วันนี้ขอเล่าเรื่องส่วนตัวที่กำลังยุ่งเหยิงให้เพื่อนๆ ได้ฟังสักหน่อย อย่างน้อยจะได้เข้าใจสภาพของผมในช่วงนี้ขึ้นมาบ้าง หลายคนอาจจะสงสัยว่าช่วงนี้ทำไมผมดูเงียบลง – MSN ก็ไม่ค่อยคุย – hi5 ก็ไม่ค่อยตอบ – twitter ก็ไม่ค่อย tweet – email ก็นานกว่าจะตอบ ฯลฯ เรื่องที่ 1 – เหนื่อย ช่วงนี้งานประจำของผม มีหน้าที่ที่ผมต้องรับผิดชอบเยอะขึ้น งานต่างๆ ต้องการความเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ดังนั้นงานประจำผมจึงต้องทุ่มเทให้งานประจำด้วยเช่นกัน ส่วนเรื่องบล็อกใหม่ที่กำลังเข้าที่ ก็ต้องอาศัยความขยันในการอัพเดทเรื่องของตัวเองบ่อยๆ เพื่อให้บล็อกของผมสามารถสร้างชุมชนบรรณารักษ์ได้หลายรูปแบบ จากงานประจำ + งานบล็อก = เหนื่อยมากมาย เรื่องที่ 2 – เครียด งานประจำที่ผมทำอยู่เป็นงานราชการ ดังนั้นเวลาจะทำอะไรก็ตามต้องทำตามแบบราชการ อยากจะบอกว่าจนวันนี้ผ่านไปก็เกือบครึ่งปีแล้ว ผมเองก็ยังไม่ชินกับลักษณะงานแบบนี้อยู่ดี บางอย่างที่น่าจะทำได้ แต่พอเข้ากระบวนการราชการก็ไม่สามารถทำได้ จากระเบียบงานราชการ = เครียด เรื่องที่ 3 – ป่วย ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย บางวันร้อน บางวันฝนตก ผมเองก็ยังปรับสภาพไม่ค่อยทันหรอกนะครับ แถมด้วยการหอบงานกลับมาทำเยอะก็เลยต้องนอนดึกขึ้น บางวันก็ไม่ได้นอน เวลาพักผ่อนหายไป เลยทำให้สุขภาพทรุดลงนิดนึง จากสภาพอากาศ + พักผ่อนน้อย = ป่วย จากเรื่องที่ 1 + 2 + 3 จึงเป็นที่มาของชื่อเรื่อง และการระบายความในใจให้เพื่อนๆ ฟังวันนี้นั่นเอง เหนื่อย + เครียด + ป่วย = ผมเองในตอนนี้
Day: May 28, 2009
ห้องสมุดทำอะไรได้บ้างบน Facebook
หลังจากที่ผมลองเล่น Facebook มาได้ระยะหนึ่ง ผมก็ได้พบกับห้องสมุดต่างๆ มากมายที่สมัครใช้งาน Facebook เช่นกัน วันนี้ผมเลยขออนุญาตพาเพื่อนๆ เข้าไปดูห้องสมุดต่างๆ เหล่านี้หน่อย ว่าเขาใช้ Facebook ทำอะไรบ้าง แต่ก่อนอื่นผมขอแอดห้องสมุดเหล่านี้ไว้เป็นเพื่อนผมก่อนนะครับ เมื่อแอดห้องสมุดเหล่านี้เสร็จ ผมก็เริ่มเข้าไปดูทีละส่วนของห้องสมุดเลยครับ ส่วนแรกที่ผมได้พบ คือ ข้อมูลทั่วไปของห้องสมุด ซึ่งประกอบด้วย – ชื่อห้องสมุด – ที่อยู่ – แฟนคลับของห้องสมุด – ข้อความทักทายผู้ใช้งาน – รูปภาพของห้องสมุด – วีดีโอแนะนำห้องสมุด เดิมทีผมคิดว่าห้องสมุดใน Facebook จะสามารถทำได้เพียงเท่านี้ แต่ความเป็นจริงแล้วห้องสมุดยังสามารถใช้ Facebook ทำอย่างอื่นได้อีก ฟีเจอร์เสริมที่ห้องสมุดนำมาใช้ – แหล่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ มากมายที่ห้องสมุดแนะนำ โดยใช้ RSS Feed – จุดเชื่อมโยงไปสู่เว็บไซต์ห้องสมุดอื่นๆ หรือบล็อกห้องสมุด (Link) – ระบบสืบค้นฐานข้อมูลต่างๆ – บริการพจนานุกรมออนไลน์ ภาพแสดงตัวอย่างระบบสืบค้นฐานข้อมูลที่อยู่ใน Facebook – SUNCAT Search – WorldCat – Warwick Library E-Journal Search – Oxford English Dictionary Search เป็นยังไงกันบ้างครับ ห้องสมุดบน Facebook ทำอะไรได้มากกว่าที่คุณคิดหรือปล่าว อ๋อเกือบลืมบอกไป ว่าที่สำคัญอีกอย่าง คือ การสมัคร facebook ไม่ต้องเสียเงินสักบาทเลยนะครับ รู้แบบนี้แล้ว เพื่อนๆ พร้อมที่จะนำห้องสมุดของท่านขึ้นมาไว้บน facebook บ้างหรือปล่าว