สุขสันต์วันครบรอบความรัก 5 ปี

วันเสาร์และวันอาทิตย์นี้เป็นวันครบรอบความรักระหว่างผมกับแฟน วันครบรอบจริงๆ คือวันที่ 22 พฤศจิกายน ปีนี้ก็ 5 ปีแล้วที่เราได้คบกัน แต่ก่อนหน้านั้นเราก็รู้จักกันมาเกือบ 4 ปีเหมือนกันนะ เอาเป็นว่ารวมๆ แล้วเรารู้จักกันมาเกือบ 9 ปีแล้ว วันเสาร์อาทิตย์นี้ผมจึงตัดสินใจงดเรื่องงานทุกชนิด ไม่ว่าจะงานนอกงานใน เพื่อมีวันที่พักผ่อนและฉลองวันครบรอบอย่างเต็มที่ ปีนี้เป็นปีที่พิเศษกว่าทุกปีหน่อยตรงที่ผมเลือกที่จะออกไปเที่ยวต่างจังหวัด แต่ก็มีสถานที่มากมายมาให้เลือก (บอกตามตรงเลยว่าเลือกยากอ่ะครับ) เช่น เพลินวาน (หัวหิน), ตลาดน้ำอัมพวา, เกาะล้าน (พัทยา) …. สุดท้ายผมก็เลือก …. เกาะล้าน ด้วยเหตุที่ว่าปีแรกที่ผมคบกับแฟนที่เที่ยวที่เป็นต่างจังหวัดที่แรกของเราคือ พัทยานั่นเอง ตอนนั้นก็อยากไปเที่ยวเกาะล้านนะ แต่ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่างเช่น – ไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้า – เพิ่งคบกัน ไม่กล้าพาไปเที่ยวเกาะ (กลัวเธอคิดมาก อิอิ) – ขับรถไปเอง กลัวรถหาย อิอิ เอาเป็นว่าปีนี้ก็ได้ไปแล้วนะ (ถึงแม้ว่าจะผ่านมา 5 ปี ก็เถอะ) อ๋อ ลืมบอก ไปสองวันก็จริง แต่ได้ไปที่เกาะล้านจริงๆ วันอาทิตย์นะครับ วันเสาร์เราเที่ยวกันอยู่ที่พัทยาต่างหาก เริ่มจาก การเดินเล่นที่ห้าง CentralFestival Pattaya ดูต้นคริสต์มาสประดับไฟ แถมด้วยคอนเสิร์ตจากศิลปิน AF อิอิได้ดูดาราแถมถ่ายรูปไฟคริสต์มาส แบบว่าคนอื่นเขามาดูดารา แต่เราไม่แคร์ดาราเพราะมัวแต่ถ่ายรูปต้นคริสต์มาส หลังจากนั้นเราสองคนก็เดินเที่ยวกันริมชายหาดครับ (กลางคืนซะด้วย) ไปเขียน Y Love June ที่ชายหาดด้วย (โรแมนติกนะแต่เล่นเหมือนเด็กเลย อิอิ) จากนั้นก็เดินไปเรื่อยๆ บนถนน Walking Street เดินดูร้านกลางคืนมากมาย ก็แกล้งแซวๆ กันว่าจะดินเนอร์กันร้านไหนดี (โรแมนติกน่าดูเลยเนอะ มีสาวๆ เต้นรูดเสาให้ดูด้วยกินข้าวด้วย) จากนั้นเราก็เดินกันไปถึงท่าเรือพัทยา เพื่อดูตารางการเดินเรือ สุดท้ายเราก็ตกลงกันว่าจะไปเกาะล้านสัก…

