ห้องสมุดประชาชนยุคใหม่ในอเมริกา

บทความนี้เขียนไว้ตั้งแต่บล็อกเก่าของผม (http://projectlib.wordpress.com) แต่ขอเรียบเรียงใหม่
เป็นบทความที่เขียนลงในเว็บไซต์ Voice of America ภาคภาษาไทย

publiclibrary

บทความนี้ได้เขียนถึงเรื่องห้องสมุดสาธารณะ (ผมว่าน่าจะใช้คำว่าห้องสมุดประชาชนมากกว่านะ) ยุคใหม่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
เนื้อหาในบทความนี้เป็นการกลายถึงการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในห้องสมุด

ไม่ว่าจะเป็นการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้จัดเก็บข้อมูลบรรณานุกรม (โปรแกรมห้องสมุด) แทนบัตรรายการ
หรือจะเป็นเรื่องการเข้าถึงสารสนเทศได้จากที่ต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต

บทความนี้อ่านแล้วเข้าใจง่าย และเป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อน ผมเลยขอคัดลอกมาให้เพื่อนๆ อ่านนะครับ
หากต้องการอ่านจากต้นฉบับให้เข้าไปดูที่ ห้องสมุดสาธารณะยุคใหม่ (เนื้อหาข่าว)

———————————————————————————————————————–

เนื้อหาของบทความ (ฉบับคัดลอก) – ห้องสมุดสาธารณะยุคใหม่

เมื่อก่อนนั้นห้องสมุดชุมชนในอเมริกาคือสถาน ที่ที่สมาชิกในชุมชนพากันมาพบปะ พูดคุย และแลกเปลี่ยนหนังสือกัน แต่ปัจจุบันภาพเหล่านั้นเปลี่ยนไปแล้ว ห้องสมุดทุกวันนี้กลายเป็นศูนย์ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ มีการนำบันทึกรายชื่อหนังสือทางอินเตอร์เนตเข้ามาแทนที่บัตรรายการแบบเก่า หนังสือและข้อมูลจำนวนมากถูกนำไปเก็บเป็นแผ่นซีดีและดีวีดี และผู้ใช้ห้องสมุดสามารถค้นหาข้อมูลที่ตนต้องการเหล่านั้นได้ทางอินเตอร์เนต

ปัจจุบันหน้าที่หลักของบรรณารักษ์คือการแนะนำวิธีให้ผู้ใช้บริการสามารถ ค้นหาข่าวสารที่ต้องการจากแหล่งข้อมูลมหาศาลนั้นได้ บรรณารักษ์ต้องมีความรู้เกี่ยวกับข้อมูลที่มีอยู่ และตัดสินใจว่า ฐานข้อมูลชนิดไหนที่ผู้มาใช้บริการต้องการ เมื่อผู้ใช้บริการพบข้อมูลดังกล่าวแล้วก็เพียงแค่ส่งอีเมลข้อมูลนั้นไปยัง คอมพิวเตอร์ที่บ้านโดยไม่ต้องหอบหนังสือกลับไปเหมือนสมัยก่อน

นอกจากนี้ผู้มาใช้บริการยังสามารถใช้บริการห้องสมุดจากคอมพิวเตอร์ที่บ้านที่ไหนๆ ก็ได้ในโลกผ่านทางอินเตอร์เนต

เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ ช่วยให้ห้องสมุดสามารถเสนอบริการใหม่ให้แก่ผู้มาใช้บริการได้คือการถามคำถาม หรือขอความช่วยเหลือจากบรรณารักษ์ผ่านหน้าเวบไซต์ได้ ด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายเชื่อมต่ออินเตอร์เนตไร้สายที่กำลังขยายตัวอย่างรวด เร็วในสหรัฐทำให้ห้องสมุดสาธารณะส่วนใหญ่ในปัจจุบันสามารถให้บริการผ่านทาง คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคเพื่อช่วยหาข้อมูลในการทำการบ้าน ทำรายงาน ตลอดจนการค้นคว้าวิจัยส่วนตัว

สำหรับผู้ที่มีปัญหาทางสายตาจอคอมพิวเตอร์สามารถปรับขนาดตัวหนังสือให้ ใหญ่ขึ้นได้ตามที่ต้องการ และสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนห้องสมุดยังมีบริการหนังสือเสียงไว้ให้เด็กๆ ฟังเป็นการเตรียมตัวสู่โลกแห่งการเรียนรู้ตั้งแต่เนิ่นๆ นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ห้องสมุดชุมชนสามารถให้บริการทั้งด้าน ความรู้และความบันเทิงแก่ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น

ทุกวันนี้ห้องสมุดในอเมริกานั้น ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการอินเตอร์เนตที่รวดเร็วได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้ จ่ายใดๆ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ มากมาย คุณตา คุณยายที่มาใช้บริการห้องสมุดหลายคนก็ยังยินดีที่จะมานั่งเปิดหนังสือเล่ม เก่าๆ ทีละหน้าเหมือนที่เคยทำมาจนชิน

