3 ผู้นำด้านเทคโนโลยีห้องสมุด แนะนำเทคนิคและเครื่องมือที่น่าสนใจ

ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีการรวมกลุ่มบรรณารักษ์และคนทำงานห้องสมุดเป็นสมาคม หรือที่หลายๆ คนจะรู้จักในนาม ALA และภายในสมาคมใหญ่ก็มีการแบ่งสายตามความสนใจอย่างชัดเจน ซึ่งวันนี้ผมขอแนะนำกลุ่มๆ หนึ่ง นั่นคือ Library and Information Technology Association หรือย่อว่า LITA ซึ่งจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาปรับใช้กับวงการห้องสมุด อีกทั้งสายงานนี้จะทำรายงานเกี่ยวกับข้อมูลการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติจากทั่วโลกด้วย

ในงานประชุม ALA เมื่อต้นปี 2019 ได้มี session หนึ่ง รวมผู้นำด้านเทคโนโลยีห้องสมุดจำนวน 3 ท่านมาพูดในงานนี้ ซึ่งได้กล่าวถึง Application, อุปกรณ์, ซอฟท์แวร์ และกรณีศึกษาที่น่าสนใจด้านเทคโนโลยีที่ห้องสมุดสามารถนำมาปรับใช้ได้

ผู้นำด้านเทคโนโลยีห้องสมุดจำนวน 3 ท่าน ได้แก่

  1. Joyce Kasman Valenza
  2. Suzanne Wulf
  3. Cynthia M. Dudenhoffer

หัวข้อที่น่าสนใจได้แก่

1.Explore immersive technologies

ซึ่งหลักๆ เน้นเรื่อง virtual reality (VR), augmented reality (AR), and mixed reality (MR) ตัวอย่างที่น่าสนใจจากเรื่องนี้ เช่น

The MERGE Cube AR STEM toy works with a smartphone.

2.Bring your calendar into the future

ซึ่งหลักๆ กล่าวถึงเว็บไซต์หรือ app ของห้องสมุดที่มีฟังค์ชั่นในการแสดงปฏิทินกิจกรรม ซึ่งผู้อภิปรายได้กล่าวว่าดูโบราณมากจึงแนะนำ application : Communico (http://communico.co/)

3.Use Creative Commons Zero photos

การนำรูปภาพจากเว็บไซต์ที่เป็น CC0 มาใช้ ตัวอย่างเว็บไซต์ได้แก่ Pexels, Pixabay, Unsplash เป็นต้น นอกจากเราจะนำมาใช้โดยตรงแล้วยังต้องสามารถสอนผู้ใช้บริการในเรื่องนี้ได้ด้วย

4.Teach online classes in person

การเรียนการสอนออนไลน์ ในโลกปัจจุบันเว็บไซต์ eLearning มีจำนวนเยอะมาก และหลายๆ เว็บไซต์ก็มีคุณภาพของเนื้อหาเทียบเท่ากับสถาบันทางการศึกษาจริงๆ ดังนั้นถ้าเรารู้จักเลือกนำมาใช้พัฒนาตัวเราเอง หรือ พัฒนาผู้ใช้บริการก็สามารถทำได้ ตัวอย่างที่แนะนำ เช่น Treehouse (https://teamtreehouse.com/) สอนเรื่องเทคโนโลยีและการเขียนโปรแกรม

5.Demonstrate digital citizenship

ต้องบอกว่าเราอยู่ในยุคดิจิทัลที่ความเป็นดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราและผู้ใช้บริการ ดังนั้นการสอนเกี่ยวกับเรื่องดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญ และการเป็นพลเมืองดิจิทัลก็มีหลายเรื่องที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ความปลอดภัยทางดิจิทัล, การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล, การระมัดระวังและพิจารณาข่าวลวง

6.Translate with tech

อันนี้ผมชอบนะ ถ้าให้เปรียบเทียบเหมือนของวิเศษ มันคงเป็นวุ้นแปลภาษา แค่เราพูดใส่ app มันก็แปลภาษาได้ตามที่เราต้องการ มันมีประโยชน์ตรงเรื่องของการสื่อสารนี่แหละ ขอแนะนำ Application : SayHi (http://sayhitranslate.com/)

7.Access open educational resources

อันนี้อาจารย์บุญเลิศน่าจะชอบ คือให้เราสนใจเรื่อง OER มากๆ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่แนะนำ คือ OASIS (https://oasis.geneseo.edu/) และขอแถม คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (https://oer.learn.in.th/)

8.Make prototypes with Marvel

คิดจะทำ app อย่ามัวแต่คิด ลองนำมาทำเป็นต้นแบบกันดู ซึ่งแนะนำ Marvel (https://marvelapp.com/)

Keyword ที่ผมประทับใจที่สุดจากบทความนี้ คือ “การสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้แบบใหม่ๆ ในห้องสมุด” ซึ่งเทคโนโลยีสามารถช่วยพวกเราได้ บางอย่างไม่ได้ใช้เงินเยอะ แต่ต้องเรียนรู้ให้เยอะ

เอาเป็นว่าขอจบบทความแบบเนิร์ดๆ เพียงเท่านี้

อ่านต้นฉบับเพิ่มเติมที่ https://americanlibrariesmagazine.org/2019/03/01/tech-trends-libraries/

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*