วันนี้ผมขอถามความเห็นจากเพื่อนๆ หน่อยนะครับว่า
ระหว่าง “บรรณารักษ์ที่มีประสบการณ์” กับ “บรรณารักษ์ที่มีความรู้” อย่างไหนที่เพื่อนๆ คิดว่าสำคัญกว่า
แบบสอบถามเรื่องนี้มาจากการส่งเมล์สอบถามกันระหว่างกลุ่มบรรณารักษ์ที่ผมเป็นสมาชิกอยู่
ชื่อเมล์ว่า “Library needs experienced librarian, not retail guru”
ผมอ่านความคิดเห็นจากหลายๆ คนแล้วรู้สึกว่ามันน่าสนใจดี เลยขอเอามาถามเพื่อนๆ ชาวไทยบ้าง
คนบางคนอยากเป็นบรรณารักษ์มากถึงขั้นอ่านตำราบรรณารักษ์มากมาย
บางคนจบบรรณารักษ์มาแต่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับบรรณารักษ์ติดตามด้วย
บางคนไม่ได้จบบรรณารักษ์แต่ทำงานในห้องสมุดได้มากมาย
ในต่างประเทศคนที่จบบรรณารักษ์มาใหม่ๆ ได้รับการต้อนรับจากวงการกันอย่างแพร่หลาย
เพื่อที่จะนำคนเหล่านี้มาฝึกให้กลายเป็นบรรณารักษ์แบบมืออาชีพด้วย
เนื่องจากการเรียนในมหาวิทยาลัยเป็นเพียงการเรียนในตำราและสอนแต่ทฤษฎีเท่านั้น
เมื่อออกมาทำงานก็จำเป็นต้องฝึกปรือฝีมือกันหน่อย
และกว่าจะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญก็ย่อมแสดงให้เห็นถึงประสบการณ์ที่มีในอาชีพอย่างมากมาย
บอกตรงๆ ว่าในเมล์บรรณารักษ์เกือบทุกคนเน้นย้ำว่า “แค่ความรู้อย่างเดียวไม่พอต่อการทำงานหรอกครับ”
เอาหล่ะทีนี้มาถึงความคิดเห็นของเพื่อนๆ กันแล้ว
ช่วยกันแสดงความคิดเห็นในแง่นี้หน่อยนะครับ
ผมจะได้ตอบบรรณารักษ์ชาวโลกว่า คนไทยคิดยังไงกัน!!!!
จุ๋มแจ้งเกิดจาก ห้องสมุดกฎหมาย ในฐานะบรรณารักษ์ห้องสมุดกฎหมาย เห็นว่าประสบการณ์สำคัญกว่าค่ะ อาจด้วยเพราะเนื้องาน
แต่ในขณะเดียวกันก็เคยเจอ บรรณารักษ์ห้องสมุดกฎหมาย ที่ไม่ได้จบบรรณารักษ์มา ก็มีปัญหาชีวิตเหมือนกัน เพราะไม่รู้จักการจัดระบบ จนถึงวิธีการค้น แม้ประสบการณ์จะมากมายก็ช่วยไม่ได้อยู่ดี
ฉะนั้น ควรมีความรู้ในด้านบรรณารักษ์ด้วย และต้องบวกด้วยประสบการณ์ ซึ่งจุ๋มให้น้ำหนักทางประสบการณ์มากกว่าค่ะ
ประสบการณ์กับความรู้ สิ่งไหนเกิดขึ้นมาก่อน
บางคนมีความรู้ก่อนและก็มาเรียนรู้ก่อให้เกิดประสบการณ์
บางคนเรียนรู้ประสบการณ์ก่อน แล้วไปเรียนความรู้เพิ่มเติม
ถามว่าสิ่งไหนสำคัญกว่ากัน ตามความเห็นส่วนตัวคิดว่าความรู้น่าจะสำคัญกว่า เมื่อมีความรู้มาย่อมทำงานหาประสบการณ์ได้ง่ายกว่า
ก็คงเหมือนกับวิชาชีพอื่นๆ
แต่วิชาชีพบรรณารักษ์ ยังไม่เป็นวิชาชีพเฉพาะ เช่น วิศวกร แพทย์ พยาบาล ครู หรือทนายความ
