ไอเดียจากงานสัมมนา เทคโนโลยีสมัยใหม่ในพิพิธภัณฑ์ดิจิทัล

Credit Photo : https://www.dezeen.com

วันนี้มีโอกาสมาเดินเล่นหลังเลิกงานแถวๆ สยาม แบบว่าเดินไปเรื่อยๆ จนถึงหอศิลป์ ก็เลยเดินเข้ามา พบงานสัมมนาหนึ่งจะจัดในช่วงเย็น ซึ่งหัวข้อของงานสัมมนานั้นคือ “New Technologies in the 21st Century Museum” เห็นแว่บแรกก็สนใจทันที ก็เลยสอบถามคนที่รับลงทะเบียนหน้างานว่าเข้าร่วมได้หรือไม่ เขาบอกว่าแค่ลงทะเบียนแล้วเดินเข้าไปได้เลย ก็เลยเข้ามาลองฟังดูเผื่อได้ไอเดียมาใช้ในงานห้องสมุด

วิทยากรหลักในงานนี้มาจากต่างประเทศ
ดร.โจแอนน์ ฮิปโปลิต (ภัณฑารักษ์ประจำ National Museum of African American History and Culture)
คุณชวิน สระบัว ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ Google Street View ประเทศไทย

Hilight ที่ได้จากงานนี้

1) ก่อนฟังสัมมนาเขาให้ดาวน์โหลดแอพ “National Museum of African American History and Culture” และ “Google Arts and Culture” (เผื่อที่จะใช้ประกอบการบรรยาย) นอกจากนี้ยังได้เล่น VR ของ National Museum of African American History and Culture 


Session ของ ดร.โจแอนน์ ฮิปโปลิต

2) National Museum of African American History and Culture ถือเป็น พิพิธภัณฑ์ “ดิจิทัล” แห่งแรกของสถาบันสมิธโซเนียน ซึ่งตัวเธอเองเป็นเพียงภัณฑารักษ์ที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการนำชม ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี

Credit Photo : https://www.dezeen.com

3) ทำไมต้องทำให้เป็น พิพิธภัณฑ์ “ดิจิทัล” —> เพื่อตอบโจทย์กลยุทธ์ขององค์กร (สถาบันสมิธโซเนียน) ทำให้คนเข้าถึงพิพิธภัณฑ์ผ่านช่องทางดิจิทัล 1,000 ล้านคนต่อปี

4) ภารกิจหลักของงาน พิพิธภัณฑ์ “ดิจิทัล” คือ การใช้ประโยชน์จากข้อมูลและเทคโนโลยี พื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้เข้าชมให้มีความแปลกใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน และผลักดันให้เกิดความร่วมมือกัน (ทั้งนี้มี keyword ที่น่าสนใจ 3 คำ คือ Visitor Experience, Operational Effiency, Employee Engagement)

5) เงื่อนไขที่จะทำให้งานนี้สำเร็จ คือ
– การวางกลยุทธ์ของการใช้เทคโนโลยีให้สอดคล้องกับการดำเนินงาน
– ทำให้ผู้เข้าชมสามารถเข้าถึงได้จากที่ไหนก็ได้
– ยกระดับการให้บริการและเพิ่มการสนับสนุน
– ทำให้สอดคล้องกับการพัฒนาคนในศตวรรษที่ 21

จากการฟัง ดร.โจแอนน์ ฮิปโปลิต บรรยาย ทำให้เราทราบว่าการทำงานเป็นภัณฑารักษ์ในพิพิธภัณฑ์บางมุมมองของการทำงานเข้าก็อ้างอิงเรื่องมาตรฐานหรือการเข้าถึงการเรียนรู้ตามหลักของห้องสมุดอยู่ดี (สังเกตว่าเขาพยายามอ้างอิง ALA หรือสมาคมห้องสมุดอเมริกาอยู่ตลอดการบรรยาย)

ตัวอย่างที่น่าสนใจของการนำเทคโนโลยีมาใช้ ใน National Museum of African American History and Culture เช่น


