม แต่พอดีหลายวันมานี้ผมไม่ค่อยว่าง และเพิ่งจะได้เปิดอ่านดูในวันนี้ หลังจากที่เปิดอ่าน และ download ไฟล์ e-book มาดูแล้วอดตกใจไม่ได้ เพราะว่ารู้สึกคุ้นๆ หน้าหลายคนเลย และผมก็รู้จักด้วยหลายคน อิอิ ชื่อหนังสือรุ่นผมชอบมากเลยครับ Librarian relationship คือความผูกพันระหว่างน้อง – พี่ นี่แหละครับที่เรียกว่าอาชีพเดียวกันย่อมไม่ทิ้งกันใช่มั้ยครับ หนังสือเล่มนี้อาจจะเป็นตัวอย่างสำหรับเพื่อนๆ อีกหลายคนที่คิดจะทำหนังสือรุ่น แต่ถ้าผมเอาออกมาให้ดาวน์โหลดเลย ผมก็กลัวว่าเจ้าของหนังสือรุ่นนี้จะว่าเอา ดังนั้นเอางี้ดีกว่า ใครอยากดูหนังสือเล่มนี้เป็นตัวอย่างให้ส่งเมล์มาขอก็แล้วกันนะครับ ที่อีเมล์ dcy_4430323@hotmail.com วันนี้ผมก็ขอขอบคุณเพื่อนสมาชิกท่านนี้มากครับ สมาชิกท่านนี้ใช้ชื่อในบล็อกผมว่า ?Hi-so Librarian? อ๋อขอเช็ค rating หน่อยนะครับ อยากรู้จังว่าเพื่อนๆ สมาชิกบล็อก projectlib ยังมีใครมาจากสถาบันพระบรมราชชนกนี้อีกบ้าง ช่วยยกมือกันหน่อย หรือส่งเสียงมาทักทายกันบ้างนะครับ ปล. ใครอยากอวดหนังสือรุ่นของตัวเองก็ส่งมาให้ผมได้นะครับ แล้วผมจะเอามาให้เพื่อนๆ คนอื่นได้ชื่นชมต่อไป
อัพเดทข้อมูลงาน Libcamp#2
วันนี้ผมขอเข้ามาเขียนอัพเดทข้อมูลงาน Libcamp#2 หน่อยดีกว่า เพื่อเป็นข้อมูลให้เพื่อนๆ หลายคนเตรียมตัวได้ถูกหน่อย
Twitter + Librarian = Twitterian
ก่อนอื่นผมคงต้องแนะนำก่อนว่า Twitter คืออะไร เพราะผมเชื่อว่าบรรณารักษ์อีกหลายคนคงยังไม่รู้จักเครื่องมือชิ้นนี้อย่างแน่นอน
แนะนำหนังสือเกี่ยวกับ Library 2.0
ช่วงนี้เพื่อนๆ คงได้ยินคำว่า Library2.0 หรือ ห้องสมุด 2.0 บ่อยขึ้นนะครับ แล้วเพื่อนๆ อยากหาหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้อ่านบ้างมั้ย วันนี้ผมมีเล่มนึงมาแนะนำครับ
100 ล้าน IPOD กับความเศร้าของเราชาวบรรณารักษ์
บล็อกเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกที่ผมเขียนใน Projectlib เลยนะครับ เพราะฉะนั้นผมขอเก็บเรื่องนี้ไว้เป็นที่ระลึกนะครับ
ขอวิจารณ์เกณฑ์ในการสรรหาบุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษ์ฯ
เป็นที่รู้กันนะครับว่าทุกปีทางสมาคมห้องสมุดฯ จะมีการสรรหาบุคคลดีเด่นแห่งวงการวิชาชีพบรรณารักษ์ วันนี้ผมก็มีโอกาสได้อ่านหลักเกณฑ์ในการสรรหาเหมือนกัน เลยอยากเสนอความคิดเห็นนะครับ