———————————————————————————————————————–

เป็นยังไงกันบ้างครับ สำหรับบทความที่ผมนำมาให้อ่าน
อ๋อ ลืมบอกไปถ้าเพื่อนๆ ขี้เกียจอ่าน ผมขอแนะนำให้ฟังเป็นเสียงครับ ลองเข้าไปดูที่ ห้องสมุดสาธารณะยุคใหม่ (ไฟล์เสียง)

สำหรับวันนี้ก็ขอฝากไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ

เข้าท่าดี…เก้าอี้เดินได้ในห้องสมุด

วันนี้มีคลิปวีดีโอมานำเสนอเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่น่าสนใจในห้องสมุด
ถ้าคลิปนี้ทำได้จริงๆ คงจะดีไม่ใช่น้อยเลยนะครับ (เอาใจเชียร์ให้มีจริงๆ)

takeaseat

เอาเป็นว่าลองไปชมกันก่อนดีกว่า เดี๋ยวค่อยวิจารณ์ให้อ่านนะครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=2Dgaz6NIUFk[/youtube]

เป็นยังไงบ้างครับกับคลิปวีดีโอนี้

เทคโนโลยีที่เห็นในคลิปวีดีโอนี้เป็นเพียงแนวความคิดเท่านั้นนะครับ ยังไม่มีที่ไหนทำมาก่อนจริงๆ
แต่เพียงแค่แนวความคิดมันก็แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาด้านเทคโนโลยี
วัตถุประสงค์ก็เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการในห้องสมุดนั่นเอง

ลองคิดดูสิครับว่า “ถ้าเพื่อนๆ เข้าห้องสมุดแล้วมีที่นั่งเดินตามอยากอ่านตรงไหนก็ได้”
มันคงจะดีไม่ใช่น้อยเลยนะครับ

เอาเป็นว่าเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ ผมจะขอวิจารณ์หน่อยแล้วกัน

การมีเก้าอี้แบบนี้จะส่งผลอะไรกับห้องสมุดบ้าง
– ต้องใช้เงินในการจัดหาอุปกรณ์ที่ค่อนข้างแพง
– การอ่านหนังสือโดยนั่งที่เก้าอี้นี้อาจจะไม่เหมาะต่อการอ่านหนังสือแบบนานๆ
– อาจจะเป็นการรบกวนผู้อื่นได้ (นั่งขวางทางคนอื่น) เนื่องจากอยากนั่งตรงไหนก็นั่ง
– ยากต่อการควบคุมและการดูแล

เอาเป็นว่าถ้าหากจะต้องมีเทคโนโลยีนี้จริงๆ ในห้องสมุด
บรรณารักษ์และฝ่ายไอทีคงต้องวางแผนกันให้รอบครอบมากๆ

เพื่อนๆ ว่าเก้าอี้แบบนี้ดีหรือไม่ดีครับ…

งานประชุมวิชาการด้านเทคโนโลยีห้องสมุด (Computer in Libraries 2009)

วันนี้ผมขอเขียนเรื่องย้อนหลังไปเมื่อเดือนมีนาคม – เมษายน ที่ผ่านมานะครับ
ในช่วงเดือนนั้นมีงานประชุมวิชาการครั้งใหญ่เกี่ยวกับเทคโนโลยีในห้องสมุด หรือที่เราเรียกกันว่า Computer in Libraries 2009

cil2009

Computer in Libraries 2009 หรือที่ในวงการเรียกย่อๆ ว่า CiL 2009
งานนี้ถือว่าเป็นงานประชุมด้านเทคโนโลยีสำหรับบรรณารักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือเลยก็ว่าได้
กำหนดการของงานนี้เริ่มในวันที่ 30 มีนาคม ถึง 1 เมษายน 2009

ข้อมูลทั่วไปของงาน CIL2009
ชื่องาน : Computer in Libraries
จัดมาแล้วเป็นครั้งที่ : 24
วันที่จัด : 30 มีนาคม – 1 เมษายน 2552
สถานที่ : Hyatt Regency Crystal City (จัดในประเทศสหรัฐอเมริกานะครับ)

สโลแกนของงานนี้
?CREATING TOMORROW : SPREADING IDEAS & LEARNING?
มาสร้างวันพรุ่งนี้กันดีกว่า ด้วยการกระจายไอเดียและกระจายการเรียนรู้ (แชร์ไอเดียร่วมกัน)

งานนี้ไม่ได้จัดโดยห้องสมุดใดห้องสมุดหนึ่งนะครับ
แต่องค์กรหลักที่เป็นผู้จัดงานนี้คือ บริษัท Information Today

เอาเป็นว่ามาดูหัวข้อเด่นๆ ในงานแบบเต็มๆ กันเลยดีกว่า

cil2009-book

โดยในงานนี้จะแบ่งออกเป็น 5 ห้อง โดยเริ่มจาก Track A – Track E
ซึ่งผู้เข้าประชุมจะต้องเลือกเข้า 1 Track ซึ่งแต่ละ Track จะมีเนื้อหาที่ไม่เหมือนกัน
โดยเนื้อหาของแต่ละ Track มีดังนี้

