จุฬารับสมัครเจ้าหน้าที่บริการสารสนเทศ 2 ตำแหน่ง

ช่วงนี้บรรณารักษ์ช่วยหางานมาพบกับเพื่อนๆ บ่อยเป็นพิเศษ
เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่ห้องสมุดหลายๆ แห่งกำลังต้องการบุคลากรเพิ่ม
ดังนั้น Libraryhub ก็จะนำมารายงานให้เพื่อนๆ ได้เลือกงานก็แล้วกันนะ

รายละเอียดของงานเบื้องต้น
ชื่อตำแหน่ง 😕 เจ้าหน้าที่บริการสารสนเทศ
ลักษณะงาน : พนักงานมหาวิทยาลัย
วุฒิการศึกษา : ปริญญาโท
จำนวน : 2 ตำแหน่ง
ห้องสมุด : ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เงินเดือน : 10900 บาท (ถ้ามีประสบการณ์ตรงจะได้รับการพิจารณาเงินเดือนเพิ่ม)

ตำแหน่งนี้ผมต้องย้ำว่าเพื่อนๆ ที่อยากได้งานนี้ต้องจบปริญญาโทแล้วเท่านั้นนะครับ
อ๋อ ไม่จำเป็นต้องจบวุฒิบรรณารักษ์นะครับ ครุศาสตร์ก็ได้ นิติศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ฯลฯ
สาขาที่จบมาเพื่อนๆ สามารถดูได้จากเอกสารเพิ่มเติมของตำแหน่งนี้ (ดาวน์โหลดได้จากด้านล่าง)
ความสามารถที่ต้องการพิเศษ คือ ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์ ถ้าได้จะดีเยี่ยมเลย

ตำแหน่งนี้รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 26 ตุลาคม นี้นะครับ
เพื่อนๆ ยังมีเวลาตัดสินใจได้อยู่นะครับ แต่ทำงานในมหาวิทยาลัยผมว่าก็โอนะ

ลืมบอกไปเลยตำแหน่งนี้ทำอะไรบ้าง
– งานบริการสารสนเทศ
– งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
– งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
– ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ผมว่ารายละเอียดของงานดูแปลกๆ ไปหน่อยนะครับ มันเหมือนงานบรรณารักษืเลย
แต่เปิดโอกาสให้คนสาขาอื่นมาทำได้ เอิ่มแสดงว่าเข้าได้แล้วคงต้องเรียนรู้งานอีกสักระยะแน่ๆ

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองติดต่อไปที่ hr@car.chula.ac.th ดูนะครับ
หรือถ้ามั่นใจแล้วก็สมัครไปเลยตามแบบฟอร์มออนไลน์ที่อยู่ด้านล่างนี้

ข่าวรับสมัครจาก http://www.car.chula.ac.th/news/274/
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตำแหน่ง http://www.car.chula.ac.th/downloader2/3bfdb4ecab0b240f1bd80fb33f6a315a/

ดาวน์โหลดใบสมัครที่นี่
http://www.car.chula.ac.th/apply/apply2.php

ขอให้ทุกๆ ท่านโชคดีครับ

มทร.รัตนโกสินทร์ รับลูกจ้างบรรณารักษ์ 2 ตำแหน่ง

บรรณารักษ์ช่วยหางานกลับมาพบกลับเพื่อนๆ อีกแล้ว วันนี้มีงานมาแนะนำด้วยนะครับ
ใครที่กำลังมองหางานบรรณารักษ์อยู่ลองเข้ามาดูกันได้เลย

รายละเอียดของงานเบื้องต้น
ลักษณะงาน : ลูกจ้างชั่วคราว
ชื่อตำแหน่ง 😕 บรรณารักษ์
จำนวน : 2 ตำแหน่ง
ห้องสมุด : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
เงินเดือน : 7490 บาท

อย่างที่อ่านในรายละเอียดนั่นแหละครับ งานนี้เป็นงานลูกจ้างชั่วคราวเท่านั้น
จริงๆ แล้วผมอยากแนะนำให้บรรณารักษ์ที่จบใหม่นะครับ เนื่องจากจะได้ลองหาประสบการณ์ในการทำงานดู
และสำหรับคนที่กำลังว่างงานอยู่จะสมัครก็ได้นะครับ แต่คนที่ทำงานอยู่แล้วต้องการเปลี่ยนงานอันนี้ผมไม่แนะนำครับ

