นายห้องสมุดชวนอ่าน ประสบการณ์แอปเปิล (The Apple Experience)

วันสบายๆ วันนี้ นายห้องสมุดขอแนะนำหนังสือสักเล่มแล้วกัน นั่นคือหนังสือ “ประสบการณ์แอปเปิล (The Apple Experience)” แบบว่าหนังสือเล่มนี้อ่านแล้วรู้สึกดีมากๆ เพราะมีแง่คิดที่ผมว่าคนทำงานด้านบริการควรเก็บมาคิดหลายเรื่อง เอาเป็นว่าลองอ่านบล็อกเรื่องนี้ก่อนแล้วกัน ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้ ชื่อหนังสือ : ประสบการณ์แอปเปิล (The Apple Experience) ผู้เขียน : Carmine Gallo ผู้แปล : ศรชัย จาติกวาณิช จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล ปีพิมพ์ : 2555 จำนวนหน้า : 304 หน้า ISBN : 9786167060392 ราคา : 239 บาท ในยุคนี้หากพูดถึง “แอปเปิล” ผมเชื่อว่าน้อยคนจะบอกว่าไม่รู้จัก Mac, Iphone, Ipad, IPOD ล้วนแล้วแต่เป็นสินค้าชื่อดังของ “แอปเปิล” การที่บริษัทแอปเปิลเติบโตและเป็นที่รู้จักของโลก นั่นแสดงให้เห็นความยิ่งใหญ่ของบริษัทแห่งนี้ สิ่งหนึ่งที่ผมชื่นชม “แอปเปิล” ไม่ใช่แค่เพียงสินค้าที่เขาจำหน่ายเท่านั้น แต่ความคิดของ “แอปเปิล” ในแง่ต่างๆ ที่ผมชอบ ไม่ว่าจะเป็นแง่คิดตอนที่แอปเปิลทำ ipod หรือแม้กระทั่งแง่คิดของการออกแบบร้านของ “แอปเปิล” หรือที่เราเรียกว่า “Apple Store” หนังสือเล่มนี้มีเรื่องอะไรบ้างที่น่าสนใจ (สารบัญ) หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ภาคใหญ่ๆ คือ ภาค 1 จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกค้าภายในของคุณ – ฝันไปให้ไกลกว่าเดิม – จ้างมายิ้ม – บ่มเพาะพนักงานที่ไม่กลัว – สร้างความไว้วางใจ – จัดให้มีระบบข้อมูลป้อนกลับ – พัฒนาพนักงานหลายมือ –…

