Happy Birthday กลุ่มบรรณารักษ์ในเมืองไทย (hi5)

เนื่องในวันนี้เป็นวันเกิดของกลุ่มบรรณารักษ์ในเมืองไทย (Librarian in Thailand) ใน Hi5.com
ผมในฐานะของเจ้าของกลุ่มก็ขออวยพรให้เพื่อนๆ ทุกคนพบแต่ความสุขและโชคดีในการทำงาน

librarian-in-thailand

หลังจากที่ผมเปิดกลุ่มนี้ใน hi5 (วันที่ 27 มกราคม 2551)
เพื่อนๆ หลายคนก็รู้จักผม (Libraryhub & Projectlib) จากกลุ่มๆ นี้
ทำให้บล็อกของผมมีสมาชิกเข้ามาเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ตลอดสองปีที่ผ่านมาในกลุ่ม Librarian in Thailand มีอะไรบ้าง
– สมาชิกจำนวน 654 คน
– กระทู้ที่ตั้งโดยกลุ่มบรรณารักษ์จำนวน 222 กระทู้

นับว่าป็นตัวเลขทางสถิติที่ดีมากๆ เลยครับ

ในกระทู้ของกลุ่มบรรณารักษ์ในเมืองไทย ผมได้ลองทำการสำรวจข้อมูลที่เพื่อนๆ เข้ามาถาม ก็พบว่า
– เข้ามาโพสข่าวรับสมัครงานบรรณารักษ์มากมาย
– เข้ามาประกาศหางานและติดตามการรับสมัครงาน
– เข้ามาหาเพื่อนๆ ที่ทำงานในวิชาชีพเดียวกัน
– ถามตอบปัญหาสำหรับคนที่อยากเรียนต่อด้านนี้

เอาเป็นว่าไม่ว่าเพื่อนๆ จะเข้ามาเพื่อจุดประสงค์ใด
ผมก็ขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่ทำให้กลุ่มนี้มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา

หลังจากนี้ผมจะพยายามเติมความเข้มข้นด้านเนื้อหาวิชาชีพลงในกลุ่ม hi5.com ด้วยนะครับ
เพื่อให้เพื่อนๆ ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพในตัวเอง

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่ติดตามกลุ่มเครือข่ายบรรณารักษ์เมืองไทยมาโดยตลอดครับ

My Library in Google VS Librarything VS Shelfari VS Goodreads

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมามีงานอบรม “การจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ เพื่อสร้างห้องหนังสือส่วนตัว
ซึ่งผมเองก็อยู่ในฐานะของผู้บรรยายเช่นกัน วันนี้ผมจึงขอสรุปข้อมูลและนำสไลด์มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน
เรื่องที่ผมบรรยาย คือ เรื่อง “ชั้นหนังสือออนไลน์ ที่คุณก็สามารถสร้างได้”

bookshelf

ก่อนที่ผมจะสรุปข้อมูลการบรรยาย ผมอยากให้เพื่อนๆ ได้ชม slide ของผมกันก่อน

แนะนำชั้นหนังสือออนไลน์ต่างๆ ที่คุณสามารถเข้าร่วมได้

สไลด์ของผมดูได้ที่ http://www.slideshare.net/projectlib/ss-2980074

เรื่องที่ผมบรรยายเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้งานชั้นหนังสือออนไลน์ที่อยู่บนเว็บไซต์ต่างๆ
ซึ่งผมได้นำเว็บไซต์ชั้นหนังสือออนไลน์มา demo การใช้งานและเปรียบเทียบข้อดีข้อด้อย

เว็บไซต์ชั้นหนังสือทั้ง 4 ที่ผมนำมาบรรยาย ประกอบด้วย
1. ห้องสมุดของฉัน @ Google book search – http://books.google.co.th
2. Librarything – http://www.librarything.com
3. Shelfari – http://www.shelfari.com
4. Goodreads – http://www.goodreads.com

แต่ละเว็บไซต์ก็มีข้อดีและข้อด้อยของมันเอาเป็นว่าผมขอสรุปให้อ่านคร่าวๆ ดังนี้

—————————————————————————————————

1. ห้องสมุดของฉัน @ Google book search http://books.google.co.th

ข้อดีของห้องสมุดของฉัน @ Google book search
– ค้นหาข้อมูลหนังสือได้ง่ายด้วย ISBN (Search by ISBN, OK)
– สืบค้นได้ค่อนข้างเร็ว (Fast for search)
– แสดงผลได้ทั้งแบบรายละเอียดและภาพปกหนังสือ (Detail List and Cover view)
– สามารถดูตัวอย่างเนื้อหาของหนังสือได้ (Example Chapter)
– เชื่อมโยงกับร้านจำหน่ายหนังสือต่างๆ เช่น ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ร้านซีเอ็ด ร้านนายอินทร์ ฯลฯ (Link to Library and bookstore)
– ส่งออกรายการหนังสือด้วยมาตรฐาน RSS (Export data to RSS)


ข้อด้อยของห้องสมุดของฉัน @ Google book search

– ต้องใช้ Account ของ Google เท่านั้น (Use Google Account)
– ดึงข้อมูลหนังสือได้ด้วย ISBN เพียงอย่างเดียว (Import your book by ISBN only)
– Import ข้อมูลหนังสือส่วนตัวเข้าไปในระบบไม่ได้ (people can’t import book to google)
– ไม่ค่อยมีใคร Review หนังสือ (No user review)

—————————————————————————————————

2. Librarything – http://www.librarything.com

ข้อดีของ Librarything
– สมัครสมาชิกง่ายมาก (Simple join up to member)
– มีระบบการจัดการข้อมูลส่วนตัวที่ดี (Good profile management system)
– ระบบแสดงผลสามารถปรับแต่งได้ตามความเหมาะสม เช่น การโชว์ข้อมูล (Customize your page)
– ข้อมูลหนังสือละเอียด ครบถ้วน และรองรับมาตรฐานต่าง (Good book detail)
– ระบบชุมชนออนไลน์ + เครือข่ายนักอ่าน ค่อนข้างเข้มแข็งดี (good community and reader group)
– ข้อมูลถูกดึงมาจากหลายๆ ที่ (Many database sync)
– อุปกรณ์สำหรับตกแต่งบล็อกและเว็บไซต์ (Widget)

ข้อด้อยของ Librarything
– ฟรีแค่ 200 เล่ม ถ้าเกินต้องเสียเงิน
– การแสดงผลในหน้าข้อมูลส่วนตัว มีข้อมูลอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นเพียบ (Gen profile system)
– ไม่มีข้อมูลตัวอย่างให้ดู