ลักษณะงานเบื้องต้น ในประกาศไม่ได้กล่าวไว้ ดังนั้นลองติดต่อสอบถามดูก่อนนะครับเพื่อความแน่ใจ
คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่ต้องการสมัครง่ายๆ ครับ จบบรรณารักษ์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

รับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2553 ไม่เว้นวันหยุดราชการ
และสอบข้อเขียนวันที่ 26 ตุลาคม พร้อมประกาศผลวันที่ 29 ตุลาคม
ผู้ที่สอบผ่านจะต้องปฏิบัติงานได้วันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 เลยนะครับ

เอาเป็นว่าถ้าสนใจก็ลองเข้าไปสอบถามรายละเอียดได้ที่
ฝ่ายบริหารและจัดการทรัพยากร สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.รัตนโกสินทร์
หรือเข้าไปดูที่ http://www.rmutr.ac.th/images/stories/pdf_file/scan0526.pdf

ขอให้เพื่อนๆ โชคดีครับ

แนะนำโปรแกรม GooReader ไปใช้ในห้องสมุดเพื่อการค้นหา E-Book

วันนี้ผมขอแนะนำโปรแกรมสำหรับอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบฟรีๆ ให้เพื่อนๆ รู้จักนะครับ
โปรแกรมนี้จะช่วยให้คุณหาหนังสือ E-book และสามารถอ่าน E-book ได้ดีทีเดียว

GooReader มาจาก Google + Reader แน่นอนครับ Google มี Google Book Search
ดังนั้น App นี้ก็เสมือน Client ที่เรียกข้อมูลผ่านทาง Google Book Search นั่นเอง

จุดเด่นของโปรแกรม GooReader
1. ค้นหาหนังสือจาก Google Book Search โดยไม่ต้องเข้า Web Browers
2. Interface ในการนำเสนอค่อนข้างดี เป็นรูปชั้นหนังสือสวยดี
3. สามารถอ่านหนังสือได้สมจริงกว่าอ่านบนเว็บ
4. สามารถดาวน์โหลดไฟล์ออกมาเป็น pdf
5. จำกัดการสืบค้นได้ง่าย
6. โปรแกรมมีขนาดเล็กไม่หนักเครื่อง
7. สำคัญสุดๆ โปรแกรมฟรี

โปรแกรมนี้ผมแนะนำว่าบรรณารักษ์ควรนำไปลงในเครื่องคอมในห้องสมุดนะครับ
เพราะถือเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้เข้าถึงแหล่ง E-book
แถมยังช่วยให้ห้องสมุดลดภาระในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ E-book อีกด้วย

วีดีโอแนะนำโปรแกรม GooReader

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=IlH-NH_yBOI[/youtube]

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองเข้าไปโหลดมาเล่นกันดูนะครับ ที่ http://gooreader.com/

สำนักงาน ก.พ.ร. กำลังรับบรรณารักษ์

บรรณารักษ์ช่วยหางานมาอีกแล้วครับ วันนี้มีงานมานำเสนออีกที่
หน่วยงานนี้ คือ ก.พ.ร. หรือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ นั่นเอง

ตำแหน่งงานที่กำลังรับอยู่ คือ เจ้าหน้าที่บรรณสารสนเทศ
ตำแหน่งนี้เพื่อนๆ ต้องรีบหน่อยนะครับเพราะรับถึงแค่วันที่ 30 กันยายน
แถมรับเพียงแค่ 1 ตำแหน่งเท่านั้น ยังไงก็คงต้องรีบสมัครกันหน่อย

ตำแหน่งงานนี้ทำอะไรบ้าง
– บริการสารสนเทศ
– สืบค้นข้อมูลสารสนเทศ
– วิเคราะห์และเลือกสรรประมวลผลข้อมูล
– จัดการและให้บริการเผยแพร่สารสนเทศ
– บริหารงานห้องสมุด