อ่านอะไรดี : เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่

วันศุกร์ วันสบายๆ แบบนี้ผมขอแนะนำหนังสือสักเล่มดีกว่า (จริงๆ ต้องบอกว่าโปรโมทหนังสือของหน่วยงานตัวเองมากกว่านะ) หนังสือเล่มนี้แค่เห็นชื่อเรื่องก็ต้องบอกว่าสะดุดตาพอสมควรแล้ว นั่นคือ “เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่” ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้ ชื่อเรื่องภาษาไทย : เส้นทางสู่ห้องสมุดยุคใหม่ จัดพิมพ์โดย : โครงการศูนย์ความรู้กินได้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ปีพิมพ์ : 2554 จำนวนหน้า : 192 หน้า ISBN : 9786162024672 ชื่อหน่วยงานและโครงการหวังว่าเพื่อนๆ คงคุ้นเคยกันนะครับ เพราะเวลาผมไปบรรยายที่ไหนก็ตามผมก็จะกล่าวถึงหน่วยงานนี้ “ศูนย์ความรู้กินได้” ซึ่งเป็นการพัฒนาต้นแบบห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีนั่นเอง จากการทำงานพัฒนาระบบห้องสมุดของผม 2 ปีกว่าๆ ทีมงานของเราพยายามถอดความรู้จากประสบการณ์และบทเรียนที่เราได้รู้จากการทำงานต่างๆ และได้รวบรวมเพื่อที่จะจัดพิมพ์ออกมาให้เพื่อนๆ ได้อ่าน และนำไปลองใช้ดู เนื้อหาในเล่มนี้แบ่งออกเป็น 6 บทหลักๆ คือ – บานประตูใหม่ เพื่อเข้าถึงความรู้ (เกริ่นความสำคัญของการมีห้องสมุด) – ศูนย์ความรู้กินได้ ยุทธศาสตร์ และเป้าหมาย (ภาพรวมของโครงการและรางวัลห้องสมุดระดับประเทศ) – การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ (พูดเรื่องการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ และโครงสร้างพื้นฐานของอาคารห้องสมุด) – ปรุง “ความรู้” ให้ “กินได้” (พูดเรื่ององค์ความรู้และการเลือกองค์ความรู้ไปใส่ในห้องสมุด) – สร้างเครือข่ายผู้ใช้ห้องสมุด เครือข่ายผู้สนับสนุน (การใช้สื่อสังคมออนไลน์และบทบาทของเครือข่ายห้องสมุด) – การบริหารและพัฒนาบุคลากรในห้องสมุด (พูดเรื่องการพัฒนาบรรณารักษ์ในรูปแบบต่างๆ) นอกจากนี้ยังมีส่วนภาคผนวกที่จะเพิ่มความรู้เกี่ยวกับ “การสร้างห้องสมุด” และ “ห้องสมุด 2.0” ด้วย เอาเป็นว่าเนื้อหาที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ ผมต้องขอบอกเลยครับว่า เน้นข้อมูลที่เพื่อนๆ สามารถนำไปใช้ได้จริงทั้งนั้น ตัวอย่างกิจกรรมดีๆ การเลือกหนังสือเข้าห้องสมุดแบบถูกใจผู้ใช้บริการ หัวข้อการประเมินผลกิจกรรมต่างๆ และนวัตกรรมการบริการห้องสมุดแบบใหม่ๆ หนังสือเล่มนี้ต้องขอบอกตามตรงว่ามีจำนวนจำกัดมากๆ ดังนั้นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 นี้จะมีให้แค่บางหน่วยงานเท่านั้น แต่รับรองว่ายังคงมีการพิมพ์เพิ่มอีกแน่นอน ซึ่งเมื่อไหร่นั้นจะแจ้งให้ทราบภายหลัง ส่วนใครที่อยากได้จริงๆ วันนี้ผมมีมาแจก…

อ่านอะไรดี : ภาษาอังกฤษสำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน

ช่วงนี้มีคนพูดเรื่องห้องสมุดกับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เยอะมาก และคำถามนึงที่เพื่อนๆ ถามมาเยอะ คือ “บรรณารักษ์ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง” ผมก็แนะนำไปหลายๆ อย่างแต่สิ่งหนึ่งที่ผมต้องย้ำ คือ ภาษาอังกฤษ และวันนี้ผมขอแนะนำหนังสือที่เกี่ยวกับ “ภาษาอังกฤษสำหรับบรรณารักษ์” ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้ ชื่อเรื่องภาษาไทย : ภาษาอังกฤษสำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : English for Public Librarians จัดพิมพ์โดย : โครงการวิจัยการพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปีพิมพ์ : 2552 จำนวนหน้า : 406 หน้า ISBN : 9786115050086 โจทย์การพัฒนาบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนให้มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษเป็นโจทย์ที่ท้าทายผมมาก ดังนั้นผมจึงต้องค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือสอนภาษาอังกฤษ การฝึกอบรมด้านภาษา ฯลฯ ซึ่งการค้นพบหนังสือเล่มนี้ทำให้ผมรู้สึกตื่นเต้นมากๆ ครับ จึงต้องเอามาเขียนลงบล็อกให้ได้ หนังสือเล่มนี้อย่างที่ข้อมูลเบื้องต้นบอกว่าเป็นของ มสธ. นั่นแหละครับ ผมจึงตามไปที่ มสธ. และถามหาหนังสือเล่มนี้ ซึ่งรู้มาว่า มีหนังสือเล่มนี้อยู่จริง แต่ไม่มีจำหน่าย ดังนั้นผมจึงต้องเสาะหามาให้ได้เพื่อนำมาศึกษา ซึ่งต้องขอขอบคุณอาจารย์น้ำทิพย์มากๆ ที่กรุณาให้ผมนำมาศึกษา ภายในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ หน่วยที่ 1 Welcoming Visitors หน่วยที่ 2 Reading for Professional Development หน่วยที่ 3 Writing for Professional Development ในแต่ละส่วนเน้นทักษะที่ไม่เหมือนกัน เช่น หน่วยที่ 1 ที่เกี่ยวกับการต้อนรับผู้ใช้บริการ จะเป็นบทที่เน้นการสนทนา (พูด) เป็นหลัก ซึ่งในบทนี้ที่ผมชอบมากๆ คือ มีสคริปส์ให้อ่านด้วย…

