ความหลังจากงานสัมมนาโปรแกรมห้องสมุดดิจิทัล Greenstone เมื่อสามปีที่แล้ว

วันนี้ผมขอแนะนำโปรแกรม Greenstone Digital Library อีกสักครั้งดีกว่า
จริงๆ ผมเคยแนะนำหนังสือการใช้งานโปรแกรม Greenstone ไปแล้ว (เริ่มต้นกับการพัฒนาห้องสมุดดิจิทัลด้วย Greenstone)

greenstone-library

ข้อมูลของโปรแกรม Greenstone Digital Library นี้ ผมได้นำมาจากสไลด์งานสัมมนาเมื่อสามปีที่แล้วนะครับ
ที่ตอนนั้นผมได้รับร่วมสัมมนาเรื่อง โปรแกรมห้องสมุดดิจิทัล โดยใช้โปรแกรม Greenstone Digital Library Software
ซึ่งจัดโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ NSTDA

การสัมมนาครั้งนี้เริ่มจากการเกริ่นถึง
– ความเป็นมาของห้องสมุดดิจิทัล (What is Digital Library for ?)
– ซอฟต์แวร์ที่ห้องสมุดดิจิทัลสามารถรองรับได้ (DL Software Requirements)
– มาตรฐานที่เกี่ยวกับการทำงานระหว่างห้องสมุด (Library Interoperability)
– การทำต้นแบบของห้องสมุดดิจิทัล (Digital Library Prototype)

หลังจากที่เกริ่นถึงข้อมูลโดยทั่วไป ซอฟต์แวร์ และการทำงานร่วมกันระหว่างห้องสมุดจบ
สไลด์นี้ก็ได้กล่าวถึงสถาปัตยกรรมของระบบ (System Architecture) โดยทั่วไป
ว่าห้องสมุดดิจิทัลมีลักษณะการทำงานอย่างไร ต้องผ่านกระบวนการใดบ้าง

หลังจากที่เกริ่นเรื่องสถาปัตยกรรมของระบบจบ
ก็เข้าสู่เรื่องที่หลายๆ คนต้องการรู้ นั่นคือ เกี่ยวกับระบบ Greenstone Digital Library Software
– ข้อมูลโดยทั่วไปของระบบ (Overall System)
– สถาปัตยกรรมของระบบ (System Architecture)
– การทำงานของระบบในฟังก์ชั่นต่างๆ (Functionality) เช่น Search system, Librarian Interface, Configuration system

เป็นอย่างไรกันบ้างครับคร่าวๆ สำหรับการสัมมนาครั้งนี้ น่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ
แต่เสียดายที่ผมไม่ได้เก็บสไลด์งานวันนั้นอ่ะครับ เลยเอามาโพสให้ดูไม่ได้

แต่ผมขอแนะนำแหล่งข้อมูลอื่นๆ แล้วกันนะครับ

เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บของ Greenstone Digital Library Software ได้เลยครับ

มอ.ปัตตานี รับสมัครบรรณารักษ์ปริญญาโท

วันนี้มีข่าวรับสมัครบรรณารักษ์มาฝากเพื่อนๆ อีกแล้วครับ
แต่งานบรรณารักษ์ในวันนี้ที่ผมจะแนะนำต้องใช้วุฒิปริญญาโทเท่านั้นนะครับ

psu-job-library-copy

หอสมุดในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี หรือที่เรารู้จักกันในนาม หอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้
ประกาศรับสมัคร บรรณารักษ์ เพื่อทำงานในหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้ อ่ะครับ

รายละเอียดของตำแหน่งเบื้องต้น

ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
สังกัด : ฝ่ายหอสมุดจอห์น เอฟ เคนเนดี้
หน่วยงาน : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จำนวน : 1 อัตรา
เงินเดือน : 12,610 บาท

คุณสมบัติเบื้องต้นของตำแหน่งนี้อย่างที่บอกอ่ะครับว่า จบปริญญาโทด้านบรรณารักษ์หรือที่เกี่ยวข้อง

ความรู้ความสามารถที่ควรมี เช่น
– ความรู้ด้านทรัพยากรสารสนเทศ
– ความรู้และทักษะด้านการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์
– ความรู้และทักษะในการสื่อสาร
– ความรู้ในการเขียนโครงการและประเมินโครงการ
– ความรู้และทักษะด้านการสอนและนำเสนอ
– ความรู้และทักษะการใช้ไอที
– ความรู้และทักษะในการให้บริการ
– ความรู้และทักษะด้านการวิจัย

งานที่ต้องรับผิดชอบของตำแหน่งนี้ เช่น บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า รวมถึงงานบริการต่างๆ

เป็นยังไงกันบ้างครับกับรายละเอียดทั่วๆ ไป
ผมว่าเป็นงานที่น่าสนุกดีนะครับ แต่คงต้องใช้ทักษะหลายๆ ด้านในการทำงานเหมือนกัน

กำหนดการในการรับสมัคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ ไปจนถึง 9 มีนาคม 2553 (มีเวลาเตรียมตัวยาวเลยนะครับ)

เอาเป็นว่าหากสนใจก็ลองสอบถามรายละเอียดได้ที่
สำนักงานเลขานุการ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี หรือโทรไปที่ 073331300 นะครับ

เอาเป็นว่าก็ลองไปสมัครกันดูนะครับ และขอให้โชคดีกับการสมัครครับ

รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดได้จากเอกสารด้านล่างนี้นะครับ

<<< เอกสารรายละเอียดเกี่ยวกับงาน >>>

เยาวชนเผยร้านเหล้าเข้าง่ายกว่าห้องสมุด

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาผมได้หยิบหนังสือพิมพ์ไทยรัฐมาอ่านขณะกินข้าว
แต่เมื่ออ่านถึงหน้าข่าวการศึกษาก็ต้องสำลักทันทีเมื่อเจอข่าวนี้ “เยาวชนเผยร้านเหล้า เข้าง่าย กว่าห้องสมุด”