—————————————————————————————————

3. Shelfari – http://www.shelfari.com

ข้อดีของ Shelfari
– Import หนังสือได้ไม่จำกัดจำนวน
– User Review และ Amazon Review แยกกันอย่างชัดเจน
– ข้อมูลหนังสือละเอียด ครบถ้วน และรองรับมาตรฐานต่าง (Good book detail)
– ระบบชุมชนออนไลน์ + เครือข่ายนักอ่าน ค่อนข้างเข้มแข็งดี (good community and reader group)
– อุปกรณ์สำหรับตกแต่งบล็อกและเว็บไซต์ (Widget)

ข้อด้อยของ Shelfari
– ต้องใช้โปรแกรม flash เพื่อการแสดงผล
– เชื่อมโยงการซื้อขายกับ Amazon เจ้าเดียว
– Import หนังสือเข้าระบบ ค่อนข้างซับซ้อน เมนูหายาก และต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้ดูแลระบบ
– มีโฆษณาแทรกอยู่ด้านล่าง ซึ่งทำให้ดูขวางหูขวางตา

—————————————————————————————————

4. Goodreads – http://www.goodreads.com

ข้อดีของ Goodreads
– Import หนังสือได้ไม่จำกัดจำนวน
– ข้อมูลหนังสือละเอียด ครบถ้วน และรองรับมาตรฐานต่าง (Good book detail)
– การแสดงผลสวยงามและดูง่ายต่อการใช้งาน
– สมัครสมาชิกง่ายมากๆ (คล้ายๆ Librarything)
– เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ต่างๆ มากมาย เช่น ห้องสมุด ร้านหนังสือ
– จัดเก็บหนังสือ วีดีโอ รูปภาพ และ ebook ได้
– ระบบชุมชนออนไลน์ + เครือข่ายนักอ่าน ค่อนข้างเข้มแข็งดี (good community and reader group)
– คนไทยเล่นค่อนข้างเยอะ ทำให้มีหนังสือภาษาไทยเยอะ
– อุปกรณ์สำหรับตกแต่งบล็อกและเว็บไซต์ (Widget)

ข้อด้อยของ
Goodreads
– มีโฆษณาแทรกอยู่ด้านล่าง ซึ่งทำให้ดูขวางหูขวางตา

—————————————————————————————————

เอาเป็นว่าจากการที่ลองเล่นเว็บไซต์ทั้ง 4 แต่ละที่มีข้อดีและข้อด้อย
แต่สำหรับผมค่อนข้างลำเอียงให้คะแนน Goodreads เยอะกว่าที่อื่นๆ
เนื่องจากมีหนังสือภาษาไทยค่อนข้างเยอะ ไม่เชื่อเพื่อนๆ ลองเข้าไปดูที่
http://www.goodreads.com/shelf/show/thai

นอกจากที่ผมจะบรรยายเนื้อหาในสไลด์นี้แล้ว บังเอิญว่ามีเพื่อนๆ เรียกร้องให้ demo อีกเว็บไซต์นึง
นั่นก็คือ เว็บไซต์อ่านอะไร (http://www.arnarai.in.th/) ของ น้อง @thangman22

ซึ่งผมได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับจุดประสงค์ทั่วไปของเว็บไซต์นี้
และลองเล่นเว็บไซต์นี้ให้เพื่อนๆ ที่เข้าร่วมการอบรมได้ดู
ตั้งแต่สมัครสมาชิก เพิ่มรายการหนังสือ ใส่รูป และวิจารณ์หนังสือ

การอบรมในครั้งนี้ทางเครือข่ายจิตอาสาได้ถ่ายวีดีโอไว้ด้วย
เอาเป็นว่าหากวีดีโอตัดเสร็จเมื่อไหร่ผมจะขอนำมาให้เพื่อนๆ ได้ชมกันนะครับ

Alexandria โปรแกรมฟรีที่ช่วยจัดการหนังสือในบ้านของคุณ

เมื่อวานนี้ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์
และมีโอกาสได้ฟังพี่เก่ง (@kengggg) และพี่อาท (@bact) บรรยายเรื่องโปรแกรม Alexandria
ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมที่น่าสนใจมาก ใช้เพื่อการจัดการหนังสือในบ้านได้เป็นอย่างดี (ห้องสมุดในบ้าน) อิอิ

alexandria

เลยขอนำเรื่องของเมื่อวานมาสรุป + เพิ่มเติมข้อมูลโปรแกรมนี้ให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

โปรแกรม Alexandria เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับจัดการ collection หนังสือในบ้านของคุณให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสามารถค้นหาได้ง่าย นอกจากนี้ยังช่วยจัดการเรื่องการยืมหนังสือจากบุคคลอื่นๆ ที่ต้องการยืมหนังสือจากคุณอีกด้วย

โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ต้องติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบ GNOME
(โดยทั่วไปจะพบ GNOME ใน LINUX หากจะลงใน window ก็ทำได้แต่มีความซับซ้อนหน่อย)

โปรแกรมนี้ถูกพัฒนาบนพื้นฐานของ Ruby และเป็นโปรแกรมที่สามารถนำไปพัฒนาต่อได้อีก
ซึ่งมีบางแห่งนำโปรแกรมนี้ไปพัฒนาให้เชื่อมกับเครื่องอ่านบาร์โค้ต รวมไปถึงการสแกนผ่าน webcam ด้วย

alexandria-barcode

หลักการคร่าวๆ ของโปรแกรมนี้ คือ
– เพิ่มหนังสือลงในระบบ (ดึงข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ หรือคีย์เองก็ได้)
– กรอกข้อมูลรายละเอียดของหนังสือ
– จัดกลุ่มหนังสือเป็น Collection ต่างๆ

เพียงแค่นี้เท่านั้นเองเราก็สามารถมีระบบห้องสมุดส่วนตัวที่บ้านได้แล้ว

คุณสมบัติของโปรแกรมนี้ เช่น
– โชว์ภาพปกหนังสือ
– ดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลใหญ่ๆ ได้
– ระบบที่รองรับการยืม (เป็นระบบที่ช่วยเตือนความจำ)
– ระบบจดบันทึกหรือโน้ตข้อความสำคัญของหนังสือได้
– มีระบบดึงคำสำคัญมาสร้างเป็นหมวดหมู่พิเศษได้ (Smart Librarian)

alexandria-book-add

แหล่งข้อมูลของหนังสือที่โปรแกรม สามารถไปดึงมาได้ เช่น
– Amazon
– Proxis
– AdLibris
– Livraria Siciliano
– DeaStore
– Spanish Ministry of Culture
– US Library of Congress
– British Library
– WorldCat