TRACK A
– INFORMATION DISCOVERY & SEARCH
– CULTIVATING INNOVATION & CHANGE
– SEARCH & SEARCH ENGINES

TRACK B
– WEB DESIGN & DEVELOPMENT
– OPEN LIBRARIES
– NEW WORLDS: MOBILE, VIRTUAL, & GAMES

TRACK C
– COMMUNITIES & COLLABORATION
– SOCIAL SOFTWARE
– CONTENT MANAGEMENT (CM)

TRACK D
– DIGITAL LIBRARIES
– SERVICES & VIRTUAL REFERENCE
– LEARNING

TRACK E
– INNOVATION IN SMALLER LIBRARIES
– NEXT GEN CATALOGS
– 2.0 PLANNING & MANAGING

?????????????????????-

นอกจากนั้นในแต่ละหัวข้อของ Track ต่างๆ? ก็จะมีผู้บรรยายมาพูดในหัวข้อที่เกี่ยวกับ Track ต่างๆ ดังนี้

สำหรับหัวข้อใน Track A

INFORMATION DISCOVERY & SEARCH
– Super Searcher Search Tips
– Searching Conversations: Twitter, Facebook, & the Social Web
– What?s New & Hot: The Best Resource Shelf
– Searching Google Earth
– Information Discovery: Science & Health

CULTIVATING INNOVATION & CHANGE
– New Strategies for Digital Natives
– Designing the Digital Experience
– Googlization & Gadget Support for the Library
– Library Transformation With Robotics
– Innovative Services & Practices

SEARCH & SEARCH ENGINES
– The Future of Federated Search
– Federated Search: Growing Your Own Tools
– Mobile Search
– What?s Hot in RSS
– Emerging Search Technologies

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track B

WEB DESIGN & DEVELOPMENT
– Website Redesign Pitfalls
– Help Your Library Be Omnipresent Without Spending a Dime
– 40-Plus New Tools & Gadgets for Library Webmasters
– What Have We Learned Lately About Academic Library Users
– Library Facebook Applications

OPEN LIBRARIES
– Open Source Software
– Open Source Browsers
– Unconferences
– Open Source Library Implementations
– Open Access: Green and Gold

NEW WORLDS: MOBILE, VIRTUAL, & GAMES
– Mobile Practices & Search: What?s Hot!
– Mobile Usability: Tips, Research, & Practices
– Mobile Library Apps
– Real Librarians in Virtual Worlds
– Gaming & Learning

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track C

COMMUNITIES & COLLABORATION
– Who Put the Blawg in My Collection?
– Building Community Partnerships: 25 Ideas in 40 Minutes
– Building Communities: Wikis & Ning
– Flickr Commons for Libraries & Museums
– Continued Online Community Engagement

SOCIAL SOFTWARE
– The Best of the Web
– Social Network Profile Management
– Web 2.x Training for Customers & Staff
– Evaluating, Recommending, & Justifying 2.0 Tools
– Pecha Kucha: 2.0 Top Tips

CONTENT MANAGEMENT (CM)
– CM Tools: Drupal, Joomla, & Rumba
– Implementing CMS: Academic
– Implementing CMS: Public
– Customized Content Portals
– Content Collage: Institutional Repositories

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track D

DIGITAL LIBRARIES
– Digital Preservation, E-Government & ERM
– Digital Rights Management (DRM) Copyright, & Creative Commons
– Moving Libraries to the Cloud
– Developing a Sustainable Library IT Environment
– Achieving the Dream to Go Green


SERVICES & VIRTUAL REFERENCE

– Next Gen Digital Reference Tools
– Reference Odyssey: Still Dealing with Real People
– Embedding Services: Go Where the Client Is
– More than Just Cruising: SL & Web 2.0
– Service at Point of Need: SharePoint & Mobile Tools

LEARNING
– Learning Solutions Through Technology
– Enhancing Learning Anytime, Anywhere: Spread Your Reach
– E-Learning: Trends, Tools & Interoperability
– Embedding Ourselves: Using Web 2.0 and Second Life for Instructional Presence
– Dynamic Learning Spaces & Places

?????????????????????-

สำหรับหัวข้อใน Track E

INNOVATION IN SMALLER LIBRARIES
– I Wanna Be 2.0 Too!: Web Services for Underfunded Libraries
– Tiny Libraries, Tiny Tech, Innovative Services
– Social Software Solutions for Smaller Libraries
– Obstacle or Opportunity? It’s Your Choice!
– Blogs as Websites

NEXT GEN CATALOGS
– Global Library Automation Scene
– Library Automation Highlights
– Library Website & Library Catalog: One-Stop!
– Open Source Implementations
– Cooperative Systems Trump Integrated Systems

2.0 PLANNING & MANAGING
– Setting Up a Trends Analysis Program
– What’s the Return on Investment for Your Library?
– Future Space: The Changing Shape of Libraries
– Successful Online Collaborative: A Tale of Three Libraries
– New Tools for Metrics & Measures

?????????????????????-

เป็นยังไงกันบ้างครับกับงานประชุมวิชาการของวงการบรรณารักษ์ในต่างประเทศ
ในเมืองไทยผมก็จะพยายามจัดให้ได้ถ้ามีโอกาสนะครับ

