อ่านอะไรดี : กำเนิดหนังสือของเด็กไทยสู่รุ่งอรุณของหนังสือโรงเรียน

แนะนำหนังสือดีๆ มาพบกับเพื่อนอีกครั้งแล้วนะครับ ช่วงนี้ไปยืมหนังสือที่เกี่ยวกับห้องสมุดและการอ่านมาเยอะมากเลย วันนี้ขอยกมาแนะนำสักเล่มแล้วกัน ซึ่งหนังสือที่ผมแนะนำวันนี้ คือ “กำเนิดหนังสือของเด็กไทยสู่รุ่งอรุณของหนังสือโรงเรียน

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : กำเนิดหนังสือของเด็กไทยสู่รุ่งอรุณของหนังสือโรงเรียน
สำนักพิมพ์ : แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
จำนวนหน้า : 87 หน้า
ปีพิมพ์ : 2554

หนังสือเล่มนี้ถูกจัดพิมพ์โดยแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน มุ่งเน้นอยากให้เด็กและเยาวชนไทยได้เห็นความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ของหนังสือ ซึ่งในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. กำเนิดหนังสือเด็กของไทย : จากสมุดไทยถึงยุคกำเนิดการพิมพ์
2. สร้างหนังสือ สร้างเด็กไทย ในยุคก้าวสู่การศึกษาแผนใหม่
3. รุ่งอรุณของหนังสือโรงเรียน : เพาะนักอ่าน หว่านเมล็ดพันธุ์ “นักเขียน” สู่บรรณพิภพ


จากการเปิดอ่านอย่างผ่านๆ ได้พบเห็นหัวข้อที่น่าสนใจมากมาย
เช่น

1. กำเนิดหนังสือเด็กของไทย : จากสมุดไทยถึงยุคกำเนิดการพิมพ์

– หนังสือเล่มแรก ดวงแก้วแห่งปัญญาเด็กไทย (หนังสือที่ปรากฎหลักฐานว่าแต่งขึ้นสำหรับเด็กเล่มแรก ได้แก่ “จินดามณี”)
– หนังสือสอนทักษะชีวิตเล่มแรก คือ “สวัสดิรักษา” แต่งโดย สุนทรภู่
– แบบเรียนภาษาไทย เรียนความรู้ด้วยความงาม (แบบเรียนหลวง ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร)
– การบันทึกข้อมูล (การจารึกบนศิลา เขียนบนใบลาน เขียนลงกระดาษข่อย พิมพ์อักษรไทย)

2. สร้างหนังสือ สร้างเด็กไทย ในยุคก้าวสู่การศึกษาแผนใหม่

– สร้างแบบเรียน คือ สร้าง “แบบ” เด็กไทย
– สร้างเสริมแบบเรียนไทยโดยบาทหลวงฝรั่ง
– หนังสือนิทาน-อ่านสนุก…ปลูกฝังความดีด้วยความงาม
– หนังสือดีที่ต้องห้มในสมัยรัชกาลที่ 6-7 (ทรัพยศาสตร์เล่ม 1-2 โดยพระยาสุริยานุวัตร)
– เพลงกล่อมเด็ก : จากมุขปาฐะสู่หนังสือเพื่อเด็กปฐมวัยเล่มแรก

3. รุ่งอรุณของหนังสือโรงเรียน : เพาะนักอ่าน หว่านเมล็ดพันธุ์ “นักเขียน” สู่บรรณพิภพ

– นิตยสารหรือจดหมายข่าวสำหรับเด็ก ซึ่งส่วนใหญ่จัดทำโดยโรงเรียนต่างๆ เช่น

— จดหมายเหตุแสงอรุณ : แสงแรกแห่งอรุณของนิตยสารเพื่อเด็ก (จัดทำโดยโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง)
— กุลสัตรี : ปฐมฤกษ์เพื่อโรงเรียนสตรีและนักเรียนสตรี (นิตยสารของมหามกุฏราชวิทยาลัย)
— ราชินีบำรุง : สื่อสร้างเสริมคุณภาพผู้หญิงยุคใหม่ (ของโรงเรียนราชินี)
— อัสสัมชัญอุโฆษสมัย : จากครูฝรั่งถึงนักเรียนไทย ก้องไกลในกระแสกาล (ของโรงเรียนอัสสัมชัญ)
— แถลงการศึกษาเทพศิรินทร์ : แปลงเพาะต้นกล้า “นักประพันธ์” (ของโรงเรียนเทพศิรินทร์)

– นักเขียนที่มีบทบาทและสำคัญในอดีต

— “ศรีบูรพา” กุหลาบ สายประดิษฐ์ : บุคคลสำคัญของโลกทางศิลปวัฒนธรรม
— ม.จ.อากาศดำเกิง : เปิดโลกและชีวิตด้วย ละครแห่งชีวิต
— สด กูรมะโรหิต : ผู้สร้างอาณาจักรจรรโลงวรรณกรรม

นี่ก็เป็นตัวอย่างเรื่องเด็ดๆ ที่เราจะได้อ่านจากหนังสือเล่มนี้
เอาเป็นว่าผมได้เข้าใจและเห็นที่มาที่ไปของประวัติศาสตร์หนังสือเด็กที่อธิบายได้ดีทีเดียว

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ สามารถหาหนังสือเล่มนี้ได้ที่ TKpark เลยนะครับ ยืมมาอ่านได้ฟรีเลยครับ
หรือไม่ผมก็ขอแนะนำให้อ่านออนไลน์ไปเลยที่ http://issuu.com/happy2reading/docs/happyreading7

อย่าลืมไปหาอ่านกันเยอะๆ นะครับ ลองดูแล้วคุณจะชอบหนังสือเล่มนี้เหมือนผม

แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน http://www.happyreading.in.th/

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*