ซึ่งถ้าเป็นวิชาชีพเฉพาะทาง จะต้องมีการสอบ ขึ้นใบประกอบวิชาชีพ
และการจะทำอย่างนั้นได้ ต้อง Born to be จริงๆ
นั่นคือก่อนสอบเข้ามาเรียน ต้องมีการสอบวัดแวว และบุคลิกภาพ ที่เหมาะสมกับงาน
ซึ่งในเวลาเรียนก้มีเด็กบางคนที่มาช่วยงาน บรรณารักษ์ ซึ่งเขาอาจจะเรียน Major อื่น
ซึ่งเขาก็สนใจ และมีใจรักมาก
คงจะเข้าทำนอง อิทธิบาท ๔ ว่า ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา
คือต้องมีใจรักก่อน แล้วเพียร แล้วเอาใจใส่
อย่างพระราชนิพนธ์ ล้นเกล้า รัชกาลที่ ๕ ว่า
“ความรู้อาจเรียนทัน กันหมด
เว้นแต่ชั่ว ดี กระด้าง ห่อนแก้ ฤๅ ไหว”
สำหรับประสบการณ์ที่ตัวเองพบ “ความรู้” คงจะต้องมาก่อน “ประสบการณ์”
แต่ส่วนใหญ่ทำไมเวลานักศึกษาจบใหม่ไปสมัครงาน มักจะถูกปฏิเสธว่ายังไม่มีประสบการณ์
(ถ้าไม่ให้โอกาสเขาทำงาน เขาจะมีประสบการณ์ไหมนี่!!!) ชักนอกเรื่องไปละ
ถ้าพูดถึงวิชาชีพบรรณารักษ์แล้ว เราก็ต้องมีความรู้ในวิชาชีพของเราเองก่อนให้ถ่องแท้
ถึงแม้ว่าเวลาเราเข้าไปทำงานแรกๆ เราอาจจะไม่รู้ว่าหนังสือเรื่องนั้นเลขหมู่อะไร อยู่ชั้นตรงไหน
ซึ่งจะต่างกับป้าที่ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ขึ้นชั้นหนังสือมาสิบปี จนจำได้ว่าหนังสือเล่มนั้นอยู่ตู้ไหน
เวลาเด็กเดินมาถาม สามารถระบุพิกัดได้ชัดเจน แต่ถ้าเป็นบรรณารักษ์ก็ต้องสืบค้นก่อน
ตามทักษะที่ได้ร่ำเรียนมา ในกรณีนี้ จะเห็นว่า ประสบการณ์สามารถชนะความรู้ได้
แต่ในขณะเดียวกัน ความรู้พื้นฐาน การลงรายการ การให้เลขหมู่ การจัดหมวดหมู่
การให้หัวเรื่อง หรือเทคนิคการให้บริการต่างๆ ก็ต้องได้มาจากการเรียนรู้ในห้องเรียนก่อน
แล้วค่อยเสริมประสบการณ์จากภายนอก ซึ่งเป็นโอกาสดีที่สาขาบรรณารักษ์
ในแต่ละสถาบัน ต่างก็มีหลักสูตรให้นักศึกษาไปฝึกงานในสถาบันสารสนเทศต่างๆ
ที่นี้แหละ จะเป็นการวัดว่า นักศึกษาเหล่านั้น จะเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกงาน
เพื่อไปเสริมความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับหลายตัวแปร เช่น
บรรณารักษ์ผู้สอนหรือผู้ฝึกงาน นักศึกษาที่ไปฝึกงานเอง สถาบันสารสนเทศที่ฝึกงาน
ระบบการทำงาน ฯลฯ ที่สำคัญคือ การเอาใจใส่ใฝ่เรียนรู้ของผู้ไปฝึกงาน และจิตเมตตากรุณา
ของบรรณารักษ์ผู้ให้การฝึกงาน ซึ่งต่างก็จะเอื้อให้เกิดความรู้และประสบการณ์
