เรื่องเล่าของผมกับห้องสมุดในวัยเด็ก

ก่อนอื่นต้องขออวยพรให้เด็กๆ อนาคตของชาติสักหน่อยดีกว่า เนื่องจากวันนี้เป็น “วันเด็กแห่งชาติ”
ผมอยากเห็นอนาคตของชาติรักการอ่านมากๆ และมีความคิดสร้างสรรค์มากๆ ครับ

library-kid

คำขวัญวันเด็กปี 2553 = “คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม”

วันนี้ผมขอเขียนเรื่องแบบสบายๆ หน่อยแล้วกัน และขอเข้ากับบรรยากาศวันเด็กนิดๆ นะ
ประมาณว่าจะขอเล่าเรื่องสมัยตอนผมเป็นเด็กแล้วกัน เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุดในวัยเด็กของผม

ผมเริ่มชอบห้องสมุดตั้งแต่เมื่อไหร่น้า…

ผมคงต้องเริ่มต้นเล่าตั้งแต่สมัยผมเรียนเลยหล่ะมั้ง
ซึ่งผมเรียนอยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรีมาตลอดตั้งแต่ ป.1 ถึง ม.6
ผมยังคงจำห้องสมุดโรงเรียนแห่งนี้ได้เสมอและเห็นการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด

หลักๆ การเปลี่ยนแปลงห้องสมุดครั้งใหญ่ที่ผมเห็นมีอยู่ 3 ครั้ง ดังนี้

1. ห้องสมุดเล็กๆ ที่ให้บริการแบบดั้งเดิมต้องยืมคืนด้วยบัตรกระดาษ และยังไม่มีคอมพิวเตอร์เข้ามาให้บริการ
ภายในห้องสมุดเองก็ติดพัดลมไว้ทั่ว ยังไม่มีเครื่องปรับอากาศเลย แต่ห้องสมุดก็ไม่ร้อนนะ
คนมายืมหนังสือที่นี่ก็เยอะเหมือนกัน จะยืมแต่ละทีต้องเข้าแถวรอนานมาก
แต่ผมเองก็ใช้บริการแทบจะทุกสัปดาห์เลย ตอนนั้นจำได้ว่าอยู่ประมาณ ป.3-4 ได้มั้ง
หนังสือที่ผมยืมส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือที่มีภาพเยอะๆ พวกการ์ตูนวิทยาศาสตร์ครับ

2. ห้องสมุดถูกย้ายไปอยู่อีกตึกซึ่งเป็นห้องสมุดชั่วคราวเนื่องจากตอนนั้นมีการทุบตึกห้องสมุดเดิมเพื่อสร้างห้องสมุดใหม่
ในห้องสมุดชั่วคราวนี้เปิดดำเนินการแค่ประมาณปีครึ่งเอง
แต่ก็มีเครื่องปรับอากาศในห้องสมุดนะ ซึ่งผมก็ชอบมาก และเข้าไปนั่งอ่านหนังสือเล่นประจำเพราะว่ามันเย็นดี
แต่ในช่วงนั้นผมไม่ค่อยได้ยืมหนังสือเลย หรือว่าโตแล้วเริ่มขี้เกียจนะ

3. ห้องสมุดใหม่เสร็จกลายเป็นตึกหอสมุดใหญ่มาก มีคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้น มีอินเทอร์เน็ตให้เล่นด้วย
ในตึกหอสมุดใหม่นี้มีทั้งห้องคอมที่ใช้สำหรับวิชาเรียนในชั้น 2 ส่วนในชั้น 3 กับ 4 เป็นห้องสมุด
ซึ่งมีความทันสมัยมากๆ ทำให้ผมเข้ามาประจำเลย โดยเฉพาะเวลาพักเที่ยงเกือบทุกวันผมจะอยู่ที่ห้องสมุดเสมอๆ
เวลาเพื่อนจะตามหาผมก็มักจะมาหากันที่ห้องสมุดนั่นแหละ
ในช่วงนั้นเวลาใครต้องการทำรายงาน ผมจะอาสาเป็นคนค้นหาข้อมูลเพื่อประกอบรายงานตลอด
คงเป็นเพราะตอนนั้นแน่ๆ ที่ทำให้ผมอยากเป็นบรรณารักษ์มั้ง

นอกจากห้องสมุดโรงเรียนของผมแล้วผมยังมีห้องสมุดที่ผมไปประจำอีกสองที่นั่นคือ

1. หอสมุดแห่งชาติ (ไปค่อนข้างบ่อย)
ช่วงที่ผมได้รับมอบหมายให้ทำรายงาน ผมก็จะเลือกที่ค้นหาข้อมูลหลัก ซึ่งนั่นก็คือ หอสมุดแห่งชาติ นั่นเอง
เวลาอยากได้เนื้อหาอะไร ข้อมูลอะไร ความรู้อะไร คำตอบของผมที่ได้มักจะมาจากห้องสมุดเป็นหลัก
อาจจะเป็นเพราะว่าในสมัยนั่นอินเทอร์เน็ตเพิ่งจะเริ่มต้น จึงทำให้ค้นหาข้อมูลแล้วไม่ค่อยได้อะไรนั่นเอง


2. ห้องสมุดภาษาญี่ปุ่นที่สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

เนื่องจากทุกๆ วันเสาร์ผมจะเรียนภาษาญี่ปุ่นที่นั่นและในห้องสมุดนั่นมีหนังสือที่สอนภาษาญี่ปุ่นมากมายด้วย
เวลามาเรียนผมจึงต้องแวะห้องสมุดนี้สักชั่วโมงเพื่อหาอะไรอ่านเล่น และเพื่อเป็นการฝึกภาษาไปในตัวด้วย

เอาเป็นว่าผมขอหยุดเวลาเด็กไว้แค่นี้ก่อนแล้วกัน
ไว้วันหลังจะมาเล่าต่อในช่วงที่ผมเรียนมหาวิทยาลัยก็แล้วกันนะครับ

สุดท้ายนี้ก็ขอให้เพื่อนๆ เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กๆ ซึ่งเป็นอนาคตของชาติกันนะครับ

ความทรงจำดีๆ เรื่องเว็บไซต์ห้องสมุดชิ้นแรกของผม

วันนี้ผมลื้อไฟล์งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วเจองานชิ้นนี้ (เว็บไซต์แรกที่ผมสร้างให้กับห้องสมุด) โดยบังเอิญ
วันนี้ผมจึงขอรำลึกถึงความหลังและเล่าเรื่องนี้ให้ฟังแบบคร่าวๆ นะครับ

ขอ censor ชื่อหน่วยงานและหน้าของสาวๆ นะครับ
ขอ censor ชื่อหน่วยงานและหน้าของสาวๆ นะครับ