LibCamp#3 : กว่าจะได้ห้องสมุดหนึ่งแห่งต้องทำอย่างไร

ผู้ร่วมเสวนาคุณสุจิตร สุวภาพ ประธานชมรมห้องสมุดเฉพาะ และดำเนินรายการโดยนายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ บล็อกเกอร์ห้องสมุด เสวนาในหัวข้อเรื่อง “กว่าจะได้ห้องสมุดหนึ่งแห่งต้องทำอย่างไร” การเสวนานี้เริ่มจากการแนะนำตัวเองของผู้เสวนา นั่นคือ คุณสุจิตร สุวภาพ ประธานชมรมห้องสมุดเฉพาะ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์ฯ จนกลายเป็นห้องสมุดมารวย ผมขอเรียกคุณสุจิตร สุวภาพ ว่าพี่อ้วนนะครับ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านบทสรุปของเรื่องนี้ พี่อ้วนจบปริญญาตรีใบแรกเอกภาษาอังกฤษ หลังจากนั้นพี่อ้วนก็เกิดความสนใจเรื่องของสารสนเทศจึงได้ศึกษาปริญญาตรีอีกใบคือ เอกบรรณารักษ์ และได้ต่อปริญญาโทในสาขานี้ จากนั้นด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป พี่อ้วนจึงได้ศึกษาปริญญาโทอีกใบด้านไอที นั่นเอง พี่อ้วนได้พูดถึงกรณีศึกษาการพัฒนาห้องสมุดมารวยให้พวกเราฟังต่อว่า แต่เดิมแล้วห้องสมุดมารวยไม่ได้เรียกว่าห้องสมุดมารวยเหมือนทุกวันนี้หรอกนะครับ แต่ก่อนห้องสมุดแห่งนี้ เรียกว่า ห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต่างหาก แต่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงก็มาถึง เมื่อผู้บริหารต้องการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์และสร้างแบรนต์ใหม่ให้ห้องสมุด จึงได้มีการนำชื่อ มารวย มาใช้เพื่อเป็นเกียรติแด่ ดร.มารวย ผดุงสิทธิ์ กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ คนที่ 5 แนวความคิดในการปรับปรุงภาพลักษณ์ของห้องสมุดมารวย คือ การสำรวจความต้องการของผู้ใช้ทั่วไป และหาคู่แข่งห้องสมุดเพื่อเปรียบเทียบบริการ การจัดโต๊ะสำหรับอ่านหนังสือ — คล้ายกับร้านอาหาร (มาเยอะก็ต่อโต๊ะกัน) เวลาทำการ (การเปิดปิด) ห้องสมุด — ปิดให้ดึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ แข่งกับห้างสรรพสินค้า ฯลฯ ห้องสมุดแห่งนี้ใช้เวลาในการวางแผนเพื่อการปรับปรุงทั้งหมด 6 เดือนก็สามารถที่จะปรับปรุงและเสร็จอย่างรวดเร็ว ด้วยภาพลักษณ์เดิมที่ถูกเปลี่ยนเป็นภาพลักษณ์ใหม่ไปอย่างชัดเจน ตัวอย่างสิ่งที่เปลี่ยนไป เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้แบบหรูหราถูกเปลี่ยนเป็นโต๊ะที่นั่งอ่านแบบสบายๆ การจะสร้างห้องสมุดสักแห่งนึงต้องคำนึงถึง สิ่งดังต่อไปนี้ – สถานที่ – หนังสือ – งานบริการ – บรรณารักษ์ – ระบบเทคโนโลยี แนะนำห้อง Plern ของตลาดหลักทรัพย์ (ห้องสมุด ห้องทำการบ้าน ห้องเล่น ห้องรับฝากเด็ก ห้องสอนพิเศษ – จิปาถะมากครับ) Plern = Play +…

ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุด ประจำปี 2552

หลังจากที่เมื่อวานนี้ผมเขียนเรื่อง “บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ ประจำปี 2552” วันนี้ผมขอนำเรื่องต่อเนื่องมาเขียนต่อเลยนะครับ นั่นก็คือ การประกาศรางวัล “ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุดและการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ประจำปี 2552” ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุด คือ ผู้ที่ให้การสนับสนุนกิจการของห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนด้วยกำลังกาย หรือกำลังทรัพย์ ต่างก็ล้วนแล้วแต่จะทำให้ห้องสมุดพัฒนา ดังนั้นผมขอนำรายชื่อมาลงไว้ให้เพื่อเป็นการขอบคุณแทนวงการวิชาชีพนี้ด้วยนะครับ ปีนี้มีผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้งหมด 14 รายชื่อ ซึ่งมีดังนี้ (ผมขอเขียนแบบย่อๆ นะครับ รายละเอียดดูจากต้นฉบับที่ผมทำ link ไว้ให้นะครับ) 1. พระครูธรรมสรคุณ ขนธสโร ได้สนับสนุนงบประมาณสร้างอาคารห้องสมุดประชาชน ?เฉลิมราชกุมารี? จังหวัดจันทบุรี ตั้งแต่ปี 2547 ? 2549 มูลค่า 20 ล้านบาท อีกทั้งได้มอบให้ กศน. เขาคิชฌกูฎ ระหว่างปี 2550-2552 2. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์จิตตินัดด์ หะวานนท์ ได้จัดสรรงบประมาณบอกรับฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 5 ปี มูลค่าปีละกว่า 5 ล้าน รวมมูลค่า 25 ล้านบาท ให้กับห้องสมุดคณะแพทย์และหน่วยงานในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ 3. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้จัด ?มุมความรู้ตลาดทุน? หรือ SET Corner เพื่อร่วมพัฒนาสังคมไทยสู่สังคมฐานความรู้ ตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน 4. นายชรินทร์ เลอเกียรติจรัส ผู้ผลักดันโครงการห้องสมุดไทยบริดจสโตน โดยได้เริ่มดำเนินการอย่างต่อเนื่องมากว่า 7 ปี ได้สร้างห้องสมุดไทยบริดจสโตน จำนวน 94 โรงเรียน 5. ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ประธานโครงการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ปรีดี-พูนสุข พนมยงค์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูล ผลงาน ภาพถ่าย คำบรรยาย สื่อโสตทัศน์…