บรรณารักษ์และผู้บริหารห้องสมุดต้องพูดคุยกันบ้าง…

การพัฒนาห้องสมุดจะเป็นไปในทิศทางใดขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย
เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญ นั่นก็คือ ผู้บริหารห้องสมุดหรือผู้บริหารองค์กร นั่นเอง

admin-library

คุณเห็นด้วยกับประโยคที่ผมกำลังจะกล่าวหรือไม่

“ตราบใดที่บรรณารักษ์เสนอโครงการมากมายแต่ถ้าผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญ
ก็มักจะทำให้ห้องสมุดถูกปล่อยปล่ะละเลยอยู่เสมอๆ ไม่ได้รับการพัฒนา”

เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่าความสำคัญของห้องสมุดในแง่ความคิดระหว่างบรรณารักษ์ กับ ผู้บริหาร ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาห้องสมุด
ลองคิดดูนะครับว่า ถ้าหากสอดคล้องกัน คือ ผู้บริหารกับบรรณารักษ์เข้าใจในกระบวนงานของห้องสมุดเหมือนกัน และทิศทางเดียวกัน
ผมคิดว่าห้องสมุดนั้นคงจะทำงานได้ง่ายขึ้น เพราะว่าผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงานต่างเข้าใจในกระบวนงาน และกระบวนการทำงานนั่นเอง
แต่ถ้าสมมุติว่า หากเกิดความไม่เข้าใจในเรื่องของการทำงานหรือการให้ความสำคัญหล่ะ มันก็อาจจะส่งผลในทางตรงข้ามได้เช่นกัน

ตัวอย่างเรื่องระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ผู้บริหารก็มักจะถามว่าจำเป็นด้วยหรอ บรรณารักษ์ก็จะตอบว่าจำเป็น ผู้บริหารก็บอกว่าพัฒนาเองไม่ได้หรอ ทำไมต้องซื้อราคาแพงๆ บรรณารักษ์ก็บอกว่าพัฒนาเองได้ แต่คงไม่มีความเสถียรพอหรือใช้ไปอาจจะไม่เป็นมาตรฐาน เนื่องจากบรรณารักษ์ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ ผู้บริหารก็บอกต่อว่างั้นก็ให้โปรแกรมเมอร์เป็นคนออกแบบสิ โปรแกรมเมอร์ก็ออกแบบมาให้ บรรณารักษ์ใช้ไม่ได้เนื่องจากโปรแกรมเมอร์ก็ไม่เข้าใจกระบวนงานของ บรรณารักษ์ ที่แน่ๆ โปรแกรมเมอร์คงไม่รู้จัก MARC Format พอออกแบบเสร็จก็เลยเกิดปัญหาตามมาต่างๆ แทนที่จะได้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติก็เลย ต้องรอต่อไปครับ?..นี่เป็นตัวอย่างคร่าวๆ

ปัญหาต่างๆ เหล่านี้คงแก้ได้ไม่ยาก หากผู้บริหารและบรรณารักษ์ปรับความคิดให้เข้าใจซึ่งกันและกัน
เนื่องจากห้อง สมุดก็เป็นแหล่งเรียนรู้ของทุกๆ คน ไม่มีใครที่สำคัญกว่าผู้ใช้บริการของพวกเราถูกมั้ยครับ

ทีนี้เลยอยากทราบว่าเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในวงการของเราเคยเจอปัญหานี้บ้างมั้ย
มีอะไรแนะนำกันบ้างนะครับ เพื่อวงการบรรณารักษ์และการพัฒนาห้องสมุดอย่างยั้งยืน?

ปล. ผมขอส่งท้ายด้วยบทความเรื่อง การจัดตั้งห้องสมุดอุดมศึกษา โดย Chelie M. harn Cooper
ลองอ่านดูนะครับเป็นบทความของเว็บวิชาการ 2 หน้า
ที่พูดถึงเรื่อง การการดำเนินงานห้องสมุดในระดับสากล และ วิสัยทัศน์ ของผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับห้องสมุด

โครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

วันนี้ผมขอแนะนำโครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนให้เพื่อนๆ รู้จักกันหน่อยนะครับ
จริงๆ ผมเองก็ไม่ค่อยรู้จักหรอก อาศัยแต่การค้นหาข้อมูลบนเว็บแล้วนำมาเรียบเรียงให้อ่านแล้วกันนะ

encyclopedia-library-thai

ข่าวการเปิดโครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนแห่งที่ 2 ทำให้ผมรู้จักโครงการนี้มากขึ้น

พล.อ.อ.กำธน สินธวานนท์ (องคมนตรี) ซึ่งเป็นประธานโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
ได้กล่าวข้อความบทหนึ่งในงานเปิดตัวห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนแห่งที่ 2 ว่า

