สรุปการบรรยาย “แหล่งเรียนรู้ของอาเซียน”

หัวข้อแรกของวันสุดท้าย งานประชุมวิชาการของสมาคมห้องสมุดฯ คือ “แหล่งเรียนรู้ของอาเซียน” 
โดย คุณเกษมสันต์ วีระกุล (นักวิชาการอิสระ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน)

DSC00597

———————————————————————————–

จริงหรือไม่ที่ “คนไทยไม่รู้จักอาเซียน คนไทยไม่รู้จักตนเอง

ในสายตาของชาวโลกเมื่อพูดถึง ASEAN เขาจะมองว่ามันกลุ่มความร่วมมือที่เล็กๆ เท่านั้น
ASEAN มี 10 ประเทศ มีประชากร 600 ล้านคนเท่านั้น แต่สิ่งที่ชาวโลกสนใจคือเพื่อนของ ASEAN นั่นเอง
ASEAN + 6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย)
และการประชุมผู้นำสุดยอดอาเซียนล่าสุดมีผู้มาเข้าร่วมการประชุมอีก 2 ประเทศ คือ รัสเซีย และ สหรัฐอเมริกา
นั่นแหละครับ “ASEAN เริ่มน่าสนใจแล้วใช่มั้ย”

แล้วถ้าเทียบเรื่องความสัมพันธ์กันระหว่างกลุ่มความร่วมมือ ASEAN จะมีโอกาสเหมือนกับ กลุ่ม EURO ???
กลุ่ม EURO Zone : นโยบายการเงินร่วมกัน มีคณะมนตรีร่วมกัน สกุลเงินเดียวกัน นโยบายความมั่นคงร่วมกัน แต่เรื่องกองทัพต่างคนต่างมีไม่ใช้ร่วมกัน (ความสัมพันธ์ระดับ 5/6)
กลุ่ม ASEAN : ความสัมพันธ์แบบหลวมๆ (จะทำอะไรต้องได้รับมติเอกฉันท์เท่านั้น กล่าวคือ ต้องเห็นพร้อมกันทุกประเทศ) และไม่มีการบังคับกัน  (ความสัมพันธ์ระดับ 1/6)

ตัวอย่างที่น่าสนใจ : 8 อาชีพที่สามารถทำงานข้ามกันได้ในกลุ่มอาเซียน ข้อตกลงเห็นชอบร่วมกัน แต่พอถึงเวลาปฏิบัติ ก็ต้อนรับกลุ่มอาชีพของประเทศอื่นด้วยการให้สอบเทียบวิชาชีพเป็นภาษาในชาติของตัวเอง ซึ่งทำให้เกิดข้อจำกัดในการทำงานข้ามประเทศกัน

คุณเกษมสันต์ได้อธิบายความน่าสนใจของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน ดังนี้

1. มาเลเซีย มีการตั้งเป้าหมายว่าปี 2563 จะต้องเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วให้ได้ มีการตั้งหน่วยงาน PEMANDU เพื่อกำหนดตัวชี้วัดให้กับประเทศในการมุ่งสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และมีการศึกษาความต้องการของรากหญ้า น่าจะมาจากคำว่า Rakyat ซึ่งแปลว่า ประชาชน เมื่อศึกษาเสร็จก็จะนำปัญหาของประชาชนมาระดมผู้เชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาโดยการนำเข้า Lab  ซึ่งตอนนี้มาเลเซียถือเป็น

นอกจากนี้ ยังถือว่าเป็นประเทศที่มีนโยบายและกฎหมายที่ชัดเจนมากๆ (กฎหมาย = กฎของศาสนา) Ex. เมื่อโรงแรมหรือสถานที่ท่องเที่ยวพบชาวมุสลิมที่เข้ามาซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตำรวจและเจ้าหน้าที่จะขอตรวจว่าจะเป็นชาวมุสลิมหรือไม่ และจะไม่ขายให้ชาวมุสลิมเด็ดขาด

2. สิงคโปร์ เดิมทีประเทศนี้มีพื้นที่แค่ 500 ตารางกิโลเมตร แต่ตอนนี้ 700 กว่าตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยคนจากหลายเชื้อชาติ (จีน 70% มลายู 20% อิเนเดีย 10%) ภาษาราชการที่ใช้คือ ภาษาจีน มลายู อินเดีย และภาษาอังกฤษ ระบบการศึกษาในสิงคโปร์จะสอนด้วยภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ในการสื่อสารกันระหว่างเชื้อชาติ

ความน่าสนใจของสิงคโปร์อยู่ที่ นายก ลี กวน ยู ตอนประกาศแยกสิงคโปร์ออกจากมาเลเซีย นโยบาย 2 ข้อใหญ่ที่ทำให้คนสิงคโปร์มาไกลถึงขนาดนี้ คือ ประเทศต้องมีความโปร่งใส และ คนต้องเก่งกว่าคนอื่น ประเทศนี้ไม่เคยละเลยเรื่องการสร้างคน โดยเฉพาะการให้ความรู้กับเด็ก ตัวอย่างสถานที่ที่น่าสนใจ Garden by the bay, URA กรมผังเมือง