คุณสมบัติคร่าวๆ ของตำแหน่งนี้คือ
– จบปริญญาตรีสาขาห้องสมุดหรือบรรณารักษ์
– มีประสบการณ์ด้านการจัดระบบห้องสมุด
– มีความชำนาญการใช้คอมพิวเตอร์
– มีความสามารถในการประสานงานได้ดี
– บุคลิกภาพดี มนุษยสัมพันธ์เยี่ยม
– ทำงานนอกเวลาได้

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองเข้าไปติดต่อได้ที่
กลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานเลขาธิการ ชั้น 4 อาคารสำนักงาน ก.พ.ร. ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทร. 0-2356-9999 ต่อ 8928, 8852

หรือเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ http://www.opdc.go.th/uploads/files/news/selective_people.pdf

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วว่าด้วยเรื่องห้องสมุดดิจิทัล

หลายคำถามที่เกี่ยวกับห้องสมุดดิจิทัลที่หลายๆ คนอยากรู้
วันนี้ผมจึงถึงโอกาสนำประวัติศาสตร์ของห้องสมุดดิจิทัลมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังสักหน่อยดีกว่า

เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล เกิดในสมัยไหน
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีที่มาอย่างไร
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล ใครเป็นคนคิดค้น
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีแนวคิดอย่างไร

ย้อนเวลากลับไปในปี พ.ศ. 2448 แวนเนวอร์ บุช (Vannevar Bush) ริเริ่มแนวความคิดในการสืบค้นสารสนเทศจากไมโครฟิลม์ โดยเรียกว่า ?เมมเมคซ์ (Memex)? ที่ช่วยดูข้อมูลได้จากศูนย์รวมข้อมูล

ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 เจซีอาร์ ลิคไลเดอร์ (JCR Licklider) อดีตผู้อำนวยการอาร์ปา (พ.ศ. 2505-2506) ได้เขียนแนวความคิดเรื่อง ?ห้องสมุดแห่งอนาคต? ถือได้ว่าเป็นครั้งแรกที่เกิดแนวความคิดที่เป็นพื้นฐานสำหรับ ?ห้องสมุดดิจิทัล?

และหลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2513 เทด เนลสัน (Ted Nelson) ได้พัฒนาเมมเมคซ์เป็น ?ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext)? ซึ่งหมายถึง เครือข่ายข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ รูปภาพและเสียง ที่สามารถเรียกดูได้จากคอมพิวเตอร์

แล้วปี พ.ศ. 2537 คาเรน ดราเบนสทูตท์ (Karen Drabenstoott) ให้คำจำกัดความว่า? ต้องใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลห้องสมุดดิจิทัลหลายห้องสมุดเชื่อมต่อกันได้ ผู้ใช้เข้าใช้จากจุดใดก็ได้ สารสนเทศอยู่ในรูปแบบดิจิทัล

ในปี พ.ศ. 2538 ดับบริว ซาฟฟาดี (W. Saffady) ระบุในบทความชื่อ ?หลักการห้องสมุดดิจิทัล? ว่าเป็นห้องสมุดที่จัดเก็บสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัลให้สามารถดูได้โดยใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อ

หลังจากนั้น 1 ปี พ.ศ. 2539 ซี แอล บอร์กแมน (C L Borgman) ให้คำจำกัดความในหนังสือชื่อ ?การเข้าถึงสารสนเทศ ห้องสมุดดิจิทัล? ว่าคือแหล่งสารสนเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บ ค้นหา และใช้สารสนเทศ เป็นแหล่งเก็บและค้นคว้าข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว

1 ปีให้หลัง พ.ศ. 2540 ริชาร์ด แอทคินสัน (Richard Atkinson) อธิการบดีมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ตั้งห้องสมุดดิจิทัลเป็น ?ห้องสมุดไร้กำแพง (Library Without Walls)? เชื่อมโยงห้องสมุด 10 วิทยาเขตของมหาวิทยาลัย มีบริการห้องสมุดครบถ้วนทุกประการ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ นับตั้งแต่มีแนวคิดในการสืบค้นสารสนเทศจากไมโครฟิล์ม จนถึงวันนี้ 105 ปี แล้วนะครับ
ผมเองตกใจมาก และไม่คิดว่าห้องสมุดดิจิทัลจะเกิดมานานขนาดนี้
และผมเชื่อว่าวงการห้องสมุดของเรายังต้องพัฒนาต่อไปอีก ในอนาคตเป็นแน่

ที่มาของข้อมูล เอกสารประกอบการอภิปรายเรื่อง ?บริการห้องสมุดสุดขอบฟ้า? จัดโดย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย? ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี? ณ ห้องประชุม โรงแรมเดอะทวิน ทาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร วันที่ 17 พฤศจิกายน 2547 เวลา 8.30-10.45 น.

เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล เกิดในสมัยไหน
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีที่มาอย่างไร
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล ใครเป็นคนคิดค้น
เพื่อนๆ รู้หรือปล่าวว่าห้องสมุดดิจิทัล มีแนวคิดอย่างไร

เคาน์เตอร์บรรณารักษ์ในห้องสมุดที่ทำจากหนังสือ

วันนี้เจอภาพการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ห้องสมุดที่น่าสนใจมากๆ เลยไม่พลาดที่จะเอามาอวด
เฟอร์นิเจอร์ที่จะเขียนถึงนี้เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ใกล้ตัวบรรณารักษ์ นั่นคือ “เคาน์เตอร์บรรณารักษ์” นั่นเอง

เคาน์เตอร์บรรณารักษ์ที่เพื่อนๆ มักคุ้นตาก็มักจะเป็นเคาน์เตอร์ที่เป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ใช่มั้ยครับ
บางที่อาจจะเป็นโครงเหล็กและปะด้วยไม้ หรือบางที่ก็นำโต๊ะทำงานออฟฟิตมาเป็นเคาน์เตอร์

ครั้งแรกที่ผมได้เห็นภาพนี้ ถึงกับอึ้งไปชั่วขณะเลยครับ
นั่นมันหนังสือนี่หน่า เอาหนังสือมาวางเรียงๆ กันแล้วเอาแผ่นกระจกวางไว้ข้างบนนี่
ผมว่ามันเป็นการออกแบบที่บ้าคลั่งมากๆ ครับ

แต่พอพิจารณาจากแนวความคิดของผู้ออกแบบแล้ว เหตุผลก็ฟังดูเข้าท่าเหมือนกัน
คือ นำหนังสือเก่าหรือหนังสือที่ไม่ได้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้มาวางเรียงๆ กัน
โดยให้เท่ากับความสูงที่บรรณารักษืจะสามารถนั่งให้บริการได้สบายๆ
จากนั้นก็วางแผ่นกระจกสักนิดเพื่อให้สามารถเป็นพื้นที่ในการเขียนหรือทำงานอย่างอื่นๆ ได้

เอาเป็นว่าเอาของที่ไม่ได้ใช้มาทำให้เกิดประโยชน์แบบนี้แหละ “รีไซเคิล”

ถามว่าสวยมั้ย ผมว่าก็ถือว่าใช้ได้เลยทีเดียว ดูคลาสสิคไปอีกแบบนะ
เพื่อนๆ ชอบกันบ้างหรือปล่าว (แต่ผมว่าคนที่รักหนังสือคงไม่เห็นด้วยแน่ๆ เลย)

ปล. จริงๆ หรือการนำหนังสือมารีไซเคิลทำนู้นนี่ยังมีตัวอย่างอีกเยอะนะครับ
เช่น ช่องระบายลมที่ทำจากหนังสือ (หลายหมื่นเล่มเลยแหละ)
http://inhabitat.com/2010/08/05/mind-blowing-building-built-from-thousands-of-books/

ตัวอย่างอีกที่คือห้องที่ทำจากหนังสือ
http://inhabitat.com/2010/02/24/book-cell-an-octagonal-building-made-entirely-from-books/

เอาหนังสือเก่าๆ มาแต่งสวนก็เข้าท่านะ
http://inhabitat.com/2010/08/17/living-garden-of-knowledge-made-from-40000-books/

เคาน์เตอร์นี้อยู่ที่ Delft University of Technology
http://inhabitat.com/2010/09/13/tu-delft-architecture-library-opens-with-desk-of-recycled-books/