อ่านอะไรดี : กำเนิดหนังสือของเด็กไทยสู่รุ่งอรุณของหนังสือโรงเรียน

แนะนำหนังสือดีๆ มาพบกับเพื่อนอีกครั้งแล้วนะครับ ช่วงนี้ไปยืมหนังสือที่เกี่ยวกับห้องสมุดและการอ่านมาเยอะมากเลย วันนี้ขอยกมาแนะนำสักเล่มแล้วกัน ซึ่งหนังสือที่ผมแนะนำวันนี้ คือ “กำเนิดหนังสือของเด็กไทยสู่รุ่งอรุณของหนังสือโรงเรียน” ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้ ชื่อเรื่อง : กำเนิดหนังสือของเด็กไทยสู่รุ่งอรุณของหนังสือโรงเรียน สำนักพิมพ์ : แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน จำนวนหน้า : 87 หน้า ปีพิมพ์ : 2554 หนังสือเล่มนี้ถูกจัดพิมพ์โดยแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน มุ่งเน้นอยากให้เด็กและเยาวชนไทยได้เห็นความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ของหนังสือ ซึ่งในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. กำเนิดหนังสือเด็กของไทย : จากสมุดไทยถึงยุคกำเนิดการพิมพ์ 2. สร้างหนังสือ สร้างเด็กไทย ในยุคก้าวสู่การศึกษาแผนใหม่ 3. รุ่งอรุณของหนังสือโรงเรียน : เพาะนักอ่าน หว่านเมล็ดพันธุ์ “นักเขียน” สู่บรรณพิภพ จากการเปิดอ่านอย่างผ่านๆ ได้พบเห็นหัวข้อที่น่าสนใจมากมาย เช่น 1. กำเนิดหนังสือเด็กของไทย : จากสมุดไทยถึงยุคกำเนิดการพิมพ์ – หนังสือเล่มแรก ดวงแก้วแห่งปัญญาเด็กไทย (หนังสือที่ปรากฎหลักฐานว่าแต่งขึ้นสำหรับเด็กเล่มแรก ได้แก่ “จินดามณี”) – หนังสือสอนทักษะชีวิตเล่มแรก คือ “สวัสดิรักษา” แต่งโดย สุนทรภู่ – แบบเรียนภาษาไทย เรียนความรู้ด้วยความงาม (แบบเรียนหลวง ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร) – การบันทึกข้อมูล (การจารึกบนศิลา เขียนบนใบลาน เขียนลงกระดาษข่อย พิมพ์อักษรไทย) 2. สร้างหนังสือ สร้างเด็กไทย ในยุคก้าวสู่การศึกษาแผนใหม่ – สร้างแบบเรียน คือ สร้าง “แบบ” เด็กไทย – สร้างเสริมแบบเรียนไทยโดยบาทหลวงฝรั่ง – หนังสือนิทาน-อ่านสนุก…ปลูกฝังความดีด้วยความงาม – หนังสือดีที่ต้องห้มในสมัยรัชกาลที่ 6-7…