ในขณะนั้นผมอยู่ในตำแหน่งบรรณารักษ์ไอทีของห้องสมุดแห่งหนึ่ง (ลองอ่านจากประวัติผมดูนะครับ)
ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการห้องสมุดให้จัดทำเว็บไซต์ของห้องสมุดขึ้นมา

จุดประสงค์ของเว็บไซต์ที่ผมสร้าง
– เพื่อแนะนำข้อมูลทั่วไปของห้องสมุด เช่น ประวัติความเป็นมา เวลาทำการ นโยบายในการให้บริการ ฯลฯ
– เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างบรรณารักษ์ และผู้ใช้บริการ
– เพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารของห้องสมุด
– เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงไปยังสารสนเทศออนไลน์

ต้องขอบอกก่อนเลยนะครับ ช่วงนั้นผมยังไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับไอทีสักเท่าไหร่
เลยออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดอย่างง่ายๆ ขึ้นมา โดยเขียนด้วย HTML ธรรมดาๆ

แต่ด้วยความโชคดีของผมที่ก่อนหน้าที่จะมาทำงานที่นี่ ผมได้เป็นกราฟฟิคดีไซน์เนอร์มาก่อน
เลยชำนาญกับการออบแบบงานใน Photoshop
ดังนั้นผมจึงผสานระหว่างความรู้ด้านไอทีและการออกแบบจนได้เว็บไซต์ห้องสมุดออกมา

ในเว็บไซต์นี้ประกอบด้วย
1. ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม – เพื่อช่วยในการค้นหนังสือจากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
โดยเว็บของผมก็จะเชื่อมไปยัง http://uc.thailis.or.th

2. การจัดการความรู้ห้องสมุด – เพื่อสร้างชุมชนการจัดการความรู้ ซึ่งตอนนี้เชื่อมโยงมาที่บล็อกนี้

3. กฤตภาคออนไลน์ – เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นข่าวเก่าๆและบทความดีๆ ได้
ซึ่งส่วนนี้ผมสร้างเองโดยแบ่งหมวดตามสาขาวิชาที่มีการเปิดสอนที่นี่

4. สุดยอดหนังสือน่าอ่าน – เพื่อเป็นการแนะนำหนังสือที่น่าสนใจในแต่ละเดือน
โดยผมก็ทำจุดเชื่อมโยงไปที่เว็บของร้านหนังสือซีเอ็ดบุ๊คในส่วนของอันดับหนังสือขายดี

5. ebook online – เพื่อให้ผู้ใช้สามารถอ่านหนังสือแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เมื่ออยู่ที่บ้าน
ไม่ต้องมาที่ห้องสมุด อันนี้ผมก็เชื่อมโยงไปยัง http://www.gutenberg.org/wiki/Main_Page

6. ติดต่อศูนย์วิทยบริการ – ในส่วนนี้จะบอกแผนที่ในการมาที่ห้องสมุด และที่อยู่ในการติดต่อ
รวมทั้งเบอร์โทรศัพท์และอีเมล์ด้วย

7. แบบฟอร์มศูนย์วิทยบริการ – ในส่วนนี้เป็นบริการภายในให้บรรณารักษ์สามารถ Download เอกสารประกอบการทำงานได้

8. ศูนย์รวมความรู้นอกตำราเรียน – อันนี้สร้างเองแต่ก็ใช้ข้อมูลจากคนอื่นอยู่ดี
ในส่วนนี้เป็นส่วนที่ผมคัดเลือกเรื่องที่น่าสนใจในแต่ละเดือนแล้วนำสไลด์ความรู้ต่างๆ มาให้ผู้ใช้บริการเข้าไปดูได้
โดยผมก็จะเชื่อมโยงไปยังเอกสารต้นฉบับของเจ้าของสไลด์

9. ค้นข้อมูลจาก google – ส่วนนี้มีไว้สำรองเมื่อผู้ใช้บริการไม่สามารถหาหนังสือในห้องสมุด
ก็สามารถค้นข้อมูลได้จาก google ได้

10. แนะนำฐานข้อมูลออนไลน์ – มีการรวบรวมรายชื่อฐานข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มากมาย
ที่ให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งฐานข้อมูลที่คัดสรรมานั้นนับว่ามีประโยชน์กับผู้ใช้ที่ต้องการศึกษา
ข้อมูลเพื่อนำไปทำวิจัยได้

11. บริการข่าวสาร –
อันนี้ผมก็ใช้ rss feed ข่าวมาจาก สำนักข่าวต่างๆ โดยแบ่งข่าวเป็น 5 ส่วนคือ
ข่าวการศึกษา / ข่าวไอที / ข่าวสุขภาพ / ข่าวธุรกิจ / ข่าวยานยนต์

12. รวบรวมจุดเชื่อมโยงไปยังห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาทั้งรัฐและเอกชน เพื่อใช้ในการศึกษาเพิ่มเติม

13. แนะนำหนังสือใหม่ในแต่ละเดือน

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับความสามารถของเว็บไซต์นี้
แต่ถ้าเพื่อนๆ สังเกตจะรู้ว่าหลายๆ เมนู ผมไม่ต้องทำเองก็ได้นะครับ
แค่อาศัยการเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ภายนอกก็เพียงพอแล้ว

ของบางอย่างเราสามารถนำมาใช้ได้ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องสร้างเอง
สิ่งสำคัญของการทำเว็บไซต์ห้องสมุด คือ ทำออกมาแล้วผู้ใช้ต้องสามารถใช้งานได้อย่างมีคุณค่ามากที่สุด

ผลงานชิ้นนี้ทำให้ห้องสมุดแห่งนี้มีเว็บไซต์ แต่หลังจากที่ผมลาออกที่นี่ก็เปลี่ยนเว็บไซต์ห้องสมุดใหม่
ซึ่งผมก็แอบน้อยใจนิดๆ เหมือนกัน เพราะถ้าเปลี่ยนแล้วมีอะไรที่ดีขึ้นผมก็คงยอมได้
แต่นี่เปลี่ยนเว็บไซต์จากที่มีความสามารถดังกล่าวกลายเป็นเว็บไซต์ที่มีแต่แนะนำข้อมูลห้องสมุดอย่างเดียว

