การบรรยายของผมเกือบทุกครั้งจะต้องเปิดวีดีโอตัวนี้ และวีดีโอตัวนี้ก็ทำให้เพื่อนๆ รู้ว่า แม้ว่า IPAD หรือ Tablet จะมีประโยชน์มากมายเพียงใด แต่ก็ช่วยเราไม่ได้ทุกเรื่อง ไปดูกันเลยดีกว่าครับ วันนี้ขอเขียนสั้นๆ สักเรื่องแล้วกันครับ เพลียกับงานเยอะ ยังไงทิ้งท้ายก็ขอให้เพื่อนๆ ฝันดีครับ ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=GSHEaet0Rhw
Tag: tablet
บรรณารักษ์แนะนำ app : สื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจของ TKpark
ตามสัญญาครับว่านายห้องสมุดจะมารีวิว Application ที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับชาวห้องสมุดเดือนละ 1 app เดือนมกราคมนี้ ผมขอแนะนำ Application ของห้องสมุดไทยแห่งหนึ่ง ต้องบอกว่าเป็น App แรกของห้องสมุดเมืองไทยเลยก็ว่าที่ได้ App นี้มีการรวบรวมสื่อสาระการเรียนรู้ที่น่าสนใจมากมาย App นี้เป็นของอุทยานการเรียนรู้ หรือ TKpark นั่นเอง ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นย้อนหลังไปสักนิดว่า จริงๆ แล้ว App นี้ออกมานานพอควรแล้ว แต่เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมามีการอัพเดทข้อมูลและสื่อใหม่ๆ ลงมาเพียบ ดังนั้นจึงต้องขอพูดถึงสักหน่อยว่ามีอะไรเด็ดๆ บ้าง TKapp สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีทั้งบนระบบปฏิบัติการ IOS หรือ Android เพียงแค่ลองค้นคำว่า “TKpark” หรือ “TKapp” ลงไปใน Apple stroe หรือ Google play Content ที่มีอยู่ใน App นี้ ได้แก่ 1. วัตถุเล่าเรื่อง (จำนวน 3 เล่ม) 1.1 กินอยู่อย่างไทย 1.2 ปัจจัย 4 ของชีวิต 1.3 คนก่อนประวัติศาสตร์บนดินแดนไทย 2. หนังสือเสียง (จำนวน 20 เรื่อง) 2.1 เด็กหญิงแก้มใสกับไร่ผัก 2.2 ยายกะตา 2.3 เมืองน่าอยู่ที่หนูรัก 2.4 ซีงอ เจ้าป่าผู้กล้าหาญ 2.5 ดอกสร้อยสุภาษิต 2.6 เมืองขวานทอง 2.7 ยิ้มของหนูดี 2.8 กระต่ายสามพี่น้อง 2.9 หนูแป้งแปลงขุมทรัพย์ 2.10 ความฝันของชะเอม 2.11 เพื่อนรักจากต่างดาว 2.12…
บรรณารักษ์แนะนำ app : หนอนหนังสือไม่ควรพลาด Goodreads
นานๆ ทีจะมาเขียนบล็อกให้เพื่อนๆ อ่าน วันนี้ผมเลยขอเปิดประเด็นใหม่ซึ่งอยากให้เพื่อนๆ ลองอ่าน นั่นคือ ประเด็นที่เกี่ยวกับการแนะนำ App ในโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet ที่น่าสนใจ ซึ่ง app ที่แนะนำในบล็อกนี้จะเกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์ รวมไปถึงคนที่ชอบอ่านหนังสือด้วย วันนี้ผมขอแนะนำ App ที่เกี่ยวข้องกับคนชอบอ่านหนังสือแล้วกัน และที่สำคัญ App นี้มาจากเว็บไซต์แห่งหนึ่งที่ผมชอบใช้ในการบรรยายของผมมากๆ เว็บไซต์ที่ว่านี้ คือ www.goodreads.com นั่นเอง เว็บไซต์ goodreads มีความน่าสนใจตรงที่ว่า มันเป็นเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์หนึ่งที่รวบรวมคนที่รักการอ่านจากทั่วโลก มีการแนะนำหนังสือต่างๆ มากมายหลายภาษา มีการพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือต่างๆ การวิจารณ์หนังสือ ข้อมูลที่เกี่ยวกับหนังสือมากมาย เอาเป็นว่าคอหนังสือหรือเหล่าหนอนหนังสือไม่ควรพลาด ที่สำคัญเว็บไซต์นี้ไม่ได้มีแต่หนังสือภาษาอังกฤษเท่านั้นแต่ยังมีหนังสือ วรรณกรรม เรื่องสั้น ของไทยอยู่เยอะพอสมควรเลย “เพื่อนๆ อยากรู้มั้ยครับว่ามีคนที่อ่านหนังสือเล่มเดียวกับเพื่อนๆ กี่คน และเข้ารู้สึกยังไงกับหนังสือเล่มนั้น” “คนที่วางแผนจะซื้อหนังสืออ่สนสักเล่มอยากรู้มั้ยครับว่าหนังสือเล่มที่เรากำลังจะซื้อมีคนพูดถึงอย่างไร” “คนที่อ่านหนังสือไปแล้วสามารถแชร์ความประทับใจหรือพูดคุยกับคนที่อ่านเล่มเดียวกันได้” เมื่อรู้แล้วว่าเว็บไซต์นี้ดีขนาดไหน ผมเชื่อว่าถ้าเพื่อนๆ มีโทรศัพท์ smartphone หรือ tablet คงจะต้องไม่พลาดกับ app ของเว็บไซต์นี้ “Goodreads” ใน app “goodreads” มีอะไรที่น่าสนใจบ้าง – ค้นหาหนังสือ – หนังสือของเรา (My book) – ประวัติส่วนตัว (My profile) – กลุ่มของฉัน (My group) – อัพเดท หรือ หนังสือมาใหม่ หรือ วิจารณ์หนังสือล่าสุด (Update) – เพื่อนของฉัน (My friends) – สแกนหนังสือ หรือ เพิ่มหนังสือเข้าระบบ (Barcode…
ผู้ใช้บริการต้องการอะไรจาก App. ของห้องสมุด (Library Mobile App.)