อ่านอะไรดี : “Digital Library Futures” อนาคตห้องสมุดดิจิทัล

สวัสดีเรื่องแรกของบล็อก Libraryhub ปี 2555 ก่อนอื่นคงต้องสวัสดีปีใหม่เพื่อนๆ วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์สักหน่อย และขออวยพรให้ทุกๆ ท่านพบแต่ความสุขและความก้าวหน้าในหน้าที่การงานทุกคน เอาหล่ะมาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า วันนี้ผมจะมาแนะนำหนังสือเล่มหนึ่งที่อ่านแล้วรู้สึกว่าได้สาระค่อนข้างดีเล่มหนึ่ง เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับห้องสมุดดิจิทัล หรือทิศทางของห้องสมุดในยุคไซเบอร์เลยก็ว่าได้ หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความวิจัยเกี่ยวกับ “อนาคตของห้องสมุดดิจิทัล” ซึ่งเน้นในเรื่องของสิ่งที่ผู้ใช้คาดหวังและการปรับกลยุทธ์ของห้องสมุดดิจิทัล ปล. หนังสือเล่มนี้เป็นภาษาอังกฤษทั้งเล่มนะครับ ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้ ชื่อเรื่อง : Digital Library Futures : User perspectives and Institutional strategies บรรณาธิการโดย : Ingeborg Verheul, Anna Maria Tammaro and Steve Witt สำนักพิมพ์ : IFLA Publication ISBN : 9783110232189 จำนวนหน้า : 150 หน้า ข้อมูลทั่วไปจากเว็บไซต์ของ IFLA http://www.ifla.org/publications/ifla-publications-series-146 เอาหล่ะครับ อย่างที่เกริ่นไว้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมงานวิจัยและงานวิชาการที่น่าสนใจเกี่ยวกับห้องสมุดดิจิทัล ดังนั้นเนื้อหาที่อยู่ในแต่ละเรื่องของหนังสือเล่มนี้จึงไม่ใช่เนื้อหาที่เรียงร้อยกัน (เลือกอ่านแต่เรื่องที่สนใจได้ ไม่ต้องอ่านทั้งเล่ม) เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ 1. ส่วนที่เกี่ยวกับผู้ใช้บริการ (User Experience) 2. ส่วนที่เกี่ยวกับตัวเนื้อหาที่อยู่ในห้องสมุดดิจิทัล (Content) 3. ส่วนที่เกี่ยวกับองค์กรและกลยุทธ์ (Strategies for Institutions) ในแต่ละส่วนก็จะประกอบไปด้วยบทความต่างๆ ดังนี้ 1. ส่วนที่เกี่ยวกับผู้ใช้บริการ (User Experience) – The Virtual Scholar : the Hard and Evidential Truth…

อ่านอะไรดี : พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ3R

ช่วงนี้เห็นหลายๆ คน พูดถึงเรื่องความสำคัญของการอ่านมากขึ้นเรื่อยๆ วันนี้ผมจึงขอแนะนำหนังสืออีกสักเล่มที่เกี่ยวกับการอ่านมาฝาก ชื่อเรื่องของหนังสือเล่มนี้ คือ “พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ3R” ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้ ชื่อเรื่อง : พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ3R สำนักพิมพ์ : สุวีริยาสาส์น ISBN : 9789741329526 จำนวนหน้า : 152 หน้า ปีพิมพ์ : 2551 หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนที่เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับการอ่าน และ ตัวอย่างแบบฝึก (แผนการสอนเรื่องการอ่าน) บทที่ 1 และ 2 เป็นเรื่องทฤษฎีล้วนๆ พูดถึงความสำคัญของการอ่าน และเทคนิดการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และตั้งแต่บทที่ 3 ไปจนถึงบทสุดท้ายจะเป็นเนื้อเรื่องตัวอย่างที่มีไว้ให้อ่าน ลองอ่านและทำแบบทดสอบดู หลักๆ ที่ผมหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาอ่านก็เพราะคำว่า “SQ3R” นั่นแหละครับ พอได้อ่านและเข้าใจถึงแนวทางในการอ่านแล้ว ผมจึงรู้สึกว่าการอ่านอย่างมีวิจารณญาณมีความสำคัญมากๆ เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่าการวัดผลสำเร็จของการอ่านอย่างมีวิจารณญาณมีอะไรบ้าง หนังสือเล่มนี้รวบรวมจากนักวิชาการมาหลายคน เช่น อาจารย์เปลื้อง ณ นคร, อาจารย์อรษา บุญปัญญา ฯลฯ ตัวอย่างการวัดว่าผู้อ่านมีทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณมากน้อยเพียงใด จะต้องดูจากสิ่งดังต่อไปนี้ – ความสามารถในการจำแนกประเภทของงานเขียน – ความสามารถแยกแยะส่วนที่เป็นข้อเท็จจริง หรือข้อคิดเห็น – ความสามารถอธิบายความหมายของคำศัพท์ สำนวน อุปมา – การตัดสินสิ่งที่ถูกและสิ่งที่ผิด – การบอกจุดประสงค์ของผู้เขียน – การจับแนวความคิดหลัก – การจับน้ำเสียงหรือความรู้สึกของผู้เขียน – การบอกโครงเรื่องหรือสรุปเรื่อง – การประเมินคุณค่าของเรื่องที่อ่าน เอาหล่ะครับ เมื่อเรารู้แบบนี้แล้ว ผมจะได้อธิบายถึง หลัก SQ3R กันต่อเลย ว่ามันคืออะไรและย่อมาจากอะไร การอ่านแบบ…

