ไอเดียจากงานสัมมนา เทคโนโลยีสมัยใหม่ในพิพิธภัณฑ์ดิจิทัล

วันนี้มีโอกาสมาเดินเล่นหลังเลิกงานแถวๆ สยาม แบบว่าเดินไปเรื่อยๆ จนถึงหอศิลป์ ก็เลยเดินเข้ามา พบงานสัมมนาหนึ่งจะจัดในช่วงเย็น ซึ่งหัวข้อของงานสัมมนานั้นคือ “New Technologies in the 21st Century Museum” เห็นแว่บแรกก็สนใจทันที ก็เลยสอบถามคนที่รับลงทะเบียนหน้างานว่าเข้าร่วมได้หรือไม่ เขาบอกว่าแค่ลงทะเบียนแล้วเดินเข้าไปได้เลย ก็เลยเข้ามาลองฟังดูเผื่อได้ไอเดียมาใช้ในงานห้องสมุด วิทยากรหลักในงานนี้มาจากต่างประเทศ ดร.โจแอนน์ ฮิปโปลิต (ภัณฑารักษ์ประจำ National Museum of African American History and Culture) คุณชวิน สระบัว ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ Google Street View ประเทศไทย

สัมมนา “ความท้าทายของวิชาชีพบรรณารักษ์และนักสารสนเทศ”

วันนี้ผมมีข่าวมาประชาสัมพันธ์เชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมงานสัมมนาครับ สัมมนานี้เป็น “งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561” ของชมรมห้องสมุดเฉพาะ (ชพ.) สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ

งานสัมมนามิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด

ปลายเดือนนี้มีงานสัมมนางานหนึ่งที่ผมว่าน่าสนใจมากๆ นั่นคือ “การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29” นั่นเอง ซึ่งธีมที่จะพูดในปีนี้ คือ เรื่องมิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด มาลองอ่านระอียดของงานนี้กัน รายละเอียดงานสัมมนาเบื้องต้น ชื่องาน : การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 29 ธีมงาน : มิติใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุด สถานที่จัดงาน : ห้องประชุม ชั้น 5 อาคารเรียนรวม 5 ชั้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง วันที่จัด : วันที่ 29 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2556 จัดโดย : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดในปีที่ผ่านมา เริ่มเห็นชัดขึ้นมาก (เริ่มเห็นก็ตอนหลังน้ำท่วมใหญ่นี่แหละ) ความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมีหลายลักษณะ เช่น ความร่วมมือในการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ความร่วมมือในการรวมกลุ่มกันบอกรับฐานข้อมูล ความร่วมมือในการพัฒนาโปรแกรมห้องสมุด หรือแม้แต่ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน เอาเป็นว่าหัวข้อนี้ก็เป็นหัวข้อหนึ่งที่เป็นเรื่องที่ควรนำมาพูดกันอย่างจริงจังบ้าง คนนอกวงการจะได้รู้สักทีว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ห้องสมุดรวมกลุ่มกันมันคือเรื่องใหญ่ หัวข้อที่น่าสนใจของงานนี้ – Library Consortium Management – การพัฒนาคลังสารสนเทศขนาดใหญ่โดยใช้ DSpace รองรับการให้บริการหลากหลาย Platform (Windows, iPad, Android) – การใช้ระบบสืบค้น Google Search Appliance กับงานห้องสมุด – การพัฒนาคลังสารสนเทศศิลปวัฒนธรรมและข้อมูลท้องถิ่นของห้องสมุดและข่ายความร่วมมือเพื่อรองรับประชาคมอาเชียน – What we learn from EU, their Libraries Cooperation, and Repositories – Virtual Newspaper in…

ประเด็นพูดคุยในงาน บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554 : เรื่องเล่าจากห้องสมุด