เศร้าใจนะ แต่ทำอะไรไม่ได้นี่…

ความสัมพันธ์ระหว่างงานห้องสมุดกับงานฝ่ายบุคคล

เรื่องราวที่ผมกำลังจะเขียนต่อไปนี้ เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในอดีตที่ผมทำงานเป็นบรรณารักษ์ให้องค์กรแห่งหนึ่งอยู่
และผมเชื่อว่าห้องสมุดภายในองค์กรหลายๆ แห่งมักประสบปัญหานี้เช่นกัน (องค์กรที่มีห้องสมุดให้บริการคนภายใน)

hr-library

เมื่อบุคลากรคนหนึ่งลาออกไปแล้ว แต่ฝ่ายบุคคลไม่แจ้งให้ห้องสมุดทราบ
วันดีคืนดีห้องสมุดมาตรวจสอบข้อมูลอีกที ก็พบว่าบุคลากรที่ลาออกคนนั้นมีหนังสือค้างส่ง
ซึ่งถ้าเป็นหนังสือทั่วไปค้างส่งคงไม่เท่าไหร่ แต่นี่เป็นหนังสือที่ค้างส่งที่เป็น text book ราคาแพงและหลายเล่มด้วย
และเมื่อขอข้อมูลจากผ่านบุคคลและติดต่อไปยังบุคลากรคนนั้นกลับติดต่อไม่ได้

ห้องสมุดเกิดความเสียหายเนื่องจากบุคลากรลาออกไปหลายคนแล้ว แต่ไม่มีใครคิดจะแก้ปัญหา…

ห้องสมุดพยายามทำเรื่องไปให้ฝ่ายบุคคลหลายรอบแล้ว (เรื่อง ขอตรวจสอบสถานะการยืมของบุคลากรที่มีความประสงค์จะลาออก)
แต่กลับถูกเมินเฉย และต่อว่ากลับมาว่า “เป็นหน้าที่ของห้องสมุดที่ต้องทวงถามการยืมจากบุคลากรเอง
แต่เมื่อชี้แจงว่า “ในเมื่อห้องสมุดมิอาจจะทราบได้ว่าเดือนนี้ใครจะลาออกบ้างแล้วจะให้ห้องสมุดทำอย่างไร
กลับได้รับคำตอบว่า “ห้องสมุดก็ต้องมาตรวจสอบจากฝ่ายบุคคลเอง

สรุปง่ายๆ หน้าที่ของห้องสมุดนอกเหนือจากงานที่ต้องดูแลหนังสือแล้ว
ยังต้องมาดูแลว่าบุคลากรคนไหนจะลาออกเมื่อไหร่และก็ต้องตามเช็คให้อีก
มันถูกต้องหรือไม่ อันนี้ผมคงไม่อยากให้ความเห็น
เพราะว่าผมคิดว่าเพื่อนๆ คงคิดกันได้ว่าใครควรรับผิดชอบงานอะไรกันแน่

เอาเป็นว่าถ้าไม่อยากให้เกิดปัญหาเช่นนี้ ลองอ่านสิ่งที่ผมจะเขียนด้านล่างดูนะครับ

ห้องสมุดควรจะมีการพูดคุยกับหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของตัวเอง
เช่นฝ่ายการเงิน / ฝ่ายบุคคล เพื่อพูดคุยและตกลงข้อกำหนดต่างๆ ร่วมกัน
มิใช่ผลักภาระและปัญหาให้กันอย่างที่เป็นอยู่แบบนี้

เมื่อมีบุคลากรมาขอลาออก คนๆ นั้นก็จะยื่นเรื่องขอลาออกที่ฝ่ายบุคคล
ฝ่ายบุคคลก็จะควรตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของคนๆ นั้นที่มีต่อองค์กร
โดยทั่วไปฝ่ายบุคคลก็จะติดต่อไปยังฝ่ายสวัสดิการ ฝ่ายตรวจสอบวัสดุ ฝ่ายการเงินและควรติดต่อกับห้องสมุดด้วย

ฝ่ายห้องสมุดก็จะได้ตรวจสอบหนังสือค้างส่งและค่าปรับค้างชำระของบุคลากรท่านนั้นด้วย
หากไม่ทำเช่นนี้แล้ว เมื่อบุคลากรท่านนั้นลาออกไปแล้ว ห้องสมุดจะไม่รู้เรื่องเลยและหนังสือที่มีคุณค่าก็จะกลายเป็นหนังสือสูญหาย

เอาเป็นว่าการพูดคุยทำความเข้าใจในหน้าที่ จะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้
หากพูดคุยกันแล้วมีเรื่องถกเถียงกันก็ให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินเรื่องนี้ก็ได้นะครับ

นี่ก็เป็นเพียงข้อเสนอของผม และเรื่องราวที่อยากเล่าสู่กันฟังก็เท่านั้นเอง

ไอเดียในการจัดกิจกรรมสำหรับห้องสมุดจากเว็บบอร์ดชื่อดัง (Pantip.com)

วันนี้อยู่ว่างๆ 1 วันเลยขอเปิดเว็บไซต์ต่างๆ อ่านเพื่อเก็บไอเดียจากเว็บไซต์มาคิดกิจกรรมห้องสมุด
หลังจากที่เปิดเว็บนู้นนี้มาตั้งเยอะ สุดท้ายก็มาจบที่เว็บบอร์ดชื่อดังของประเทศ นั่นก็คือ Pantip.com นั่นเอง

idealibrary

ใน Pantip.com มีห้องอยู่ห้องหนึ่งที่น่าสนใจมากและชื่อก็เหมือนกับวงการของเรา นั่นก็คือ “ห้องสมุด”
ซึ่งภายในห้องนี้จะเน้นเรื่องราวเกี่ยวกับหนังสือ วรรณกรรม นักเขียน ปรัชญา และอื่นๆ ที่น่าสนใจมากมาย
เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆสนใจก็ลองเข้าไปที่ http://pantip.com/ แล้วเลือก “ห้องสมุด” ดูนะครับ

ในห้องสมุดแห่งนี้ ผมได้พบกับกระทู้ถามตอบมากมาย
จนไอเดียเกี่ยวกับกิจกรรมรักการอ่านก็ผุดขึ้นมากมายเช่นกัน
ซึ่งเดี๋ยวผมจะขอสรุปกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจสำหรับห้องสมุดให้เพื่อนๆ ได้อ่านนะครับ

ไอเดียในการจัดกิจกรรมสำหรับห้องสมุด
เช่น
1. หนังสือทำมือ
หนังสือทำมือถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจมากโดยเน้นการส่งเสริมให้รักการอ่านและพัฒนาการเขียนอีกด้วย
การทำหนังสือทำมือสักเล่มหนึ่งไม่ได้ยากเกินไป ใครๆ ก็สามารถทำได้ ไม่ว่าจะเด็ก วัยรุ่นหรือผู้ใหญ่
ดังนั้นห้องสมุดน่าจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมหนังสือทำมือบ้าง เช่น
– นิทรรศการและการแสดงผลงานหนังสือทำมือ
– การอบรมการทำหนังสือทำมือ
– ประกวดหนังสือทำมือประเภทรูปเล่มสวยงามและน่าสนใจ
– ประกวดหนังสือทำมือประเภทเนื้อหาโดดเด่นและมีสาระ