“การหาความรู้ไม่ใช่มีแต่ในห้องเรียน แต่นักเรียนยังสามารถหาความรู้ได้จากห้องสมุด โดยเฉพาะห้องสมุดสารานุกรมไทยฯนั้น จะหาความรู้ได้ทั้งเรื่องฟ้าร้อง สึนามิ หรือโรคภัยต่าง ๆ ซึ่งการที่เยาวชนไทยรู้จักหาความรู้จากห้องสมุด จะเป็นการปลูกฝังพื้นฐานให้เยาวชนได้ศึกษาหาความรู้จนกระทั่งเติบโตเป็น ผู้ใหญ่ และควรใช้ห้องสมุดให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่”

โครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน จะดำเนินการ 10 แห่ง ดังนี้
– หอสมุดแห่งชาติ จังหวัดนครราชสีมา
โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม จังหวัดกรุงเทพฯ
– โรงเรียนเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
– โรงเรียนโยธินบูรณะ จังหวัดเพชรบุรี
– ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครสวรรค์
– โรงเรียนในจังหวัดตรัง 2 แห่ง
– โรงเรียนในจังหวัดเชียงราย
– โรงเรียนในจังหวัดกรุงเทพฯ อีก 2 แห่ง

โดยมี collection หลักๆ ในห้องสมุดแห่งนี้ ก็ก็คือหนังสือสารานุกรมทุกฉบับ
ไม่ว่าจะเป็นสารานุกรมแบบธรรมดา หรือ สารานุกรมฉบับส่งเสริมความรู้

นอกจากจะดำเนินพัฒนาด้านสถานที่แล้ว โครงการนี้ยังได้จัดสร้างรถตู้ห้องสมุดสารานุกรมไทยฯ อีก 1 คัน
เพื่อนำหนังสือสารานุกรมไทยฯ ไปเผยแพร่ให้แก่เยาวชนและประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศไทยอีกด้วย

—————————————-
ขอประชาสัมพันธ์อีกรอบนะครับ (เพื่อนผมฝากมา @gnret)

ประกาศห้องสมุดประชาชนนครสวรรค์

ห้องสมุดประชาชนฯ จะหยุดให้บริการเป็นเวลา 60 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2552 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2553 โดยปรับปรุงพื้นที่ชั้นล่าง ห้องสมุดใหม่ โดยการสนับสนุนจากสโมสรไลออนส์ในจังหวัดนครสวรรค์ 4 สโมสร คือ นครสวรรค์ สี่แควนครสวรรค์ เมืองพระบางนครสวรรค์ ปากน้ำโพนครสวรรค์

และเปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น ห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครสวรรค์ (ตึกปรีดา)

ในเร็วๆ นี้ กับรูปโฉมใหม่ โอ่งโถง สะอาด สงบ และ งามตา
—————————————-

เป็นไงกันบ้างครับ โครงการที่มีประโยชน์แบบนี้ผมก็ขอประชาสัมพันธ์เต็มร้อยเลยนะครับ

สำหรับรายละเอียดของโครงการ หากเพื่อนๆ มีข้อมูลเพิ่มเติม
หรือผูที่ดำเนินการในส่วนนี้ได้ผ่านมาเห็นบล็อกนี้ ผมก็ขอให้ส่งรายละเอียดเพิ่มเติมมาให้ผมด้วย
อยากจะช่วยประชาสัมพันธ์จริงๆ ครับ ส่งมาได้ที่ dcy_4430323@hotmail.com

สรุปสไลด์การบริหารจัดการห้องสมุดดิจิตอล

วันนี้ว่างๆ ไม่มีอะไรทำเลยขอขุดสไลด์เก่าๆ มานั่งอ่านและทำความเข้าใจ
ซึ่งจริงๆ แล้วสไลด์เหล่านี้ก็มีความรู้ดีๆ และแง่คิดดีๆ แฝงไว้เยอะมาก

สไลด์ที่ผมอ่าน มีชื่อเรื่องว่า ?นโยบาย กลยุทธ์ และแนวทางในการจัดการห้องสมุดดิจิตอล?
ซึ่งเป็นสไลด์ของรองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ ครับ

slide-digital-library

โดยเนื้อหาในสไลด์ได้มีการพูดถึงเรื่องแนวโน้มของสังคมที่เปลี่ยนจาก
ยุคอุตสาหกรรมไปเป็นยุคสารสนเทศว่ามีความแตกต่างกัน

ตัวอย่างเช่น
ในยุคของอุตสาหกรรมมีการใช้ข้อมูลแบบตัวใครตัวมัน
ส่วนในยุคสารสนเทศจะเน้นการใช้ข้อมูลและการแบ่งปันข้อมูล

ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ในยุคสารสนเทศจะทำให้เกิดกฎระเบียบใหม่ / พฤติกรรมใหม่ / รูปแบบความสัมพันธ์แบบใหม่
สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดคลื่นของการเปลี่ยนแปลงทางการเรียนรู้ครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นมานะครับ
คลื่นที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ บทบาทของอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นที่เชื่อมโยงและเป็นชุมชนความรู้ขนาดใหญ่