อย่างที่เกริ่นไว้เมื่อวันก่อนว่า ผมได้รับเชิญเป็นผู้ดำเนินรายการของงานเสวนาครั้งนี้ (งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด ณ ธรรมศาสตร์) ดังนั้นเรื่องราวต่างๆ จากการเสวนา ผมจะขอสรุปลงมาให้เพื่อนๆ อ่านเพื่อเป็นไอเดียและเล่าสู่กันฟังในเรื่องปัญหาน้ำท่วมกับห้องสมุด หัวข้ออย่างเป็นทางการ คือ “บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554 : เรื่องเล่าจากห้องสมุด” ซึ่งถูกเล่าโดย :- – นางศรีจันทร์ จันทร์ชีวะ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ – ดร.อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ – ดร.มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้ดำเนินรายการ : นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ นักพัฒนาระบบห้องสมุด โครงการศูนย์ความรู้กินได้ และเจ้าของบล็อก Libraryhub แค่เห็นชื่อและตำแหน่งของผู้ถ่ายทอดเรื่องราวแล้ว ผมขอบอกเลยครับว่าการเสวนาครั้งนี้สนุกแน่ๆ เพราะเราจะได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างห้องสมุดที่อยู่ในเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปลายปีที่แล้วกัน การเสวนาครั้งนี้ผมได้ลองตั้งคำถามคร่าวๆ เพื่อถามห้องสมุดทั้งสาม ดังนี้ 1. คำถามที่เกี่ยวกับการเตรียมตัวก่อนน้ำมาถึง : – ข่าวเรื่องน้ำท่วมในช่วงปลายปี 2554 มีให้เห็นแทบจะทุกช่องทางไม่ว่าจะเป็น วิทยุ โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต รวมไปถึงประกาศหรือแถลงการณ์จากรัฐบาลอยู่ตลอด สำนักหอสมุดได้รับรู้ข่าวเหล่านี้และติดตามข่าวบ้างหรือไม่ และใส่ใจกับข่าวเหล่านี้หรือไม่ อย่างไร – เมื่อได้รับข่าวสารและรับรู้ว่าน้ำจะมาถึง ห้องสมุดมีการเตรียมตัวอย่างไร – ในช่วงการเตรียมตัวรับน้ำท่วม ใครมีบทบาทต่อเรื่องนี้มากที่สุด ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ประชาชน 2. คำถามที่เกี่ยวกับช่วงน้ำท่วม – เมื่อน้ำมาถึงแล้ว หอสมุดได้รับผลกระทบอะไรบ้าง เสียหายด้านไหนบ้าง แล้วแก้ไขอย่างไรในเบื้องต้น – บุคลากรของสำนักหอสมุดทำงานกันอย่างไรในช่วงน้ำท่วม และได้รับความช่วยเหลือบ้างหรือไม่ – น้ำท่วมนานแค่ไหน ต้องหยุดให้บริการนานแค่ไหน (รวมตั้งแต่น้ำมาจนน้ำลดและเปิดให้บริการ) – มีช่องทางอื่นในการให้บริการห้องสมุดหรือไม่ 3. คำถามที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูห้องสมุดหลังน้ำท่วม – สำรวจความเสียหายดูแล้วเป็นอย่างไรบ้าง…

งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด ณ ธรรมศาสตร์

ไม่ได้อัพเดทกิจกรรมห้องสมุดมานาน วันนี้ขอแนะนำกิจกรรมห้องสมุดที่ผมเข้าร่วมสักหน่อย กิจกรรมนี้จะเกิดขึ้นในวันอังคารที่จะถึงนี้ (7 กุมภาพันธ์ 2555) ชื่อกิจกรรม “งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด” รายละเอียดทั่วไปเกี่ยวกับกิจกรรมนี้ ชื่อกิจกรรม : งานเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องสมุด วันที่จัดงาน : 7 กุมภาพันธ์ 2555 สถานที่จัดงาน : ห้องเรวัต พุทธินันท์ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ ชั้นใต้ดิน ๒ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ค่าใช้จ่าย : ฟรี รับจำนวน 70 คน กิจกรรมนี้ผมได้รับเชิญเพื่อมาเป็นผู้ดำเนินรายการ (ได้พลิกบทบาทจากวิทยากรเป็นผู้ดำเนินรายการครั้งแรก) ช่วงแรกๆ ก็ลังเลว่าจะตอบรับดีมั้ย แต่พอได้ยินหัวข้อเท่านั้นแหละ ต้องตอบตกลงทันที เพราะผมเองก็สนใจเรื่องนี้อยู่เช่นกัน “บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554 กับห้องสมุด” หลังจากจบการเสวนาครั้งนี้ผมคงได้เขียนเรื่องนี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวสักที หัวข้อที่เป็น Hilight ของกิจกรรมนี้ คือ – เล่าสู่กันฟัง: ประสบการณ์ในหน้าที่ Subject Liaison โดย Mr. Larry Ashmun – บทเรียนจากมหาอุทกภัย 2554 : เรื่องเล่าจากห้องสมุด โดย ผอ.ห้องสมุดจาก ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ รังสิต ณ วันที่ผมลงข้อมูลในบล็อก ตอนนี้ปิดรับผู้ลงทะเบียนแล้วนะครับ เนื่องจากเต็มแล้ว (70คน) เอาเป็นว่าผมจะสรุปเรื่องราวในวันนั้นมาลงให้อ่านแล้วกันครับ รายละเอียดของกิจกรรมครั้งนี้อ่านได้จากเว็บไซต์ http://library.tu.ac.th/announcement/km/ นะครับ

สรุปงาน BBL Mini Expo 2010

วันนี้มีโอกาสมางาน BBL Mini Expo 2010 จึงอยากนำข้อมูลมาลงให้เพื่อนๆ ได้ติดตาม หลายๆ คนคงงงว่า BBL คืออะไร BBL ย่อมาจาก Brain based Learning หรือภาษาไทยเรียกว่า “การจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง” นั่นเอง งานนี้เป็นงานที่เกี่ยวกับวงการศึกษาในช่วงชั้นระดับปฐมวัย และระดับประถมศึกษา งานนี้จัดในวันที่ 18-19 ตุลาคม 2553 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท ภายในงานนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนของการสัมมนาและส่วนของนิทรรศการ ส่วนของการสัมมนา คือ ส่วนที่มีการเชิญวิทยากรจากที่ต่างๆ มานำเสนอข้อมูลงานวิจัย รวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมองจากสาขาวิชาต่างๆ ที่จัดในปัจจุบัน เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในส่วนของสัมมนามีการแบ่งออกเป็น 2 ห้องสำหรับช่วงชั้นระดับปฐมวัย และระดับประถมศึกษา แยกกันชัดเจนเพื่อให้ผู้เข้าฟังได้รับประโยชน์ในการเรียนรู้สูงสุด ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้ ระดับปฐมวัย – การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการสมองของเด็กวัย 0-3 ปี – การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการสมองของเด็กวัย 3-6 ปี ระดับประถมศึกษา – การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดสัมฤทธิผลทางการเรียนตามหลัก BBL ในวิชาภาษาไทย – การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดสัมฤทธิผลทางการเรียนตามหลัก BBL ในวิชาภาษาอังกฤษ – การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดสัมฤทธิผลทางการเรียนตามหลัก BBL ในวิชาวิทยาศาสตร์ ส่วนของนิทรรศการ คือ ส่วนที่นำความรู้มาจัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการ ซึ่งโรงเรียนหลายๆ ที่นำกรณีศึกษาจากกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนมานำเสนอ ซึ่งผมว่าน่าสนใจมากๆ เนื่องจากห้องสมุดก็สามารถนำกรณีตัวอย่างแบบนี้ไปใช้ได้ด้วย เช่นเดียวกันการจัดนิทรรศการก็แบ่งออกเป็น 2 ส่วนสำหรับช่วงชั้นระดับปฐมวัย และระดับประถมศึกษา ตัวอย่างนิทรรศการที่น่าสนใจในงานนี้ ระดับปฐมวัย – สำเนียงเสียงสัตว์ นำเสนอโดยโรงเรียนบ้านเจ้าทุ่ง จ.ศรีสะเกษ…