2. การเข้าเล่ม การเย็บเล่ม และการซ่อมแซมหนังสือ

งานเทคนิคต่างๆ เหล่านี้เกี่ยวข้องกับงานเทคนิคของบรรณารักษ์อยู่แล้ว
ดังนั้นห้องสมุดสามารถถ่ายทอดความรู้ในงานเทคนิคเหล่านี้ให้ผู้ใช้บริการได้เข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ด้วย
ดังนั้นห้องสมุดจึงควรจัดกิจกรรมเกี่ยวการซ่อมแซมหนังสือต่างๆ เช่น
– นิทรรศการการเข้าเล่มและการเย็บเล่มหนังสือแบบต่างๆ
– นิทรรศการเรื่องการอนุรักษ์และการใช้หนังสืออย่างถนุถนอม
– อบรมการซ่อมแซมหนังสือด้วยตัวเอง

3. นักเขียนกับห้องสมุด
ในชุมชนออนไลน์แห่งนี้เพื่อนๆ หลายๆ คนมักจะมีนักเขียนในดวงใจของตัวเอง ซึ่งเป็นอีกปัจจัยให้เพื่อนๆ รักการอ่าน
เช่นเดียวกันผมว่าผู้ใช้ห้องสมุดหลายๆ คนเอง ก็คงมีนักเขียนในดวงใจของเขาเหมือนกัน
ดังนั้นห้องสมุดจึงควรจัดกิจกรรมร่วมกับนักเขียนหนังสือชื่อดัง หรือจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับนักเขียน เช่น
– นิทรรศการรู้จักนักเขียนรางวัลซีไรต์
– อบรมหลักสูตรการเป็นนักเขียน
– การตกแต่งห้องสมุดด้วย Quote เด็ดๆ จากนักเขียนชื่อดัง (จากไอเดีย กิจกรรมวาทะคนแถวหน้า @B2S)
– กิจกรรมเปิดตัวหนังสือใหม่และเสวนากับนักเขียน
– แนะนำหนังสือที่นักเขียนแนะนำ
– ร้อยคำเป็นเรื่องเป็นราว (กิจกรรมนำคำที่กำหนดมาแต่งเป็นเรื่องราว)

4. หนังสือ
กิจกรรมที่เกี่ยวกับหนังสือมีมากมายเลยครับในเว็บไซต์เห็นนี้
หากเพื่อนๆ จับประเด็นได้จะพบกับกิจกรรมที่สามารถนำมาใช้จัดในห้องสมุดได้ครับ เช่น
– นิทรรศการหนังสือหายากและหนังสือทรงคุณค่า
– กิจกรรม Rainy Read Rally หรือ กิจกรรมเหมันต์ขยันอ่าน (Winter Wonder Read : WWR)
– อ่านหนังสือเดือนละเรื่อง (ไอเดียจาก TRB Challange โครงการทลายกองดอง 12 เล่มใน 12 เดือน)
– การวิจารณ์หนังสือ (Book Review)
– แรงบันดาลใจในหนังสือเล่มโปรด
– การเล่านิทานในวันหยุดสุดสัปดาห์
– งานหนังสือมือสอง (ไอเดียจาก งานหนังสือมือสองที่ห้องสมุด Neilson Hayes)


5. เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับห้องสมุด

– การรับบริจาคหนังสือและช่วยเหลือห้องสมุดที่ขาดแคลนสื่อ
(ไอเดียจาก โครงการ “เติมหนังสือสู่สมอง” http://www.books4brains.org/)
– การจัดมุมหนังสือเพื่อชุมชน (นำหนังสือมือสองของคนในชุมชนมาจัดเป็นมุมหนังสือ)
– พนักงานตำแหน่ง Book Specialists และ Book Consultants ให้คำแนะนำผู้ใช้บริการในการเลือกหนังสือ
– เสวนาเพื่อสร้างกระแสนักอ่าน (ไอเดียจาก งานเสวนา วรรณกรรมเยาวชน..ในหัวใจคนรักอ่าน)

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างกิจกรรมที่ผมเก็บมาจากไอเดียต่างๆ ในเว็บไซต์ Pantip.com นะครับ
เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ ว่างๆ ก็ลองแว๊บเข้าไปอ่านกันดูแล้วเอามาแชร์ไอเดียแลกเปลี่ยนกันนะครับ

สุดท้ายก็ขอขอบคุณทุกไอเดียที่เขียนใน Pantip.com นะครับ
ไอเดียมีอยู่ทุกที่เพียงแค่คุณจะรู้จักหยิบมันมาใช้หรือเปล่าก็เท่านั้น

มีอะไรในห้องสมุดมารวย

ไม่ได้ไปเที่ยวห้องสมุดมานาน วันนี้ผมจึงขอหยิบแผ่นพับห้องสมุดแห่งหนึ่งมาอ่าน
แล้วก็ขอเขียนเล่าเรื่องห้องสมุดแห่งนี้ขึ้นมา ห้องสมุดแห่งนี้คือ “ห้องสมุดมารวย” นั่นเอง

maruey-library

“ห้องสมุดมารวย” แต่เดิมมีชื่อว่า “ห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย” ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2518
โดยเน้นหนังสือและสื่อสารสนเทศที่เกี่ยวกับการเงิน การออม การลงทุน ตลาดหุ้น และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นห้องสมุดมารวยในปี พ.ศ. 2547 เพื่อเป็นเกียรติแด่ ดร.มารวย ผดุงสิทธิ์ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ คนที่ 5

สำหรับการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดจาก ห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็น ห้องสมุดมารวย
มีแนวคิดในการปรับปรุงห้องสมุดทั้งกายภาพและบริการให้เข้าสู่ความเป็น ห้องสมุดเพื่อคนรุ่นใหม่สไตร์ Modern Library นี้
เกิดขึ้นจากแนวคิดของ คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ คนที่ 9

ภายในห้องสมุดมารวยมีการตกแต่งบรรยากาศในลักษณะที่เป็นห้องสมุดแห่งความทันสมัย และดูน่าใช้บริการ
ซึ่งภายในห้องสมุดมารวยนี้ มีบริการต่างๆ มากมาย อาทิเช่น
– คอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้นข้อมูล
– อินเทอร์เน็ตไร้สาย (wifi)
– มุมนันทนาการ
– เสวนาวิชาการ
– มุมดูหนังฟังเพลง
– มุมเกมลับสมอง
– ร้านกาแฟ
– ร้านหนังสือ settrade.com
– และอื่นๆ