อ่านอะไรดี : 20 คมคิด ฝ่าวิกฤตการอ่าน

แนะนำหนังสือดีๆ มาพบกับเพื่อนๆ อีกแล้วนะครับ ช่วงนี้อ่านหนังสือเยอะมากๆ เลยเนื่องจากอ่านเพื่อให้หายเครียดเรื่องน้ำท่วมอ่ะครับ (แอดมินกลายเป็นผู้ประสบภัยไปซะแล้ว) เมื่อวานเขียนเรื่อง “Libraryhub ขอสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของท่าน” ดังนั้นวันนี้จึงขอแนะนำหนังสือที่เกี่ยวกับเรื่อง “การอ่านหนังสือ” แล้วกันครับ ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้ ชื่อเรื่อง : 20 คมคิด ฝ่าวิกฤตการอ่าน สำนักพิมพ์ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ ISBN : 9786167197296 จำนวนหน้า : 63 หน้า ปีพิมพ์ : 2552 หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมมุมมองและข้อเสนอเรื่องการส่งเสริมการรักการอ่านจากบุคคลที่มีชื่อเสียง รวมถึงบุคคลที่ทำหน้าที่และเกี่ยวข้องกับการอ่าน เอาเป็นว่าแต่ละคนกล่าวอะไรไว้บ้าง ลองอ่านได้เลยครับ (ปล. ตำแหน่งของบุคคลหลายๆ คนเป็นตำแหน่งในช่วงปี 2552 นะครับ) 1. อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : นายกรัฐมนตรี “การอ่านเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทรงพลังสำหรับมวลมนุษย์ เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาตลอดชีวิต และเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดียิ่งสำหรับคนทุกคน” 2. จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ “การเติมเต็มการศึกษาตลอดชีวิต ให้ประชาชนมีความสามารถในการอ่าน การแสวงหาความรู้ เข้าถึงความรู้ได้ตลอดเวลา จากสื่อและวิธีการที่หลากหลายในยุคโลกาภิวัฒน์ เพื่อต่อยอดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต” 3. ดร.วราภรณ์ สามโกเศศ : อดีต รมช.กระทรวงศึกษาธิการ “รัฐบาลทุกชุดต้องทำเรื่องนี้ เพราะนโยบายรักการอ่านสำคัญมาก และคนในสังคมต้องเข้าใจว่า สังคมดีขึ้นต้องมาจากการศึกษาดี คุณภาพการศึกษาดี ต้องอ่านและเขียน เพราะนี่คือทักษะสำคัญในการครองชีพ” 4. ดร.ทัศนัย วงศ์พิเศษกุล : ผู้อำนวยการสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ “ถ้าเราส่งเสริมการอ่านอย่างเต็มที่ แต่ไม่มีหนังสือดีๆ อะไรให้อ่าน ก็ไม่เกิดผล แต่ในขณะเดียวกันหากมีหนังสือออกมากองจำนวนมาก แต่ไม่ได้ให้ความสนใจที่จะส่งเสริมการอ่าน หนังสือก็จะกองอยู่อย่างนั้น ไม่มีคนอ่าน ทั้งนี้หนังสือจะมีชีวิตได้ก็ต่อเมื่อได้รับการจับต้อง ได้รับการอ่าน” 5. คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต…

