บรรณารักษ์กับเว็บไซต์ถามตอบ

วันนี้ขอนำเสนอบทความเก่าขอเล่าใหม่อีกสักเรื่องนะครับ…
ชื่อบทความนี้ คือ Librarians Eat Questions for Breakfast ซึ่งบทความนี้ผมอ่านเจอใน LISNews
โดยเนื้อหาหลักๆ ของบทความนี้ คือ บทบาทของบรรณารักษ์กับเว็บไซต์ถามตอบต่างๆ

answersite-librarian

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ใช้สำหรับถามตอบ เช่น
Yahoo! Answer – http://answers.yahoo.com/
Ask MetaFilter – http://ask.metafilter.com/
Wikipedia Reference Desk – http://en.wikipedia.org/wiki/Wikipedia:Reference_desk/

มีผลสำรวจจากเว็บไซต์เหล่านี้ พบว่า ผู้ที่เข้ามาตอบคำถามจำนวนหนึ่งเป็นบรรณารักษ์นั่นเอง
ซึ่งคำตอบเหล่านี้นับว่าเป็นคำตอบที่มีคุณภาพมากและช่วยผู้ใช้ได้มากเลยทีเดียว

จากวัฒนธรรมในการถามและตอบคำถามต่างๆ เหล่านี้
ทำให้มีห้องสมุดจำนวนไม่น้อยนำความคิดดังกล่าว มาประยุกต์ใช้ในงานบริการห้องสมุดแบบเสมือน (Virtual Library)
โดยบรรณารักษ์จะตั้งคำถามและตอบคำถามต่างๆ ผ่านทางระบบห้องสมุดแบบเสมือน (Virtual Library) นั่นเอง

การประยุกต์ใช้งานเว็บไซต์ถามตอบ
เริ่มจากผู้ใช้บริการเข้ามาตั้งคำถามที่ระบบห้องสมุดแบบเสมือน (Virtual Library) ซึ่งอาจจะนำมารวมกับระบบเว็บไซต์ของห้องสมุดก็ได้
โดยหลักการตั้งคำถามของผู้ใช้บริการ ระบบจะต้องครอบคลุมเนื้อหาในชีวิตประจำวันและเรื่องสารสนเทศต่างๆ ด้วย
และเมื่อบรรณารักษ์มาทำงานในช่วงเช้าของแต่ละวัน บรรณารักษ์ก็จะมาตอบคำถามเหล่านี้ให้กับผู้ใช้บริการ

เมื่อบรรณารักษ์ปฏิบัติแบบนี้ทุกวัน บรรณารักษ์ก็จะได้ความรู้ที่เพิ่มมากขึ้นได้
อุปมาว่าอาหารเช้าของบรรณารักษ์เหล่านี้ก็คือความรู้ต่างๆ มากมายจากผู้ใช้บริการนั่นเอง

คำถามที่ผู้ใช้บริการมักจะถาม แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
– คำถามด้านสารสนเทศ —> บรรณารักษ์สามารถหาคำตอบได้ในห้องสมุด
– คำถามอื่นๆ —> บรรณารักษ์ก็สามารถหาคำตอบหรือตั้งคำถามได้ใน Answer site ต่างๆ ได้

สำหรับความเห็นของผมนะครับ ผมว่ามันก็ดีเหมือนกัน ถือว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้บรรณารักษ์ด้วย
เนื่องจากปกติบริการตอบคำถามส่วนใหญ่บรรณารักษ์จะเจอคำถามที่อยู่ในห้องสมุดเพียงเท่านั้น
แต่ถ้าเราเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถถามข้อมูลได้ทุกเรื่องบรรณารักษ์ก็จะได้เปิดความคิดใหม่ๆ ไปด้วย

เพื่อนๆ ว่ามั้ยหล่ะครับ

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*