ภาพประกอบจากไทยรัฐออนไลน์
ภาพประกอบจากไทยรัฐออนไลน์

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองเข้าไปอ่านได้ที่ http://www.thairath.co.th/content/edu/62873
(ผมขอ copy มาลงให้เพื่อนๆ อ่านที่นี่ เช่นกัน เพราะข่าวในเว็บไซต์อาจจะถูกลบง่ายๆ)

เนื้อข่าว “เยาวชนเผยร้านเหล้า เข้าง่าย กว่าห้องสมุด”
ในคอลัมน์ข่าวการศึกษา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2553

“สวมชุด นร.-นศ.เป็นพริตตี้เรียกแขกเสียเอง พม.รุกรณรงค์ภัยวัยรุ่นรับเทศกาลวาเลนไทน์ นักวิชาการติงระบบการศึกษาสอนเด็กติดแสงสี ต้องเร่งแก้ไข…

ที่ โรงแรมเซ็นจูรี่ ปาร์ค เมื่อวันที่ 3 ก.พ. นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวในการเสวนาเรื่อง “รักใสๆ ให้ปลอดภัยของวัยโจ๋” จัดโดยสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.) ตอนหนึ่งว่า คดีข่มขืนที่เกิดขึ้นพบว่าผู้กระทำผิดแทบทุกรายมาจากสาเหตุของการดื่มสุรา โดยเฉพาะวัยรุ่นเป็นกลุ่มเสี่ยงของสุรา หอพักแถวมหาวิทยาลัยที่ตนตรวจพบ ทำผิดกฎหมายจำนวนไม่น้อย ปล่อยให้ร้านสะดวกซื้อ ที่ตั้งอยู่ภายในจำหน่ายสุรา หรือ แม้แต่ร้ายขายยาก็เปิดจำหน่ายสุราด้วยเพราะขายดีกว่ายา

นายอิสสระ กล่าวต่อว่า เร็วๆ นี้ จะเชิญเจ้าหน้าที่ตำรวจ สรรพาสามิต อธิการบดีทุกแห่ง มาร่วมประชุมเพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติการตรวจจับหอพักที่ทำผิดกฎหมายอย่าง เคร่งครัด จากนั้นตนจะเดินสายตรวจไม่เฉพาะใน กรุงเทพมหานคร (กทม.) แต่รวมถึงต่างจังหวัดด้วย นอกจากนี้ช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ที่ใกล้จะถึงได้มอบหมายให้ศูนย์เฝ้าระวัง และเตือนภัยทางสังคม พม. หารูปแบบรณรงค์ให้วัยรุ่นเข้าใจและรับทราบถึงภัยของวัยรุ่น การเที่ยวเตร่ ยาเสพติด และความปลอดภัยในการเดินทาง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา

นางสาวอรพิมพ์ รักษาผล เยาวสตรีดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2552 กล่าวว่า การที่วัยรุ่นเข้าถึงเรื่องเพศสัมพันธ์ ยาเสพติด มาจากการไม่เห็นคุณค่าในชีวิตตนเอง มักภูมิใจในสิ่งที่ตนสร้างมากกว่าสิ่งที่สร้างตนโดยเฉพาะพ่อแม่ และความไม่พอเพียงกับการใช้ชีวิต จะเห็นว่าปัญหายาเสพติดเวลานี้ไม่ใช่เด็กเป็นกลุ่มเป้าหมาย แต่เด็กเป็นผู้กระจายความเสี่ยงให้กับผู้อื่นเสียเอง ร้านเหล้าปั่น บาร์เบียร์เข้าง่ายมากกว่าห้องสมุด ยิ่งเป็นชุดนักเรียนนักศึกษากลายเป็นพริตตี้ที่รัญจวนเชิญชวนให้หมู่ภมรเข้า มาดอมดม

เยาวสตรีดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2552 กล่าวต่อว่า สิ่งเหล่านี้โยงใยให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ทั้งเปิดประตูไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก กับใครก็ได้ นำไปสู่การตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม และตัดสินปัญหาด้วยการทำแท้งหรือกลายเป็นครอบครับเด็กแนวคือไม่มีแนวทางใน การดำเนินชีวิต จึงอยากเสนอให้ยึดหลัก 4 ใจคือ 1.จริงใจ ไม่อ่อนแอต่อกระแสต่างๆ 2.ข่มใจ 3.แข็งใจ อดทนต่อกิเลส และ4.คุมใจ ให้เป็นนายไม่ใช่เป็นทาสของอารมณ์ นอกจากนี้อยากเสนอ ผู้ใหญ่และผู้เกี่ยวข้องควรสร้างความรู้ความเข้าใจให้เห็นถึงโทษ พิษภัยของปัญหา สร้างความตระหนักในบทบาทหน้าที่ ป้องกันความเสี่ยงและความเสื่อมอย่างชัดเจน

นางสาวอรพิมพ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ยังต้องสร้างต้นแบบแรงบันดาลใจเชิงประจักษ์ให้กับวัยรุ่น เพราะตนเคยประสบเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดด้วยตนเอง จากเพื่อนที่เรียนมัธยมในโรงเรียนสตรีด้วยกัน เมื่อแยกย้ายไปเรียนต่ออุดมศึกษาเพียงแค่อยู่ชั้นปี 1 เพื่อนคนดังกล่าวโทรศัพท์มาขอความช่วยเหลือให้หาที่ทำแท้งให้ ขณะนั้นได้ปฏิเสธไปเพราะตกใจและไม่รู้จะช่วยเหลืออย่างไร จากนั้นเพียง 1 สัปดาห์ผ่านไปได้ทราบข่าวว่าเพื่อนคนดังกล่าวเสียชีวิต เพราะตกเลือดมากจากการสั่งซื้อยาขับทางอินเตอร์เน็ต และใช้ไม้แขวนเสื้อเกี่ยวเด็กออกมา จะเห็นว่าปัญหาวัยรุ่นรวดเร็วและรุนแรงมากหากไม่เร่งรีบแก้ไข

