[ร่วมกันวิพากษ์อย่างสร้างสรรค์] เมื่อห้องสมุดมีบริการใหม่ Scan & Send

ปฏิเสธไม่ได้ว่า วงการห้องสมุดได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ COVID-19 เหมือนทุกๆ วงการ การเดินทางมาที่ห้องสมุด การใช้ทรัพยากรร่วมกัน การรักษาระยะห่าง … เป็นประเด็นที่ผู้ใช้บริการ รวมถึงคนทำงานอย่างพวกเราก็ต้องระมัดระวังการใช้ชีวิตกันแทบทั้งนั้น

วันนี้ผมนั่งค้นหาบทความ และบริการใหม่ๆ อยู่บนโลกอินเทอร์เน็ต ก็พบกับหัวข้องานบริการจากห้องสมุดแห่งหนึ่ง ชื่อว่า “Scan & Send” ซึ่งไม่ต้องเดาเลย บริการนี้ก็ง่ายมาก คือ ผู้ใช้บริการ Request มา เดี๋ยวบรรณารักษ์ สแกนแล้วส่งไปให้อ่าน

คำถามที่ผมเชื่อว่า บรรณารักษ์หลายคนที่อ่านมาถึงตรงนี้ คงตั้งคำถามว่า “แบบนี้ก็ทำได้หรอ”

ก่อนจะไปถึงจุดๆ นั้น มาทำความรู้จักกับบริการนี้จริงๆ จังๆ กันหน่อยครับ

บริการนี้เป็นของห้องสมุด DCU (Dublin City University) – ประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งให้บริการเฉพาะนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยเท่านั้น ประเภททรัพยากรที่ให้บริการสแกนได้มีเพียงหนังสือ และ วารสารเท่านั้น

ทรัพยากรที่ไม่สามารถให้บริการในรูปแบบนี้ได้ เช่น วิทยานิพนธ์ หนังสือพิมพ์ หนังสือที่มีขนาดใหญ่กว่า A4

เงื่อนไขในการขอรับบริการ

“Request a scan of one journal article or a single book chapter from DCU Library’s print collection only.”

“ขอสแกนบทความเพียง 1 บทจากวารสาร หรือ เนื้อหา 1 บทของหนังสือจากคอลเล็กชันสิ่งพิมพ์ของ DCU Library เท่านั้น”

ถ้าอยากให้บรรณารักษ์สแกนให้ เราต้องกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม

Book Chapter Online Request Form

Journal Article Online Request Form

ประเด็นเรื่องลิขสิทธิ์ ห้องสมุดแห่งนี้ก็แถลงลงในเว็บไซต์ดังนี้

All scans supplied will be compliant with Irish copyright legislation. As such, we can supply 10% or one chapter of a book (whichever is greater) or one article from a journal issue.

หรือ

การสแกนทั้งหมดที่ให้มาจะเป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของไอร์แลนด์ ด้วยเหตุนี้เราสามารถจัดหาหนังสือ 10% หรือหนึ่งบท (แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า) หรือหนึ่งบทความจากวารสาร

ซึ่งในแบบฟอร์มออนไลน์จะให้เราแสดงเจตนารมณ์ว่าด้วยเรื่องการขอสแกนดังนี้

  1. วัสดุนั้นจำเป็นสำหรับวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์หรือการศึกษาส่วนตัว
  2. คุณไม่เคยได้รับสำเนาของวัสดุเดียวกันนี้มาก่อนโดย DCU Library หรือห้องสมุดที่อื่น
  3. ระบบจะเก็บสำเนากระดาษแผ่นเดียวไว้และสำเนาอิเล็กทรอนิกส์จะถูกทำลายหากพิมพ์รายการ
  4. คุณจะไม่ทำหรือแจกจ่ายสำเนาใด ๆ เพิ่มเติมทั้งในรูปแบบกระดาษหรือรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์

ลองอ่านเงื่อนไขบริการฉบับสมบูรณ์ได้ที่ https://www.dcu.ie/library/scansend.shtml

เอาหล่ะครับ กลับมาวิพากษ์กันอย่างสร้างสรรค์กันเถอะ

“บริการนี้จะสามารถทำได้หรือไม่ในห้องสมุดเมืองไทย”
“หากทำได้ห้องสมุดจะต้องปฏิบัติอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์”
“หากทำไม่ได้เพื่อนๆ ว่าเป็นเพราะอะไรหากไม่ได้ติดเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์”

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*