เรื่องนี้เขียนมานานแล้ว แต่อยากให้อ่านกันอีกสักรอบครับ เกี่ยวกับการสืบค้นหนังสือโดยเฉพาะพวก text book ในเว็บไซต์ Google Books Search ทำไมผมต้องแนะนำให้ใช้ Google Books Search หรอ….สาเหตุก็มาจาก :- ข้อจำกัดของการใช้ Web OPAC ที่สืบค้นได้แต่ให้ข้อมูลเพียงแค่รายการบรรณานุกรมของหนังสือเท่านั้น แต่ไม่สามารถอ่านเนื้อเรื่องของหนังสือเล่มนั้นได้ เพราะฉะนั้นผู้ใช้จึงต้องเดินทางมายืมหนังสือที่ห้องสมุด แต่ลองคิดสิครับว่าถ้าห้องสมุดปิด เพื่อนๆ จะอ่านเนื้อเรืองของหนังสือเล่มนั้นได้ที่ไหน และนี่คือที่มาของการสืบค้นหนังสือบนโลกออนไลน์ ปัจจุบัน Search Engine ที่มีผู้ใช้งานในลำดับต้นๆ ของโลก ทุกคนคงจะนึกถึง Google เวลาที่เราต้องการข้อมูลอะไรก็ตามเราก็จะเริ่มที่หน้าของ Google แล้วพิมพ์คำที่เราต้องการค้น เช่น ระบบสารสนเทศ ผลของการสืบค้นจากการใช้ Search Engine จะมีสารสนเทศจำนวนมากถูกค้นออกมา เพื่อให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้ ผู้ใช้สามารถได้เนื้อหาและข้อมูลในทันที แต่เราจะเชื่อถือข้อมูลได้มากเพียงไรขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของข้อมูล รวมถึงเราจะนำข้อมูลที่ได้จากอินเทอร์เน็ตไปอ้างอิงประกอบได้หรือไม่ แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเอกสารที่เราสืบค้นมีใครเป็นผู้แต่งที่แท้จริง Google Book Search – http://books.google.com/ เป็นบริการใหม่ของ Google ที่ให้บริการในการสืบค้นหนังสืออิเล็ทรอนิกส์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งผลจาก การสืบค้นปรากฎว่าได้สารสนเทศแบบเต็ม (Full-text Search) ซึ่งช่วยให้ผู้ที่ทำงานวิจัยอาจารย์ นักศึกษา สามารถค้นหนังสือและอ่านหนังสือได้อย่างไม่มีข้อจำกัดทางด้านถานที่และเวลา ยกตัวอย่างจาก นาย ก. เช่นเดิมที่ค้นหนังสือสารสนเทศในตอนเที่ยงคืนของวันอาทิตย์ หากนาย ก. ใช้บริการ Google Books Search ในตอนนั้น นาย ก. ก็จะได้ข้อมูลในทันที ไม่ต้องรอมาที่ห้องสมุด แต่อย่างไรก็ตาม Google Books Search ยังมีข้อจำกัดหนึ่งสำหรับคนไทยคือ ยังไม่สามารถสืบค้นหนังสือฉบับภาษาไทยได้ ดังนั้นหนังสือที่ค้นได้จะอยู่ในภาษาอื่นๆ เท่านั้น คนไทยคงต้องรอกันอีกสักระยะมั้งครับถึงจะใช้ได้อย่างสมบูรณ์ แต่ถ้าอนาคต Google ทำให้สามารถค้นหนังสือภาษาไทยได้ถึงต่อนั้น Google คงเป็นหนึ่งในคู่แข่งของห้องสมุดแน่ๆ…
Tag: ค้นหา
ภาพความทรงจำของเว็บไซต์ไทยในปี 1998-1999
ย้อนอดีตดูเว็บไซต์ประเทศไทยกันบ้างดีกว่า จำกันได้มั้ยครับว่า เว็บไซต์เหล่านี้สมัยก่อนหน้าตาเป็นแบบนี้ เครื่องมือที่ใช้ก็เหมือนเดิม (http://web.archive.org/) เริ่มจากเว็บไซต์แรก นั่นคือ pantip.com เว็บไซต์ฟอรั่มที่มีความยาวนานที่สุดของไทย เว็บไซต์ต่อมา sanook.com ปัจจุบันเป็นเว็บอันดับหนึ่งของประเทศแล้วสมัยก่อนหล่ะ ไปดูกัน เว็บไซต์ที่ผมต้องพูดถึงอีกเว็บหนึ่งคือ Thaimail.com บริการฟรีอีเมล์ยุคแรกๆ ที่ผมก็เคยใช้ อิอิ เว็บต่อมานั่นก็คือ hunsa.com ปัจจุบันเว็บนี้ก็ยังอยู่เหมือนกัน แต่ในสมัยก่อนผมก็ชอบเว็บนี้เหมือนกันนะ เว็บไซต์สุดท้ายของวันนี้ คือ jorjae.com เว็บเพื่อสังคมวัยรุ่น และ picpost ยุคแรก เป็นยังไงกันบ้างครับ กับเว็บไซต์ที่ผมนำมาให้ดู จริงๆ ในช่วงปี 1998-1999 ยังมีอีกหลายเว็บที่น่าสนใจนะครับ แต่รายชื่อเว็บไซต์ที่ติดในหัวของผมอาจจะเลือนๆ หายไปบ้าง ยังไงถ้าเพื่อนๆ พอนึกออกก็ช่วยๆ กันโพสไว้ด้านล่างนี้นะครับ ผมแค่อยากรู้ว่ายังเหลือเว็บไหนอีกบ้าง และเว็บไหนที่อยู่มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และเว็บไซต์เหล่านั้นพัฒนาขึ้นมากน้อยเพียงใด