ขณะที่ นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า สถิติการข่มขืน ปล้ำ ล่อลวง ล่วงละเมิดทางเพศเพิ่มมากขึ้น และส่วนใหญ่เกิดจากคนใกล้ชิด คือ แฟนและคนรู้จักมากที่สุด โดยอิทธิพลจากละครหลังข่าว รวมทั้งดารานักแสดงที่นำเรื่องเซ็กส์มาเป็นจุดขายในที่สาธารณะ ทั้งที่เป็นเรื่องลามกอนาจารผิดกฎหมาย การแก้ปัญหาอย่าไปโทษแต่วัยรุ่น แต่ต้องโทษที่ผู้ใหญ่สร้างสิ่งเร้ายั่วยุเด็ก ระบบการศึกษาสอนให้เด็กเป็นปลาหมึก เมื่อถูกแสงสีล่อให้ติดกับดักก็ถูกช้อนนำไปกิน ไม่ได้สอนให้คิด วิเคราะห์และสร้างภูมิคุมกันปัญหา ทั้งนี้ปัญหาการใช้เสรีภาพตามอำเภอใจ ทำร้ายสังคม ต้องแก้โดยการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง”

อ่านแล้วรู้สึกยังไงครับ สำหรับผมขอวิจารณ์นิดนึงพอนะครับ “เรื่องร้านเหล้าเข้าง่ายกว่าห้องสมุด”

ผมไม่เห็นด้วยกับประโยคนี้นะครับ ทำไมนะหรอครับ

ทำไม “ร้านเหล้า” ถึงเข้ายากกว่าห้องสมุด
1. เข้าได้เฉพาะเวลากลางคืน การเดินทางไปอาจจะไม่ค่อยสะดวก (สำหรับคนที่ไม่มีรถนะครับ)
2. เข้าไปมีแต่เสียงอึกทึกครึกโครม พูดกันเสียงดังๆ กลับมาเจ็บคออีก
3. ถ้าให้ขออนุญาติไปร้านเหล้ากับห้องสมุด คงไม่ต้องบอกหรอกนะครับว่า ผู้ใหญ่จะอนุญาติอย่างไหน (เว้นแต่หนีไป)
4. อายุต่ำกว่า 20 ปีก้ห้ามเข้าด้วย
เอาเป็นว่าด้วยเหตุผลหลายๆ อย่าง มันก็เห็นๆ อยู่ว่าร้านเหล้าเข้ายากกว่าห้องสมุด

เรื่องการเข้ายากหรือง่าย ผมมองว่ามันเป็นเพียงการเข้าถึงสถานที่นะครับ

สิ่งที่น่าคิดของเรื่องนี้คือ เยาวชนไม่อยากเข้าห้องสมุดเองมากกว่า ถึงได้บอกว่าเข้ายาก

แล้วทำไม “เยาวชนไม่อยากเข้าห้องสมุด” อันนี้เพื่อนๆ พอจะนึกกันออกหรือยังครับ
สาเหตุอาจจะเพราะ “ห้องสมุดไม่สามารถตอบสนองความต้องการของเยาวชนเหล่านั้นได้ยังไงหล่ะครับ”

ตัวอย่าง “ห้องสมุดไม่สามารถตอบสนองความต้องการของเยาวชน”
– มีแต่สื่อสารสนเทศที่ไม่น่าสนใจต่อการเรียนรู้ (หนังสือเก่า หนังสือชำรุดมากมายในห้องสมุด)
– มีแต่บรรณารักษ์ที่ทำหน้าดุใส่ ใครจะกล้าเข้าหล่ะครับ
– ไม่มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เลย (ห้องสมุดเป็นเพียงห้องอ่านหนังสือเท่านั้น)
– อุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไม่เพียงพอ หรือไม่มี (คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต)
เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างของ “ห้องสมุดไม่สามารถตอบสนองความต้องการของเยาวชน”

ที่นี้เรามาดูแนวทางการแก้ไขบ้างดีกว่า
– ห้องสมุดต้องมีบริการแนะนำหนังสือใหม่หรือหนังสือที่น่าสนใจ ที่สำคัญต้องประชาสัมพันธ์ให้ดี
– บรรณารักษ์ต้องมีท่าทีที่เป็นมิตรกับผู้ใช้บริการ ทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้ใช้บริการ
– จัดกิจกรรมในห้องสมุดเพื่อส่งเสริมและรณรงค์การรักการอ่านบ้าง
– จัดหาอุปกรณ์และเทคโนโลยี รวมถึงบรรณารักษ์ต้องสามารถใช้งานเป็นด้วย
เพียงเท่านี้ห้องสมุดก็จะน่าสนใจมากยิ่งขึ้นนะครับ

ถ้าห้องสมุดน่าสนใจและมีกิจกรรมมากๆ ผมเชื่อว่าเยาวชนก็คงหันมาใช้ห้องสมุดมากขึ้นนะครับ
แล้วผมก็หวังว่าจะไม่ได้ยิน เห็น หรืออ่านข่าวทำนองนี้อีกนะครับ

รับสมัครผู้ช่วยบรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันร่วมผลิตแพทย์

