วันนี้มีข่าวสารมาประชาสัมพันธ์ครับ ข่าวนี้ผมนำมาจาก facebook ประมาณว่ามีคนมาช่วยให้ผมเข้าร่วม พอเข้าไปอ่านแล้วผมว่ามันน่าสนใจดี โครงการนี้ชื่อว่า “โครงการเปลี่ยนหนังสือสื่อรักประสานความรู้” ชื่อกิจกรรมนี้ คือ โครงการเปลี่ยนหนังสือสื่อรักประสานความรู้ จัดโดย ห้องสมุดประชาชน ?เฉลิมราชกุมารี? จังหวัดลำพูน แนวคิดและหลักการของกิจกรรมนี้ คือ ให้ทุกคนนำหนังสือที่ตนเองชอบอ่าน หรือหนังสือโปรดเข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดได้อ่านหนังสือดีๆ และถือว่าเป็นการแบ่งปันความรู้สู่ชุมชนด้วย โดยบรรณารักษ์จะนำหนังสือที่ได้รับมาจัดเข้าสู่ระบบยืม-คืนหนังสือให้เอง เพื่อนๆ ลองคิดกันดูนะครับว่า 1 คน 1 เล่ม ถ้ามีคนเข้าร่วม 100 คน ก็จะมี 100 เล่ม ถ้ามีคนเข้าร่วม 1000 คน ก็จะมี 1000 เล่ม หนังสือ 1 เล่มของเราอาจจะเป็นที่ต้องการของคนอื่น และเช่นกันเราเองก็อยากอ่านหนังสือของคนอื่นๆ เช่นกัน โครงการนี้จะช่วยให้เพื่อนๆ แลกเปลี่ยนหนังสือกันได้ ทำให้ไม่ต้องไปเสียเงินซื้อหนังสือเพิ่มด้วย เอาเป็นว่าโครงการนี้ก็มีประโยชน์มากมายนะ และเป็นไอเดียของห้องสมุดประชาชนที่ดีเลย ห้องสมุดประชาชนอื่นๆ สามารถนำไปประยุกต์และจัดกิจกรรมคล้ายๆ กันได้นะครับ เพื่อนๆ สามารถสมัครและส่งหนังสือเข้าร่วมโครงการได้ที่ ห้องสมุดประชาชน ?เฉลิมราชกุมารี? จังหวัดลำพูน ถนนสันป่ายาง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน 51000 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 053-562608 หรือเว็บไซต์ห้องสมุด http://lpn.nfe.go.th/lib_muang/ หรือทาง Facebook ห้องสมุด http://www.facebook.com/lib.lamphun วันนี้ก็ขอฝากไว้เพียงเท่านี้นะครับ ผมเองก็จะส่งหนังสือที่ผมชอบไปให้ที่นี่เช่นกัน แต่เดี๋ยวต้องกลับไปเลือกก่อนนะ แล้วจะมาอัพเดทว่าผมส่งเรื่องอะไรไปให้นะ
Tag: โครงการห้องสมุด
หนึ่งตำบลหนึ่งห้องสมุด (One Tumbon One Library)
วันนี้ขอเขียนบล็อกแนวแปลกให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันสักหน่อย ว่าแต่ว่าเพื่อนๆ เคยได้ยินคำนี้มั้ยครับ คำว่า OTOL(One Tumbon One Library) หรือเรียกแบบง่ายๆ ว่า “หนึ่งตำบลหนึ่งห้องสมุด” นั่นแหละ จริงๆ คำนี้ก็ไม่ได้มีอะไรมากหรอกครับ แค่ผมฟังคำว่า OTOP OTOP OTOP บ่อยมากเกินไป เลยขอแหวกแนวมาเป็น OTOL สำหรับวงการบรรณารักษ์บ้าง ทำไมต้องมี 1 ตำบล 1 ห้องสมุดหล่ะ เพื่อนๆ ก็ลองคิดดูว่าถ้ามีช่องทางในการเข้าถึงความรู้ได้มากๆ คนก็จะเข้าถึงแหล่งความรู้ได้ง่ายขึ้น แนวความคิดที่อยากเห็นคนไทยทุกคนเข้าถึงสารสนเทศได้ง่ายขึ้น ?