ที่มาของเรื่องนี้ http://www.recyclart.org/2010/09/library-information-desk/
ต่อยอดองค์ความรู้เรื่องนี้จาก http://inhabitat.com/2010/09/13/tu-delft-architecture-library-opens-with-desk-of-recycled-books/

ห้องสมุด TCDC รับสมัครพนักงานหลายตำแหน่ง

Libraryhub ช่วยหางานมาอีกแล้วครับ วันนี้มีตำแหน่งงานจาก TCDC มาฝาก
ใครที่กำลังหางานอยู่ก็เข้ามาเยี่ยมชมกันได้นะครับ แล้วก็รีบไปสมัครได้เลย

tcdc

งานที่ TCDC ประกาศรับสมัครอยู่จริงๆ แล้วมี 5 ตำแหน่งใหญ่ๆ
แต่ที่เกี่ยวกับเอกบรรณารักษ์เห็นจะมีอยู่แค่ 3 ตำแหน่งเอง ก็เลยเอามาให้ชมแค่ 3 ตำแหน่งแล้วกันนะครับ
ทุกตำแหน่งเป็นสัญญาจ่ายเป็นแบบรายปีนะครับ แต่ก็เอาเถอะครับทำงานเก็บประสบการณ์ไปเรื่อยๆ ก็ดีเหมือนกัน
เรื่องเงินเดือนในเว็บไม่ได้บอกเอาไว้นะครับ

ตำแหน่งงานทั้ง 3 คือ
1 เจ้าหน้าที่บริการข้อมูล จำนวน 2 อัตรา
2 เจ้าหน้าที่บริการสื่อประสม จำนวน 1 อัตรา
3 เจ้าหน้าที่จัดชั้นหนังสือ จำนวน 2 อัตรา

คุณสมบัติโดยรวมของทั้งสามตำแหน่ง คือ
1. จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (สาขาบรรณารักษศาสตร์จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ) (2 ตำแหน่งแรก)
2. สามารถทำงานเป็นกะได้ (9:30 ? 17:30 / 13:00 ? 21:00) ตั้งแต่วันอังคารถึงวันอาทิตย์
3. บุคลิกภาพดี มีมนุษยสัมพันธ์ดี
4. มีใจรักงานบริการ
5. มีความกระตือรือร้นในการทำงาน ใฝ่เรียนรู้แบบสร้างสรรค์
6. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
7. มีทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
8. สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานได้

ปล. เจ้าหน้าที่จัดชั้นหนังสือ ขอวุฒิจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

หน้าที่ของแต่ละตำแหน่งมีดังนี้
1. เจ้าหน้าที่บริการข้อมูล

– บริการให้ข้อมูลสมาชิก บริการของห้องสมุด และข้อมูลองค์กรแก่ผู้สนใจทั่วไป
– บริการให้คำแนะนำในการสมัครสมาชิกแก่ผู้สนใจทั่วไปและแบบกลุ่ม
– บริการแลกบัตรผู้ใช้บริการแบบ One Day Pass และ 10 Day Pass
– บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าแก่สมาชิกและผู้สนใจ
– จัดทำรายงานสถิติการสมัครสมาชิก / การเข้าใช้บริการของสมาชิกแต่ละประเภท


2. เจ้าหน้าที่บริการสื่อประสม

– บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าแก่ผู้ใช้ด้านงานสื่อมัลติมีเดีย
– บริการยืม-คืนสื่อมัลติมีเดีย เครื่องมือส่งเสริมการอ่าน รวมทั้ง หนังสือและวัสดุลักษณะพิเศษ
– บริการรับจองห้องอ่านหนังสือและห้องชมภาพยนตร์
– บริการถ่ายเอกสารและสแกนภาพ
– ดูแลเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีบริการในห้องสมุด

3. เจ้าหน้าที่จัดชั้นหนังสือ
– ดูแลความเรียบร้อยของชั้นหนังสือและชั้นวารสาร
– เก็บสถิติการใช้งานจากหนังสือและวารสารที่มีการใช้บริการแล้ว
– นำหนังสือและวารสารขึ้นชั้นให้ถูกต้องตามระบบการจัดหมวดหมู่ของห้องสมุด
– บริการถ่ายเอกสารและสแกนภาพ