ภาพรวมของทุกประเทศ : ปัจจัยที่มีผลให้ประเทศอื่นๆ เข้ามาลงทุนในประเทศ มีเพียง 3 ข้อ คือ

  1. ความโปร่งใส
  2. ความยากง่ายในการทำธุรกิจ
  3. ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานเบื้องต้น (ถนน หนทาง รางรถไฟ), ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

สิงคโปร์ประกาศว่าอีก 60 ปี จะไม่ซื้อน้ำจากมาเลเซีย วิธีการในตอนนี้ที่น่าสนใจ เช่น การนำน้ำที่ใช้แล้วมา Recycle นอกจากนี้ยังมีการสร้างเขื่อนล้อมเกาะ หรือ การนำน้ำทะเลมากลั่นเป็นน้ำจืด

3. ฟิลิปปินส์ ประเทศที่เคยยิ่งใหญ่ แต่เพราะปัญหาเรื่องการคอร์รัปชั่นทำให้ประเทศตกต่ำลง สะท้อนปัญหาว่าคล้ยคลึงกับประเทศไทยมากๆ แต่จุดเด่นของประเทศนี้ คือ คนที่เก่งภาษาอังกฤษ โอกาสใหม่ๆ ในประเทศนี้ คือ การเป็น Call Center ให้กับบริษัทไอที และสร้างรายได้จากการส่งคนไปทำงานนอกประเทศ

4. อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่ถูกทหารบริหารประเทศมาโดยตลอด แต่อีกไม่นานนี้อาจมีการเปลี่ยนประวัติศาสตร์ใหม่ได้ ประเทศนี้มีประชากรที่มีมุสลิมมาก แต่มีพุทธสถานที่ใหญ่ที่สุด (บุโรพุทโธ) และอนุญาตให้สร้างโบสถ์คริสต์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกที่นี่ ประเทศที่เคยมีน้ำมันจำนวนมากและอยู่ในกลุ่ม OPEC ตอนนี้ออกจาก OPEC เรียบร้อยแล้ว เพราะน้ำมันใกล้หมด

5. บรูไน เป็นประเทศเล็กๆ บนเกาะบอร์เนีย มีการส่งออกน้ำมันเยอะเช่นกัน และมีรัฐสวัสดิการดีมาก

6. สปป.ลาว ประกาศจะเป็นแบตเตอรี่ให้เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จากการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ปัจจุบันไทยก็ยังต้องใช้บริการ สปป. ลาวให้ความสำคัญต่อมิตรประเทศโดยเรียงตามลำดับ ดังนี้ เวียดนาม (เพราะบุญคุณ) จีน เมียนมาร์ กัมพูชา และไทย (สาเหตุที่ไทยน้อยสุดทั้งๆ ที่มีชายแดนติดกัยเรามากสุด คือ น้อยใจที่คนไทยชอบล้อประเทศเขาในมิติต่างๆ)

7. เมียนมาร์ เป็นประเทศที่ยึดหลักศาสนาพุทธแบบเข้มข้น ที่มาของเมืองต่างๆ จะอ้างอิงจากเรื่องราวในพุทธศาสนาเป็นหลัก เมียร์มาร์ ไม่เคยรบกับไทย แต่เราชอบคิดว่าเราสองประเทศชอบทะเลาะกัน จริงๆ แล้ว เมียนมาร์ประกอบด้วยคนหลายชนเผ่า

8. กัมพูชา เป็นประเทศที่คนไทยรักน้อยที่สุด แต่คนกัมพูชารักคนไทยแบบไม่มีเงื่อนไข หลายๆ เรื่องเหมือนคนไทย เช่น ตัวอักษร เลขไทย ….. และยึดหลักความกตัญญู

9. เวียดนาม เป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาที่ดี เด็กขยันมากๆ เรียนเสร็จก็จะดิ้นรนไปเรียนพิเศษต่อ รักษากฎหมายมากๆ ประเทศนี้รักคนไทยน้อยมาก แต่ชอบสินค้าไทย

จากการวิเคราะห์ประเทศต่างๆ ให้พวกเราได้ฟัง ผมว่า ผมเริ่มเข้าใจคำถามก่อนบรรยายของคุณเกษมสันต์แล้ว เรายังไม่รู้จักประเทศอื่นๆ เลย และเราเองก็ไม่ค่อยรู้จักประเทศตนเองดี การมาฟังวิทยากรวันนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีมากๆ ทิ้งท้ายด้วยช่องทางที่จะสามารถเข้าไปดูและอ่านเรื่องที่เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้เพิ่มเติมด้านล่างนี้เลยครับ

ช่องทางในการติดตามข้อมูล ข่าวสาร และความรู้อาเซียนเพิ่มเติม

  • www.facebook.com/kasemsantAec
  • We Chat official Account : World of Kasemsant
  • Twitter : @KasemsantAEC
  • www.aecconsultandconnect.co.th

ภาพการบรรยายในหัวข้อนี้

DSC00597 DSC00600 DSC00601 DSC00598

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*