7 สิ่ง Cool ๆ ที่บรรณารักษ์ห้องสมุดทำ (มากกว่าแค่เรื่องหนังสือ)

วันนี้อ่านบล็อกเรื่องหนึ่งแล้วประทับใจมากๆ ชื่อเรื่องว่า “7 COOL THINGS LIBRARIES ARE DOING, BEYOND THE BOOKS” ซึ่งแสดงให้เห็นว่า

“เรายังมีอีกหลายเรื่องที่สามารถทำเพื่อสังคมและผู้ใช้บริการของเราได้”

เรามาดูกันว่า 7 สิ่ง Coolๆ ที่บรรณารักษ์ห้องสมุดทำมากกว่าแค่เรื่องหนังสือ มีอะไรบ้าง

  1. LIBRARIES HIRING SOCIAL WORKERS
  2. LIBRARIES PRESERVE HISTORY, CULTURE, AND GENEALOGY
  3. LIBRARIES ARE A CATALYST FOR THE LOCAL COMMUNITY
  4. LIBRARIES PROVIDE A SAFE PLACE TO HOLD LGBTQ RESOURCES AND SERVE THE LGBTQ COMMUNITY
  5. LIBRARIES RAISE AWARENESS ON ENVIRONMENTAL ISSUES
  6. LIBRARIES WORK HARD TO MAKE MATERIALS WIDELY ACCESSIBLE
  7. LIBRARIES HELP IMMIGRANTS EARN CITIZENSHIP

แปลให้เข้าใจง่ายๆ

  1. มาหางานได้ที่ห้องสมุด – ห้องสมุดได้รับเงินทุนจากรัฐบาลเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคม ฝึกอบรมเพื่อให้พร้อมต่อการทำงาน เช่น สอนภาษา เป็นต้น
  2. ศึกษาประวัติศาสตร์ และมรดกทางวัฒนธรรมได้ที่ห้องสมุด – ห้องสมุดได้รวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับท้องถิ่น นำมาไว้ในห้องสมุดเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ศึกษาเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับชุมชนของต้น รวมถึงมรดกทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับชุมชน เช่น การพายเรือคายัค เป็นต้น
  3. ศูนย์กลางของชุมชน หรือ community-centric – คนที่รู้จักชุมชนของตัวเองดีที่สุด คือ ห้องสมุด เพราะฉะนั้นห้องสมุดจึงเป็นศูนย์บ่มเพาะและช่วยให้สังคมก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็ว เช่น ห้องสมุดบางแห่งเขียนแผนพัฒนาชุมชนเพื่อทำให้เศรษฐกิจของชุมชน ขับเคลื่อนได้อย่างดี
  4. สถานที่ที่เป็นกลางของสังคม LGBTQ – ห้องสมุดเปิดใจและยอมรับทุกวัฒนธรรม ทำให้ห้องสมุดเป็นสถานที่ที่กลุ่ม LGBTQ สามารถใช้เพื่อแสดงผลงาน และรวมกลุ่มกันได้อย่างปลอดภัย
  5. สร้างความตระหนักต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม – ห้องสมุดหลายแห่งเริ่มนำแนวคิดของคำว่า Green Library มาใช้ โดยนอกจากส่งเสริมความรู้ที่เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว บางแห่งก็ทำห้องสมุดให้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมอีกด้วย
  6. ห้องสมุดเคลื่อนที่ – ห้องสมุดหลายแห่งตระหนักถึงเรื่องการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้บริการว่ามีความลำบากในการเดินทาง เพราะฉะนั้นห้องสมุดหลายแห่งจึงมีนโยบาย Mobile Library เพื่อนำทรัพยากรสารสนเทศเข้าไปหาผู้ใช้บริการที่ไม่สามารถเดินทางมาที่ห้องสมุดได้ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้คนที่อพยพมาทำงานในท้องถิ่น เด็กๆ เป็นต้น
  7. ทำให้ผู้ที่อพยพมาในท้องถิ่นได้รับสิทธิ์การเป็นพลเมือง

ก่อนจบผู้เขียนได้กล่าวไว้ว่า “ห้องสมุดเป็นมากกว่าสถานที่ที่ให้แค่ยืมหนังสือเพียงอย่างเดียว ไม่เชื่อก็ลองอ่านอีกเรื่องที่เธอเขียนได้ที่ 18 สิ่งสุดแปลกที่สามารถยืมได้จากห้องสมุดท้องถิ่น (18 WEIRD THINGS YOU CAN BORROW FROM YOUR LOCAL LIBRARY)

เห็นมั้ยครับว่า “การเรียนรู้สำคัญกว่าสถานที่จริงๆ” และ “ห้องสมุดเองก็เป็นอีกแหล่งเรียนรู้ (ไม่ใช่แค่สถานที่ที่เป็นเพียงที่เก็บหนังสือ หรือ ที่นั่งอ่านหนังสือเท่านั้น)

อ่านจบแล้ว เพื่อนๆ ว่า ห้องสมุดของเราสามารถทำอะไรได้อีกบ้างครับ

อ่านต้นฉบับได้ที่ https://bookriot.com/2019/10/08/library-services/

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*