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ติดต่อไปที่ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเรียม ช็อปปิ้ง คอมเพล็กซ์ 622 สุขุมวิท 24 กรุงเทพฯ 10110
โทร. (66) 2 664 8448 แฟ็กซ์. (66) 2 664 8499 อีเมล์ library@tcdc.or.th

รีบหน่อยนะ เดี๋ยวตำแหน่งจะเต็มซะก่อน อิอิ

หากเปรียบห้องสมุดเป็นร่างกายมนุษย์…

หากเปรียบห้องสมุดเป็นร่างกายมนุษย์ บรรณารักษ์แต่ละส่วนงานจะได้ทำงานในอวัยวะชิ้นไหน
เจอคำถามนี้ถึงกับอึ้งเล็กน้อย แต่มีคนเคยนำมาเขียนจริงๆ ครับ
โดยบทความชื่อว่า “How a Library Works” โดย Jeff Scott

da_vinciman

บทความนี้ได้เปรียบเทียบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายมนุษย์
กับการทำงานด้านต่างๆ ภายในห้องสมุด เช่น งานบริหาร, งานเทคนิค?.

Management : The brain
งานบริหาร ? สมอง, เป็นงานที่คอยดูแลและวางแผนในการทำงานต่างๆ รวมถึงตัดสินใจว่าสิ่งไหนควรทำ หรือสิ่งไหนไม่ควรทำ และในงานบริหารหรืองานจัดการส่วนใหญ่ต้องใช้ความคิดดังนั้น จึงเปรียบการบริหารให้เป็น ?สมอง? ของมนุษย์

Collection Development : The eyes
งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ? ตา, เป็นงานที่คอยจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสมเข้าห้องสมุด ดังนั้นงานนี้จึงต้องอาศัยการหาแหล่ง การคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศเป็นหลัก ถ้าคัดเลือกสื่อไม่ดีเข้าห้องสมุด ห้องสมุดก็จะมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีไม่ด้วย ดังนั้นงานนี้จึ้เปรียบได้กับ ?ตา? ของมนุษย์

Reference : The mouth
งานบริการตอบคำถามและอ้างอิง ? ปาก, เป็นงานที่ต้องพูดสื่อสารกับผู้ใช้ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ และบริการส่วนนี้มักจะมีผู้เข้าใช้บริการอยู่พอสมควรในการสอบถามปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับห้องสมุด หรือปัญหาเกี่ยวกับสารสนเทศ ดังนั้นจึงเปรียบงานตอบคำถามให้เป็น ?ปาก? ของมนุษย์

Circulation : The heart
งานบริการยืมคืน ? หัวใจ, งานบริการที่สำคัญที่สุดของห้องสมุด นั่นก็คืองานบริการยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศ เพราะเป็นงานที่จะต้องพบปะกับผู้ใช้ตรงๆ รวมถึงแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงงานบริการจำเป็นจะต้องบริการด้วยใจอย่างที่ผมเคยพูดหลายๆ ครั้ง ดังนั้นหากเทียบอวัยวะที่สำคัญสุด ก็คงหนีไม่พ้น ?หัวใจ? ของมนุษย์

Technical Services : The digestion system
งานเทคนิค ? ระบบย่อยอาหาร, งานเทคนิคที่กล่าวนี้ รวมถึงงานวิเคราะห์ งานซ่อมแซมหนังสือ และอื่นๆ ด้านเทคนิคครับ ถ้าเปรียบสารสนเทศเป็นอาหาร เมื่อปากเราได้กินอาหารเข้ามาก็ต้องผ่านกระบวนการมากมายกว่าที่อาหารเหล่า นั้นจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย เช่นเดียวกัน เมื่อหนังสือเข้าาที่ห้องสมุดต้องผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น จัดหมวดหมู่ ให้หัวเรื่อง และอื่นๆ กว่าหนังสือจะขึ้นชั้นให้บริการ ดังนั้นระบบที่ซับซ้อนเช่นนี้จึงเปรียบได้กับ ?ระบบย่อยอาหาร? นั่นเอง

