เทคนิคการ catalog หนังสือด้วยวิธีง่ายๆ

งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ หรืองาน catalog เป็นงานที่สำคัญอีกงานหนึ่งในห้องสมุด
เนื่องจากเป็นงานที่เกี่ยวกับการให้เลขหมู่และหัวเรื่องของหนังสือหรือสื่อสารสนเทศในห้องสมุด

cataloging

หนังสือหรือสื่อสารสนเทศในห้องสมุดจะถูกค้นหาได้ง่ายหรือยากก็ขึ้นอยู่กับกระบวนการในส่วนนี้
ดังนั้นผมจึงให้ความสำคัญกับงาน catalog เช่นเดียวกับการให้บริการสารสนเทศในห้องสมุด

เอาเป็นว่าผมขอพูดถึงปัญหาที่พบของงาน catalog ให้เพื่อนๆ ฟังก่อนนะครับ

หลักๆ ก็ไม่มีอะไรมากหรอก แค่เพื่อนๆ เคยสังเกตมั้ยครับว่า
“หนังสือเล่มนึงอาจจะมีการถูก catalog ไม่เหมือนกัน”
เช่น หอสมุดแห่งชาติให้เลขหมู่อย่างหนึ่ง ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาให้อีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ

ดังนั้นหนังสือ ก. จึงมีข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ไม่เหมือนกัน

เอางี้ เวลาเพื่อนๆ ไปห้องสมุด ก แล้วพาหนังสือ และเจอหนังสือที่ต้องการในชั้นหนังสือทั่วไป
แต่เวลาไปห้องสมุด ข เดินไปที่ชั้นหนังสือเดียวกันกลับไม่เจอ ทำให้ต้องเสียเวลาค้นหาใหม่
และพบว่าหนังสือเล่มนั้นไปอยู่อีกชั้นหนึ่งทั้งๆ ที่รู้สึกว่ามันไม่ถูกต้อง

ดังนั้นหลายๆ ครั้งที่ไปพบกับเพื่อนๆ ในห้องสมุดที่ต่างๆ ผมจึงแนะนำให้เพื่อนๆ ใช้งาน copy catalog
เพื่อที่จะช่วยลดเวลาในการทำงานให้เพื่อนๆ และที่สำคัญคือ เพื่อปรับข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือเล่มใหม่ๆ
ให้มีข้อมูลบรรณานุกรมที่เหมือนกัน หรือคล้ายกันมากที่สุด โดยเฉพาะเรื่องการให้เลขหมู่และหัวเรื่อง

หลักการง่ายๆ คือ เข้าไปที่เว็บไซต์สหบรรณานุกรม แล้วค้นหาหนังสือดังกล่าว แล้วก็ copy
ง่ายไปหรือปล่าวครับ —> ไม่ง่ายหรอกครับ เพราะเมื่อ copy มาแล้วเพื่อนๆ จะใช้ตามนั้นเลยคงไม่ได้

เพื่อนๆ จะต้องมาพิจารณาข้อมูลรายการบรรณานุกรมเล่มนั้นจริงๆ จังๆ สักหน่อย
เพราะบางแห่งก็ใช้การจัดหมวดหมู่ที่ไม่เหมือนกัน เช่น บางที่ใช้แอลซี บางที่ใช้ดิวอี้
ดังนั้นเพื่อนๆ ต้องดูรายละเอียดเหล่านี้ให้ดีๆ ด้วยนะครับ

สำหรับเว็บไซต์ที่ผมจะแนะนำเพื่อการ Copy Catalog มีดังนี้
– สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ –> http://catalog.loc.gov

lc

– สำหรับหนังสือภาษาอังกฤษ –> http://www.oclc.org/worldcat/

oclc

– สำหรับหนังสือภาษาไทย –> http://uc.thailis.or.th/

thailis

นอกจากนี้ก็ยังมีเว็บไซต์ของห้องสมุดต่างๆ โดยเฉพาะห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของไทย

เอาเป็นว่าก็ลองเข้าไปใช้กันดูนะครับ แต่ผมก็ขอบอกไว้ก่อนว่า
ในเว็บไซต์เหล่านี้ก็ใช่ว่าจะมีหนังสือครบทุกเล่ม ดังนั้นเล่มไหนที่ไม่มีเพื่อนๆ ก็ต้องลองประยุกต์กันเองนะครับ

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*