และที่สำคัญที่ผมชอบ คือ เรื่องเวลาเปิดและปิดบริการครับ
เนื่องจากที่นี่ไม่มีวันหยุดเลย แม้แต่วันเดียว และเปิดให้บริการตั้งแต่ 8.30 – 23.00 น.
และในวันศุกร์ เสาร์จะเปิดในเวลา 8.30 – 24.00 น.
เป็นยังไงกันบ้างครับ มีที่ไหนที่ทำได้อย่างนี้มั้ยครับ

เอาเป็นว่า แนะนำให้ลองเข้าไปชมดู แล้วจะรู้ว่าห้องสมุดดีๆ ยังมีอีกเยอะในเมืองไทย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมลองเข้าไปที่เว็บ www.maruey.com

1 ปีที่ผ่านมากับตำแหน่งนักพัฒนาระบบห้องสมุด

สวัสดีปีใหม่ 2553 นะครับทุกคน วันนี้ก็เป็นวันแห่งการเริ่มต้นใหม่ในปีใหม่ๆ
หากย้อนกลับไปเมื่อปีที่แล้ว (2552) ปีนี้ผมก็เริ่มทำงานใหม่เช่นเดียวกัน
ในตำแหน่งนักพัฒนาระบบห้องสมุด ให้กับโครงการศูนย์ความรู้กินได้

library-system-development

วันนี้ผมขอประมวลเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปี 2552 ให้เพื่อนๆ อ่านกันนะครับ

ชื่อตำแหน่งที่ได้รับ “นักพัฒนาระบบห้องสมุดโครงการศูนย์ความรู้กินได้
ภายใต้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า OKMD นั่นเอง

ตำแหน่งนี้หากมองแบบผ่านๆ ก็อาจจะคิดว่าเกี่ยวกับ “บรรณารักษ์ด้านไอทีที่ดูแลเรื่องระบบห้องสมุด
แต่ความเป็นจริงแล้ว คำว่าระบบห้องสมุดในชื่อตำแหน่งของผมก็คือ ระบบการทำงานภายในห้องสมุดทั้งหมดต่างหาก

ตั้งแต่งานด้านบริหารห้องสมุด งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
งานเทคโนโลยีต่างๆ ด้านห้องสมุด การออกแบบการทำงานให้กับบรรณารักษ์และห้องสมุด
รวมไปถึงการคิดและสร้างบริการใหม่ๆ รวมถึงนวัตกรรมใหม่ๆ ในห้องสมุดด้วย

หากพูดว่า “โครงการศูนย์ความรู้กินได้” เพื่อนๆ อาจจะงงว่าคือนี่คือโครงการห้องสมุดอะไร
โครงการศูนย์ความรู้กินได้ คือ โครงการที่จะพัฒนาห้องสมุดประชาชนให้มีบาบาททางสังคมมากขึ้น
ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนาห้องสมุดต้นแบบอยู่ คือ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

งานที่ผมได้ทำมาในปีที่ผ่านมา เช่น
– การจัดการเรื่องการประเมินคุณค่าหนังสือเดิมที่มีอยู่ในห้องสมุด
– การสำรวจและสรุปผลหนังสือที่มีอยู่เดิมในห้องสมุด (Inventory)
– การออกแบบรูปแบบการทำงานใหม่ๆ ในห้องสมุดประชาชน
– การกำหนดคุณสมบัติระบบห้องสมุดอัตโนมัติทั่วไปสำหรับห้องสมุดประชาชน
– การกำหนดคุณสมบัติระบบเว็บไซตของห้องสมุดเพื่อการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการ
– การออกแบบและจัดสถานที่เพื่อให้การทำงานห้องสมุดเป็นไปอย่างราบรื่นและผู้ใช้บริการสามารถใช้งานได้เต็มที่
– การกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกสื่อความรู้ที่มีประโยชน์เข้าห้องสมุด

บริการใหม่ๆ และนวัตกรรมใหม่ๆ ในห้องสมุด เช่น
– การจัดมุมให้บริการสำหรับผู้สูงอายุในห้องสมุด
– การสร้าง Path Finder เพื่อบอกขอบเขตของเนื้อหาต่างๆ ในห้องสมุด
– การสร้างกล่องความรู้กินได้ เพื่อบริการองค์ความรู้แบบ one stop sevice

เอาเป็นว่านี่เป็นเพียงตัวอย่างคร่าวๆ ของงาน ที่ผมกำลังทำนั่นเองครับ
และภายในเดือนเมษายน 2553 เพื่อนๆ จะได้พบกับห้องสมุดแห่งนี้ได้ที่จังหวัดอุบลราชธานีครับ

เพราะห้องสมุด กำลังจะเปลี่ยนไป……

ประสบการณ์ทำงานห้องสมุดเล็กใหญ่ไม่สำคัญ

คนที่ทำงานในห้องสมุดใหญ่ หรือ คนที่ทำงานในห้องสมุดเล็ก
ไม่ว่าจะที่ไหนก็คือห้องสมุดเหมือนกัน และเป็นบรรณารักษ์เหมือนกัน
ดังนั้นกรุณาอย่าแตกแยกครับ บรรณารักษ์ต้องสามัคคีกัน (มาแนวรักชาติ)

librarian-in-library

ทำไมผมต้องเขียนเรื่องนี้หรอครับ สาเหตุมาจากมีน้องคนนึงมาอ่านบล็อกผมแล้วส่งเมล์มาถาม
เกี่ยวกับเรื่องการทำงานในห้องสมุดและสมัครงานในห้องสมุดนั่นเอง

ประมาณว่าน้องเขาถามว่า
“ผมทำงานในห้องสมุดเล็กๆ แห่งหนึ่ง ทำงานทุกอย่างคนเดียวในห้องสมุด
ทีนี้ผมอยากจะออกมาสมัครงานในห้องสมุดแบบใหญ่ๆ บ้าง
ขอถามว่าผมจะเสียเปรียบบรรณารักษ์คนที่เคยทำงานในห้องสมุดใหญ่ๆ บ้างหรือปล่าว”

ประเด็นนี้ผมมานั่งคิดๆ ดูแล้ว มันก็ตอบยากนะครับ เพราะว่าในแง่ของการให้บริการในห้องสมุดมันก็คล้ายๆ กันนะครับ
คือพูดง่ายๆ ว่า บรรณารักษ์ยังไงเราก็ต้องให้บริการผู้ใช้ในห้องสมุดอยู่แล้ว