วันนี้ผมมีข่าวรับสมัครบรรณารักษ์มานำเสนออีกแล้วครับท่าน
เป็นการรับสมัครบรรณารักษ์ของห้องสมุดด้านการแพทย์นะครับ

job-librarian

ข้อมูลทั่วไปของการรับสมัคร
ชื่อตำแหน่ง : ผู้ช่วยบรรณารักษ์
หน่วยงาน : ห้องสมุดสถาบันร่วมผลิตแพทย์ กรมการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต
จำนวน 1 ตำแหน่ง
เงินเดือน : 8,500-9,000 บาท

ลักษณะของงาน ก็คือทำงานทั่วๆ ไปในห้องสมุด เช่น
ช่วยงานด้านการคีย์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล บริการยืมคืน จัดชั้นหนังสือ นะครับ

แต่เรื่องที่ต้องเน้นคือ ความเป็นห้องสมุดด้านการแพทย์
ดังนั้นเพื่อนๆ วรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่ด้านการแพทย์เตรียมไว้ด้วยนะครับ
(ลองอ่านคร่าวๆ ได้ที่ “การจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์ (NLM Classification)“)

คุณสมบัติของตำแหน่งนี้นะครับ
– เพศหญิงอายุไม่เกิน 28 ปี
– จบปริญญาตรี สาขาบรรณารักษศาสตร์หรือสารสนเทศศาสตร์

หากสนใจก็ลองติดต่อไปที่คุณพรนิภัค สันต์ธนะวาณิช 081-8123856 หรืออีเมล์ pornnipuk@hotmail.com

เอาเป็นว่าใครที่กำลังหางานอยู่ผมก็ขอแนะนำนะครับ
แล้วอย่าลืมบอกที่มาตอนสมัครด้วยว่า “รู้จาก Libraryhub”

มาหอสมุดแห่งชาติควรจะพกบัตรมาเยอะๆ

เมื่อวานก็เป็นอีกหนึ่งวันที่ผมมาใช้บริการที่หอสมุดแห่งชาติ ซึ่งแน่นอนครับถ้าไม่มีอะไรผมก็คงไม่เขียนบล็อกหรอก
แน่นอนครับ เกริ่นมาซะขนาดนี้แล้ว….มันมีเรื่องที่เกิดขึ้นกับผมอีกแล้วครับท่าน
จริงๆ ผมก็เคยพูดไปแล้วในเรื่อง “เรื่องอึ้งๆ ณ ?มุมโน้ตบุ๊ค? ในหอสมุดแห่งชาติ” เกี่ยวกับการแลกบัตรในหอสมุดแห่งชาติ

national-library-thailand

ประเด็นไหนบ้างที่ต้องแลกบัตรในหอสมุดแห่งชาติ
1. ยืมหนังสือออกจากห้องบริการเพื่อถ่ายเอกสาร
2. ขอใช้มุมบริการโน้ตบุ๊ค

เอาเป็นว่าวันนี้ผมมาใช้บริการในหอสมุดแห่งชาติ แบบว่าต้องใช้หนังสือจากหลายๆ ห้องบริการ
เช่น หนังสือในหมวดบรรณารักษ์ ห้อง 213 และนิตยสารจากชั้น 1 เอาเป็นว่าใช้ไปแล้ว 2 ใบ
นอกจากนี้ผมยังต้องใช้บริการโน้ตบุ๊คที่ผมนำมาเองอีก และแน่นอนว่าต้องใช้ไปอีก 1 ใบ

หมายเหตุสักนิด บัตรที่จะใช้ได้ต้องเป็นบัตรที่มีรูปถ่ายเท่านั้น

สรุปวันนี้ผมใช้บัตรเพื่อแลกกับบริการต่างๆ ในหอสมุดแห่งชาติจำนวน 3 ใบ ประกอบด้วย
– บัตรประชาชน
– ใบขับขี่
– บัตรสมาชิกห้องสมุดซอยพระนาง

เอาเป็นว่าเหนื่อยใจ จริงๆ ต้องใช้บัตรเยอะแบบนี้ ลองคิดดูนะครับว่าถ้าผมไม่รู้ธรรมเนียมของหอสมุดแห่งชาติ
ผมคงโวยวายกับบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ของแต่ละห้องไปเรียบร้อยแล้ว

เอาเป็นว่าก็ขอฝากไว้นะครับสำหรับคนที่จะมาใช้บริการในหอสมุดแห่งชาติ
ถ้าต้องการข้อมูลและบริการที่เยอะหน่อยก็ควรพกบัตรที่มีรูปมาหอสมุดแห่งชาติเยอะๆ นะครับ

ปลุกใจบรรณารักษ์ให้ฮึกเฮิมในการทำงาน

รูปที่ท่านกำลังจะได้ชมต่อจากนี้ เป็นภาพของหุ่นบรรณารักษ์ที่ยืนเรียงกันเป็นแถว
โดยหุ่นบรรณารักษ์เหล่านี้ผมขอเปรียบเทียบให้เหมือนการตั้งแถวของทหารก็แล้วกัน

librarian-army

ซึ่งจากภาพเราคงจะเห็นการแสดงความยิ่งใหญ่ของเหล่ากองทัพบรรณารักษ์แล้วนะครับ
“เอาพวกเราเข้าแถว เตรียมตัวออกไปให้บริการกัน พร้อมแล้วใช่มั้ย เอ๊าบุกกกกก!!!!!!…..”