ทั้งผู้ฝึกเองก็จะได้ประสบการณ์ใหม่ๆ จากเด็กๆ รุ่นใหม่ที่มีมุมมองแปลกใหม่ ก้าวหน้า
เด็กๆ เองก็จะได้รับประสบการณ์มากมาย จากความรู้ที่สั่งสมมาของบรรณารักษ์รุ่นพี่
…
ตอบยาวไปไหมนี่ สรุปเองนะคะ ไปๆ มา ๆชักน้ำทั่วทุ่งไปละ อิอิ
สรุปแล้วสำคัญทั้งสองอย่าง ครับ
คงให้น้ำหนัก 50-50 ล่ะครับแบบนี้
แต่แอบคิดจริงๆ นะ ที่ไหนก็จะรับแต่คนมีประสบการณ์
ถ้าไม่ได้เริ่มทำสักทีเมื่อไรเล่าจะมีประสบการณ์ – -*
ถ้าเป็นเมื่อก่อน เริ่มเป็นบรรณารักษ์ใหม่ๆ ก็คงต้องตอบว่า ความรู้ เพราะไม่มีความรู้คงไปสอบแข่งขัน เพื่อช่วงชิงตำแหน่งบรรณารักษ์มาครองไม่ได้แน่ๆ แต่พอได้เข้ามาเป็นบรรณารักษ์จริงๆ ได้เรียนรู้ และถ่ายทอดความรู้ที่ร่ำเรียนมา บวกกับการลองผิดลองถูกเพื่อแก้ไขงานที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน สะสมมาเป็นประสบการณ์ที่จะสามารถแก้ไขปัญหา หรือสถานการณ์ซึ่งหน้าที่จะเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ไม่เฉพาะตำแหน่งบรรณารักษ์นะ พี่ว่า การใช้ชีวิติก็เหมือนกัน ดังนั้น ประสบการณ์พี่ว่าสำคัญกว่าค่ะ
เพิ่งได้รับแนะนำทาง Twitter จากเพื่อนครับ
ขออนุญาติในฐานะน้องใหม่
กระผมเพิ่งจบ(ได้สักพัก) ในสาขาบรรณารักษ์ศาสตร์
กระผมมองว่าความรู้ สำคัญ แต่ เรามองความรู้ว่าต้นตอมาจากไหน
แน่นอนว่าวิสัยการศึกษาปัจจุบันย่อมมีแผนการศึกษามาแต่แรก และแต่ละสถาบันก็ต่างกันไป
กว่าผมจะรับเอาความรู้ทางบรรณารักษ์จริงๆจังๆ มาก็ตอนเรียนวิชา Practical ในปีท้ายๆ ที่ต้องเข้าที่ฝึกงาน
เวลานั้นทำให้ผมเข้าใจว่า ระบบการศกษามอบให้ไม่ได้หมด
มาคิดๆ ดูแล้ว ผมก็ยอมรับว่าบางเรื่องระหว่างหน้างานฝึกงานต้องเดา และพยายามแก้ปัญหาซึ่งมันก็คือพิสูจน์ว่างานจำสำเร็จจริงหรือเปล่า ละเรียนรู้จากงานนั้นๆ
แม้แต่ผู้ดูแลการฝึกงานยังบอกเราไม่ได้หมด
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น จากที่ผมสังเกต หลายคนที่ผ่านมาด้วยกันก็ได้เรียนรู้ต่างกันไป และสำหรับบางคนก็แทบจะไม่ได้อะไรเลย(อาจจะพูดแรงไปนะครับ ขออภัย อยากให้เห็นภาพน่ะครับ)
บางคนยังไม่เข้าใจปรากฎการณ์ของการกอปรรวมของเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับงานห้องสมุดด้วยซ้ำ
ท้ายที่สุด บทสรุปของผมคือ ไม่ว่าใครจะความรู้แน่นมาจากไหน
หรือมีประสบการณ์มามากมายเท่าไหร่ หากไม่มีความใฝ่รู้ ใฝ่พัฒนา ก็ไม่มีประโยชน์อะไร