จะบอกว่าห้องสมุดใหญ่ต้องให้บริการดีกว่าห้องสมุดเล็ก มันก็คงไม่ใช่ สรุปง่ายๆ ว่างานด้านบริการผมว่าเท่าๆ กัน
แต่ในแง่ของอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกหรืองบประมาณอันนี้ผมคงต้องถามต่อไปอีกว่า

“ห้องสมุดของเรา บริการให้ผู้ใช้บริการได้เต็มที่แล้วหรือยัง”

ห้องสมุดในบางแห่งมีงบประมาณมากมาย อุปกรณ์อำนวยความสะดวกมาก แต่บรรณารักษ์กลับไม่สนใจในการให้บริการ
ดังนั้นการจะเปรียบเทียบห้องสมุดผมจึงไม่ขอเอาเรื่องความใหญ่โตของห้องสมุดมาเทียบนะครับ
ถ้าจะเทียบผมขอเทียบในแง่ของการให้บริการดีกว่า ถึงแม้ว่าจะวัดผลในการให้บริการยากก็ตาม

ในแง่ของผู้ใช้บริการที่ต้องเข้ามาใช้บริการในห้องสมุด
จุดประสงค์ก็คงจะไม่พ้นเพื่อค้นหาข้อมูล เพื่อหาความรู้ อ่านหนังสือ ฯลฯ
ซึ่งโดยหลักการแล้วห้องสมุดไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ต้องมีบริการพื้นฐานเหล่านี้

ในเรื่องของการทำงานด้านบรรณารักษ์ในห้องสมุด อันนี้ผมคงต้องตอบว่าขึ้นอยู่กับการเรียนรู้งานของเพื่อนๆ นั่นแหละ
ซึ่งโดยปกติที่ผมเห็นคือถ้าเป็นห้องสมุดใหญ่ๆ บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดจะมีการแบ่งงานอย่างชัดเจน
ซึ่งแน่นอนว่าคนเดียวอาจจะไม่ต้องทำทุกงานในห้องสมุดก็ได้ ดังนั้นบรรณารักษ์ก็จะได้ความชำนาญเฉพาะด้านไปใช้

แต่ถ้าหากมองไปที่ห้องสมุดขนาดเล็กซึ่งบางแห่งมีบรรณารักษ์คนเดียว
และทำงานทุกอย่างในห้องสมุดไม่ว่าจะเป็นงานบริหารไปจนถึงการจัดชั้นหนังสือ
แน่นอนครับ บรรณารักษ์ในกลุ่มนี้จะเข้าใจในกระบวนการทำงานของห้องสมุดแบบภาพรวมได้อย่างชัดเจน
รู้กระบวนการต่างๆ ในห้องสมุด ขั้นตอน แผนงาน และการดำเนินการต่างๆ อย่างเป็นระบบ

เอาเป็นว่าขอสรุปนิดนึง
ห้องสมุดใหญ่ –> บรรณารักษ์ชำนาญเฉพาะด้าน
ห้องสมุดขนาดเล็ก –> บรรณารักษ์เข้าใจภาพรวมของห้องสมุด

เวลาไปสมัครงานไม่ว่าจะมาจากห้องสมุดเล็ก หรือ ห้องสมุดใหญ่
ผมว่าต่างคนก็ต่างได้เปรียบในแต่ละเรื่องอยู่แล้ว ดังนั้นเรื่องการสมัครงานคงไม่มีผลกระทบเช่นกัน

ยังไงซะไม่ว่าจะทำงานที่ไหนก็ตาม ทุกคนก็ยังคงได้ชื่อว่าเป็นบรรณารักษ์อยู่ดี
ดังนั้นก็ขอให้เพื่อนๆ ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดนะครับ

ห้องสมุดกับทิศทางในการใช้ Social Networking ปีหน้า

อีกไม่กี่วันก็จะก้าวเข้าสู่ปี 2010 แล้วนะครับ วันนี้ผมจึงขอนำเสนอบทความเรื่อง
แนวโน้มของการใช้ social networking ในวงการห้องสมุดปี 2010” นะครับ

sns-library

บทความนี้ต้นฉบับมาจากเรื่อง “Top 10 Social Networking in Libraries Trends for 2010”

สาระสำคัญของบทความชิ้นนี้คือการชี้ให้เห็นถึงทิศทางในการใช้ Social Networking ต่างๆ เพื่องานห้องสมุด
ซึ่งหากเพื่อนๆ ติดตามกระแสของการใช้เครื่องมือเหล่านี้ เพื่อนๆ จะรู้ว่าแนวโน้มห้องสมุดมีการนำมาใช้มากขึ้น
ซึ่งบทความชิ้นนี้ได้สรุปออกมาเป็นหัวข้อย่อยๆ 10 อย่างด้วยกันดังนี้

1. An increase in the use of mobile applications for library services.
โปรแกรมที่เกี่ยวกับบริการต่างๆ ของห้องสมุดในโทรศัพท์มือถือมีมากขึ้น
เช่น ใน Iphone ของผมตอนนี้ก็มี โปรแกรมที่น่าสนใจ เช่น DCPL, bibliosearch เป็นต้น

2. Even more ebook readers and the popularity of the ones that already exist.
กระแสของการใช้ Ebook Reader ปีที่ผ่านมาถ้าเพื่อนๆ สังเกตก็จะพบว่ามีจำนวนที่โตขึ้นมา
เว็บไซต์หลายๆ เว็บไซต์ให้บริการ download Ebook มากมาย ซึ่งบริการเช่นนี้จะเกิดในห้องสมุดอีกไม่นานครับ

3. The usage of more niche social networking sites for the public at large and this will spill over into libraries.
จำนวนเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับ social networking เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และมันก็กำลังจะเข้ามาสู่วงการห้องสมุดเพิ่มขึ้น
ผมขอยกตัวอย่างสักเรื่องนึง คือ twitter หลายๆ ห้องสมุดในไทยตอนนี้ยังเริ่มใช้บริการกันแล้วเลยครับ

4. An increase in the amount and usage of Google Applications such as Google Wave and other similar applications.
การใช้งาน application บน google มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นด้วย เช่น google wave หรือโปรแกรมอื่นๆ
เพื่อนๆ คนไหนอยากได้ invite google wave บอกผมนะเดี๋ยวผมจะ invite ไปให้

5. The Google Books controversy will more or less be resolved and patrons will begin to use it more.
google book มีการใช้งานมากขึ้นเช่นกัน หลังจากที่มีอยู่ช่วงนึงเป็นขาลง แต่ตอนนี้จำนวนผู้ใช้กลับเพิ่มจำนวนขึ้นมาอีกแล้ว
(นอกจากนี้ google book ยังได้รับความร่วมมือจากห้องสมุดอีกหลายๆ แห่งด้วย)