เล่าเรื่องเก่าๆ ในงาน Thinkcamp#1

หลังจากเมื่อวันเสาร์ที่ผมไปร่วมงาน Thinkcamp#2 ก็มีคนถามมากมายว่าคืองานอะไร แล้วงาน Thinkcamp#1 ผมได้ไปหรือปล่าว ผมเลยขอเอาเรื่องที่ผมเคยเขียนถึง Thinkcamp#1 มาลงให้อ่านอีกสักรอบแล้วกัน ข้อมูลเบื้องต้นของงานนี้ ชื่องาน THINK camp 2009 ชื่อเต็ม THai INtegrated Knowledge camp วันที่จัดงาน วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 10.00 น. ? 17.15 น. สถานที่ ห้อง 702, 703 และ 704 ชั้น 7 อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานนี้เป็นงานอะไร แนวไหนอ่ะ (ผมขออนุญาตินำข้อความจากเว็บไซต์ THINK camp มาลงเลยนะครับ) THINK camp คือ งานสัมมนาในลักษณะที่เรียกว่า Unconferenced Pecha Kucha กล่าวคือ การผสมผสานระหว่าง BarCamp กับ Pecha Kucha night โดยผู้ต้องการร่วมงานทุกคนจะมีสิทธิ์เสนอหัวข้ออะไรก็ได้เกี่ยวกับเว็บไซต์ ของคนไทยคนละหนึ่งเรื่องก่อนวันงาน ซึ่งหากต้องการใช้ Slide presentation ประกอบ ก็จะต้องส่งมาล่วงหน้า โดยมีจำนวนจำกัดไม่เกิน 10 แผ่นเท่านั้น งานสัมมนาในครั้งนี้มีรูปแบบการนำเสนอไม่เหมือนใคร นั่นคือ ผู้ที่จะมานำเสนอจะต้องเตรียม slide มา 1 slide ซึ่งภายใน slide จะต้องไม่เกิน 10 หน้าเท่านั้น และที่สำคัญกว่านั้นคือ 1 หน้าจะถูกเปลี่ยนอัตโนมัติทุกๆ 1 นาที สรุปง่ายๆ ว่า แต่ละคนจะมีโอกาสพูดเพียงแค่…

บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ ประจำปี 2552

วันนี้ผมขอเอาเรื่องที่น่ายินดีและชมเชยมาให้เพื่อนๆ อ่านนะครับ เป็นเรืองเกี่ยวกับ “บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษศาสตร์ ประจำปี 2552” จริงๆ ข่าวนี้ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ประกาศมาได้สักระยะนึงแล้วนะ วันนี้ผมขอเอามาลงให้เพื่อนๆ อ่านอีกสักทีนะครับ ปีนี้มีผู้ที่ได้รับรางวัล 5 ท่านครับ ซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้ 1. นางกันป์หา เก้าเอี้ยน – บรรณารักษ์ วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช เนื่องจากท่านเป็นผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งบรรณารักษ์ตั้งแต่ปี 2526 ท่านได้จัดห้องสมุดให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของสถานการศึกษา อีกทั้งยังจัดกิจกรรมมหกรรมรักการอ่าน ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ซึ่งนับว่าเป็นแบบอย่างของบุคคลแห่งการเรียนรู้ 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นงนารถ ชัยรัตน์ – ผู้อำนวยการ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เนื่องจากทั้งมีผลงานทั้งในด้านการสอน และการบริหารห้องสมุด รวมถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น พัฒนาห้องสมุดโรงเรียนมงคลวิทยา จังหวัดระยอง (โรงเรียนพระปริยัติธรรมของสามเณร) รวมถึงจัดพิมพ์ชุดนิทานภาษาของแผ่นดินเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 2,400 ชุด 3. นางนาถระพินทร์ เบ็ญจวงศ์ – ครูชำนาญการ วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม เนื่องจากท่านเป็นบุคคลที่เสียสละ อุทิศตนเพื่อพัฒนาห้องสมุดวิทยาลัยเทคนิคนครปฐมให้ก้าวหน้าเป็นลำดับ อย่างต่อเนื่อง เป็นเวลากว่า 30 ปี และเผยแพร่บทความต่างๆ เกี่ยวกับวงการบรรณารักษ์อย่างต่อเนื่อง 4. นางจินัฐดา ชูช่วย – ครูชำนาญการพิเศษ หัวหน้างานห้องสมุดโรงเรียนสตูลวิทยา เนื่องจากท่านได้ผลักดันห้องสมุดจนทำให้ได้รับรางวัลห้องสมุดดีเด่น 2 ปีซ้อน จากกรมสามัญศึกษา โล่เกียรติยศรางวัลห้องสมุดดีเด่น 3 ปีซ้อนจากเขตการศึกษา นอกจากนี้ท่านยังได้รับตำแหน่งเป็นหัวหน้าคณะดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนาในจังหวัดสตูล และเป็นแกนนำการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนในเขตพื้นที่ห่างไกลและโรงเรียนในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 5. นางวราพร รสมนตรี – หัวหน้างานห้องสมุด โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ เนื่องจากท่านได้สนับสนุนและส่งเสริมโครงการด้านการอ่านมากมาย เช่น โครงการพัฒนาการอ่านสู่ครูมืออาชีพ โครงการสุดยอดฑูตส่งเสริมการอ่าน โครงการส่งเสริมการอ่านวรรณกรรมเยาวชนแว่นแก้ว…

การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการเข้าถึงห้องสมุดเฉพาะ

วันนี้ในขณะที่ผมส่งเมล์ให้เพื่อนๆ อยู่ ก็มีอีเมล์ฉบับนึงเด้งขึ้นมาหาผม ชื่อเมล์ว่า “ช่วยทำแบบสอบถามการวิจัยให้หน่อย (สำคัญมาก) เป็นของอาจารย์ สวนดุสิต สำรวจ GIS?” ผมก็เลยขอถือโอกาสนี้ช่วยกระจายข่าวและตอบแบบสอบถามเลยแล้วกัน เนื้อความในอีเมล์นะครับ ก่อนอื่นเราก็ต้องเข้าไปดูเว็บไซต์ที่เขาบอกมาซะก่อน http://dusithost.dusit.ac.th/~bunpod_pij/index01 มีเว็บแบบว่าเป็นเรื่องเป็นราวมากๆ ครับ อ่านวัตถุประสงค์คร่าวๆ แล้ว ก็เข้าใจว่าเป็นการหาตำแหน่งของห้องสมุดเฉพาะโดยแสดงผลด้วยแผนที่ จริงๆ ก็คล้ายๆ กับการทำ Directories ของห้องสมุดเฉพาะแหละครับ แต่พิเศษตรงที่ว่านอกจากจะแสดงผลเป็นที่อยู่แล้วยังจะสามารถดูแผนที่ของห้องสมุดนั้นๆ ได้ด้วย งั้นผมของลองเล่นนิดนึงนะครับ เอาเป็นว่าเล่นแล้วนะครับ งั้นผมขอตอบแบบสอบถามเลยแล้วกััน แบบสอบถามมีทั้งหมด 3 ตอนนะครับ เอาเป็นว่าผมประเมินให้แล้ว (ไม่ขอนำผลที่ผมประเมินมาให้ดูนะ) ยังไงผมก็ขอเชิญเพื่อนๆ ไปร่วมกันทำแบบสอบถามนี้กันนะครับ http://dusithost.dusit.ac.th/~bunpod_pij/questionare.html