อ่านอะไรดี : ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต

หนังสือน่าอ่านวันนี้ที่ผมอยากแนะนำ คือ หนังสือ “ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต” จากชุด TK ชวนอ่าน นั่นเอง หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ให้ข้อคิดและประสบการณ์ในการส่งเสริมการอ่านจากประเทศอังกฤษ เขียนโดย เกรซ เคมสเตอร์ ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้ ชื่อเรื่อง : ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต ชื่อผู้แต่ง : คุณเกรซ เคมสเตอร์ สำนักพิมพ์ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ ISBN : 9789748284262 จำนวนหน้า : 92 หน้า ราคา : 80 บาท หลายๆ คนคงอาจจะสงสัยว่า คุณเกรซ เคมสเตอร์ คือใคร คุณเกรซ เคมสเตอร์ อดีตผู้อำนวยการด้านงานบริการข้อมูล ของบริติชเคาน์ซิล ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบัน Read On Write Away (สถาบันเพื่อบริการชุมชนด้านการอ่านออกเขียนได้และทักษะขั้นพื้นฐาน) หนังสือเล่มนี้ที่เจาะเรื่องของประเทศอังกฤษเพราะว่า ประเทศอังกฤษเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาและการเรียนรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก และยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการอ่านมากมายด้วย ในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 4 บท ดังนี้ บทที่ 1 – เหตุใดการอ่านจึงสำคัญกับชีวิต บทที่ 2 – 11 ข้อคิดเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการอ่าน บทที่ 3 – ปรับนิดเปลี่ยนหน่อย บทที่ 4 – ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต สรุปใจความสำคัญของหนังสือเล่มนี้ 11 ข้อคิดเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการอ่าน มีดังนี้ 1. พลังของการแนะนำหนังสือแบบปากต่อปาก (ดูตัวอย่างได้จาก www.whichbook.net) 2. อ่านเพราะคุณอยากอ่าน ไม่ใช่เพราะคุณจำต้องอ่าน (เห็นด้วยครับอ่านด้วยใจดีกว่าถูกบังคับให้อ่าน) 3. ลองสังเกตว่าผู้อ่านคิดอย่างไรเกี่ยวกับการอ่านหนังสือ (แต่ละคนมีเหตุผลในการอ่านไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่าน บางคนก็ไม่ชอบอ่าน)…

อ่านอะไรดี : Social Innovation, Inc.

ช่วงนี้หลายๆ คนคงกำลังติดตามข่าวสารเรื่องน้ำท่วมกันอยู่ ผมก็เช่นกันครับ แต่ยิ่งติดตามข่าวก็ยิ่งเครียด ดังนั้นผมจึงหากิจกรรมอื่นๆ มาทำแก้เครียดครับ กิจกรรมที่ว่านี้ ก็ง่ายๆ คือ “อ่านหนังสือ” นั่นเอง ช่วงก่อนที่จะมีปัญหาเรื่องน้ำท่วมผมเองก็ไปยืมหนังสือที่ TK park มา กำลังจะเอาไปคืนพอดีแต่ TK park ก็ผ่อนผันให้คืนหนังสือได้จนถึงวันที่ 13 พฤศจิกายนครับ ดังนั้นในระหว่างที่ติดตามข่าว และไม่ได้ออกไปไหน ก็เลยหยิบหนังสือมาอ่านซ้ำไปซ้ำมา เล่มหนึ่งที่หยิบมาอ่านแล้วรู้สึกว่าให้ข้อคิดดีๆ เยอะมากคือ “Social Innovation, Inc.” ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้ ชื่อเรื่อง : Social Innovation, Inc. ชื่อผู้แต่ง : Jason Saul สำนักพิมพ์ : Jossey-Bass ISBN : 9780470614501 ตอนแรกที่หยิบหนังสือเล่มนี้เพราะสนใจที่ชื่อเรื่องเป็นหลัก “Social Innovation, Inc.” อ่านจากชื่อเรื่องแล้วทำให้ผมนึกถึงคำว่า “social enterprise” หรือ กิจการเพื่อสังคม อีกเรื่องที่ผมนึกถึงเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ก็คือการทำ “CSR” ของเหล่าบริษัทต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นสามส่วนหลักๆ ดังนี้ 1. The new economics of social change (เศรษฐศาสตร์แบบใหม่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง) 2. Five strategies for corporate social innovation (5 กลยุทธ์เพื่อการจัดการกิจการเพื่อสังคม) 3. The Roadmap to social innovation (เส้นทางในการพัฒนาไปสู่กิจการเพื่อสังคม) ซึ่งแยกเป็นบทต่างๆ ดังนี้ Part 1 The new economics…