Programming : The muscles
งานด้านโปรแกรมห้องสมุด ? กล้ามเนื้อ, งานโปรแกรมของห้องสมุดได้แทรกอยู่ทุกงานของห้องสมุดโดยไม่แบ่งแยก และทำงานกันอย่างสอดคล้องกัน ดังนั้นจึงคล้ายการทำงานของ ?กล้ามเนื้อ? ของมนุษย์

ดังนั้นส่วนประกอบต่างๆ ของ อวัยวะมนุษย์ จะมีการทำงานอย่างสอดคล้องกัน
ซึ่งแน่นอนครับว่า ต้องเหมือนกับห้องสมุดที่ทุกฝ่ายต้องทำร่วมกัน
เพื่อให้ได้สุขภาพที่ดี ? ห้องสมุดที่สมบูรณ์
เป็นยังไงกันบ้างครับ นี่แหละร่างกายมนุษย์ กับ ห้องสมุด

แนวคิดเรื่องการบริการให้ยืม IPOD Touch ในห้องสมุดประชาชน

หลังจากที่ผมยุ่งๆ กับเรื่องการเปิดศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีมาหลายวัน
พอศูนย์ความรู้กินได้เปิดแล้ว งานที่ต้องทำต่อคือการคิดนโยบายและเติมบริการใหม่ๆ เข้าห้องสมุด
วันนี้ผมจึงขอแนะนำบริการสักหนึ่งบริการใหม่ๆ ให้เพื่อนๆ รู้จัก

ipodtouch-in-library

บริการที่ว่านั่น คือ การให้บริการยืม IPOD Touch เพื่อใช้ภายในห้องสมุดประชาชนนั่นเอง
หลายๆ คนคงงงว่าทำไมต้องให้ยืมใช้ IPOD Touch และ IPOD Touch มีประโยชน์อะไร
ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ผมจะต้องอธิบายให้เพื่อนๆ ฟังนั่นเอง

ห้องสมุดนำ IPOD Touch มาใช้เพื่ออะไร
1. จัดเก็บไฟล์เสียงและวีดีโอที่ห้องสมุดได้จัดงานอบรมและสัมมนาต่างๆ
2. จัดเก็บไฟล์ภาพสวยงามของห้องสมุดและสถานที่ที่น่าสนใจในจังหวัด (ภาพเก่าๆ ที่หาดูได้ยาก)
3. จัดเก็บโปรแกรมที่ช่วยในการเรียนรู้ต่างๆ เช่น ข้อสอบ TOEFL, TOEIC ฯลฯ
4. จัดเก็บโปรแกรมแปลภาษา เช่น ไทย-อังกฤษ, อังกฤษ-ไทย, ภาษาอื่นๆ
5. จัดเก็บ E-book ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์
6. ฝึกทักษะการใช้งานอุปกรณืและเครื่องมือใหม่ๆ ในโลกปัจจุบัน

และต่างๆ อีกมากมายที่ห้องสมุดจะนำไปใช้งาน

เป็นยังไงกันบ้างครับ นี่คือห้องสมุดประชาชนในรูปโฉมใหม่ จริงๆ ใช่มั้ยครับ

เอาหล่ะครับ เมื่อพูดถึงเรื่องประโยชน์ของ IPOD Touch แล้ว
คราวนี้ผมขอเหล่าถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วยนะครับ

ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
– ความเสียหาย = หากผู้ใช้บริการนำ IPOD Touch ไปใช้แบบไม่ระวังอาจทำให้เกิดความเสียหาย
– สูญหาย = IPOD Touch มีราคาที่แพง ผู้ใช้บริการบางคนอาจจะไม่หวังดี
– ผู้ใช้ใช้ไม่เป็น = ผู้ใช้บริการห้องสมุดประชาชนส่วนหนึ่ง (จำนวนมาก) ไม่มีทักษะในการใช้สิ่งของด้านไอที

ซึ่งจากความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ทำให้ต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าของการลงทุนด้วยนะครับ

การลงทุนเพื่อซื้อ? IPOD Touch มาให้บริการในห้องสมุด
เพื่อนๆ ต้องสำรวจราคากลางของเครื่อง IPOD Touch ซะก่อน
ซึ่งราคากลางของเครื่อง IPOD Touch จะอยู่ที่ 7400 บาท
หลังจากนั้น เพื่อนๆ ก็คงต้องพิจารณาเอานะครับว่าจะเลือกนำมาใช้หรือไม่