และอีกอย่างที่ผมรู้สึกอึดอัด ทั้งระหว่างเรียน ระหว่างฝึกงานสองที่
ผมพบว่า แต่ละสถาบันมีข้อจำกัดตั้งแต่เรื่องแนวปฏิบัติพื้นฐานไปจนระเบียบต่างๆ
จนทำให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจอยู่แค่ตามกรอบ อึดอัด และท้ายที่สุดก็ Cut Off ยอมตาม และดำเนินงานอย่างเอื่อยเฉื่อย
ปล. ขออภัยนะครับ ความเห็นของผมอาจจะรุนแรงไปหน่อย ความจริงข้อจำกัดของผมก็มีอยู่เหมือนกัน ผมค่อนข้างไม่มีวินัยกับงานเท่าไหร่ ทำให้ผมอยู่ในกรอบของสถาบันไม่ค่อยได้ ท้ายที่สุด วิชาชีพที่ผมจับพลัดจับผลูเข้าเรียนแล้วก็รู้สึกชอบขึ้นมาตอนใกล้ๆจะจบ และคิดจะทำงานตามสบายงาน ก็กลายเป็นคนหลุดระบบไปซะ
ขอบคุณบทความดีๆ หลายๆตอนครับ จะติดตามต่อไป
ยินดีอย่างยิ่งเลยครับ และขอบคุณสำหรับคอมเม้นต์นะครับ
ผมจะส่งรูปไปพี่ๆ รบกวนส่ง mail มาให้ผมใหม่ด้วยนะครบที่ tomiyasaru@hotmail.com
ขอบคุณมากครับ
ขอโทษนะครับ จะส่งรูปอะไรมาหรอครับ
ต้องรู้ทฤษฎีมาบ้างแล้วปฏิบัติงานเกี่ยวกับก้องสมุดได้ง่ายขึ้น ประสบการณ์จะค่อย ๆๆ เพิ่มพูน ตามคุณมา
บรรณารักษ์ที่มีประสบการณ์ กับ บรรณารักษ์ที่มีความรู้ จริงๆแล้วถ้าจากประสบการณ์บ้างคนที่จบบรรณารักษ์มา ทำงานไม่ได้เลย ไม่รู้ว่ามหาวิทยาลัยบ้างที่นะคะสอนอะไรมา แค่คำถามง่ายๆก้อตอบกันไม่ได้ เช่นห้องสมุดเฉพาะคืออะไร Textbbok/Journal คืออะไร ซึ่งจริงๆแล้วมันเป็นคำตอบง่ายก้อตอบกันไม่ได้ ตามความเห็นส่วนตัวประสบการณ์จากที่เราไปทำงานที่ใหญ่ๆ หรือห้องสมุดที่ได้รับการยอมรับหน้าจะได้ดีกว่าบ้างสิ่งที่เรียนมา
ดิฉันกำลังฝึกงานทางด้านบรรณารักษ์คะ รู้สึกว่าสิ่งที่เรียนมานั้นตัวเองไม่สามารถดึงออกมาใช้ได้เลย การฝึกงานเหมือนต้องเรียนรู้ใหม่หมด แต่ยังไงก็คิดว่าถ้าได้ทั้งสองอย่างมารวมอยู่ด้วยกันก็คงจะดีมากๆ มีความรู้มากบวกกับการมีประสบการณ์เยอะผสมผสานกับการพัฒนาคุณภาพตัวเองอยู่เสมอ ความก้าวหน้าก็อยู่ไม่ไกลคะ
ใครมีเนื้อหาวิชาความรู้เบื้องตนบรรณารักษ์ฯ ส่งมาให้เราอ่านหน่อยจิ พอดีจะไปสอบ แต่หาในเน็ตไม่มีอะ หนังสือก็ไม่มีอ่าน
สอบอะไรหรอครับ เดี๋ยวผมจะได้เอามาโพสถูก
ผมไม่ไดจบด้านบรณารักษ์มาแต่ผมรักงานด้านนี้เมื่อได้คลุกคลีกับห้องสมุดมหาวิทยาลัยตอนเรียน รปศ. จบมาผมจึงมทำงานด้านทีไม่ตรงสายที่เรียนมาจะทำยังไงดี จะเรียนด้านบรรณารักษ์ หรือนิเทศฯดี
จบด้านไหนมาครับ แล้วที่บอกว่าจะเรียนนี่หมายถึง ป โท หรือปล่าว