ภาพความทรงจำของเว็บไซต์ Search Engine ในปี 1995 ? 1996
หากย้อนกลับไปเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ยุคแห่งความรุ่งเรืองของบรรดา Search engine ทั้งหลาย ในช่วงนั้นถ้าจำไม่ผิด google ยังไม่เกิดเลยด้วยซ้ำ แล้วเพื่อนๆ จำได้มั้ยครับ ว่าสมัยนั้นเพื่อนๆ ใช้เว็บอะไรในการค้นหาข้อมูลบ้าง วันนี้ผมจะมารำลึกความหลังครั้งนั้นกัน เรื่องที่ผมหยิบมาให้อ่านนี้ ชื่อเรื่องว่า The Web back in 1996-1997 เป็นการประมวลภาพเว็บไซต์ดังๆ ในอดีตเพื่อรำลึกความหลังของเว็บเหล่านั้น เว็บไซต์เบอร์หนึ่งในใจผม yahoo.com กำเนิดในเดือนมกราคม 1995 เว็บไซต์ต่อมา Webcrawler.com เว็บไซต์ที่เป็น search engine ตัวแรกที่ใช้ full text search เว็บไซต์ต่อมา altavista.com เว็บไซต์ search engine ที่มียอดนิยมในอดีต เว็บไซต์ต่อมา Lycos.com เว็บไซต์ search engine ที่ผันตัวเองไปสู่ Web portal ยังมีภาพอีกหลายเว็บไซต์นะครับ แต่ที่ผมเลือกนำมาให้ดู นี่คือสุดยอดของ search engine ในอดีต ที่ปัจจุบันบางเว็บไซต์ก็ยังอยู่ แต่บางเว็บไซต์ล้มสะลายไปแล้ว ภาพอื่นๆ เพื่อนๆ ดูได้จาก http://royal.pingdom.com/2008/09/16/the-web-in-1996-1997/ นอกจากนี้ เพื่อนๆ สามารถดูหน้าตาเว็บไซต์ในอดีตได้จาก http://web.archive.org/ นะครับ
หนังสือดีๆ ยังมีอีกมากในห้องสมุดแต่ผู้ใช้หาไม่เจอ
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เพื่อนผม ฝากเอามาลงในเว็บนะครับ (ขอขอบคุณเพื่อนพิชญ์ที่แสนน่ารักที่อุตส่าห์เขียนเรื่องดีๆ) เซอร์ไอเซค นิวตัน ลีโอนาโด ดาร์วินชี และอัจฉริยะอื่นๆ ทุกคนมีสิ่งที่เหมือนกัน นั่นคือ ความสามารถหลายๆ ด้าน และความคิดอันเป็นเอกลักษณ์ การได้อ่านชีวประวัติ (อย่างละเอียด) ของคนเหล่านี้ จะทำให้คุณได้เห็นมุมมองใหม่ๆ แบบที่คุณคิดไม่ถึงว่า มีคนคิดแบบนี้อยู่ด้วย ชื่อ Linus Torvalds (ไลนุส ไม่ใช่ ลีนุก ทอร์วอลด์) อาจจะไม่คุ้นกับคนส่วนใหญ่ แม้แต่คนที่เรียกตัวเองว่าคนไอที บางคนเรียกเขาว่า hacker อันดับหนึ่งของโลกผู้เป็นศาสดาของ programmer ส่วน Microsoft เรียกเขาว่า ปีศาจ คุณอาจจะรู้จักผลงานเขาที่ชื่อว่า ลินุกซ์ หรือไม่ ? ไม่เป็นไร เอาเป็นว่ามันเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ windows และทำให้มีคนที่คิดทำอะไรดีๆ ออกมาฟรีๆ ให้คนอื่นใช้กัน ถ้าคุณรัก firefox รู้ไว้ว่า ถ้าไม่มีเขา มันเป็นแค่ โปรแกรมที่ไม่มีคนใช้แล้วเท่านั้น ผมไปเจอหนังสือที่แปลโดย eS_U ชื่อหนังสือ ?just for fun LINUS TORVALDS” ที่ห้องสมุดวิทยาลัย ที่มีสาขาคอมพิวเตอร์ ซื้อมาตั้งแต่ปี 46 กลับกลายเป็นว่าผมเป็นคนแรกที่ยืมในปี 50 และท่าทางจะป็นคนแรกที่หยิบมันออกมาจากชั้นหนังสือ หนังสือที่ดีอย่างนี้ สาบสูญไปกับระบบ LC ที่ผมไม่เคยทำความเข้าใจกับมันได้ซะที่ ถ้าคุณไม่สนใจ IT ก็ไม่เป็นไร ถ้าคุณสนุกกับหนังสืออ่านเล่น ที่บอกว่าเป็นหนังสือชีวประวัติอย่างของโน้ตอุดม / บอย / น้าเนค หรือหนังสือเฉพาะกิจอย่าง Lidia here am I ผมว่าหนังสือเล่มนี้ (just for fun LINUS…