ไม่เอานะ!!! ป้ายเตือนแบบนี้ในห้องสมุด

วันนี้เจอบทความเกี่ยวกับการใช้ป้ายเตือนผู้ใช้บริการในห้องสมุด ก็เลยขอเอามาเตือนสติและแนะนำเพื่อนๆ วงการห้องสมุดแล้วกัน จะได้ไม่โดนผู้ใช้บริการหมั่นไส้เอา… เป็นยังไงกันบ้างครับกับรูปป้ายเตือนแบบนี้ บรรทัดแรกมาดูเป็นมิตรกับผู้ใช้บริการมากๆ นั่นคือ ยินดีต้อนรับสู่ห้องสมุด (Welcome to the library) แต่พอเราได้เห็นข้อควรปฏิบัติและคำเตือนในป้ายนี้แล้ว เลยไม่ค่อยกล้าเข้าห้องสมุดเลย ในป้ายนะครับ – ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ – ไม่มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัวหรืออุปกรณ์อื่นๆ ให้บริการ – คอมพิวเตอร์สำหรับบุคลากรในโรงเรียนเท่านั้น – ห้ามพูดคุย – ห้ามกินอาหารหรือทานเครื่องดื่ม – ไม่เอาบัตรมาห้ามยืม ห้ามทำนู้น ต้องทำนี่ ห้ามใช้นู้น ห้ามใช้นี่…..อ่านแล้วอยากจะคลั่งไปเลย ตกลงนี่มันคุกหรือว่าห้องสมุดกันแน่เนี้ย เอาเป็นว่าถ้าเราลองเปลี่ยนจากป้ายเมื่อกี้เป็นป้ายด้านล่างนี่หล่ะ ในป้ายที่ดูเป็นมิตรกว่า – ใช้โทรศัพท์ได้นะครับแต่กรุณาเงียบนิดนึง – ถ้าคุณต้องการอินเทอร์เน็ตไร้สาย กรุณาแจ้งที่เจ้าหน้าที่เลยครับ – ถ้าค้นหาอะไรแล้วไม่เจอ พวกเราพร้อมจะช่วยคุณนะ – พวกเรามีพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกันด้วยนะครับ – จะกินหรือจะดื่มอะไรก็ระมัดระวังนิดนึงนะครับ หรือจะใช้บริการร้านกาแฟของเราก็ได้ – พวกเราสามารถช่วยคุณค้นหาหนังสือหรือนิตยสารได้นะครับ – ห้องสมุดใช้สำหรับเรียนรู้ ดังนั้นกรุณาบอกให้เรารู้หน่อยว่าคุณต้องการข้อมูลอะไร อ่านแล้วรู้สึกดีกว่ากันเยอะเลยนะครับ จากป้ายแรกเมื่อเทียบกับป้ายนี้ต่างกันฟ้ากับเหวเลย เอาเป็นว่าการจะเขียนป้ายเตือนหรือข้อแนะนำผู้ใช้กรุณาเลือกใช้คำที่ดีๆ นะครับ คำบางคำความหมายเหมือนกันแต่ให้อารมณ์ต่างกัน เปลี่ยนจากคำว่า “ห้าม” เป็น “ควรจะ” น่าจะดีกว่านะครับ สุดท้ายนี้ใครมีประโยคแนวๆ นี้ลองส่งมาให้ผมดูหน่อยนะครับ จะได้แลกเปลี่ยนไอเดียกัน ขอบคุณครับ ภาพของเรื่องนี้จาก http://doug-johnson.squarespace.com/blue-skunk-blog/2009/11/7/signs-signs-everywhere-theres-signs.html

