ห้องสมุดโรงเรียนนี้ทำอย่างไรให้เด็กกลับมาใช้ 1,000 เปอร์เซ็นต์

วันนี้ขณะที่เปิดอ่าน Facebook ตอนกลับบ้าน เห็นพาดหัวนึงแล้วตกใจมาก จนต้องคลิ๊กไปอ่านต่อ
พาดหัวดังกล่าว “How This School Library Increased Student Use by 1,000 Percent
แปลเป็นไทยได้ว่า “ห้องสมุดโรงเรียนมีวิธีเพิ่มการใช้ของนักเรียนได้ 1000 เปอร์เซ็นต์อย่างไร
หรือง่ายๆ ครับ “วิธีเพิ่มการเข้าใช้ห้องสมุดโรงเรียนได้ผล 1000 เปอร์เซ็นต์

how school library boots up

กรณีศึกษาแบบนี้แหละที่อยากนำมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน
กรณีศึกษานี้เป็นของ Big Walnut Middle School

“ห้องสมุดต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับความต้องการของนักเรียน
ในขณะที่ห้องสมุดอื่นๆ กำลังจะมุ่งสู่การเป็น Makerspace
แต่ห้องสมุดแห่งนี้นำวิธีคิดอีกแบบมานำเสนอและได้ผลเช่นกัน”

ก่อนการปรับเปลี่ยนห้องสมุดของ Big Walnut Middle School
บางวันมีผู้ใช้บริการไม่ถึงสิบคนที่ผ่านประตูห้องสมุดเข้ามา
ทั้งนี้เนื่องจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อการศึกษา ทำให้เด็กรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องเข้าห้องสมุด

ดังนั้นหลายๆ โรงเรียนจึงแปลงกลายห้องสมุดใหม่ให้กลายเป็น Makerspace
ซึ่งมีเครื่องมือต่างๆ มากมาย เช่น เครื่องพิมพ์ 3 มิติ, ชุดตัวต่อ Lego, ชุดเครื่องมือ Raspberry Pi ฯลฯ
แต่ก็ยังมีโรงเรียนอีกหลายแห่งไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนตัวเองเป็น Makerspace เช่นกัน

Big Walnut Middle School เปลี่ยนตัวเองให้เป็นศูนย์การเรียนรู้อย่างไร
1. การจัดการกับพื้นที่ของห้องสมุดใหม่
– เคลียร์พื้นที่ตรงกลางให้โล่ง ย้ายหนังสือไปชิดกำแพงให้หมด
– จัดพื้นที่ตรงกลางให้เน้นพื้นที่ที่ใช้เพื่อการทำงานร่วมกัน เช่น เฟอร์นิเจอร์ที่เคลื่อนย้ายได้สะดวก (เด็กๆ สามารถย้ายเองได้)

BWMS-2

2. ร่วมกับคุณครูในกลุ่มสาระต่างๆ ให้มาใช้พื้นที่เพื่อการเรียนรู้
– จัดเตรียมสื่อและความรู้เพื่อให้คุณครูมาใช้พื้นที่เสมือนอยู่ในชั้นเรียน
– อุปกรณ์ต่างๆ สอดรับกับอุปกรณ์ที่เด็กๆ พกพา เช่น Tablet, Chromebook
– คุณครูและบรรณารักษ์ร่วมกันจัดทำใบงานสำหรับนักเรียน

3. อุปกรณ์ / เทคโนโลยีที่นำมาใช้
– จอแบบทัชสกรีน 2 จอ
– Projector แบบ Interactive 1 เครื่อง
– TV แบบแขวนผนัง 2 เครื่อง
– ห้องที่มีฉากสีเขียว (Green screen) 1 ห้อง สำหรับการถ่ายวีดีโอ
– คอมพิวเตอร์ 5 ชุด
– Chromebook 10 เครื่อง
– กล้องดิจิตอล 3 ตัว

BWMS-3

4. หนังสือที่อยู่ในห้องสมุด
ยังคงมีให้บริการตามปกติ แต่ก็มีการทำความร่วมมือกับห้องสมุดประชาชน / ห้องสมุดแห่งอื่นๆ เพื่อยืมคืนระหว่างห้องสมุดได้ นับเป็นการแชร์ทรัพยากรร่วมกันมากขึ้นในชุมชน

เอาเป็นว่าเห็นกรณีศึกษานี้แล้ว ก็นับว่าน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว
การออกแบบห้องสมุดในอนาคตก็น่าจะมีแก่นคล้ายๆ กับเรื่องนี้เช่นกัน
เน้นโปร่ง โล่ง สบาย และพื้นที่ที่เน้นการทำงานร่วมกัน

สนใจอ่านบทสัมภาษณ์ผู้บริหารห้องสมุดแห่งนี้แบบเต็มๆ ที่
http://www.cultofpedagogy.com/episode-38/

ใครสนใจเรื่องนี้ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่
http://www.bigwalnut.k12.oh.us/school_home.aspx?schoolID=2

ที่มาของบล็อกและรูปภาพวันนี้ How This School Library Increased Student Use by 1,000 Percent

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*