จากสิ่งที่ได้กล่าวมาทำให้มีการออกแบบห้องสมุดในรูปแบบใหม่ๆ
ทำให้เกิด ห้องสมุดเสมือนจริง, ห้องสมุดดิจิตอล และอื่นๆ
อาจารย์ยืน ยังได้ให้นิยามของห้องสมุดเสมือนจริงว่า

1. ห้องสมุดจะให้บริการได้โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา
2. การให้บริการสื่อดิจิตอลจะเพิ่มมากขึ้น
3. ข้อมูล สารสนเทศ และควารู้จะมีความหลากหลายและอยู่บนเครือข่าย
4. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริการ
5. การบริการเสมือนจริงโดยการนำเว็บ 2.0 เข้ามาใช้เพื่อพัฒนางานต่างๆ
6. มีการสร้างความร่วมมือเพื่อแบ่งปันข้อมูลและสร้างสังคมความรู้

หลังจากนั้นอาจารย์ยืนได้กล่าวถึงเทคโนโลยีของเว็บ 2.0
และได้ยกคำพูของ Bill Gates ที่พูดว่า ?อนาคตการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทำได้จากทุกที่?

——————————————————————————–

สรุปอีกทีนะครับ(ความคิดของผม)
ดูจากนิยามแล้วมันคล้ายๆ กับ นิยามของ Library 2.0 นะครับ
เช่นเอาเว็บ 2.0 มาประยุกต์ใช้และอีกอย่างจุดประสงค์ผมว่ามันก็คล้ายๆ กัน
คือ ?ทำอย่างไรก็ได้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด?
อีกเรื่องที่ผมชอบคือการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
ดังนั้นเราควรจะเริ่มจากสังคมวิชาชีพของตัวเองให้มั่นคงก่อน แล้วค่อยๆ สร้างสังคมอื่นๆ ต่อไป?

สำหรับสไลด์ชุดนี้โหลดได้ที่ http://tla.or.th/004.ppt

เทคโนโลยีของห้องสมุดตั้งแต่ปี 1968 – 2007

เรื่องเก่าเล่าใหม่อีกครั้งสำหรับเรื่องเทคโนโลยีในห้องสมุด โดยเฉพาะระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
จากบทความเรื่อง? 2007 Library Technology Guides Automation Trend Survey
ซึ่งเป็นผลสำรวจที่มาจากเว็บไซต์ Library Technology Guides

libtech-copy

ลองเข้าไปดูกันนะว่าพัฒนาการของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในห้องสมุดว่ามีอะไรบ้าง
ผมว่ามันน่าสนใจดีนะครับ เพราะบอกช่วงเวลาให้ด้วย

ซึ่งพอได้เห็นภาพว่าห้องสมุดเริ่มมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ตั้งแต่ ปี 1968
ซึ่งเทคโนโลยีตัวแรกที่มีการนำมาใช้ในห้องสมุด นั่นคือ ?NOTIS Systems?
ซึ่งได้รับการพัฒนาโดย Northwestern University

แล้ว NOTIS Systems คืออะไร ผมก็ลองเข้าไปค้นหาคำตอบดู
ในยุคแรกของ NOTIS Systems เป็นเพียงซอฟต์แวร์ที่จัดเก็บข้อมูลรายการบรรณานุกรม
แต่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ

นอกจากเทคโนโลนีแรกของห้องสมุดแล้ว แผนภาพนี้ยังแสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีห้องสมุดในยุค 2007 ด้วย
ซึ่งมีระบบห้องสมุดอัตโนมัติชั้นนำอยู่ด้วย เช่น SirsiDynix, Ex Libris, VTLS ฯลฯ

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ สนใจก็ต้องไปลองเปิดดูครับ

รูปเต็มดูได้ที่ http://www.librarytechnology.org/automationhistory.pl?SID=20091214577484130

เมื่อบรรณารักษ์บางกลุ่มพูดว่า “ห้องสมุดของเราไม่มีทางเจ๊งหรอก”

มีหลายเรื่องที่ผมวิตกและกังวลเกี่ยวกับทัศนคติของบรรณารักษ์บางกลุ่มในประเทศไทย
ซึ่งผมกำลังหาทางออกและวิธีแก้ปัญหาอยู่ เลยอยากเล่าให้เพื่อนๆ ฟังเพื่อว่าจะมีใครเสนอแนวทางดีๆ ให้ผมบ้าง

question

เรื่องที่ผมจะยกมาให้อ่านในวันนี้อาจจะดูแรงไปสักหน่อยแต่มันเกิดขึ้นจริงนะครับ
เป็นเรื่องที่มีเพื่อนบรรณารักษ์คนนึงโทรมาปรึกษาผมเกี่ยวกับการทำงานบรรณารักษ์ของเขา
เอาเป็นว่าผมขอแทนชื่อเขาว่า “นายบัน” ก็แล้วกันนะครับ

ห้องสมุดที่ “นายบัน” ทำงานอยู่มีบรรณารักษ์กลุ่มหนึ่งที่ทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม (ไม่ได้หมายถึงรัฐบาลอย่างเดียวนะ)
วันๆ บรรณารักษ์กลุ่มนี้จะรอคอยเวลาเลิกงานในแต่ละวัน พอใกล้จะถึงเวลาเลิกงานก็จะรีบเก็บของโดยไม่สนใจผู้ใช้บริการ