แล้วทำไมต้องเป็นห้องสมุดหล่ะ เดี๋ยวนี้มีอินเทอร์เน็ตแล้ว ห้องสมุดคงเป็นสิ่งที่อาจจะไม่จำเป็นแล้วก็ได้? คำพูดนี้ผมอาจจะไม่เถียงเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตทำให้เราเข้าถึงสารสนเทศได้เร็วขึ้น แต่เพื่อนๆ เคยคิดถึงคนส่วนใหญ่ของประเทศมั้ยครับที่ยังไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ดังนั้นผมจึงบอกว่าห้องสมุดเป็นสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้มากกว่า โดยที่ห้องสมุดในแต่ละชุมชนไม่ต้องใหญ่โตมากหรอกครับ ขอแค่มีหนังสือที่มีประโยชน์ให้อ่านก็ดีพอแล้ว ผมว่าก็จะช่วยเพื่อนในชนบทของเราได้แล้ว โครงการห้องสมุดที่ผมเห็นมากมาย เช่น ห้องสมุดเคลื่อนที่, ชมรมอาสาที่ไปสร้างห้องสมุด สิ่งเหล่านี้ผมอยากให้เมืองไทยมีมากๆ เพราะว่าการศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคนในชาติเหมือนกัน ถ้าคนในชาติมีคุณภาพ ประเทศชาติก็จะเจริญตามไปด้วย อย่าเพิ่งเครียดกันนะครับ ผมเพียงแค่อยากให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของห้องสมุดก็เท่านั้น ช่วยๆ กันทำให้เกิดขึ้นนะครับ 1 ตำบล 1 ห้องสมุด ปล. รูปที่ให้ดูเป็นห้องสมุดของวัดแห่งหนึ่งที่ผมกับเพื่อนๆ ไปช่วยจัด หนังสือไม่เยอะแต่คุณค่าทางใจมีค่ามากที่สุด
โครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
วันนี้ผมขอแนะนำโครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนให้เพื่อนๆ รู้จักกันหน่อยนะครับ จริงๆ ผมเองก็ไม่ค่อยรู้จักหรอก อาศัยแต่การค้นหาข้อมูลบนเว็บแล้วนำมาเรียบเรียงให้อ่านแล้วกันนะ ข่าวการเปิดโครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนแห่งที่ 2 ทำให้ผมรู้จักโครงการนี้มากขึ้น พล.อ.อ.กำธน สินธวานนท์ (องคมนตรี) ซึ่งเป็นประธานโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ได้กล่าวข้อความบทหนึ่งในงานเปิดตัวห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนแห่งที่ 2 ว่า “การหาความรู้ไม่ใช่มีแต่ในห้องเรียน แต่นักเรียนยังสามารถหาความรู้ได้จากห้องสมุด โดยเฉพาะห้องสมุดสารานุกรมไทยฯนั้น จะหาความรู้ได้ทั้งเรื่องฟ้าร้อง สึนามิ หรือโรคภัยต่าง ๆ ซึ่งการที่เยาวชนไทยรู้จักหาความรู้จากห้องสมุด จะเป็นการปลูกฝังพื้นฐานให้เยาวชนได้ศึกษาหาความรู้จนกระทั่งเติบโตเป็น ผู้ใหญ่ และควรใช้ห้องสมุดให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่” โครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน จะดำเนินการ 10 แห่ง ดังนี้ – หอสมุดแห่งชาติ จังหวัดนครราชสีมา – โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม จังหวัดกรุงเทพฯ – โรงเรียนเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม – โรงเรียนโยธินบูรณะ จังหวัดเพชรบุรี – ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครสวรรค์ – โรงเรียนในจังหวัดตรัง 2 แห่ง – โรงเรียนในจังหวัดเชียงราย – โรงเรียนในจังหวัดกรุงเทพฯ อีก 2 แห่ง โดยมี collection หลักๆ ในห้องสมุดแห่งนี้ ก็ก็คือหนังสือสารานุกรมทุกฉบับ ไม่ว่าจะเป็นสารานุกรมแบบธรรมดา หรือ สารานุกรมฉบับส่งเสริมความรู้ นอกจากจะดำเนินพัฒนาด้านสถานที่แล้ว โครงการนี้ยังได้จัดสร้างรถตู้ห้องสมุดสารานุกรมไทยฯ อีก 1 คัน เพื่อนำหนังสือสารานุกรมไทยฯ ไปเผยแพร่ให้แก่เยาวชนและประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศไทยอีกด้วย —————————————- ขอประชาสัมพันธ์อีกรอบนะครับ (เพื่อนผมฝากมา @gnret) ประกาศห้องสมุดประชาชนนครสวรรค์ ห้องสมุดประชาชนฯ จะหยุดให้บริการเป็นเวลา 60 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2552 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2553 โดยปรับปรุงพื้นที่ชั้นล่าง ห้องสมุดใหม่…
โครงการหนึ่งห้องสมุดหนึ่งบล็อก
วันนี้ขอนำเสนอข้อมูลจากการทำแบบสอบถาม เรื่อง “โครงการหนึ่งห้องสมุดหนึ่งบล็อก” โครงการนี้เดิมทีผมได้วางแผนตอนทำ Projectlib.wordpress.com ข้อมูลที่จะนำเสนอวันนี้ หากเพื่อนๆ ยังเห็นว่าไม่เหมาะสมในส่วนใด สามารถแสดงความคิดเห็นได้ต่อนะครับ เพราะว่าผมอยากให้เพื่อนๆ ทุกคนมีส่วนร่วมในโครงการครั้งนี้ด้วย ข้อมูลเดิมจากบล็อก Projectlib โครงการ 1 ห้องสมุด 1 บล็อก คือ ? การผลักดันให้ห้องสมุดทุกแห่งในประเทศไทยมีบล็อก (Blog) เป็นของตัวเอง รู้จักการใช้บล็อกในการประชาสัมพันธ์งานต่างๆ รวมถึงเรื่องราวต่างๆ ในห้องสมุด และเป็นการสร้างเครือข่ายชมรมบล็อกเกอร์ห้องสมุดในประเทศไทย (Blogger Library Network) โดยภายใต้โครงการ 1 ห้องสมุด 1 บล็อก จะมีแผนงาน คือ 1. จัดอบรมการสร้างบล็อก การเขียนเรื่องในบล็อก และการโปรโมทเรื่องในบล็อก 2. จัดตั้งกลุ่ม และเครือข่ายผู้เขียนบล็อกห้องสมุดในประเทศไทย 3. ?(เสนอมาได้คร้าบ) งบประมาณฟรี มีดังนี้ – วิทยากร คือ ผมเอง (ไม่รับค่าตอบแทนใดๆ) – สถานที่ จะขอเป็นความร่วมมือกับห้องสมุดที่ใจดีต่างๆ – บล็อกฟรี (มีให้เลือกเยอะแยะเลยครับ) วันเวลา และสถานที่ในการจัดการอบรม – ในช่วงวันเสาร์ หรือ อาทิตย์ 1 วันเต็มๆ – จัดครั้งแรกในช่วงเดือนพฤศจิกายน จำนวนการรับสมัครครั้งแรก 20 ? 30 คน (ไม่คาดหวังมากครับ เพราะว่าหลายคนคงไม่สนใจ อิอิ) เนื้อหาในการอบรม – การสมัครบล็อกเพื่อใช้งานฟรี – การเขียนบล็อกไม่ให้น่าเบื่อ – การโปรโมทห้องสมุด และบล็อกสู่สาธารณชน – การสร้างเครือข่ายผู้ใช้งาน และผู้เขียนบล็อกห้องสมุด (นอกนั้นช่วยคิดกันหน่อยนะ ว่าอยากฟังเรื่องไรอีก…