เล่าเรื่องเก่าๆ ในงาน Thinkcamp#1

หลังจากเมื่อวันเสาร์ที่ผมไปร่วมงาน Thinkcamp#2 ก็มีคนถามมากมายว่าคืองานอะไร แล้วงาน Thinkcamp#1 ผมได้ไปหรือปล่าว ผมเลยขอเอาเรื่องที่ผมเคยเขียนถึง Thinkcamp#1 มาลงให้อ่านอีกสักรอบแล้วกัน ข้อมูลเบื้องต้นของงานนี้ ชื่องาน THINK camp 2009 ชื่อเต็ม THai INtegrated Knowledge camp วันที่จัดงาน วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 10.00 น. ? 17.15 น. สถานที่ ห้อง 702, 703 และ 704 ชั้น 7 อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานนี้เป็นงานอะไร แนวไหนอ่ะ (ผมขออนุญาตินำข้อความจากเว็บไซต์ THINK camp มาลงเลยนะครับ) THINK camp คือ งานสัมมนาในลักษณะที่เรียกว่า Unconferenced Pecha Kucha กล่าวคือ การผสมผสานระหว่าง BarCamp กับ Pecha Kucha night โดยผู้ต้องการร่วมงานทุกคนจะมีสิทธิ์เสนอหัวข้ออะไรก็ได้เกี่ยวกับเว็บไซต์ ของคนไทยคนละหนึ่งเรื่องก่อนวันงาน ซึ่งหากต้องการใช้ Slide presentation ประกอบ ก็จะต้องส่งมาล่วงหน้า โดยมีจำนวนจำกัดไม่เกิน 10 แผ่นเท่านั้น งานสัมมนาในครั้งนี้มีรูปแบบการนำเสนอไม่เหมือนใคร นั่นคือ ผู้ที่จะมานำเสนอจะต้องเตรียม slide มา 1 slide ซึ่งภายใน slide จะต้องไม่เกิน 10 หน้าเท่านั้น และที่สำคัญกว่านั้นคือ 1 หน้าจะถูกเปลี่ยนอัตโนมัติทุกๆ 1 นาที สรุปง่ายๆ ว่า แต่ละคนจะมีโอกาสพูดเพียงแค่…

เก็บตกค่ายความคิด 2 – Thinkcamp#2

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน “ค่ายความคิด 2” หรือที่เรียกว่า “Thinkcamp2” ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของการไปงาน ดังนั้นผมก็ต้องเล่าสู่กันฟังสักหน่อย เริ่มจากข้อมูลทั่วไปของงานนี้ ชื่องานภาษาไทย : ค่ายความคิด 2 ชื่องานภาษาอังกฤษ : Thinkcamp2 วันที่จัดงาน : 14 พฤศจิกายน 2552 สถานที่จัดงาน : มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท อาคาร SM Tower ชั้น 20 ก่อนเข้าสู่การบรรยายก็ต้องมีการเปิดงานก่อน ซึ่งผู้ที่มาพูดในช่วงเปิดงานก็ต้องทำตามกติกาของงานนี้เช่นกัน คือ 10 สไลด์ 10 นาที ผู้พูด คือ @Aerodust ซึ่งหลักๆ ก็ได้มาแนะนำงาน Thinkcamp และConcept ของงานครั้งนี้ เอาหล่ะครับ เข้าเรื่องหลักของงานนี้เลยดีกว่า นั่นก็คือ หัวข้อของแต่ละคน หัวข้อที่พูดในงานทั้งหมด มี 24 หัวข้อ แบ่งออกเป็น 2 ห้องๆ ละ 12 หัวข้อนะครับ หัวข้อที่ผมได้เข้าฟังมีดังนี้ – “9 ประสบการณ์แปลก จากการเป็น เว็บมาสเตอร์ Dek-D.com” โดย @ponddekd – “WTF Library website in Thailand” โดย @ylibraryhub – “imyourcard นามบัตรออนไลน์ ที่จะทำให้คุณลืมนามบัตรกระดาษไปตลอดกาล” โดย @thangman22 – “เว็บไซต์บันเทิง สร้างยังไงให้บันเทิง” โดย @patsonic – “2553:ไทย.ไทย” โดย @pensri…