“นายบัน” ก็รู้สึกว่าห้องสมุดไม่มีอะไรใหม่ๆ เลย ดังนั้นเขาก็เสนอโครงการใหม่ๆ ขึ้นไปให้หัวหน้า
ซึ่งหัวหน้าก็ค่อนข้างชอบโครงการใหม่ๆ นี้ และคิดว่าจะนำมาใช้กับห้องสมุด

แต่โครงการใหม่ๆ ดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาครับ เพราะว่ากลุ่มบรรณารักษ์กลุ่มนี้ไม่พอใจ
เนื่องจากเป็นการสร้างภาระงานใหม่ๆ ในห้องสมุด และต้องใช้เทคโนโลยีมากขึ้น (อินเทอร์เน็ต)
ดังนั้น “นายบัน” ก็เลยโดยเรียกไปต่อว่า “หาว่าชอบหาเรื่องใส่ตัว” “งานสบายๆ ไม่ชอบหรือไง”
“นายบัน” พยายามจะบอกว่า “บรรณารักษ์อย่างพวกเราต้องเปลี่ยนบทบาทและหน้าที่ให้เข้ากับยุคปัจจุบันนะ”

แต่บรรณารักษ์กลุ่มนี้กลับนิ่งเงียบ แล้วย้อนคำถามมาว่า
“แล้วเราต้องเปลี่ยนด้วยหรอ ในเมื่อห้องสมุดของเรายังไงนักศึกษาก็ต้องใช้บริการอยู่แล้ว ห้องสมุดของเราไม่มีทางเจ๊งหรอก”

พอผมฟังจบก็รู้สึกอารมณ์ขึ้นมากๆ เลยครับ และวิตกกังวลถึงอนาคตบรรณารักษ์เมืองไทยจัง
“ปลาเน่าเพียงตัวเดียวก็ทำให้ทั้งคอกเหม็นได้แล้ว” ประโยคนี้คงจะจริง

สุดท้ายผมก็ได้แค่ปลอบเพื่อนผมไปว่า สิ่งต่างๆ เหล่านี้มันต้องค่อยๆ ปรับกันไป
ถ้าเราไปคล้อยตามประโยคแบบนี้แล้วไม่ทำงาน วงการบรรณารักษ์เราก็จะจบลงแบบเน่าๆ ต่อไป
ดังนั้นถ้าคิดว่าอะไรที่ดีต่อห้องสมุดทำไปเถอะอย่าสนใจเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องเลย

ผมก็หวังว่าเรื่องนี้คงเป็นเพียงส่วนน้อยของวงการบรรณารักษ์นะครับ
เพื่อนๆ อ่านจบแล้ว คิดยังไงกันบ้าง มีไอเดียจะเสนอผมบ้างหรือปล่าวครับ….

เครื่องปรับอากาศในห้องสมุดก็เสียงดังไม่ได้เด็ดขาด

เสียงรบกวนในห้องสมุดเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การพูดคุยกัน การไม่ปิดโทรศัพท์ แต่นั้นคือปัญหาที่เกิดกับผู้ใช้
แต่เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่าสาเหตุของเสียงรบกวนในห้องสมุดที่เกิดจากห้องสมุดเองก็มีเหมือนกัน

air

ปัญหาง่ายๆ ที่หลายๆ คนนึกไม่ถึงคือ เสียงของเครื่องปรับอากาศที่ดังออกมารบกวนคนอื่นๆ
แต่ผมอยากจะโฆษณาว่า ปัญหานี้จะหมดไปถ้าเพื่อนๆ ใช้เครื่องปรับอากาศยี่ห้อนี้

เป็นไงครับ เครื่องปรับอากาศที่เหมาะสำหรับห้องสมุดโดยเฉพาะ
จุดประสงค์ของการติดป้ายแบบนี้อาจจะเป็นเพราะว่าต้องการเน้นว่ามันเหมาะกับห้องสมุด

จริงๆ ผมไม่ได้เป็นเซลล์แมนหรอกนะครับ แต่ที่นำมาให้ดูก็เพราะว่ามันน่าสนใจมากเลย
คิดดูสิครับธุรกิจต่างๆ สามารถเชื่อมโยงให้เข้ากับห้องสมุดได้ทุกรูปแบบจริงๆ ไม่เว้นแต่เครื่องใช้ไฟฟ้า

เครื่องปรับอากาศในรูปๆ ดังกล่าวมีเสียงดังเพียง 38 Db เท่านั้น
ซึ่งถือว่าเงียบมากและไม่รบกวนผู้ใช้บริการคนอื่นๆ แน่นอน

คุณสมบัติของเครื่องปรับอากาศรุ่นนี้
– Library Quiet เสียงดังเพียง 38 Db
– ขนาด 10,000 BTU
– สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก
– ทำงานได้ 4 ฟังก์ชั่น คือ cool, dehumidify, ventilate, fan
– รวดเร็วและติดตั้งง่าย
– ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ
– มีรีโมทสำหรับควบคุมด้วย