แรงบันดาลใจจากงาน wordcampbkk2

วันนี้ขอเล่าเรื่องต่อเนื่องจากวันอาทิตย์ที่ผ่านมาด้วยดีกว่า นั่นคืองาน wordcampbkk2 งานที่รวมพลคนใช้ Microsoft word เอ้ยไม่ใช่ งานนี้เป็นงานที่รวมพลคนใช้ WordPress ต่างหาก ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงาน wordcampbkk ชื่องาน : wordcamp bangkok 2 วันที่จัดงาน : 15 พฤศจิกายน 2552 สถานที่จัดงาน : มหาวิทยาลัยศรีปทุม กำหนดการของงานนี้ ใครที่ยังไม่รู้ก็ไปตามอ่านได้ที่ http://wordcamp.kapook.com/agenda-speakers/ ผมขอเล่าแบบภาพรวมแล้วกันนะครับ งาน wordcampbkk กำหนดการแบบว่าเช้ามากจริงๆ อ่ะครับ แถมอยู่ไกลจากบ้านผมพอควรเลย ดังนั้นไม่ต้องถามนะครับว่าตื่นกี่โมง เอาเป็นว่าตื่นเช้ามากๆ ครับ เริ่มจากผู้ร่วมเดินทางมางาน wordcampbkk ด้วยกัน นั่นก็คือ @junesis และ @maeyingzine พอมาถึง ม.ศรีปทุมก็เล่นเอางงเล็กน้อยว่า อาคาร 1 มันอยู่ตรงไหน แต่ก็เห็นหลายๆ คนเดินไปที่ๆ นึง ผมก็เลยตามเขาไปนั่นแหละครับ จนสุดท้ายก็มาถึงหน้างาน wordcamp นั่นเอง หน้างานวันนี้ของแจกยังคงเป็นป้ายชื่อ badge เข็มกลัด และเสื้อwordcamp เช่นเดิม วันนี้ผมขอสีดำแล้วกันครับ (จริงๆ ได้เสื้อ wordcamp มาจากงาน Thinkcamp แล้ว) หลายคนเข้ามาทักเพราะว่าทรงผมของผมเปลี่ยนไป แค่ 1 วันที่เจอกัน (เมื่อวานไปงาน thinkcamp ยังไม่ได้ตัดผมครับ) ลงทะเบียนและถ่ายรูปเพื่อเป็นพิธีนิดนึง ก็เข้าไปหาที่นั่งเพื่อรองานเปิด ในระหว่างนั้นเองก็เจอเพื่อนมากมาย ก็เลยได้ทักทายกันบ้างและก้ไม่พลาดถ่ายรูปมาให้ดู อ๋อในงานผมชอบ Twitter Wall มากๆ เลยครับ จอทางด้านซ้ายมือของผมมันจะขึ้น tweet ของคนที่ใช้ tag #wordcampbkk ดังนั้นหลายๆ…

เก็บตกค่ายความคิด 2 – Thinkcamp#2

เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน “ค่ายความคิด 2” หรือที่เรียกว่า “Thinkcamp2” ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของการไปงาน ดังนั้นผมก็ต้องเล่าสู่กันฟังสักหน่อย เริ่มจากข้อมูลทั่วไปของงานนี้ ชื่องานภาษาไทย : ค่ายความคิด 2 ชื่องานภาษาอังกฤษ : Thinkcamp2 วันที่จัดงาน : 14 พฤศจิกายน 2552 สถานที่จัดงาน : มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท อาคาร SM Tower ชั้น 20 ก่อนเข้าสู่การบรรยายก็ต้องมีการเปิดงานก่อน ซึ่งผู้ที่มาพูดในช่วงเปิดงานก็ต้องทำตามกติกาของงานนี้เช่นกัน คือ 10 สไลด์ 10 นาที ผู้พูด คือ @Aerodust ซึ่งหลักๆ ก็ได้มาแนะนำงาน Thinkcamp และConcept ของงานครั้งนี้ เอาหล่ะครับ เข้าเรื่องหลักของงานนี้เลยดีกว่า นั่นก็คือ หัวข้อของแต่ละคน หัวข้อที่พูดในงานทั้งหมด มี 24 หัวข้อ แบ่งออกเป็น 2 ห้องๆ ละ 12 หัวข้อนะครับ หัวข้อที่ผมได้เข้าฟังมีดังนี้ – “9 ประสบการณ์แปลก จากการเป็น เว็บมาสเตอร์ Dek-D.com” โดย @ponddekd – “WTF Library website in Thailand” โดย @ylibraryhub – “imyourcard นามบัตรออนไลน์ ที่จะทำให้คุณลืมนามบัตรกระดาษไปตลอดกาล” โดย @thangman22 – “เว็บไซต์บันเทิง สร้างยังไงให้บันเทิง” โดย @patsonic – “2553:ไทย.ไทย” โดย @pensri…

Test up blog by iPhone

วันนี้ขอทดสอบการเขียนบล็อกด้วยไอโฟนหน่อยดีกว่า อยากรู้ว่ามันจะโอเคมั้ย และมันจะขึ้นเว็บได้มั้ย จากการลองเขียนไปสองบรรทัด ผมว่าค่อนข้างโอเคเลยนะครับ (ขณะนี้ผมอยู่บนรถเมล์นะครับ) พรุ่งนี้มีงาน thinkcamp#2 และมะรืนนี้ก็มีงาน wordcampbkk#2 ใครว่างก็มาเจอกกันได้นะครับ สำหรับรายละเอียดของงานทั้งสองก็อ่านได้ที่ thinkcamp – http://www.thinkcamp.in.th wordcamp – http://wordcamp.kapook.com ขอทดสอบเพียงเท่านี้แล้วกันครับ