สรุปความรู้ที่ได้จากการไปฟังสัมมนางาน “เทคโนโลยีห้องสมุดดิจิทัล 4.0”

ไม่ได้เขียนบล็อกมานานมาก วันนี้จึงขอเล่าเรื่องราวที่ได้ไปบรรยายและฟังวิทยากรคนอื่นบรรยายมาให้เพื่อนๆ อ่าน

โครงการสัมมนาวิชาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมห้องสมุดดิจิทัล 4.0
ณ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (e-Library)
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม วันที่ 25 มกราคม 2561

ทั้งนี้ในส่วนสไลด์ของผมที่บรรยาย ดาวน์โหลดหรืออ่านได้ที่

อ่านสรุปเรื่องราวได้เลยครับ

ห้องสมุดดิจิทัล : แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการให้บริการตามแนวทาง Thailand 4.0
วิทยากร : อาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

เปิดเรื่องด้วยการปรับแนวคิดและกำหนดกรอบของคำว่า “ห้องสมุดดิจิทัล” “ห้องสมุดในยุคดิจิทัล” “ห้องสมุดตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0” แต่ละคำมีความหมายที่ไม่เหมือนกัน

เป้าหมายหลักของไทยแลนด์ 4.0 และการเตรียมความพร้อมของห้องสมุด

ภาพใหญ่ของแผน Digital Thailand – 6 กลยุทธ์หลัก

Idea ที่ได้จากการฟัง ได้แก่
1. เข้าใจไทยแลนด์ 4.0 และคนไทย 4.0 ในบริบทที่ห้องสมุดสามารถนำมาปรับตัวเองให้เข้ากับนโยบายนี้ได้ (อ่านเรื่องคนไทย 4.0 จาก ดร.วิรไท ได้เลย)
2. การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐที่น่าสนใจ เช่น ภาษีไปไหน และ dataset ของภาครัฐ
3. ต่อยอดบริการห้องสมุดด้วย GRcode / epub / Daisy / sign Language
4. แนะนำ OER – https://oer.learn.in.th

————————————–

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายสังคมออนไลน์ในงานห้องสมุดยุคดิจิทัล
วิทยากร : คุณเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาความรู้การเงินขั้นพื้นฐาน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เปิดเรื่องด้วย Keyword : Knowledge Important than space ความรู้สำคัญกว่าสถานที่

ฉายภาพอดีตของห้องสมุดจนถึงปัจจุบัน และมองอนาคตของห้องสมุด
ตอบโจทย์ภาพห้องสมุดดิจิทัล ที่มา และ การนำมาใช้ในห้องสมุดมารวย

3 เรื่องที่ต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนไปสู่การเป็นห้องสมุดดิจิทัล คือ
1. การนำ data มาใช้ให้เกิดประโยชน์
2. การสร้างความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้เสียของห้องสมุด
3. การพัฒนาทางเทคโนโลยีและแนวโน้มในอนาคต

————————————–

ห้องสมุดกับการพัฒนาศักยภาพการบริการด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับอนาคตยุคดิจิทัล 4.0
วิทยากร : รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ แย้มเม่น ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร

เปิดเรื่องด้วยเทคโนโลยีที่น่าจับตามองจากงาน CES 2018
1) Connected Intelligence Devices
2) Smart Platform for Smart Lifestyle
3) Intelligence Enterprise – City – Industry Platform
4) Mixed Teality (AR/VR World)
5) Autonomous Driving Car
6) Robotic for Industry : Luka
7) Intelligence driven app innovation for startup

ดูสไลด์ได้ที่ http://bit.ly/CES2018-Lannacom

เข้าเรื่องบริการของห้องสมุด (Library Service)

คิดถึงผู้ใช้เป็นหลัก และต้องบริการด้วยใจรักจริงๆ “Customer Centric – Service mind”
“หาความต้องการที่แท้จริงให้เจอ สร้างประสบการณ์ใหม่ และบริการให้เหนือความคาดหมายให้ได้”
(Get Insight + Create New Experince + More Expectation)

กรอบแนวคิดเรื่องการรศึกษาในศตวรรษที่ 21
นำมาประยุกต์กับการพัฒนาทักษะของบรรณารักษ์ได้
(Career + Learning & Innovation + Information & Media & Technology)

วงจรในการพัฒนางานบริการในยุคใหม่ ต้องเริ่มจาก
Shift + Change + Share + Tranform

How to Innovation Library
1. นวัตกรรมการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าและเพิ่มมูลค่า
2. นวัตกรรมการออกแบบ ภูมิทัศน์ และอาคารสถานที่ของห้องสมุด
3. นวัตกรรมผลิตภัณฑ์
4. นวัตกรรมการจัดระบบ การเข้าถึง และการค้นคืน
5. นวัตกรรมการอนุรักษ์และสงวนรักษา
6. นวัตกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น mobile device / robot
7. นวัตกรรมการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์
8. นวัตกรรมการตลาดเชิงรุก การจัดการลูกค้าสัมพันธ์

————————————–

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*