ยิ่งดูก็ยิ่งหึกเหิมในการให้บริการใช่มั้ยหล่ะครับ
ถ้ายังไม่หึกเหิมแนะนำว่าให้ลองไปสูดกลิ่นไอของความเป็นห้องสมุดได้ที่ชั้นหนังสือเดี๋ยวนี้

สังเกตุดูนะครับว่าบรรณารักษ์อย่างพวกเราไม่ใช้ความรุนแรงเหมือนใคร
อาวุธที่พวกเรามี คือ หนังสือ (อาวุธทางปัญญา)

ใครก็ตามที่เข้ามาที่ห้องสมุดพวกเราสัญญาครับว่าจะให้อาวุธทางปัญญากับคนๆ นั้น อิอิ สู้ๆ ครับ

อ้างอิงรูปจาก http://www.flickr.com/photos/laurak/104736630/

ขอแทรกเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ก่อนจบนะครับ

คำว่า “bibliotecaria” ที่อยู่ที่ฐานของหุ่นบรรณารักษ์ แปลว่าอะไร

คำว่า? “bibliotecaria” เป็นคำ Noun เอกพจน์เพศหญิง “bibliotecaria” ถ้าพหูพจน์ ใช้ “bibliotecarias”
“bibliotecaria” หมายถึง A female professional librarian. ถ้าเป็นเพศชายจะใช้ “bibliotecario”
ข้อมูลจาก http://en.wiktionary.org/wiki/bibliotecaria

ผลสำรวจจำนวนคำที่ใช้ในการสืบค้นบน search engine

เวลาที่เพื่อนๆ ต้องการสืบค้นข้อมูลหรือเว็บไซต์ใน google เพื่อนๆ มักจะสืบค้นด้วยคำ keyword ใช่มั้ยครับ
แล้วคำ keyword เหล่านั้น เพื่อนๆ ใช้กี่คำในแต่ละการสืบค้น 1 ครั้งละครับ คำเดียว สองคำ สามคำ หรือ…

keyword-website

วันนี้ผมเอาผลสำรวจเกี่ยวกับเรื่องการใช้คำ keyword เพื่อการสืบค้นข้อมูลมาให้เพื่อนๆ ดูครับ
ข้อมูลดังกล่าวสำรวจโดย OneStat และถูกนำเสนอในเรื่อง Most Searchers Have Two Words for Google

ซึ่งผมได้สรุปประเด็นสำคัญออกมาได้ดังนี้

– คนส่วนใหญ่ที่ใช้ google ในการสืบค้นข้อมูล พวกเขามักจะพิมพ์คำ Keyword จำนวน 2 คำในช่องสืบค้น
ซึ่งผลที่ออกมาคือ พวกเขาจะได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน ถูกต้อง และละเอียดขึ้น

– นอกจาก google ที่มีสถิติการใช้คำKeyword จำนวน 2 คำแล้ว search engine รายอื่นๆ ก็พบประเด็นในทำนองเดียวกัน
ไม่ว่าจะเป็น MSN, Yahoo ผู้ใช้ก็จะมีพฤติกรรมทำนองเดียวกัน คือ ใช้ Keyword จำนวน 2 คำ

– ผลสำรวจนี้อ้างอิงจากผู้ใช้จำนวน 2 ล้านคนใน 100 ประเทศ

ข้อมูลจากการสำรวจ : จำนวนคำสืบค้นที่ใส่ในช่องค้นหา / จำนวนเปอร์เซ็นต์ของคนในกลุ่มต่างๆ

ใช้ Keyword จำนวน 1 คำค้นในช่อง มีจำนวน 15.2 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 2 คำค้นในช่อง มีจำนวน 31.9 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 3 คำค้นในช่อง มีจำนวน 27 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 4 คำค้นในช่อง มีจำนวน 14.8 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 5 คำค้นในช่อง มีจำนวน 6.5 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 6 คำค้นในช่อง มีจำนวน 2.7 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 7 คำค้นในช่อง มีจำนวน 1.1 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 8 คำค้นในช่อง มีจำนวน 0.5 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 9 คำค้นในช่อง มีจำนวน 0.2 เปอร์เซ็นต์
ใช้ Keyword จำนวน 10 คำค้นในช่อง มีจำนวน 0.1 เปอร์เซ็นต์

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับผลสำรวจ
หากเรามาลองวิเคราะห์กันจริงๆ แล้ว ผมเห็นด้วยกับการใช้คำจำนวน 2-3 คำครับ
เพราะว่ามันจะทำให้เราได้ผลลัพธ์ได้ดีและตรงกับความต้องการมากขึ้น

หากเราใช้คำเดียวมันอาจจะได้ผลลัพธ์ที่กว้างและมากเกินไปจนทำให้เราต้องมานั่งกรองคำอีก
ซึ่งนั่นหมายความว่าจำนวนมากๆ ปัญหาที่ตามมาคือการตรวจสอบว่าใช่เรื่องที่ต้องการจริงหรือปล่าวครับ
และในทางกลับกันหากเราใช้คำค้นเยอะเกินไปมันก็อาจจะทำให้ระบบไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ออกมาได้

ทางที่ดีแล้วเราควรจะดูวัตถุประสงค์ของการค้นข้อมูลของเราด้วย เช่น หากเป็นศัพท์เฉพาะทางแล้วใช้คำน้อยๆ มันก็เจอครับ
แต่หากเป็นคำที่มีความหมายกว้างเราก็ควรใส่คำเงื่อนไขเพื่อกรองคำให้ตรงกับความต้องการ

ตัวอย่างเช่น

เราต้องการค้นคำว่า LPG คำๆ นี้มีความหมายแคบอยู่แล้ว ดังนั้นเราจะค้นโดยใส่คำแค่ไม่กี่คำก็พอแล้ว
แต่หากเราจะค้นคำว่า travel คำนี้มันกว้างไปดังนั้นเราควรเพิ่มเงื่อนไขอีกเช่น
travel in Thailand บางทีมันก็อาจจะกว้างอีกเราก็เพิ่มไปเรื่อยๆ ครับเช่น travel in north of thailand
อิอิ นั่นแหละครับคือการกรองให้ตรงกับความต้องการของเราให้ได้มากที่สุดครับ

