โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย

อย่างที่เมื่อวานผมได้กล่าวถึงงานสัมมนา ?มาตรฐานสื่อดิจิทัลเพื่อการบริการยุคสังคมฐานความรู้?
ผมได้มีโอกาสฟังการบรรยายอีกช่วงนึงที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือ “โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย”
ผมก็จะสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่านเช่นเคยครับ

dlibthai

วิทยากรในช่วงนี้ คือ “คุณชิตพงษ์? กิตตินราดรผู้จัดการโครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย

คำถามแรกที่ทุกคนสงสัยคือ ทำไม สสส. ถึงทำโครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิทัลประเทศไทย
คำอธิบายจากท่านวิทยากรก็ทำให้เรากระจ่าง คือ สสส. เน้นการสร้างสุขภาวะซึ่งมีหลายด้านด้วยกัน
โดยห้องสมุด ถือว่าเป็นการสร้างสุขภาวะทางปัญญานั่งเองครับ

หลักการคร่าวๆ ของโครงการนี้เกิดจากความคิดที่ว่า
หน่วยงานที่มีข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลหลายที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
ดังนั้นโครงการนี้จะเป็นตัวกลางที่จะช่วยประสานและแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้

วิทยากรได้กล่าวถึง “สื่อกำหนดอนาคตของสังคม” เนื่องจากสื่อสามารถสร้างกรอบแนวคิดให้สังคม
บางประเทศถึงขั้นต้องปิดกั้นสื่อ เนื่องจากไม่ต้องการให้ประชาชนได้รับกรอบแนวคิดต่างๆ

สำหรับประเทศไทยมีการสำรวจและพบว่าในวันหยุด เด็กๆ จะใช้เวลากลับการดูทีวีถึง 14 ชั่วโมง
ลองคิดดูสิครับว่า เด็กเหล่านี้จะได้รับอะไรไปเป็นแนวคิดของพวกเขาบ้าง

“สื่อดิจิทัลกำลังกลายเป็นสื่อหลัก” เนื่องจากสื่อดิจิทัลเข้าถึงได้ง่ายมาก
จากการสำรวจคนไทยพบว่า คนไทยอ่านข้อมูลบนเน็ตมากกว่าอ่านหนังสือ
(ใช้เวลาในการอ่านหนังสือ = 39 นาที แต่ใช้เวลาบนอินเทอร์เน็ต 107 นาที)

จากการสำรวจของ NECTEC ก็แสดงถึงการเรียนรู้บนอินเทอร์เน็ต
เมื่อปี 51 มีการสอบถามถึงวัตถุประสงค์ของการใช้อินเทอร์เน็ต พบว่า ใช้เพื่อการเรียนรู้ 0.1%
แต่ด้วยคำถามเดียวกัน ในปี 52 พบว่า ใช้เพื่อการเรียนรู้ 8%

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่น่าสนใจ
– World Digital Library = http://www.wdl.org/en/

wdl

– The National Archives = http://www.nationalarchives.gov.uk/

na

– Issuu = http://issuu.com/

issuu

– MIT OpenCourseWare = http://ocw.mit.edu/OcwWeb/web/home/home/index.htm

mit

– Google Book = http://books.google.com

google

แต่อุปสรรคของการเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตก็มีนะครับ เช่น
– ความน่าเชื่อถือ? (ไม่รู้จะอ้างอิงใคร)
– ความครบถ้วนของเนื้อหา (ข้อมูลบางครั้งก็มีไม่ครบถ้วน)
– การจัดระบบ (ไม่มีระบบที่จัดการข้อมูลที่ดี)

แต่อุปสรรคต่างๆ เหล่านี้มีทางแก้ นั่นก็คือการจัดการห้องสมุดดิจิทัลไงครับ
ข้อมูลอ้างอิงได้ชัดเจน เนื้อหาก็ครบถ้วน รวมถึงให้คนเป็นผู้จัดระบบย่อมดีกว่าให้คอมพิวเตอร์คิด

โครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิตอลประเทศไทย สนับสนุนในเรื่องใดบ้าง
– การผลิต (แปลงสื่อเก่าเป็นสื่อใหม่ + ทำสื่อใหม่ให้ได้มาตรฐาน)
– การเผยแพร่ (ให้บริการบนเว็บ + ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกัน)
– การเข้าถึง (เข้าถึงได้จากจุดเดียว + ค้นหาง่ายขึ้น)

dlib-th

เพื่อตอบสนองคนทุกกลุ่มเป้าหมาย เช่น
– ผู้พิการ = เข้าถึงข้อมูล
– นักเรียนนักศึกษา = ศึกษาเรียนรู้
– คนทั่วไป = สนับสนุนข้อมูลในชีวิตประจำวัน
– นักวิจัย = วิจัยพัฒนา

แผนงานของโครงการเครือข่ายห้องสมุดดิจิตอลประเทศไทยยาว 3 ปี (2010-2012) โดยแบ่งเป็น 3 เฟส คือ
1. จัดทำต้นแบบ (http://www.dlib.in.th) = 20,000 ชิ้น
2. สร้างมาตรฐานและบริการสาธารณะ = 200,000 ชิ้น
3. จัดตั้งองค์กร

ประโยคสรุปสุดท้ายของท่านวิทยากร ผมชอบมากๆ เลยครับ
Keyword = โอกาส + กำหนดทิศทางสังคม + สื่อใหม่

เอาเป็นว่างานนี้ผมได้ความรู้มากมายเลยครับ และได้มีโอกาสรู้จักโครงการดีๆ เพียบเลย
ขอบคุณผู้จัดงานทุกคนครับ ทั้ง มธ. สวทช. สสส. ศวท.

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

1 Comment

  1. ขอบคุณความรู้ดีๆๆ อีกครั้ง เดียร์กำลังเรียนเรื่องนี้อยู่พอดี อิอิอิอิอิอิ สุดๆๆ คลังความรู้จิงๆ

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*