เสียดายที่ยังไม่มีแหล่งข้อมูลของเมืองไทยเลย
ถ้ามีโอกาสผมคงจะไปลองคุยกับสำนักพิมพ์ใหญ่ๆ ดูให้ก็แล้วกันนะครับ
เพื่อที่ว่าเพื่อนๆ จะได้ไม่ต้องมาคีย์ข้อมูลเองทุกเล่ม


เรื่องมาตรฐานข้อมูลของดปรแกรมตัวนี้ไม่ต้องพูดถึงเลยครับ
แบบว่ารองรับเกือบทุกมาตรฐาน เช่น Z39.50, YAML, XHTML และอื่นๆ
ครับ

เอาเป็นว่าใครที่สนใจเพิ่มเติมก็ลองเข้าไปดูที่ http://alexandria.rubyforge.org

สำหรับคู่มือการติดตั้งและเอกสารแนะนำโปรแกรม พี่อาท (@bact)ได้จัดทำเป็นเอกสารไว้
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://opendream.co.th/blog/2010/01/24-jan-training-my-private-library-easy

ปล. รูปทั้งหมดจาก http://alexandria.rubyforge.org

กระทรวงการต่างประเทศรับสมัครบรรณารักษ์อยู่นะ

วันนี้มีงานตำแหน่งบรรณารักษ์มาให้เพื่อนๆ สมัครอีกแล้ว
ใครที่สนใจงานนี้ก็อ่านรายละเอียดได้จากด้านล่างนี้เลยนะ แถมด้วยใบสมัครเลย

mfa-library

รายละเอียดของงานคร่างๆ คือ ตำแหน่งบรรณารักษ์ (เป็นลูกจ้างนะ ไม่ได้เป็นประจำ)
รับทั้งหมด 4 ตำแหน่ง และเงินเดือนก็ 10,600 บาท
นะครับ

หน้าที่ของตำแหน่งนี้ก็คืองานต่างๆ ในห้องสมุด เช่น catalog บ้าง บริการผู้ใช้บ้าง
สรุปคือถ้ามีความสามารถครบถ้วนสำหรับวงการบรรณารักษ์ก็จะดีมากๆ เลย

มาดูคุณสมบัติกันหน่อยดีกว่า
1. จบปริญญาตรี สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยไหนก็ได้นะ
2. อายุไม่เกิน 30 ปี

เอาเป็นว่าคุณสมบัติแค่นี้ก้จริง แต่คงต้องไปแข่งกันตอนสอบอีกทีนะ

รับสมัครตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงวันที่ 5 กุมภาพันธ์เลย
เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ สมัครไปแล้ว ตอนนี้ก็ยังพอมีเวลาที่จะเตรียมตัวสอบแน่นอน

ผู้ที่ผ่านการสอบและการคัดเลือกจะได้เริ่มงานในวันที่ 1 มีนาคม 2553 เลยนะครับ

ใครที่สนใจก็สามารถไปสมัครที่
:-
กองบรรณสารและห้องสมุด ชั้น 3 กระทรวงการต่างประเทศ อาคารศรีอยุธยา ได้เลยนะครับ
หรือโทรไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ 02-6435000 ต่อ 3615

ใครอยากได้ข้อมูลแบบละเอียดสามารถดาวน์โหลดรายละเอียดของงานนี้ได้จากด้านล่างนี้เลยครับ
– เอกสารรายละเอียดงาน
– ใบสมัครงาน

33 เหตุผลที่บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญ

บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญต่อคนในสังคมอยู่หรือปล่าว บทความนี้จะเป็นคนบอกคุณเอง
โดยบทความนี้ผมแปลมาจากเรื่อง “33 Reasons Why Libraries and Librarians are Still Extremely Important

library-and-librarian

บทความนี้นับว่าเป็นบทความที่น่าสนใจมากๆ เลยครับ ผมเลยอยากเอามาเล่าสู่กันฟังบ้าง

เนื้อหาหลักในบทความนี้สะท้อนถึงสาเหตุที่อินเทอร์เน็ต ไม่สามารถเข้ามาแทนที่ห้องสมุดได้
รวมถึงเครื่องมือสืบค้นอย่าง search engine ก็ไม่สามารถแทนที่บรรณารักษ์ได้เช่นกัน

แม้ว่าแนวโน้มในอนาคต คือ สื่อดิจิทัลจะมาแทนสื่อสิ่งพิมพ์ก็จริง
แล้วทำไมบทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ยังคงอยู่จะเป็นอย่างไร ไปติดตามได้เลยครับ

33 เหตุผลที่บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญ

1. Not everything is available on the internet
อินเทอร์เน็ตไม่ได้มีทุกอย่าง ? แม้ว่าข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะมีมหาศาลเพียงใด แต่ในบางเรื่องเราก็ไม่สามารถค้นบนอินเทอร์เน็ตได้ เช่น เอกสารทางด้านปะวัติศาสตร์ หรือหนังสือเก่าๆ บางเล่มที่เราอยากอ่าน แต่ก็ไม่สามารถค้นได้ในอินเทอร์เน็ต

2. Digital libraries are not the internet
ห้องสมุดดิจิทัลไม่ใช่อินเทอร์เน็ต ? อันนี้เกิดจากความเข้าใจผิดของคนบางกลุ่มที่บอกว่า อินเทอร์เน็ตคือห้องสมุดดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประเด็นนี้เค้าเปรียบเทียบว่าบนอินเทอร์เน็ตมีการจัดเก็บ Web Sources แต่ห้องสมุดดิจิทัลมีการจัดเก็บแบบ Online Collections

3. The internet isn?t free
หนังสือบนอินเทอร์เน็ตไม่ได้ฟรีอย่างที่คิด ? ในบางครั้งที่เราเข้าไปดูคลังหนังสือออนไลน์ที่บอกว่าฟรี ไม่เสียค่าบริการ ความเป็นจริงแล้วเว็บเหล่านี้ฟรีเฉพาะเอาหนังสือมาฝากไว้บนเว็บให้คนอื่น โหลด แต่คนที่โหลดหนังสือเหล่านี้นั่นแหละที่ต้องรับผิดชอบกับเรื่องความใช้จ่าย ในการดาวน์โหลด ยกตัวอย่างเช่น Project Gutenberg ที่รวบรวมหนังสือมากมายไว้ แต่พอจะดาวน์โหลดก็ต้องเสียเงินอยู่ดี

4. The internet complements libraries, but it doesn?t replace them
อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงส่วนหนึ่งของห้องสมุดที่ควรจะมี แต่ก็ไม่สามารถแทนที่ได้ สาเหตุคล้ายๆ ข้อ 2 เพราะว่าสารสนเทศที่จัดเก็บเป็นคนละรูปแบบ เช่น ความจริง ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ

5. School Libraries and Librarians Improve Student Test Scores
ห้องสมุดทางการศึกษาและบรรณารักษ์ที่ทำงานในห้องสมุด ทางการศึกษามีส่วนช่วยให้เด็กเรียนดีขึ้น ? อันนี้ได้มาจากการศึกษากรณีตัวอย่างเรื่องการใช้ห้องสมุดเพื่อพัฒนาการศึกษา ของ Illinois School Libraries

6. Digitization Doesn?t Mean Destruction
การปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลไม่ได้หมายความว่าจะต้องลด ภาระงาน ? มีกรณีศึกษาเกี่ยวกับ Google Book Search ที่ทาง google เองในช่วงแรกพัฒนาเองแต่ก็เกิดความผิดพลาดหลายส่วน จนต้องดึงห้องสมุดหลายๆ ที่เพื่อเข้ามาปรับปรุงและเป็นที่ปรึกษาเรื่องการสืบค้นสารสนเทศ เนื่องจาก google มีความชำนาญเรื่องการใช้โปรแกรมในการค้นหาเว็บ แต่ในกรณีหนังสือ Google Book Search นั่นเอง

7. In fact, digitization means survival
ความเป็นจริงแล้วการปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลจะเน้นไปใน ความหมายของการรักษาสารสนเทศให้อยู่ได้นาน ? มีกรณีศึกษาจากเรื่อง libraries destroyed by Hurricane Katrina เนื่องจากห้องสมุดแห่งนี้ถูกทำลายโดยภัยธรรมชาติซึ่งแน่นอนว่าห้ามกันไม่ได้ ดังนั้นจากข้อ 6 ความหมายที่แท้จริงของการทำข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลจึงหมายถึงการช่วย ชีวิตสารสนเทศไว้นั่นเอง เพราะถ้าข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเกิดภัยอะไรก็ตามข้อมูลก็จะดำรงคงอยู่ไม่ถูกทำลายง่ายๆ แน่นอน

8. Digitization is going to take a while. A long while.
การปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลใช้เวลาปรับนิดเดียวแต่ยาว นาน ? เหมือนขัดๆ กันอยู่ใช่มั้ยครับ จริงๆ แล้วอยากที่รู้ว่าการปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลไม่ยากครับก็คือการสแกนตัว หนังสือลงไปในคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้เวลานิดเดียว แต่จำนวนของหนังสือที่มีมากมายมหาศาล ดังนั้นการปรับข้อมูลทุกอย่างให้เป็นดิจิทัลคงต้องใช้เวลาหลายสิบปีเลยครับ

9. Libraries aren?t just books
ห้องสมุดไม่ได้เป็นเพียงแค่ที่เก็บหนังสืออย่างเดียว ? ในห้องสมุดไม่ได้มีสารสนเทศประเภทหนังสือเพียงอย่างเดียวนะครับ ความรู้ในการประกอบวิชาชีพ ทักษะในการทำงาน บริการตอบคำถาม เหล่านี้ถือว่าเป็นสารสนเทศที่มีคุณค่าอีกลักษณะหนึ่ง ลองนกภาพตามนะครับว่า ความรู้จากตำรา กับความรู้จากทักษะอย่างไหนน่าจะช่วยเพื่อนๆ ในการทำงานมากกว่ากัน เอาตัวอย่างใกล้ตัวดีกว่า เช่นหนังสือตำราเรียนวิชาบรรณารักษศาสตร์เบื้องต้น กับบล็อกนี้แล้วกัน อิอิ

10. Mobile devices aren?t the end of books, or libraries
อุปกรณ์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ไม่ได้เป็นจุดที่สิ้นสุดของหนังสือ และห้องสมุด ? เนื่องจากอุปกรณ์พวกนี้ก็มีข้อจำกัดเหมือนกัน เช่น มีคือ kindle ของ amazon สามารถดู E-book ได้ก็จริง แต่อุปกรณ์เหล่านี้มีข้อจำกัด เช่น ราคา, เวลาในการใช้งาน, หนังสือที่ต้องโหลดเข้ามา, และอื่นๆ อีกมากมาย เห็นมั้ยหล่ะครับ อุปกรณ์พวกนี้ไม่สามารถแทนห้องสมุดได้ยังไง

11. The hype might really just be hype
การผสมผสานมันก็แค่ผสมผสาน ? มีการพูดถึงความเป็น paper book กับ E-book ว่าโลกนี้จะไม่มี paper book คงไม่ได้เพราะว่าคนยังเคยชินกับความรู้สึกในการใช้กระดาษมากกว่าการใช้ อุปกรณ์ตัวเล็กไว้สำหรับอ่าน ดังนั้นหากทั้งสองสามารถรวมกันได้ ก็ควรจะรวมกัน ไม่ใช่ว่าพอ E-book มาก็ยกเลิก paper book ทิ้ง มันก็อาจจะทำให้ดูไม่ดีก็ได

12. Library attendance isn?t falling ? it?s just more virtual now
การเข้าใช้ห้องสมุดไม่ได้มียอดที่ลดลง แต่มีการเข้าใช้ทางเว็บไซต์ห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะห้องสมุดสถาบันการศึกษา

13. Like businesses, digital libraries still need human staffing
เช่นเดียวกับการทำธุรกิจ ห้องสมุดดิจิทัลก็ยังคงต้องใช้คนในการจัดการและดำเนินงานอยู่ดี

14. We just can?t count on physical libraries disappearing
เราไม่สามารถนับจำนวนการสูญเสียของทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดทางกายภาพได้ ? เพราะเนื่องจากการปรับเปลี่ยนจากสิ่งพิมพ์ทางกายภาพเป็นสานสนเทศดิจิทัลมมี ค่าเท่ากัน ดังนั้นการที่ห้องสมุดสูญเสียหนังสือที่เป็นเล่ม แต่ได้มาซึ่งสารสนเทศดิจิตอลจึงเป็นสิ่งที่แทนกันได้ และไม่ได้เรียกว่าสูญเสีย

15. Google Book Search ?don?t work?
แค่หัวข้อคงไม่ต้องบรรยายแล้วหล่ะครับ ตรงไปตรงมาดี เพราะว่า Google Book Search ทำงานไม่ดีพอ

16. Physical libraries can adapt to cultural change
ห้องสมุดที่เป็นกายภาพสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงได้

17. Physical libraries are adapting to cultural change
จากข้อ 16 เมื่อสามารถทำได้ ดังนั้นห้องสมุดทางกายภาพจึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการตลอดเวลา เพื่อ ปรับตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรม

