ห้องสมุดยุคใหม่ : การแบ่งพื้นที่ภายในห้องสมุดประชาชนในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

ห้องสมุด ไม่ใช่ “ห้องเก็บหนังสือ” หรือ “โกดังหนังสือ” หรือ “ห้องอ่านหนังสือ” เพียงอย่างเดียวอีกแล้ว หนึ่งในภารกิจของห้องสมุดที่เราปฏิเสธไม่ได้ คือ “การเป็นแหล่งเรียนรู้” ซึ่งการเรียนรู้ก็ไม่ได้มีเฉพาะแค่เรื่องการอ่านเพียงอย่างเดียว

ศูนย์การเรียนรู้เมืองฉะเชิงเทรา

ประโยคยอดฮิตของผม คือ “ความรู้สำคัญกว่าสถานที่”
ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบสถานที่ของห้องสมุดเพื่อให้ตอบโจทย์นี้

ห้องสมุดที่ประสบความสำเร็จ (ห้องสมุดที่ได้รับรางวัลระดับโลก) ต่างก็มีมุมมองเรื่องนี้เช่นกัน
และแนวคิดหนึ่ง/งานวิจัยหนึ่งที่ถูกกล่าวถึงมาก คือ

“A new model for the public library in the knowledge and experience society”
ดาวน์โหลดได้ที่ https://static-curis.ku.dk/portal/files/173562136/A_new_model_for_the_public_library.pdf

แนวคิดในการแบ่งพื้นที่ของห้องสมุดออกเป็น 4 ส่วน คือ

  1. Learning Space = พื้นที่ที่ใช้ในการเรียนรู้ (พื้นที่เดิมของห้องสมุด)
  2. Meeting Space = พื้นที่ที่ใช้ในการทำงานร่วมกัน พื้นที่ประชุม
  3. Performative Space = พื้นที่ที่ใช้ในการแสดงความสามารถ
  4. Inspirative Space = พื้นที่ที่ใช้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ / นิทรรศการ

จากองค์ประกอบทั้ง 4 ส่วน เราจะได้ Keyword ที่น่าสนใจของแต่ละพื้นที่ เช่น

  • Learning Space กับคำว่า Explore (การค้นพบ,การรู้แจ้ง)
  • Meeting Space กับคำว่า Participate (การมีส่วนร่วม)
  • Performative Space กับคำว่า Create (การสร้าง)
  • Inspirative Space กับคำว่า Excite (ความตื่นตาตื่นใจ)

นอกจาก Keyword แล้ว หากเราดูส่วนผสมระหว่างพื้นที่ต่างๆ เราจะได้คำเพิ่มอีก เช่น

  • Learning Space + Meeting Space = Empowerment (การเพิ่มขีดความสามารถ/การเพิ่มศักยภาพทางการเรียนรู้)
  • Meeting Space + Performative Space = Involvement (การเพิ่มความมีส่วนร่วม)
  • Performative Space + Inspirative Space = Innovation (นวัตกรรม)
  • Inspirative Space + Learning Space = Experience (ประสบการณ์)

แค่แผนภาพนี้เพียงภาพเดียวทำให้เราคิดได้บรรเจิดมากๆ ลองนึกภาพโมเดลใหม่นี้ในห้องสมุดของเราดูครับว่า เรามีครบหรือไม่ เช่น

  • พื้นที่นั่งอ่านหนังสือ = Learning Space
  • พื้นที่สำหรับทำงานกลุ่ม (มองเรื่องการจัดโต๊ะก็ได้ หรือ เป็นห้องประชุมก็ได้) = Meeting Space
  • พื้นที่ที่ให้ผู้ใช้ได้แสดงออก เช่น ห้องซ้อมดนตรี ห้องคาราโอเกะ เวทีลีลาศ ….. = Performative Space
  • พื้นที่สำหรับจัดนิทรรศการความรู้ หรือ การจัดกิจกรรมความรู้ใหม่ๆ = Inspirative Space

ตัวอย่างห้องสมุดที่นำแนวคิดนี้มาใช้ จริงๆ ก็มีมากมายนะครับ
เช่น Oslo Public Library (น่าจะเปิดปีหน้า), Oodi Helsinki Central Library (เพิ่งได้รับรางวัลห้องสมุดดีเด่นแห่งปี 2019)

เอาเป็นว่านอกจากงานวิจัยต้นฉบับแล้ว ผมบังเอิญไปเจอคนที่เขียนถึงเรื่องนี้ในประเทศไทยด้วย
ลองอ่าน เรื่อง “พื้นที่่การเรียนรู้สําหรับผู้เรียนยุคดิจิทัลในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
https://www.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/152965/152330

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*