แนวทางในการให้บริการ IPOD Touch ในห้องสมุดประชาชน
– ให้ผู้ใช้บริการแลกบัตรประชาชนเอาไว้
– ใช้ในพื้นที่ที่จัดให้ (ซึ่งบรรณารักษ์ต้องมองเห็นตลอดเวลา)
– ตรวจสอบเครื่อง IPOD Touch ก่อนและหลังให้บริการ
– กำหนดเวลาในการให้บริการ เช่น คนละ 1-2 ชั่วโมง
– จัดตารางคิวการใช้งานเพื่อไม่ให้มีการถือครองโดยคนๆ เดียว
– มั่นอัพเดทโปรแกรมที่ใช้ในเครื่อง IPOD Touch

ฯลฯ อีกมากมายซึ่งแล้วแต่เพื่อนๆ จะจัดการนะครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับกับเรื่องบริการแนวใหม่ๆ ในห้องสมุดประชาชน
หวังว่าเพื่อนๆ จะได้นำความคิดไปพิจารณากันดูนะครับ

ไอเดียในการจัดป้ายนิเทศในห้องสมุด

เรื่องเก่าเล่าใหม่ที่จะเขียนถึงในวันนี้ คือ เรื่องการจัดป้ายนิเทศในห้องสมุด
สืบเนื่องจากมีเพื่อนๆ ส่งเมล์มาขอกันมากมาย ผมจึงขอหยิบเรื่องนี้มาตอบ
พร้อมกับเปิดรับไอเดียเก๋ๆ ในการจัดป้ายนิเทศในห้องสมุดของเพื่อนๆ กัน

board-library

ก่อนที่เราจะจัดป้ายนิเทศเราจะต้องพิจารณาในหัวข้อต่างๆ
เช่น วัตถุประสงค์ของการจัด, กลุ่มเป้าหมายที่เข้าชม, สถานที่ที่ใช้แสดงป้ายนิเทศ

ขั้นตอนในการจัดป้ายนิเทศ
1. เลือกเรื่องที่จะจัดแสดงให้ได้ โดยทั่วไปแล้วควรในป้ายนิเทศ 1 ป้ายควรมีเรื่องเดียว
2. หาข้อมูลของเรื่องๆ นั้น พร้อมรูปภาพ และอุปกรณ์ตกแต่ง
3. ลองนำมาร่างดูในกระดาษก่อนจะจัดจริง เพื่อช่วยให้วางรูปแบบได้ง่ายขึ้น
4. ลงมือจัดกันได้เลย

ภาพรูปแบบการวางป้ายนิเทศด้วยครับ น่าสนใจดี เช่น

poster1

สำหรับเรื่องเทคนิคการจัด หรือความรู้สำหรับการจัดลองดูที่เว็บไซต์ต่อไปนี้นะครับ

http://banktechno7.blogspot.com/2008/01/blog-post_29.html

http://hnung6.blogspot.com/ *** แนะนำครับ เพราะว่าทำให้เห็นภาพดี ***

หลังจากเขียนเรื่องนี้เสร็จ ก็ได้มีเพื่อนๆ เสนอไอเดียเข้ามามากมาย เช่น
– คุณ pp กล่าวว่า “ป้ายจะสวยหรือใช้คำสละสลวยหรือเปล่าไม่สำคัญ ที่สำคัญคือเขาได้อ่านและได้สาระกลับไป”
– คุณ nana ให้ตัวอย่างภาพการจัดป้ายนิทรรศการแบบเก๋ๆ ให้เราได้ชม สามารถดูได้จาก http://gotoknow.org/file/nareejuti/view/139530 , http://gotoknow.org/file/nareejuti/IMG0188A.jpg

เป็นยังไงบ้างครับ ข้อมูลเพียงพอสำหรับการจัดป้ายนิเทศแล้วหรือยัง
ยังไงพอจัดเสร็จส่งรูปมาให้ดูบ้างนะครับ บรรณารักษ์ สู้ๆ ครับ