6. Library websites will become more socialized and customized
เว็บไซต์ของห้องสมุดจะมีความเป็น 2.0 มากขึ้น (ตอบสนองกับผู้ใช้มากขึ้น)
ลักษณะการให้บริการบนเว็บไซต์ของห้องสมุดจะเปลี่ยนไป

7. College libraries will use more open source software and more social networking sites.
ห้องสมุดหลายๆ แห่งกำลังตื่นตัวเรื่อง Open source รวมถึงการใช้ social network ในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
เช่น Moodle, greenstone, Dspace ฯลฯ

8. More libraries will use podcasting and itunes U to communicate with patrons.
ห้องสมุดหลายๆ ที่จะมีการใช้ podcast และนำ itune เข้ามาติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการ
ตัวอย่าง เช่น การให้บริการ podcast ของ Library of Congress

9. More libraries will offer social networking classes to their patrons.
เมื่อห้องสมุดใช้ Social networking มากขึ้นแล้ว ห้องสมุดก็ต้องจัดคอร์สอบรมให้ผู้ใช้บริการด้วย
โดยปีหน้าห้องสมุดหลายๆ ที่จะมีการจัดคอร์สเกี่ยวกับเรื่อง Social Networking เพิ่มมากขึ้น
แล้วเราคงจะได้เห็นหลักสูตรแปลกๆ เพิ่มมากขึ้นนะครับ

10. Social networking in libraries will be viewed more as a must and as a way to save money than as a fun thing to play with or to use to market the library.
การนำ Social networking ที่ห้องสมุดนำมาใช้วัตถุประสงค์หลักๆ คือ การลดค่าใช้จ่ายมากกว่าเล่นเพื่อนสนุกสนาน
นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นการสร้างกฎทางการตลาดใหม่ๆ ให้วงการห้องสมุดด้วยครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับกระแสแห่งเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า
ห้องสมุดของเพื่อนๆ พร้อมแล้วหรือยังที่จะก้าวไปข้างหน้าเหมือนกับห้องสมุดหลายๆ แห่งทั่วโลก
เอาเป็นว่าผมก็ขอเป็นกำหลังใจให้เพื่อนๆ ทุกคนนะครับ…ก้าวต่อไป

การค้นหาหนังสือในเว็บไซต์ห้องสมุดด้วย OPAC

ปัจจุบันการค้นหาหนังสือในห้องสมุดดีขึ้นกว่าเมื่อก่อนมากนะครับ
จากบัตรรายการมาเป็น OPAC หรือ WEBPAC ซึ่งทำให้เราค้นหาหนังสือได้จากทุกที่ทุกเวลา
แต่การค้นหาทุกๆ อย่างก็มีข้อจำกัดของมัน วันนี้ผมขอเขียนถึง OPAC แล้วกันนะครับ

libraryopac

OPAC (Online Public Access Catalog) เป็นระบบค้นหารายการหนังสือในห้องสมุด
โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ แทนที่ระบบแบบเก่าที่เป็นบัตรกระดาษผู้ใช้บริการห้องสมุดหรือบรรณารักษ์
ซึ่งผู้ใช้สามารถสืบค้นผ่านคอมพิวเตอร์ในห้องสมุด หรือว่าใช้คอมพิวเตอร์ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้

หลายคนคงคุ้นเคยกับการใช้งาน OPAC กันแล้วนะครับ
ในเว็บของห้องสมุดเกือบทุกที่จะมีบริการสืบค้นหนังสือออนไลน์ (OPAC / WEBPAC)
และหลายๆ คนคงคิดว่าระบบ OPAC นี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นหนังสือได้ทุกที่ทุกเวลา

แต่ในความเป็นจริงแล้วพวกคุณเคยคิดมั้ยว่า…
เวลาเราค้นหนังสือเจอใน OPAC แล้วเราทำไงต่อ

ระบบ OPAC นี้สามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาก็จริงแต่พอค้นหนังสือเจอแล้วแต่ก็อ่านไม่ได้
สิ่งที่เราได้คือเรารู้ว่ามันเก็บอยู่ที่ไหนเพียงเท่านั้นและบอกว่าหนังสือนั้นอยู่ในห้องสมุดหรือปล่าว

หากเราต้องการหนังสือเราก็ต้องเดินทางมาที่ห้องสมุดอยู่ดี
ระบบ OPAC อาจจะใช้งานได้ในทุกที่ทุกเวลาก็จริง
แต่ถ้าเราค้นหาหนังสือตอนห้องสมุดปิดบริการหล่ะ เราจะทำยังไง

ผมขอยกตัวอย่างปัญหาสักนิดมาให้อ่านนะครับ

ตัวอย่างที่ 1 นาย ก. สืบค้นหาหนังสือที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ
นาย ก. จึงเปิดเข้าไปในเว็บห้องสมุดในเวลาเที่ยงคืนของวันอาทิตย์แล้วพิมพ์คำค้นว่า ระบบสารสนเทศ นาย ก.
ได้รายชื่อหนังสือที่เกี่ยวกับสารสนเทศโดยมีหนังสืออยู่ที่ห้องสมุดกลาง จำนวน 3 เล่ม
แทนที่นาย ก.จะอ่านได้เลยแต่นาย ก.กลับต้องรอวันจันทร์วันที่ห้องสมุดเปิดทำการ
จึงจะสามารถไปที่ห้องสมุดแล้ว ยืมได้ – – – นี่แหละระบบที่ตอบสนองทุกที่ทุกเวลาแต่สถานที่ไม่ใช่

ตัวอย่างที่ 2 ในวันจันทร์ นาย ก.คนเดิมที่ได้รายชื่อหนังสือแล้วเข้าไปที่ห้องสมุดไปหาหนังสือที่ตนเองค้น ไว้
ผลปรากฎว่าหนังสือที่ค้นเนื้อหาด้านในไม่ตรงกับสิ่งที่ นาย ก.ต้องใช้
สรุปก็ต้องหาใหม่ – – – นี่แหละเห็นรายการแต่ไม่เห็น content

แล้วอย่างนี้จะแก้ปัญหาได้อย่างไร

สมมุติถ้านาย ก. หาข้อมูลใน Search Engine แต่แรก
คงได้อ่านตั้งแต่คืนวันอาทิตย์แล้ว ไม่ต้องเสียเวลามาที่ห้องสมุดด้วย

เอาเป็นว่าอย่างที่ผมบอก ไม่มี solution ไหนที่ดีที่สุดสำหรับห้องสมุด
เพียงแต่เราต้องหาทางแก้ไขและปรับปรุงการให้บริการของเราให้ดีขึ้นต่างหาก