วันนี้ผลขอนำเสนอข้อมูลจาก Library Journal เกี่ยวกับผลการศึกษาวิจัยพฤติกรรมผู้ใช้บริการที่เกี่ยวกับโปรแกรมของห้องสมุดบนอุปกรณ์สื่อสารไร้สายไม่ว่าจะเป็น Smartphone หรือ Tablet บทความนี้จริงๆ แล้ว เป็นบทความที่พูดถึงเรื่องสถานะและทิศทางของอปุกรณ์สื่อสารไร้สายต่างๆ กับห้องสมุด ซึ่งจริงๆ เป็นบทความที่ยาวมาก แต่ผมขอคัดออกมาเป็นบางตอนเท่านั้น (อ่านเรื่องเต็มจากที่มาด้านล่างบทความนี้ครับ) ผลสำรวจสิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องการจาก โปรแกรมห้องสมุดบนอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย (Library Mobile App.) ผลสำรวจจากภาพเราสรุปได้ง่ายๆ เลยว่า สิ่งที่ผู้ใช้บริการต้องการจาก Mobile App. คือ – ฟังค์ชั่นการค้นหาหนังสือออนไลน์ (Library Catalog) – ฟังค์ชั่นการขยายเวลาการยืม หรือ การต่ออายุเวลาการยืมหนังสือ – ฟังค์ชั่นการจองหนังสือหรือสื่อที่ต้องการ – ฟังค์ชั่นแนะนำหนังสือใหม่หรือสิ่งพิมพ์ใหม่ๆ – ข้อมูลที่เกี่ยวกับห้องสมุดหรือค้นหาห้องสมุดที่อยู่ใกล้ๆ – ฟังค์ชั่นการวิจารณ์หนังสือ (Review book) – ฟังค์ชั่นการจัดการข้อมูลส่วนตัว (ประวัติการยืมคืน) – ฟังค์ชั่นการยืมหนังสือด้วยตัวเอง (ยิงบาร์โค้ตเองได้) – ฟังค์ชั่นการค้นหาคนอื่นๆ ที่ชอบอ่านหนังสือแนวๆ เดียวกัน – ฟังค์ชั่นการค้นหาบทความและการเข้าถึงฐานข้อมูลที่ห้องสมุดบอกรับ – ฟังค์ชั่นการดาวน์โหลดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) – ฟังค์ชั่นการดาวน์โหลดหนังสือเสียง (Audio-Book) เป็นยังไงกันบ้างครับตรงกับสิ่งที่เพื่อนๆ ต้องการด้วยหรือปล่าว จากบทความนี้เราคงเห็นแล้วว่าความคาดหวังของผู้ใช้เริ่มมีมากขึ้น ดังนั้นการทำงานของบรรณารักษ์ในยุคปัจจุบันอาจจะต้องมีการปรับตัวอย่างเร็ว พอๆ กับความต้องการของผู้ใช้ที่มีความเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงเทคโนโลยีต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน เอาเป็นว่าก็เอาใจช่วยนะครับ พี่น้องชาวบรรณารักษ์ ที่มาของบทความนี้ http://www.thedigitalshift.com/2012/02/mobile/the-state-of-mobile-in-libraries-2012/
เดี๋ยวนี้ห้องสมุดก็นำ Tablet มาให้ผู้ใช้บริการได้ใช้กันแล้ว
หลายวันก่อนในกลุ่ม Librarian in Thailand ใน Facebook มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องการนำ Tablet มาใช้ในห้องสมุด ว่ามีที่ไหนให้ใช้บริการบ้าง และให้ใช้บริการอย่างไร วันนี้ผมจึงขอนำตัวอย่างที่ห้องสมุด TK park มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันครับ จุดให้บริการ Tablet ของ TK Park จะอยู่ที่ห้อง MindRoom และใช้ได้ในจุดที่กำหนดเท่านั้น นั่นคือ ห้อง Mindroom เอาง่ายๆ คือไม่ได้มีไว้ให้ยืมออกครับ และที่ต้องกำหนดในมุม เท่านั้นเพราะเพื่อความปลอดภัยและการดูแลจากเจ้าหน้าที่ Tablet ที่ให้บริการ คือ Acer Iconia A100 ซึ่งใน TK Park มีให้บริการจำนวน 3 เครื่อง ภายใน Tablet จะบริการเพื่อการเรียนรู้เท่านั้น ซึ่งประกอบด้วย Content หลักๆ คือ – TK E-Book ชุด “วัตถุเล่าเรื่อง” – TK Audio Book หรือสื่อการเรียนรู้หนังสือเสียง – TK Valuable Book หรือสื่อการเรียนรู้ชุด “ขุมทรัพย์ของแผ่นดิน” – TK Game Book – TK eBook – Read Me Egazine ลองมาดูคลิปวีดีโอ Review กันหน่อยดีกว่าครับ [youtube]http://www.youtube.com/watch?v=_YN-_ootboY[/youtube] เอาเป็นว่า ณ เวลา เที่ยงของวันอาทิตย์ที่ผมมาสังเกตการณ์อยู่ตอนนี้ ยังไม่มีผู้เข้ามาใช้ Tablet เลย ดังนั้นใครที่สนใจอยากจะมาทดลองใช้ Tablet…