18. Eliminating libraries would cut short an important process of cultural evolution
การที่เรากำจัดห้องสมุดถือว่าเป็นการตัดกระบวนการทางสังคมออก ? ห้องสมุดถือว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งในการสร้างวัฒนธรรมในการศึกษาและ วัฒนธรรมแห่งความรู้ ดังนั้นการตัดความสำคัญของห้องสมุดก็เท่ากับว่าเราตัดความสำคัญทางการศึกษา ออกด้วย

19. The internet isn?t DIY
อินเทอร์เน็ตไม่ใช่คุณเองก็ทำได้ ? ต้องยอมรับอย่างนึงว่าอินเทอร์เน็ตเกิดเพราะคุณ แต่เราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าเราไม่สามารถกำหนดหรือสั่งการมันได้ เช่น search engine ที่มันทำงานได้เพราะว่าโปรแกรมในบางครั้งการค้นหาที่มีความหมายแบบขั้นลึก โปรแกรมก็ไม่สามารถค้นหาให้ได้เหมือนกัน เอาตรงๆ ก็คือ เวลาค้นกับ search engine มันจะได้คำตอบตรงๆ และตายตัว อยากรู้อย่างอื่นเพิ่มเติมก็ต้องค้นใหม่ แต่ถ้าเป็นบรรณารักษ์ในการตอบคำถาม คำตอบที่ได้มาจะเน้นไปในแนวทางความรู้สึกซึ่งผู้ใช้สามารถค้นได้ง่ายกว่า

20. Wisdom of crowds is untrustworthy, because of the tipping point
ความรอบรู้ของอินเทอร์เน็ตยังไว้ใจไม่ได้ เนื่องจากการแพร่กระจายอาจจะนำมาซึ่งภาวะของข่าวลือ

21. Librarians are the irreplaceable counterparts to web moderators
บรรณารักษ์ไม่สามารถเปลี่ยนจากคนนั่ง counter เป็น web moderators ? ถึงแม้ว่าห้องสมุดจะกลายเป็นห้องสมุดดิจิทัลแต่ก็ต้องมีบรรณารักษ์คอยจัดการ content เนื้อหาอยู่ดี

22. Unlike moderators, librarians must straddle the line between libraries and the internet
บรรณารักษ์เป็นคนช่วยประสานช่องหว่างระหว่างห้องสมุดกับอินเทอร์เน็ต
ครับ

23. The internet is a mess
อินเทอร์เน็ตคือความยุ่งเหยิง ? ครับแน่นอนว่าอินเทอร์เน็ตคงไม่มานั่งจัดหมวดหมู่ หรือ หัวเรื่องเหมือนห้องสมุดหรอกครับ อิอิ

24. The internet is subject to manipulation
อินเทอร์เน็ตมีหัวเรื่องที่เกิดจากการผสมผสานหลากหลาย วิธีนึงใน web 2.0 ก็คือ การใช้ Tag clould เข้ามากำหนดความนิยมของหัวเรื่อง ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีการ spam tag กันมากขึ้นจึงทำให้เนื้อหาที่ได้มาบางครั้งไม่ตรงกับจุดประสงค์ของเรา

25. Libraries? collections employ a well-formulated system of citation
ห้องสมุดมีระบบการจัดการที่เป็นระบบมากกว่าบนอินเทอร์เน็ต จาก 2 ข้อด้านบน คงพิสูจน์แล้ว

26. It can be hard to isolate concise information on the internet
มันยากที่จะแยกข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกจากกันในอินเทอร์เน็ต สังเกตได้จากแต่ละเว็บไซต์จะมีการเชื่อมโยงจนบางครั้งข้อมูลในหลากหลายมาก เกินไป จนเราไม่สามารถที่จะพิจารณาว่าจะเชื่อข้อมูลจากที่ไหน

27. Libraries can preserve the book experience
ห้องสมุดสามารถอนุรักษ์หนังสือได้อย่างมีประสบการณ์ช่ำชอง อันนี้คงไม่มีใครเถียงนะครับ แต่อย่างที่เคยเขียนไปคือห้องสมุดอาจจะเปลี่ยนบทบาทเป็นพิพิธภัณฑ์หนังสือก็ ได้

28. Libraries are stable while the web is transient
ห้องสมุดเป็นอะไรที่เก็บข้อมูลได้มั่นคง แต่อินเทอร์เน็ตเก็บอะไรชั่วคราว ? เห็นด้วยนะครับเพราะว่าบางครั้งพอเราค้นอะไรในอินเทอร์เน็ตวันนี้อาจจะเจอ แต่พอวันรุ่งขึ้นผลการค้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง

29. Libraries can be surprisingly helpful for news collections and archives
ห้องสมุดสามารถสร้างประโยชน์ในการสร้าง collection ใหม่ๆ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ? ความสามารถดังกล่าวมาจากห้องสมุดเฉพาะ เพราะว่าห้องสมุดเหล่านี้จะเน้น collection พิเศษที่เกี่ยวกับตัวเอง รวมถึงถ้า collection นั้นยังไม่มีห้องสมุดไหนเคยทำ องค์กรที่เกี่ยวข้องก็จะสนับสนุนในการจัดการห้องสมุดสาขาวิชานั้นๆ

30. Not everyone has access to the internet
ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ เนื่องจากข้อจำกัดหลายๆ อย่าง เช่น การติดต่อในอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อ, จุดกระจายสัญญาณเครือข่าย, สถานที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต

31. Not everyone can afford books
ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีหนังสือ ? อธิบายง่ายๆ ว่า บางคนก็ไม่สามารถเป็นเจ้าของหนังสือได้ ดังนั้นแล้วคนเหล่านั้นจะอ่านความรู้ต่างๆ ได้อย่างไร ห้องสมุดจึงเป็นตัวช่วยให้คนสามารถเป็นเจ้าของหนงสือได้ร่วมกัน

32. Libraries are a stopgap to anti-intellectualism
ห้องสมุดช่วยหยุดช่องว่างของความไม่มีความรู้ ? พูดง่ายๆ ว่าห้องสมุดช่วยสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นน่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่า

33. Old books are valuable
ในยุคที่ใกล้เข้าสู่โลกดิจิทัล เกิดไอเดียใหม่สำหรับห้องสมุด นั่นก็คือ พิพิธภัณฑ์หนังสือ(book museum) เพราะว่าหนังสือรุ่นใหม่ๆ จะอยู่ในรูปดิจิทัล ส่วนหนังสือเก่าที่ทรงคุณค่าก็เก็บไว้ใส่พิพิธภัณฑ์แทน