ทางแก้ของเรื่องนี้อยู่ผมจะนำมาเขียนเล่าให้ฟังวันหลังนะครับ
เกี่ยวกับเรื่องการปรับปรุงคุณภาพและการให้บริการเชิงรุกของห้องสมุดบ้าง
ว่าเพื่อนๆ จะต้องทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้

ปล.ที่เขียนเรื่องนี้มาไม่ใช่ว่าต้องการจะล้มระบบ OPAC หรอกนะครับ? และไม่ได้มีเจตนาในการเปรียบเทียบแต่อย่างใด

ห้องสมุดเพื่อผู้ใช้บริการหรือเพื่อบรรณารักษ์กันแน่

ในการจัดตั้งห้องสมุดไม่ว่าที่ไหนก็ตาม จุดมุ่งหมายสำคัญที่บรรณารักษ์ได้ยินมาตลอดคือ “เพื่อผู้ใช้บริการ”
ประโยคนี้ผมก็ได้ยินตั้งแต่สมัยที่ผมยังเรียนบรรณารักษ์เหมือนกัน
ในเรื่องของการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ “ผู้ใช้บริการเหมือนพระเจ้า” ก็ว่าได้

libraryforuser

แต่พอเราลองมองย้อนดูเวลาทำงานเราตอบสนองให้กับผู้ใช้จริงๆ หรือปล่าว
อันนี้ต้องคิดดูอีกทีนะครับ เพราะเท่าที่ผมเคยใช้บริการและเป็นบรรณารักษ์ในห้องสมุดหลายๆ ที่
ผมก็คิดอยู่เสมอว่าทำไมบางครั้งการสั่งหนังสือ หรือการบริการต่างๆ บรรณารักษ์ยังอิงความเป็นบรรณารักษ์
และตอบสนองผู้ใช้ได้ไม่เต็มที่ การวิเคราะห์เพื่อให้เข้าถึงความเข้าใจของผู้ใช้เป็นสิ่งที่ยากมาก

ในบางครั้งจึงอาจมีการถกเถียงกันว่า…
ความจริงแล้วเราทำเพื่อผู้ใช้จริงหรือ หรือเป็นเพียงการบริการที่ทำให้บรรณารักษ์สบาย

—————————————————

กรณีการสืบค้นหนังสือในห้องสมุด

ห้องสมุด ก. เวลาผมไปห้องสมุดนี้ทีไรต้องการสืบค้นหนังสือผมก็จะเข้าไปถามบรรณารักษ์ว่า
หนังสือที่ผมต้องการหาอยู่ตรงไหน” แต่กลับได้รับคำตอบว่า “ไปหาในคอมพิวเตอร์ดู

ซึ่งทำเอาผมงงไปชั่วขณะ…
จากนั้นผมเดินไปทางมุมสืบค้นคอมพิวเตอร์บ้าง ปรากฎว่าไม่มีคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่เลย
ผมจึงเดินกลับไปถามบรรณารักษ์ใหม่อีกรอบว่า “ที่มุมสืบค้นไม่เห็นมีคอมพิวเตอร์เลย
บรรณารักษ์คนนั้นก็ตอบกลับมาอีกว่า “คอมพิวเตอร์เสีย” “งั้นไปใช้บัตรรายการดูแล้วกัน

ประมาณว่าจะขอความช่วยเหลือจากบรรณารักษ์ เขาก็บอกให้ไปใช้คอมพิวเตอร์
แถมพอคอมพิวเตอรืเสียก็แนะนำไปให้ใช้อย่างอื่น

สรุปว่าบรรณารักษ์เป็นคนที่คอบให้ความช่วยเหลือในห้องสมุดจริงหรือ


—————————————————

ผมขอแถมให้อ่านอีกสักตัวอย่างแล้วกัน

—————————————————

ตัวอย่างกรณีการสั่งหนังสือเข้าห้องสมุด

ห้องสมุด ข. อันนี้ผมเคยทำงานอยู่แล้วกันแต่ไม่ขอเอ่ยชื่ออีก
ในการสั่งหนังสือแต่ละครั้งทางบรรณารักษ์จะนำแบบฟอร์มแล้วให้ผู้ใช้เขียนเสนอแนะรายชื่อหนังสือ
แต่พอรวบรวมเสร็จทีไร ไม่เคยเอารายชื่อนั้นมาส่งให้สำนักพิมพ์สักที

ผมจึงได้เข้าไปสอบถามว่า “ทำไมเราไม่เอารายชื่อหนังสือที่ผู้ใช้บริการเสนอไปสั่งสำนักพิมพ์หล่ะ
บรรณารักษ์ผู้ที่รับผิดชอบงานนั้นก็ตอบอย่างหน้าตาเฉยว่า
ทำอย่างนั้นจะทำให้เสียเวลาต้องมาแยกสำนักพิมพ์ที่สั่งอีก มันจะไม่สะดวกและเพิ่มภาระงานนะ
เอางี้เราก็ให้ทางสำนักพิมพ์ส่งรายชื่อมาให้เราดีกว่าแล้วเราเลือกเรื่องที่มีหรือที่ใกล้เคียงก็ได้

ผมจึงถามต่อไปว่า “ถ้าสมมุติว่าผู้ใช้บริการเดินเข้ามาถามหาหนังสือที่เขาเสนอไว้หล่ะ จะทำอย่างไร
บรรณารักษ์คนเดิมก็ตอบว่า “ก็บอกไปว่าหนังสือเล่มนั้นทางสำนักพิมพ์แจ้งว่าขาดตลาด

ผมก็ได้แต่นั่งคิดว่า “ทำไปได้นะคนเรา

สั่งหนังสือเพื่อการทำงานของบรรณารักษ์ หรือ เพื่อผู้ใช้บริการเนี้ย

—————————————————

จากตัวอย่างที่ได้กล่าวมาเป็นเพียงส่วนน้อยของห้องสมุดหล่ะมั้งครับ
ผมเชื่อว่าด้วยจรรยาบรรณของความเป็นวิชาชีพบรรณารักษ์จะยังอยู่กับทุกคนที่ประกอบอาชีพนี้อยู่
เพียงแต่ก็อยากฝากบอกเพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพทุกคนว่า ผู้ใช้ของเราสำคัญที่สุด
การบริการด้วยใจ (Service mind) ทุกคนคงมีอยู่ในสายเลือดนะครับ

ก่อนจบขอฝากบทความเรื่อง service mind ให้ลองอ่านดูนะครับ

การมีหัวใจบริการ (Service Mind)

เทคนิคการสร้างจิตสำนึกในงานบริการ ( Service Mind)

การมีหัวใจบริการ (Service Mind)