ปล. อ๋อลืมบอกไปอย่างนึงว่าคำที่มาจากการสำรวจ คือ คำในภาษาอังกฤษนะครับ
ไม่ใช่คำในภาษาไทยเพราะไม่งั้นบางทีคำเดียวก็ยาวเป็นกิโลตามสไตล์คนไทย อิอิ

เล่าเรื่องเก่า “ห้องสมุดสุดหรรษา (Happy Library)”

หลายคนชอบคิดว่าเรื่องห้องสมุดมีแต่เรื่องที่เป็นสาระ หรือไม่ก็เครียดๆ นะ
วันนี้ผมขอจึงขอแนะนำห้องสมุดในมุมมองบันเทิงบ้างนะครับ

library-happy

เมื่อปีที่แล้ว จำกันได้มั้ยครับว่ามีละครโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับห้องสมุดด้วย
ชื่อเรื่องว่า “ห้องสมุดสุดหรรษา (Happy Library)” เอาเป็นว่าผมจะมาย้อนเรื่องราวของละครเรื่องนี้นะครับ

ชื่อเรื่อง : ห้องสมุดสุดหรรษา (Happy Library)
ออกอากาศ : วันเสาร์ เวลา 13.00 น. สถานีโทรทํศน์ช่อง 7
กำกับการแสดง : ปัญญา ชุมฤทธิ์

นักแสดงในเรื่อง

1. ภาณุ สุวรรณโณ แสดงเป็น โอ๊ค
2. ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ แสดงเป็น ฝุ่น
3. ศรุต วิจิตรานนท์ แสดงเป็น นัท
4. ภารดี อยู่ผาสุข แสดงเป็น นุ่น
5. อติมา ธนเสนีวัฒน์ แสดงเป็น แนนนี่
6. เกริก ชิลเลอร์ แสดงเป็น นิรันดร์
7. วิภาวี เจริญปุระ แสดงเป็น แม่ไฝ
8. ญาณี ตราโมท แสดงเป็น อาจารย์สมศักดิ์
9. ชลิต เฟื่องอารมย์ แสดงเป็น ลุงเกริก
10. เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ แสดงเป็น เจ้หงส์
11. ปัญญาพล เดชสงค์ แสดงเป็น เก๋ง
12. นเรศ วีเดนมันน์ แสดงเป็น มาร์ค
13. อัครพงศ์ วาทีมงคล แสดงเป็น จู้
14. ดารณีนุช โพธิปิติ แสดงเป็น คุณตุ๊ก

เนื้อเรื่องย่อ

ชีวิต สุดหรรษาของสาวน้อย ฝุ่น(แตงโม-ภัทรธิดา) ผู้กำพร้าพ่อตั้งแต่เด็ก เป็นคนที่มีความมุ่งมั่นและใฝ่ฝันที่จะเปิดร้านหนังสือ เพื่อให้คนไทยทุกคนได้อ่านหนังสือ ฝุ่นเป็นลูกสาวคนเดียวของแม่ไฝ(กุ้ง-วิภาวี) เจ้าแม่สำนักทรงเจ้า ฝุ่นไม่ชอบที่แม่ทำอาชีพนี้ทำให้ฝุ่นมีเรื่องทะเลาะกับแม่อยู่บ่อยๆ ฝุ่นพยายามทั้งเรียนละทำงานหนักเพื่อเก็บเงินเปิดร้านหนังสือ ฝุ่นมี นัท(บิ๊ก-ศรุต) เป็นชายหนุ่มรู้ใจ ฝุ่นเอาเงินเก็บทั้งหมดไปเซ้งร้านต่อจากเฮียเม้ง โดยไม่รู้ว่าร้านเฮียเม้งเป็นหนี้อยู่ท่วมหัว ในที่สุดฝุ่นก็ได้เปิดร้านหนังสือ บุ๊คการ์เด้น โดยมี จู้(อัครพงศ์) เป็นสมุนช่วยงานที่ร้าน ฝุ่นมีคู่ปรับคนสำคัญคือ โอ๊ค(อู-ภาณุ) ซึ่งมักดูถูกฝุ่นว่าไม่สามารถพัฒนาร้านหนังสือให้เจริญได้ ฝุ่นเปิดร้านได้อาทิตย์เดียวหนี้สินที่ค้างชำระก็ทำให้ฝุ่นปวดหัว ฝุ่นเปิดร้านได้สามวันมีลูกค้าหนึ่งคน ฝุ่นไปกู้เงินนายเก๋ง(เอ-ปัญญาพล) ดอกโหดแต่สถานการณ์ไม่ดีขึ้น สุดท้ายฝุ่นจึงตัดสินใจละทิ้งความคิดเดิมๆ เธอเปลี่ยนร้านหนังสือที่กำลังจะเจ๊ง ให้เป็นห้องสมุดชุมชนแทน

เรื่อง ราววุ่นๆของห้องสมุดสุดหรรษาจึงเริ่มขึ้น เมื่อเก๋งเจ้าพ่อเงินกู้ตกหลุมรักฝุ่น นิรันดร์(เกริก ชิลเลอร์) เจ้าของร้านกาแฟก็มาเสนอเปิดมุมกาแฟ ตามด้วยคุณตุ๊ก(ท๊อป-ดารณีนุช) ที่เข้ามาเสนอขายของมากมาย ต่อด้วยลุงเกริก(ตุ่ม-ชลิต) ที่เข้ามาเปิดโต๊ะดูดวง ส่วนนัทกับนุ่น(เปิ้ล-ภารดี) สองพี่น้องก็เสนอให้มีมุมอินเตอร์เนท ด้วยเหตุนี้เองทำให้ฝุ่นมีศัตรูคนสำคัญ คือเจ้หงส์(จิ๊ก-เนาวรัตน์) และสุดท้ายคนที่ทำให้หัวใจของฝุ่นหวั่นไหวกลับเป็น มาร์ค(มาร์คุซ) พิธีกรหนุ่มรูปหล่อเพื่อนสมัยเรียน ปัญหาเรื่องห้องสมุด และปัญหาเรื่องหัวใจ ทำให้ฝุ่นต้องพยายามหาทางออก