เป็นอย่างไรบ้างครับ จบตอนกันสักที

จุดประสงค์ที่เอามาให้อ่านไม่ใช่ว่าอาชีพอย่างเรา จะอยู่อย่างเป็นนิรันดร์นะครับ
แต่ถ้าเพื่อนๆ ได้อ่านกันจริงๆ บรรณารักษ์จะเปลี่ยนบทบาทการทำงาน
รวมถึงห้องสมุดก็เปลี่ยนบทบาทและรูปแบบในการให้บริการ
ที่เด่นๆ ก็เห็นจะเป็น จากห้องสมุดทางกายภาพจะกลายเป็นห้องสมุดเสมือน
รวมถึงสื่อต่างๆ จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นแบบดิจิทัลมากขึ้นนะครับ

การให้หัวเรื่องด้วย BISAC Subject heading

ถ้าเราถามบรรณารักษ์ว่า “คุณให้หัวเรื่องหนังสือเล่มนี้อย่างไร มีมาตรฐานอะไรในการให้
บรรณารักษ์หลายๆ คนก็คงตอบว่า “ก็เปิดดูจาก LC Subject Heading” นะสิ
ตกลงว่าในโลกนี้มีการให้หัวเรื่องอยู่แบบเดียวจริงหรือ

bisac-library

การให้หัวเรื่องที่ผมจะนำเสนอวันนี้อาจจะต่างจากการให้หัวเรื่องตามหลักบรรณารักษ์หน่อยนะครับ
แต่ผมว่ามันก็สามารถนำมาใช้แทนกันได้นะ บางทีอาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ

การให้หัวเรื่องที่ผมจะกล่าว ถูกเรียกว่า “BISAC”
ซึ่งย่อมาจากคำว่า “Book Industry Standards and Communications”
ซึ่งถูกคิดค้นด้วยองค์กรที่ชื่อว่า Book Industry Study Group ซึ่งทำงานกับตัวหนังสือเช่นกัน

วัตถุประสงค์หลักๆ ก็คือ ใช้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล EDI(electronic data interchange) ของสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือและวารสารเป็นหลัก

ลองเข้าดูการให้หัวเรื่องของระบบ BISAC ได้ที่
http://www.bisg.org/what-we-do-0-136-bisac-subject-headings-list-major-subjects—2009-edition.php

ตัวอย่างหัวเรื่องในระบบ BISAC เช่น
ANTIQUES & COLLECTIBLES
ARCHITECTURE
ART
BIBLES
BIOGRAPHY & AUTOBIOGRAPHY
(นี่เป็นหัวเรื่องใหญ่นะครับ หากต้องการรายละเอียดต้องเข้าไปดูในหัวเรื่องอีกที)

และจากการที่ผมได้ลองเข้าไปดู ผมก็พบว่าจริงๆ แล้วมันก็คล้ายๆ กับ LC subject heading เหมือนกัน
บางทีผมว่ามันก็สามารถนำมาใช้แทน LC subject heading ได้เหมือนกัน

เอาเป็นว่าสำหรับผมคิดว่ามันก็เป็นทางเลือกที่ดีในการนำมาใช้นะครับ

หากเพื่อนๆ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ http://www.bisg.org

ห้องสมุดที่ทำงานตามกระแสคอมพิวเตอร์

เหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงในห้องสมุดมีหลายอย่างครับ ไม่ว่าจะเป็นไฟดับ เครือข่ายล่ม ไวรัสลงคอมพิวเตอร์
จนทำให้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของเราต้องหยุดทำงานและไม่สามารถปฏิบัติงานได้

problem-computer-library

หากเป็นแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ทุกคนก็คงบอกว่า ?สบายมาก พักแป๊บนึงก็ได้ เดี๋ยวมันก็ใช้ได้แล้ว?
แต่เหตุการณ์แบบนั้นผมคงไม่พูดถึงหรอกเพราะมันไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของเรา
แต่สำหรับบางที่และบางกรณีที่เป็นเหตุให้ระบบไม่สามารถใช้งานได้เป็นวันหรือหลายวัน

ห้องสมุดของท่านมีแผนสำรองในการปฏิบัติงานหรือไม่ หรือว่าต้องปิดห้องสมุดด้วยเลย แล้วมันจะดีหรอ

ระบบงานบางอย่างที่ปัจจุบันใช้ระบบคอมพิวเตอร์อย่างเต็มตัวถ้าใช้คอมไม่ได้จะทำไง
เช่น หากระบบใช้ไม่ได้ การยืม คืนหนังสือของผู้ใช้บริการจะทำอย่างไร
หากต้อง catalog หนังสือให้เสร็จคุณจะทำงานอย่างไร
บรรณารักษ์อย่างพวกคุณมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไร หรือจะต้องเพิ่งพิงคอมพิวเตอร์อย่างเดียว

อันที่จริงผมก็รู้อยู่แล้วหล่ะว่าบรรณารักษ์เรามีวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ดีด้วย
แต่บางที่ ที่ผมเจอบางทีพอระบบยืม คืนเสีย ห้องสมุดนั้นประกาศไม่ให้ผู้ใช้บริการยืมหนังสือไปด้วย
ซึ่งผมเห็นว่ามันไม่ค่อยถูกยังไงก็ไม่รู้ ทำไมเราต้องอิงกับคอมพิวเตอร์หล่ะ

จำได้หรือเปล่าครับว่า…สมัยก่อนไม่มีคอมพิวเตอร์เรายังทำงานกันได้เลย มิใช่หรือ

วิธีการแก้ง่ายๆ ที่อยากจะแนะนำสถาบันเหล่านั้นนะครับ
ง่ายมาแค่คุณจดรหัสผู้ยืม รหัสบาร์โค้ตของหนังสือ ประทับตราวันที่ยืม และประทับตราวันที่คืน
ลงกระดาษหรือไม่ก็อาจจะทำเป็นแบบหนังสือการยืม
ส่วนการคืนทำงานกว่าก็คือ ประทับตราวันที่คืน กับรหัสบาร์โค้ตของหนังสือก็เท่านั้นเอง
แต่ต้องดูเรื่องค่าปรับด้วยนะครับ แต่ถ้าดูไม่ได้ก็รอจนกว่าระบบจะใช้ได้แล้วส่งบิลแจ้งยอดให้กับผู้ใช้วันหลัง

ซึ่งพฤติกรรมของห้องสมุดที่ไม่ยอมทำงานเพราะว่าเปิดตามกระแสคอมพิวเตอร์
ผมพูดในเชิงประชดว่า คุณเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสได้เก่งมาก
เพราะว่าพอคอมพิวเตอร์ใช้ไม่ได้คุณก็ถือว่าเป็นโอกาสที่จะได้พักผ่อนเพราะว่าทำอะไรไม่ได้
ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงผมว่าปิดห้องสมุดไปเถอะครับ

