8 แนวทางในการสร้างความมั่นใจเจ้าหน้าที่ห้องสมุดและผู้ใช้บริการให้รู้สึกปลอดภัย

สถานการณ์ COVID-19 ทั่วโลกยังไม่สงบ และกระทบกับการดำเนินงานของห้องสมุดในหลายๆ ประเทศอยู่อย่างต่อเนื่อง หากเพื่อนๆ ติดตามสถานการณ์ในช่วงนี้อยู่ ก็คงทราบดีว่า ห้องสมุดบางประเทศยังไม่ได้เปิดให้บริการ หรือ ห้องสมุดบางประเทศที่เปิดให้บริการไปแล้วก็ยังต้องมีมาตรการเฝ้าระวังกันอย่างใกล้ชิด

วันนี้ผมได้เข้าไปอ่านบทความจาก Vendor เจ้าหนึ่งที่ทำธุรกิจกับวงการห้องสมุด (bibliotheca) ซึ่งมีหัวข้อที่น่าสนใจ ชื่อเรื่องว่า “Reimagine the future of library services” ซึ่งในบทความนี้ได้กล่าวถึง “Ensure library staff and users feel safe” หรือ แนวทางในการสร้างความมั่นใจให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดและผู้ใช้บริการให้รู้สึกปลอดภัย ซึ่งผมรู้สึกว่าเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ เลยขอนำมาเขียนแชร์ให้อ่าน

8 แนวทางในการสร้างความมั่นใจให้เจ้าหน้าที่ห้องสมุดและผู้ใช้บริการให้รู้สึกปลอดภัย มีดังนี้

1) Offer mobile checkout

ยืมคืนผ่านอุปกรณ์ Mobile ของแต่ละท่าน ลองนึกภาพที่จะเปลี่ยนไป จากเดิม ยืมหนังสือผ่านเจ้าหน้าที่ห้องสมุด เปลี่ยนเป็น ยืมหนังสือผ่านโทรศัพท์มือถือของตัวเอง (ถ่ายภาพหนังสือ หรือสแกนบาร์โค้ตของหนังสือ ผ่าน Apllication ของห้องสมุด)

2) Reduce physical contact

บริการหลายๆ อย่างภายในห้องสมุดยังมีจุดสัมผัสที่ค่อนข้างมาก หากเราสามารถลดการสัมผัสในจุดต่างๆ ภายในอาคารห้องสมุดได้จะทำให้เราลดความเสี่ยงไปด้วย เช่น การชำระค่าปรับด้วยระบบ epayment หรือ QRcode ก็น่าจะดีนะ

3) Expand delivery services

หากต้องปิดให้บริการอาคารห้องสมุด หรือ ผู้ใช้บริการไม่สามารถเดินทางมาที่ห้องสมุดได้ บริการจัดส่งก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีให้กับผู้ใช้บริการ ซึ่งการจัดส่งอาจแบ่งออกได้เป็น การนัดให้ผู้ใช้บริการมารับ ณ ตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติ (Vending Machine) หรือ ไปส่งให้ถึงบ้านผู้ใช้บริการ ก็ลองเลือกดูแล้วแต่ความเหมาะสมนะครับ

4) Quarantine returns​

การกักตัว ในที่นี้หมายถึง หนังสือที่เพิ่งจะถูกคืน ก็ควรจะกักตัวเล่มไว้ก่อน ยังไม่สามารถให้บริการได้ทันที เนื่องจากเราไม่แน่ใจว่าผู้ที่ยืมก่อนหน้ามีการแพร่เชื้อโรคลงในตัวหนังสือหรือไม่ เช่น เผลอจามลงมาในหน้าใดหน้าหนึ่งของหนังสือ

5) Limit building occupancy​

จำกัดการเข้าใช้บริการโดยระบุจำนวนที่เหมาะสม หรือ การเข้าใช้พื้นที่ภายในห้องสมุดก็ต้องมีการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคลที่ชัดเจน

6) Provide for vulnerable users

ดูแลผู้ใช้บริการที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษ เช่น เด็ก และ ผู้สูงอายุ อาจต้องได้รับการบริการที่พิเศษและระมัดระวังมากกว่ากลุ่มผู้ใช้บริการประเภทอื่นๆ

7) Enhance digital access

พัฒนาช่องทางในการเข้าถึงแบบดิจิทัล ฐานข้อมูล ebook ejournal …..

8) Grow digital collections

เพิ่มจำนวนสื่อดิจิทัล

จะสังเกตได้จาก 8 แนวทางข้างต้น ซึ่งห้องสมุดสามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งกับตัวอาคารห้องสมุด (Physical Library) หรือ การพัฒนาห้องสมุดที่ให้บริการผ่านระบบออนไลน์

ในหัวข้อ “Reimagine the future of library services” ยังมีเรื่องที่น่าสนใจอีกมาก เช่น ผู้ใช้บริการชื่นชอบการบริการด้วยตนเอง (Self Service) นอกจากนี้ยังมีกรณีศึกษาจากห้องสมุดที่ปฏิบัติตาม “Ensure library staff and users feel safe” ด้วยนะครับ

เนื้อเรื่องต้นฉบับ และ รูปภาพ : https://www.bibliotheca.com/reopening-libraries

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*