เนื้อเรื่องย่อ ในแต่ละตอน สามารถหาอ่านได้ที่

http://www.ch7.com/Entertain/Drama_Story.aspx?ContentID=1061
http://www.numwan.com/drama/view.asp?GID=240

ฟังเพลงและเนื้อเพลงประกอบละคร ห้องสมุดสุดหรรษา

เพลง เพียงแค่ใจเรารักกัน โดย ป๊อบ (Calories Blah Blah)
http://www.ijigg.com/songs/V2CF0ED0PB0

เพลงใจหายไปเลย โดย KAL แคล คาโรลีน
http://www.ijigg.com/songs/V2C77DDBPA0

เป็นยังไงกันบ้างครับกับบทละครที่เกี่ยวกับห้องสมุดเรื่องนี้
เอาเป็นว่าถ้าใครยังไม่ได้ดูก็ลองหาดูได้จาก youtube นะครับ

โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย

อย่างที่เมื่อวานผมได้กล่าวถึงงานสัมมนา ?มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้?
ผมได้มีโอกาสฟังการบรรยายอีกช่วงนึงที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือ “โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย”
ผมก็จะสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่านเช่นเคยครับ

dlibthai

วิทยากรในช่วงนี้ คือ “คุณชิตพงษ์? กิตตินราดรผู้จัดการโครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย

คำถามแรกที่ทุกคนสงสัยคือ ทำไม สสส. ถึงทำโครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย
คำอธิบายจากท่านวิทยากรก็ทำให้เรากระจ่าง คือ สสส. เน้นการสร้างสุขภาวะซึ่งมีหลายด้านด้วยกัน
โดยห้องสมุด ถือว่าเป็นการสร้างสุขภาวะทางปัญญานั่งเองครับ

หลักการคร่าวๆ ของโครงการนี้เกิดจากความคิดที่ว่า
หน่วยงานที่มีข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลหลายที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
ดังนั้นโครงการนี้จะเป็นตัวกลางที่จะช่วยประสานและแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้

วิทยากรได้กล่าวถึง “สื่อกำหนดอนาคตของสังคม” เนื่องจากสื่อสามารถสร้างกรอบแนวคิดให้สังคม
บางประเทศถึงขั้นต้องปิดกั้นสื่อ เนื่องจากไม่ต้องการให้ประชาชนได้รับกรอบแนวคิดต่างๆ

สำหรับประเทศไทยมีการสำรวจและพบว่าในวันหยุด เด็กๆ จะใช้เวลากลับการดูทีวีถึง 14 ชั่วโมง
ลองคิดดูสิครับว่า เด็กเหล่านี้จะได้รับอะไรไปเป็นแนวคิดของพวกเขาบ้าง

“สื่อดิจิทัลกำลังกลายเป็นสื่อหลัก” เนื่องจากสื่อดิจิทัลเข้าถึงได้ง่ายมาก
จากการสำรวจคนไทยพบว่า คนไทยอ่านข้อมูลบนเน็ตมากกว่าอ่านหนังสือ
(ใช้เวลาในการอ่านหนังสือ = 39 นาที แต่ใช้เวลาบนอินเทอร์เน็ต 107 นาที)

จากการสำรวจของ NECTEC ก็แสดงถึงการเรียนรู้บนอินเทอร์เน็ต
เมื่อปี 51 มีการสอบถามถึงวัตถุประสงค์ของการใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า ใช้เพื่อการเรียนรู้ 0.1%
แต่ด้วยคำถามเดียวกัน ในปี 52 พบว่า ใช้เพื่อการเรียนรู้ 8%

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่น่าสนใจ
– World Digital Library = http://www.wdl.org/en/

wdl

– The National Archives = http://www.nationalarchives.gov.uk/

na

– Issuu = http://issuu.com/

issuu

– MIT OpenCourseWare = http://ocw.mit.edu/OcwWeb/web/home/home/index.htm

mit

– Google Book = http://books.google.com

google

แต่อุปสรรคของการเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตก็มีนะครับ เช่น
– ความน่าเชื่อถือ? (ไม่รู้จะอ้างอิงใคร)
– ความครบถ้วนของเนื้อหา (ข้อมูลบางครั้งก็มีไม่ครบถ้วน)
– การจัดระบบ (ไม่มีระบบที่จัดการข้อมูลที่ดี)

แต่อุปสรรคต่างๆ เหล่านี้มีทางแก้ นั่นก็คือการจัดการห้องสมุดดิจิทัลไงครับ
ข้อมูลอ้างอิงได้ชัดเจน เนื้อหาก็ครบถ้วน รวมถึงให้คนเป็นผู้จัดระบบย่อมดีกว่าให้คอมพิวเตอร์คิด

โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิตอลประเทศไทย สนับสนุนในเรื่องใดบ้าง
– การผลิต (แปลงสื่อเก่าเป็นสื่อใหม่ + ทำสื่อใหม่ให้ได้มาตรฐาน)
– การเผยแพร่ (ให้บริการบนเว็บ + ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกัน)
– การเข้าถึง (เข้าถึงได้จากจุดเดียว + ค้นหาง่ายขึ้น)

dlib-th

เพื่อตอบสนองคนทุกกลุ่มเป้าหมาย เช่น
– ผู้พิการ = เข้าถึงข้อมูล
– นักเรียนนักศึกษา = ศึกษาเรียนรู้
– คนทั่วไป = สนับสนุนข้อมูลในชีวิตประจำวัน
– นักวิจัย = วิจัยพัฒนา

แผนงานของโครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิตอลประเทศไทยยาว 3 ปี (2010-2012) โดยแบ่งเป็น 3 เฟส คือ
1. จัดทำต้นแบบ (http://www.dlib.in.th) = 20,000 ชิ้น
2. สร้างมาตรฐานและบริการสาธารณะ = 200,000 ชิ้น
3. จัดตั้งองค์กร

ประโยคสรุปสุดท้ายของท่านวิทยากร ผมชอบมากๆ เลยครับ
Keyword = โอกาส + กำหนดทิศทางสังคม + สื่อใหม่

เอาเป็นว่างานนี้ผมได้ความรู้มากมายเลยครับ และได้มีโอกาสรู้จักโครงการดีๆ เพียบเลย
ขอบคุณผู้จัดงานทุกคนครับ ทั้ง มธ. สวทช. สสส. ศวท.

มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้

วันนี้ผมก็มีโอกาสเข้าร่วมงานสัมมนา “มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้
และได้ฟัง ศ.ดร. ไพรัช ธัชยพงศ์ บรรยายในเรื่อง “ความสำคัญของมาตรฐานสื่อดิจิทัล”
ผมจึงขอสรุปเนื้อหามาให้เพื่อนๆ ที่ไม่ได้มีโอกาสเข้าร่วมได้อ่านและเติมความรู้นะครับ

standard-for-digital-media

ปล.ผมขออนุญาตเรียกท่านวิทยากรว่า อาจารย์ นะครับ

หัวข้อแรกที่อาจารยืได้พูดถึง คือ เรื่อง “นิยามและวิวัฒนาการสังคมสารสนเทศ”
ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายความหมายของคำว่า “สังคมความรู้” ให้พวกเราฟัง

“สังคมความรู้” คือ “สังคมที่ทุกคนช่วยกันสร้าง แบ่งปัน และใช้ความรู้ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี”

ไม่ว่าสังคมของเราจะเป็นเกษตร อุตสาหกรรม หรือ บริการ ถ้าเราเอาความรู้ไปใช้
มันก็อาจจะช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการของเราได้ด้วย

เรื่องต่อมาที่อาจารย์ได้บรรยาย คือ เรื่องของวิวัฒนาการของสื่อ
โดยยกตัวอย่างภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคการเขียนหนังสือ และยุคการพิมพ์

สิ่งที่เราเห็นถึงความก้าวหน้าของสื่อ เช่น
กระดาษ -> หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ -> เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

Example : LG Display unveils newspaper-size flexible e-paper
เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีความยืดหยุ่นคล้ายๆ กระดาษ และมีขนาดใหญ่เท่าหนังสือพิมพ์

จากนั้นอาจารย์ก็หยิบเอาตารางการสำรวจยอดการจำหน่ายหนังสือในสหรัฐอเมริกามาให้พวกเราดู
และชี้ให้เห็นว่ายอดการอ่านหนังสือพิมพ์ของคนในสหรัฐอเมริกาลดลง สาเหตุมาจากสื่อออนไลน์

จากนั้นอาจารย์ก็ยกข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตมาให้พวกเราดู (internetworldstats.com)
ประชากรบนโลกประมาณ 6,700 ล้านคน มีการใช้อินเทอร์เน็ต 1,700 ล้านคน

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น นี่เป็นเพียงการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของสื่อดิจิทัล
แต่สิ่งที่ทำให้ต้องมีการมาพูดเรื่องมาตรฐานของสื่อดิจิทัลก็เนื่องมาจาก

ปัญหาของสื่อดิจิทัล เช่น font error, configuration, non format

ดังนั้นจากปัญหาต่างๆ จึงต้องมีการจัดการสื่อดิจิทัล เช่น
– การถ่ายทอดและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
– ต้องทำให้สามารถเข้าถึงได้อย่างกว้างขวาง
– ต้องมีการกำหนดมาตรฐานและแนวทาง
– สร้างความไหลเวียนของข้อมูล

ซึ่งหากพูดถึงมาตรฐานของสื่อดิจิทัลแล้ว เรามีรูปแบบในการกำหนดมาตรฐานหลายอย่าง เช่น
– การจัดการโฟลเดอร์และแฟ้มเอกสาร
– การจัดการเอกสารงานพิมพ์
– การจัดการเอกสารบนเว็บไซต์
– การจัดการเอกสารในการนำเสนอ
– การจัดการไฟล์เสียง
– การจัดการไฟล์ภาพ
– การจัดการสื่อมัลติมีเดีย

หลังจากที่พูดในส่วนนี้เสร็จ อาจารย์ก็อธิบายถึงเรื่องที่เกี่ยวกับเอกสารอย่างคร่าวๆ เช่น
– รูปแบบและระบบรหัสตัวอักษรและสัญลักษณ์
– รูปแบบของเสียงและการบีบอัดข้อมูล
– รูปแบบของไฟล์ภาพและการอ่าน spec กล้อง digital
– รูปแบบของไฟล์วีดีโอ และ MPEG ชนิดต่างๆ

(ผมไม่ขอลงรายละเอียดนะครับ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก)

สรุปปิดท้ายอาจารย์ได้เน้นให้พวกเราทำความเข้าใจในเรื่องของการกำหนดมาตรฐาน
และให้ช่วยกันรณงค์การใช้ข้อมูลมาตรฐาน รวมถึงช่วยกันปรับปรุงและพัฒนาข้อกำหนดต่อไป

เอาเป็นว่าผมก็หวังว่าเพื่อนๆ คงจะเข้าใจถึงความสำคัญของงานมาตรฐานสื่อดิจิทัลกันเพิ่มมากขึ้นนะครับ