เพราะว่าคติของบรรณารักษ์ที่ดีคือต้องตอบสนองความต้องการของผู้ใช้
ไม่ใช่อิงความสะดวกสบายของบรรณารักษ์นะครับ

ฝากไว้ให้คิดกันนิดนึง ห้องสมุดส่วนใหญ่ผมเชื่อว่าดีอยู่แล้ว
มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นเอง ค่อยๆ ปรับและหาวิธีการแก้ปัญหา และควรมีแผนงานสำรองเตรียมไว้ด้วยนะครับ

ปัญหามากมายที่รอการแก้ไข จากห้องสมุดแห่งหนึ่ง

หลังจากที่ผมได้คุยกับเพื่อนๆ ในวงการห้องสมุดหลายคน ก็รู้ว่าห้องสมุดหลายๆ แห่งมีปัญหาที่ต้องแก้อีกมากมาย
ซึ่งบางปัญหาก็เกิดจากผู้บริหาร หรือบางปัญหาก็เกิดจากผู้ใช้บริการ และบางปัญหาก็เกิดจากตัวบรรณารักษ์เอง

ที่มาจาก badjonni
ที่มาจาก badjonni

วันนี้ผมมีกรณีตัวอย่างมานำเสนอ เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับห้องสมุดแห่งนี้ให้เพื่อนๆ ช่วยวิเคราะห์นะครับ

ปัญหาของห้องสมุดนี้ มีดังนี้ครับ

1. ชั้นหนังสือเต็มจนหนังสือไม่มีที่เก็บอีกแล้ว (พื้นที่มีเยอะแต่ชั้นหนังสือมีน้อย)
บรรณารักษ์ทำเรื่องขออนุมัติในการจัดหาครุภัณฑ์ไป 1 ปีกว่าๆ แล้วยังไม่ได้

2. สื่อประเภทซีดีมีมากมายในห้องสมุด แต่ไม่มีที่จัดเก็บ
แม้แต่เครื่องเล่นซีดี คอมพิวเตอร์ก็ยังไม่มีในห้องสมุด

3. ในห้องสมุดไม่มีคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้น เวลาผู้ใช้ต้องการหาหนังสืออะไร
ก็จะเดินมาถามบรรณารักษ์อย่างเดียว หรือไม่ก็ใช้ความเคยชินเดินหาตามชั้นเอาเอง

4. บุคลากรในห้องสมุดไม่เคยถูกส่งไปเข้าร่วมงานสัมมนา อบรม ประชุมวิชาการต่างๆ เลย
จนบุคลากรบางส่วนต้องลางานเพื่อไปเข้าร่วมงานต่างๆ เอง

5. บุคลากรของห้องสมุด (บรรณารักษ์) มักจะถูกขอให้ไปช่วยงานอื่นๆ ในองค์กร
ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการเงิน ประชาสัมพันธ์ รับสมัครนักศึกษา ฯลฯ

6. นักเรียนเอาโน้ตบุ๊คมาใช้ในห้องสมุดแต่ไม่สามารถต่อ internet ได้
เนื่องจาก wireless มีไว้ให้พนักงานในองค์กรเล่นได้อย่างเดียว

7. เวลาองค์กรจัดงานนิทรรศการ หรืองานกิจกรรมต่างๆ จะมายืมครุภัณฑ์จากห้องสมุดเป็นหลัก
เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ทำให้ห้องสมุดไม่มีที่นั่งเพื่อให้บริการผู้ใช้

ฟังปัญหาของห้องสมุดนี้แล้วก็แอบเหนื่อยใจแทนนะครับ
แต่ผมก็ขอนำเสนอวิธีใการจัดการกับเรื่องเหล่านี้นะครับ

1. ทำงานเท่าที่หน้าที่ของตนรับผิดชอบ ได้แค่ไหนก็แค่นั้น
เราจะฝืนทำมากกว่าที่เป็นอยู่แล้วเดือดร้อนถึงเราไม่ได้ แต่ขอให้ดูว่าผู้ใช้ต้องไม่เดือดร้อนด้วยเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น ถึงไม่มีคอมพิวเตอร์ให้ผู้ใช้สืบค้น แต่เราก็สามารถที่จะค้นให้ผู้ใช้ได้มิใช่หรือครับ
เท่านี้นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือผู้ใช้แล้ว ยังเป็นการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบรรณารักษ์และผู้ใช้อีกด้วย


2. บางอย่างก็อย่าคาดหวังหากหวังมาก

เช่น คาดว่าจะได้ชั้นหนังสือเดือนหน้า เราก็จะรอคอยในสิ่งที่จะทำให้ผิดหวังได้
ให้คิดซะว่าถ้ามันมีก็ดีนะ แต่ถ้าขาดมันก็ไม่เห็นเป็นไรเลย เท่านี้ก็สบายใจทั้งเรา ทั้งผู้บริหารแล้ว

3. บางอย่างเราก็คอยติดตามสอบถาม/ทวงถามบ้าง
เช่น หากชั้นหนังสือล้นออกมาเยอะมากแล้วเราก็ควรเริ่มกระตุ้นผู้บริหารได้แล้ว
ไม่ใช่ปล่อยให้มันล้นต่อไปเรื่อยๆ แล้วไปคาดหวังว่าสักวันผู้บริหารจะเห็นอันนั้นมันคงเป็นไปไม่ได้กระมั้ง

4. ปล่อยวางบ้างเถอะ
บางครั้งการที่องค์กรขาดอุปกรณ์บางอย่างแล้วมาขอยืมไปจากห้องสมุดเช่น โต๊ะ เก้าอี้
หากช่วงนั้น ห้องสมุดไม่จำเป็นต้องใช้ก็ปล่อยๆ ให้เขาไปเถอะแต่ไม่ใช่ปล่อยให้เขาเอาไปหมดเลย
ควรจะเหลือไว้ให้ห้องสมุดสักครึ่งหนึ่งก็จะดี เพราะอย่าลืมว่าเราต้องบริการผู้ใช้ด้วย ไม่ใช่บริการองค์กรเพียงอย่างเดียว


คำแนะนำเหล่านี้ ถ้าเพื่อนๆ รับฟังมันก็จะทำให้เราทำงานได้อย่างสบายใจแล้วหล่ะครับ

แล้วเพื่อนๆ หล่ะคิดยังไงกับปัญหาเหล่านี้ มีแนวทางในการแก้ไขบ้างหรือปล่าวครับ

ห้องสมุดแห่งนี้อเนกประสงค์เกินไปหรือปล่าว

เพื่อนๆ หลายคนชอบบอกผมว่า อยากให้ห้องสมุดบริการทุกๆ อย่าง หรือ ประมาณว่าอเนกประสงค์เลยก็ดี
วันนี้ผมก็เลยขอเอาประเด็นห้องสมุดอเนกประสงค์ มาเล่าให้ฟังอีกที (เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริงๆ นะครับ)

everything-in-library

สมมตินะครับ…สมมติ หากว่าห้องสมุดของเพื่อนๆ อเนกประสงค์แบบนี้ เพื่อนๆ ว่ามันดีหรือปล่าว