Session ของ คุณชวิน สระบัว

6) คุณชวินมาแนะนำผลงานของ Google ชิ้นหนึ่ง นั่นคือ Google Arts and Culture ซึ่งเป็น Platform ของ Google ในการนำเสนอผลงานศิลปะและวัฒนธรรมของโลก ซึ่งเปิดให้ Partner เข้ามาใช้งานได้ฟรี และเนื้อหาภายในส่วนนี้จะไม่มีการติดโฆษณาของ Google เลย (Non-Commercial Platform ของ Google)

7) ทำไมต้องเป็น Google Arts and Culture  – Google เชื่อว่า Technologies จะทำให้เราสามารถเข้าถึงผลงานศิลปะและวัฒนธรรมต่างๆ จากทั่วโลกได้โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา และสถานที่ (ปัจจุบันมี partner มากกว่า 1500 หน่วยงาน จาก 70 ประเทศ)

8) Google Arts and Culture = Google ให้ ระบบ Content Management กับบรรดา partner เพื่อ อัพโหลด บริหารจัดการ และเผยแพร่ข้อมูลผลงานศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งหากเราสนใจจะเข้าไปดูสามารถดูได้ผ่านทั้งในรูปแบบของ website และ application 

ระบบนี้มีความน่าสนใจอะไรบ้าง

  • แน่ๆ คือ Upload Content ที่เราต้องการเผยแพร่ได้
  • เชื่อมต่อกับ google Street View เพื่อทำหน้าที่คล้าย Virtual Reality ได้ ซึ่งจะดูด้วย แว่น VR ก็ได้ หรือดูในหน้าจอก็ได้
  • ยิ่งถ้าเราใช้ application Google Arts and Culture เราสามารถใช้ฟังค์ชั่นที่เน้น interactive กับเราได้ เช่น
    • Art Selfie (เซลฟี่หน้าตัวเองแล้วระบบจะแนะนำว่าเหมือนภาพศิลปะภาพไหน)
    • Color Palette (ค้นหางานศิลปะจากการถ่ายภาพวัตถุอื่นๆ ที่มีสีใกล้เคียงงกับงานที่เราอยากเห็น)
    • Art Projector
    • Pocket Gallery
  • ในส่วนของคนที่เข้าเว็บบนเครื่องคอมพิวเตอร์เราจะเห็นการทดลองอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งพวกวิศวกรใน Google ช่วยสร้างขึ้นมาทดลอง ถ้าอันไหนดีก็จะถูกพัฒนาต่อ ซึ่งมีหลายตัวมากๆ ที่ผมชอบ เช่น
    • Business of Fashion
    • 20 Years of Search Trends
    • LIFE Tags
    • MoMA & Machine Learning
    • t-SNE Map
    • Curator Table
    • Free Fall
      ซึ่งเพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูและทดลองเล่นกันได้อีกมากมายที่ https://experiments.withgoogle.com/collection/arts-culture

ในส่วนของการถามตอบกับวิทยากรก็มีคำถามเด็ดๆ อีกมาก เช่น

  • ในการออกแบบพิพิธภัณฑ์ในเชิงกายภาพเราต้องทำ User Requirement เยอะมาก ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางในการนำชม หรือ ตำแหน่งของสิ่งของจัดแสดง ทีนี้ในโลกของพิพิธภัณฑ์ดิจิทัลต้องคำนึงถึงเรื่องดังกล่าวหรือไม่ และจะทำ User Requirement ได้อย่างไร
  • การเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ จะมีข้อกังวลเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่
  • การเปลี่ยนพิพิธภัณฑ์แบบเดิม โดยการทำ Digitization วัตถุจัดแสดงจำนวนมากต้องใช้เวลานานเท่าไหร่
  • การลงทุนในเรื่องนี้ใช้เงินเยอะแค่ไหน
  • Google มี Product ดีๆ แบบนี้ น่าจะประชาสัมพันธ์ให้คนรู้ในวงกว้างบ้างนะ

เอาเป็นว่าสนุกสนานแถมได้รับความรู้เพียบ เจ้าของงานบอกว่ากำลังจะอัพโหลดวีดีโองานดังกล่าวใน Youtube หากเสร็จเมื่อไหร่ ผมจะเอามาใส่ในบล็อกนี้ต่อนะครับ

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*