ไม่รู้ว่าเว่อร์ไปปล่าว แต่อย่างน้อยก็ทำให้รู้ว่า
ห้องสมุดต้องเงียบจริงๆ ไม่ใช่แค่เสียงคน แต่ต้องเป็นทุกเสียงเลยต่างหากที่เงียบ
ว่าแต่ว่า เมืองไทยเรามีขายเครื่องปรับอากาศแบบนี้หรือปล่าว

การวางแผนสำหรับอาคารห้องสมุดสมัยใหม่ ตอนที่ 2

วันนี้ผมขอสรุปหนังสือเรื่อง “Planning the modern public library building” ต่อเลยนะครับ
ซึ่งวันนี้ผมจะพูดในบทที่สอง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการกำหนดขนาดของอาคารห้องสมุด

planning-public-library-part-2

ขอแจ้งรายละเอียดทั่วไปของหนังสือเล่มนี้อีกที

ชื่อหนังสือ : Planning the modern public library building
แก้ไขและเรียบเรียงโดย : Gerard B. McCabe, James R. Kennedy
สำนักพิมพ์ : Libraries Unlimited

Chapter 2 : Before Sizing Your Building
เป็นบทที่ว่าด้วยการกำหนดขนาดของอาคารห้องสมุด

ในบทนี้จะเน้นในเรื่องของการปรับเปลี่ยนแนวคิดของห้องสมุดสองแบบคือ
– ห้องสมุดสถานศึกษา – ต้องดูจาก need, collection, equipment
– ห้องสมุดสาธารณะ – ต้องดูจาก collection, need, equipment

เท่าที่อ่านมาจะสรุปได้ว่า

?ห้องสมุดสถานศึกษาจะเลือกเนื้อหาของทรัพยากรเพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนก่อน
แล้วค่อยตัดสิ่งใจในการเลือกรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศทีหลัง
เมื่อได้รูปแบบแล้วจึงจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อรองรับการให้บริการนั้นๆ?


?ห้องสมุดสาธารณะไม่จำเป็นต้องเลือกที่เนื้อหาเพราะว่า ผู้ใช้บริการคือคนทั่วไป
แต่สิ่งที่สำคัญในการให้บริการคือ การเลือกรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศมากกว่า?

ส่วนในเรื่องของการกำหนดขนาดอาคารห้องสมุด และสถานที่กันดีกว่า
โดยเพื่อนๆ จะต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ซะก่อน จึงจะกำหนดขนาดของห้องสมุดได้
– กลุ่มผู้ใช้บริการของห้องสมุดเป็นใคร มีปริมาณมากน้อยแค่ไหน
– คุณให้คำจำกัดความของคำว่า ?บริการที่ดี? ว่าอะไร
– ทรัพยากรสารสนเทศมีรูปแบบใดบ้าง
– งบประมาณที่ใช้สร้าง และต่อเติมมีมากน้อยเพียงใด
– ระบุที่นั่งสำหรับให้บริการไว้เท่าไหร่ และจำนวนพนักงานที่ปฏิบัติงานในห้องสมุดมีจำนวนเท่าไหร่
– เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งในห้องสมุดมีอะไรบ้าง เช่น โทรทัศน์ เคาน์เตอร์ ฯลฯ
– ให้บริการคอมพิวเตอร์มากน้อยเพียงใด มีแบบไร้สายหรือไม่
– มี partnership ที่จะช่วยในการพัฒนาห้องสมุดหรือเปล่า
– แผนการในการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดในอนาคต
– การประมาณการจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น

ถ้าเพื่อนๆ ตอบได้หมดนี่เลย จะช่วยให้สถาปนิกที่รับงานออกแบบเข้าใจรูปแบบงานมากขึ้นครับ
และจะช่วยให้เรากำหนดขนาดได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

บทสรุป สิ่งที่มีผลต่อการกำหนดขนาดพื้นที่ของอาคารห้องสมุด ได้แก่
– Service, Collection, Tasks, Technology (การบริการทั่วไปของห้องสมุด)
– Human being work (การทำงานของคนในห้องสมุด)
– Facility in the library (สาธารณูปโภคต่างๆ ในห้องสมุด)
?.

ครับ บทนี้ก็จบเพียงเท่านี้ หวังว่าเพื่อนๆ จะคำนวณขนาดของห้องสมุดตัวเองได้แล้วนะครับ
?คุณคิดว่าพื้นที่ที่มีอยู่ในห้องสมุดตอนนี้ใช้งานคุ้มค่าแล้วหรือยัง?

อ๋อ สำหรับคนที่อยากอ่านตัวอย่างบางส่วนของหนังสือ
ทาง google book search ได้สแกนไว้ให้อ่านแบบเล่นๆ 300 หน้า ลองไปอ่านที่
http://books.google.com/books?id=NUplCIv1KRYC&dq=Planning+the+modern+public+library+building&printsec=frontcover&source=bn&hl=th&sa=X&oi=book_result&resnum=4&ct=result