1. ห้องสมุดที่สามารถใช้เป็นห้องเรียนได้ อาจารย์สามารถขอใช้วัสดุจากจากห้องสมุดได้
เช่น หนังสือพิมพ์เก่าๆ วารสารเก่าๆ และก็ตัดกันอย่างสนุกสนานในห้องสมุด

2. ห้องสมุดที่สามารถใช้เป็นคลังเก็บรวบรวมข้อสอบได้ โดยที่บรรณารักษ์เป็นผู้ตรวจสอบและเก็บให้
พออาจารย์หาข้อสอบเก่าๆ ไม่เจอก็มาโทษบรรณารักษ์และห้องสมุด

3. ห้องสมุดทำหน้าที่จัดกรรมการคุมสอบได้อีก อาจารย์ที่คุมสอบต้องมาลงชื่อที่ห้องสมุดในช่วงสอบ
ส่วนอาจารย์สำรองก็ต้องมานั่งรอในห้องสมุด สรุปว่าห้องสมุดทำหน้าที่ได้เหมือนหน่วยคุมสอบ

4. เวลาจัดกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร สามารถมายืมโต๊ะ เก้าอี้ที่ห้องสมุดได้
ส่วนผู้ที่ใช้ห้องสมุดคนอื่นก็นั่งพื้น หรือ ยืนอ่านแล้วกันนะครับ

5. เวลาปิดเทอมห้องสมุดต้องเตรียมสถานที่ไว้เพื่อใช้ในงานอื่นโดย
ต้องเก็บหนังสือออกจากชั้นและทำการจัดหนังสือใหม่ทุกครั้งเมื่อเปิดเทอม

6. เวลานักเรียนจะจบก็จะมาถ่ายรูปที่ห้องสมุดโดยใช้ห้องอ้างอิงเพื่อการถ่ายรูป
ส่วนนักเรียนที่รอถ่ายรูปก็จะเดินไปเดินมาและคิดว่าห้องสมุดเป็นตลาดซะก็สบายใจ

7. ใช้เป็นที่ลงทะเบียนของนักเรียนทุกๆ เทอม

8. ใช้เป็นสถานที่สัมภาษณ์งานของฝ่ายบุคคลด้วย โดยใช้ห้องโสตฯในการสัมภาษณ์

9. ห้องนอน ห้องพักผ่อน อยู่ที่ห้องสมุดทั้งนั้นเลย

10. และอื่นๆ อีก

ปล. บรรณารักษ์ที่ทำงานที่นี่ ไม่ได้อยากให้ห้องสมุดเป็นแบบนี้ แต่มันเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้เอง
เนื่องจากนโยบายจากผู้บริหารได้มีคำสั่งออกมาเพื่อใช้ห้องสมุดในการดังกล่าวข้างต้น

เพื่อนๆ อยากให้ห้องสมุดแบบนี้แก้ไขอย่างไร เพื่อนๆ อยากให้ห้องสมุดของเพื่อนๆ เป็นแบบนี้หรือปล่าว
สรุปแล้วที่เล่ามา เพื่อนๆ ว่าห้องสมุดอเนกประสงค์อย่างนี้ดีมั้ยครับ

ลักษณะทั่วไปของมุมกาแฟในห้องสมุด

บริการใหม่ๆ และทัศนคติใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวันและเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เช่น
อดีตห้องสมุดหลายแห่งไม่อนุญาติให้นำของกินหรือเครื่องดื่มเข้ามาในห้องสมุด
แต่ปัจจุบันห้องสมุดเหล่านั้นก็เริ่มเปลี่ยนอนุญาติให้นำของกินหรือเครื่องดื่มเข้ามาในห้องสมุดได้

coffee-in-library

โดยเฉพาะมุมกาแฟ ช่วงหลังๆ ที่ผมไปเยี่ยมห้องสมุดหลายๆ ที่
ผมก็เริ่มสังเกตว่าห้องสมุดส่วนใหญ่พักหลังมักจะนิยมมีมุมกาแฟด้วย

จะเพิ่มอีกสักมุมก็คงไม่แปลกเนอะ “มุมกาแฟ” ในห้องสมุด

มุมกาแฟที่ผมพบหลักๆ ผมจะขอแบ่งออกเป็น 3 แบบใหญ่ๆ นะครับ ซึ่งมีดังนี้

แบบที่ 1 เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการร้านกาแฟเข้ามาเปิดกิจการในห้องสมุด

ลักษณะแบบนี้ห้องสมุดก็ได้ผลตอบแทนหลายๆ อย่าง เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ ฯลฯ
ห้องสมุดที่ดำเนินการแบบนี้ได้จะต้องเป็นห้องสมุดที่มีบริเวณหน่อยนะครับ


แบบที่ 2 จัดมุมกาแฟแบบง่ายๆ ด้วยการให้ผู้ใช้บริการบริการตัวเอง

ลักษณะแบบนี้ห้องสมุดก็จะจัดเครื่องทำน้ำร้อน แก้วกระดาษ ช้อนคน และกาแฟสำเร็จรูปประเภทซอง
จากนั้นการคิดเงินก็ให้ผู้ใช้บริการหยอดเงินใส่กล่อง หรือไม่ก็เก็บเงินที่หน้าเคาน์เตอร์
แบบนี้ก็ดีครับง่ายดีแต่การเขียนขออนุมัติกับผู้บริหารจำเป็นต้องเล่าถึงจุดประสงค์ที่ชัดเจนนะครับ
(ไม่งั้นผู้บริหารจะมาหาว่าคุณกำลังหากินกับผู้ใช้บริการห้องสมุดด้วย)


แบบที่ 3 จัดตู้กดเครื่องดื่มอัตโนมัติ หรือตู้กดน้ำกระป๋อง

ลักษณะนี้ก็จะคล้ายๆ กับข้อที่หนึ่ง คือ ให้ผู้ประกอบการตามติดตั้งให้และดูแลเครื่องเอง
จากนั้นห้องสมุดก็เก็บค่าไฟ หรือ ค่าเปอร์เซ็นต์จากการขายด้วย

เอาเป็นว่าจริงๆ แล้วอาจจะมีรูปแบบอื่นๆ อีก ยังไงก็ขอให้เพื่อนๆ เล่าให้ผมฟังบ้างนะ